ผู้เขียน หัวข้อ: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞  (อ่าน 9936 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2012, 05:30:40 pm »





۞ เถรีคาถา ๚ะ๛  ۞




ภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ
          ได้ภาษิตคาถา
                [๔๐๒] ได้ยินว่าภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ ได้ภาษิตคาถาไว้อย่างนี้ว่า
                             ดูกรพระเถรี ท่านจงทำไตรจีวรด้วยท่อนผ้า แล้วนุ่งห่มให้สบายเถิด
                             เพราะว่าราคะของท่านสงบระงับแล้ว ดุจน้ำผักดองอันแห้งในหม้อ
                             ฉะนั้น.

   มุตตาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางมุตตาเถรี
                [๔๐๓] ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกล่าวสอนนางมุตตาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระคาถา
                นี้ อย่างนี้ว่า
                             ดูกรนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย ดุจ
                             พระจันทร์ถูกราหูจับแล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ฉะนั้น เธอมีจิตหลุด
                             พ้นแล้ว จงไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.


   ปุณณาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางปุณณาเถรี
                [๔๐๔]       ดูกรนางปุณณา เธอจงบริบูรณ์ด้วยธรรมทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์
                             ในวันเพ็ญ ฉะนั้น เธอจงทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์
                             เถิด.


   ดิสสาเถรี
   พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
                [๔๐๕]       ดูกรนางดิสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย
                             อย่าครอบงำเธอเลย เธอจงเป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวด้วยโยคะทั้งปวง ไม่มี
                             อาสวะ
เที่ยวไปในโลกเถิด.


   อัญญตราดิสสาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
                [๔๐๖]        ดูกรนางดิสสา เธอจงประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย ขณะอย่าได้ก้าวล่วง
                             เธอไปเสีย
เพราะว่าชนทั้งหลายผู้มีขณะอันก้าวล่วงแล้ว ย่อมพากันไป
                             ยัดเยียดในนรกเศร้าโศกอยู่.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2012, 07:45:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2012, 06:57:09 pm »


                 

   ธีราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
                [๔๐๗]       ดูกรนางธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่สงบระงับสัญญาเป็นสุข เธอ
                             จงทำนิพพานอันยอดเยี่ยมปลอดโปร่งจากโยคะให้สำเร็จเถิด.


   อัญญตราธีราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
                [๔๐๘]       นางธีราภิกษุณีผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่อง
                             ทรง เธอจงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะแล้วทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุดเถิด.


   มิตตาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางมิตตาเถรี
                [๔๐๙]        ดูกรนางมิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในกัลยาณมิตร
                             จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
                             โยคะ.

   ภัทราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางภัทราเถรี
                [๔๑๐]        ดูกรนางภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมอัน
                             เจริญ จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
                             อย่างยอดเยี่ยม.


   อุปสมาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางอุปสมาเถรี
                [๔๑๑]        ดูกรนางอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก เธอ
                             จงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกาย
อันมีในที่สุด.



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2012, 07:12:06 pm »


                     

   มุตตาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงความหลุดพ้น
                [๔๑๒]       เราผู้ชื่อว่ามุตตาเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยดี ด้วยการหลุดพ้นจากความค่อม
                             ๓ อย่าง คือ ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑
                             และเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากความเกิดและความตาย ถอนตัณหาเครื่อง
                             นำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว.

   ธรรมทินนาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงการบรรลุนิพพาน
                [๔๑๓]       เราเป็นผู้มีฉันทะอันเกิดแล้ว มีที่สุดอันมิใช่วิสัย เป็นผู้ถูกต้องแล้วซึ่ง
                             นิพพานด้วยใจ และไม่มีจิตปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเรียกว่า
                             มีกระแสในเบื้องต้น.


   วิสาขาเถรีคาถา
   สุภาษิตชวนประพฤติธรรม
                [๔๑๔]       ท่านทั้งหลาย จงทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่บุคคลทำแล้วไม่
                             เดือดร้อนในภายหลัง ขอท่านทั้งหลายรีบล้างเท้าทั้งสองแล้วนั่ง ณ ที่
                             ควรเถิด.


   สุมนาเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนการพิจารณาธาตุ
                [๔๑๕]       ท่านจงพิจารณาเห็นธาตุ ทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์แล้ว อย่าเข้าถึง
                             ความเกิดอีกเลย ท่านคลายความพอใจในภพแล้ว จักเป็นผู้สงบระงับ
                             เที่ยวไป.


   อุตตราเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนการสังวร
                [๔๑๖]        เราเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกาย วาจา และใจ ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก
                             แล้ว เป็นผู้มีความเย็นใจดับสนิทแล้ว.




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2012, 08:47:59 pm »


                 

สุมนวุฐฒปัพพชิตาเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนการนุ่งห่ม
   
             [๔๑๗] ดูกรนางสุมนาผู้เจริญ ท่านจงทำไตรจีวรด้วยท่อนผ้า นุ่งห่มแล้วนอนให้
                          สบายเถิด เพราะราคะของท่านสงบระงับแล้ว ท่านเป็นผู้มีความเย็นใจ
                          ดับสนิทแล้ว.


   ธรรมาเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนการพิจารณากาย
                [๔๑๘]       เราเป็นคนทุพพลภาพ มีกายอันสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต
                             ได้ล้มลงที่แผ่นดินตรงนั้นเอง ที่นั้นจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะ
                             พิจารณาเห็นโทษในกาย.


   สังฆาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการออกบวช
                [๔๑๙]        เราละเรือนและละบุตร ทั้งสัตว์ของเลี้ยงอันเป็นที่รักออกบวชแล้ว ละ
                             ราคะ โทสะ และคลายอวิชชาแล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก เป็นผู้
                             สงบระงับดับแล้ว.

   นันทาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางนันทาเถรี
                [๔๒๐] ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนนางนันทาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระ
                คาถาเหล่านี้ อย่างนี้ว่า
                             ดูกรนางนันทา เธอจงพิจารณาอัตภาพอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว
                             อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น
                             มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา อนึ่ง เธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้
                             และบรรเทาซึ่งอนุสัย คือมานะ เพราะการละมานะเสียได้ แต่นั้นจัก
                             เป็นผู้สงบเที่ยวไป.


   ชันตาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการเจริญโพชฌงค์
                [๔๒๑]       โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันเป็นหนทางแห่งการบรรลุนิพพาน เราเจริญ
                             แล้วทั้งหมด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว พระผู้มีพระภาค
                             พระองค์นั้นเราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น อัตภาพร่างกายของเรานี้มีในที่สุด
                             ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ การเกิดอีกไม่มี.




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2012, 03:06:10 pm »

               

  อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา
   สุภาษิตแสดงการมีความสุข
             [๔๒๒] เราพ้นแล้วพ้นแล้วด้วยดี เป็นผู้พ้นดีแล้วจากสาก จากสามี ผู้หา
                          ความละอายมิได้ ซึ่งเราไม่ชอบใจ จากการทำร่มของสามีที่เราไม่ชอบใจ
                          จากหม้อข้าว จากความขัดสน เราได้ตัดราคะ และโทสะขาดแล้ว เรา
                          เข้าไปอาศัยโคนไม้ เพ่งฌานอยู่โดยความสุขว่า สุขหนอ.

  อัฑฒกาสีเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงการปฏิบัติตามคำสอน
                [๔๒๓]      กาสีชนบทมีประมาณเท่าใด ส่วนของเราได้มีแล้วประมาณเท่านั้น
   
                             ชาวนิคมกำหนดราคา แคว้นกาสีไว้แล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งราคาแคว้นกาสี
                             ภายหลังเราเบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด ไม่พึงแล่นไปสู่
                             ชาติสงสารอีกบ่อยๆ วิชชา ๓ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของ
                             พระพุทธเจ้าเราก็ทำเสร็จแล้ว.


  จิตตาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงถึงพลังจิต
                [๔๒๔]      เราเป็นผู้มีร่างกายผอม ทุพพลภาพหนักเพราะความไข้ ถือไม้เท้าไปใน
                             ที่ไหนๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรายังขึ้นภูเขาได้ วางผ้าสังฆาฏิ และคว่ำ
                             บาตร แล้วนั่งบนภูเขา ทำลายกองแห่งความมืด ข่มตนไว้.


   เมตติกาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงถึงพลังจิต
                [๔๒๕]      เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์ มีกำลังน้อย ผ่านพ้นความเป็นสาวไปแล้ว
                             ถือไม้เท้าไปในที่ไหนๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรายังขึ้นภูเขาได้ วางผ้า
                             สังฆาฏิและคว่ำบาตร แล้วนั่งบนภูเขา ทีนั้นจิตของเราหลุดพ้นแล้ว
                             วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.


   มิตตาเถรีคาถา
   สุภาษิตประกาศไม่ปรารถนาเทพนิกาย
                [๔๒๖]       เราปรารถนาเทพนิกายชั้นจาตุมมหาราช จึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบ
                             ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ
                             ตลอดปาฏิหาริยปักข์ วันนี้เรามีการบริโภคภัตตาหารครั้งเดียว มีศีรษะ
                             โล้น ห่มผ้าสังฆาฏิบวชแล้ว
เรากำจัดความกระวนกระวาย ในหฤทัย
                             เสียได้ไม่ปรารถนาเทพนิกายอีก.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2014, 10:18:19 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 05:29:23 am »

                 

   อภยมาตาเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนให้พิจารณากายของตน
                [๔๒๗]      ข้าแต่แม่ ท่านจงพิจารณากายอันนี้อันไม่สะอาดเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็น
                             เบื้องต้นตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา เราได้
                             พิจารณาอยู่อย่างนี้ ถอนราคะทั้งปวงได้แล้ว ตัดความเร่าร้อนขาดแล้ว
                             เป็นผู้มีใจเย็น ดับสนิทแล้ว.


   อภยเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนมิให้ติดกาย
                [๔๒๘]      ดูกรพระอภยเถรี ปุถุชนทั้งหลายเป็นผู้ข้องอยู่ในกายใด กายนั้นเป็น
                             ของไม่เที่ยง เพราะมีอันแตกไปเป็นสภาพ เรามีสติรู้สึกตัวอยู่ว่า เรา
                             อันทุกข์มากมายถูกต้องแล้ว จักละทิ้งร่างกายนี้ไว้ เราผู้ยินดีแล้วใน
                             ความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ทำคำสั่งสอนของพระ
                             พุทธเจ้าเสร็จแล้ว.


   สามาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้ผลการอยู่ในโอวาท
                [๔๒๙]       เรามีปกติไม่ยังใจให้อยู่ในอำนาจ จึงไม่ได้ความสงบใจ ต้องออกไปจาก
                             วิหาร ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง จำเดิมแต่เราได้รับโอวาทในสำนักพระอานนทเถระ
                             เป็นวันที่ ๘ ตัณหาอันเราถอนขึ้นแล้ว เราเป็นผู้อันทุกข์เป็นอันมาก
                             ถูกต้องแล้ว ยินดีแล้วในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว
                             ได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว

   อัญญตรสามาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้ผลการระลึกถึงคำสอน
                [๔๓๐]       ตั้งแต่เราบวชแล้วตลอดเวลา ๒๕ ปี เราไม่รู้สึกว่าได้ความสงบจิตใน
                             กาลไหนๆ เลย เรามีปกติไม่ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ จึงไม่ได้ความ
                             สงบใจ เราระลึกถึงคำสอนแห่งพระชินเจ้าแล้ว ยังความสังเวชให้เกิด
                             ขึ้น เราผู้อันทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีในความไม่ประมาท บรรลุ
                             ความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ตั้งแต่
                             เราทำตัณหาให้เหือดแห้งไปแล้ว วันนี้เป็นวันที่ ๗.


   อุตตมาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้ผลการฟังธรรม
                [๔๓๑]       เรามีปกติไม่ยังจิตให้อยู่ในอำนาจ จึงไม่ได้ความสงบจิต ออกไปจาก
                             วิหารสี่ห้าครั้ง เราเข้าไปหาพระภิกษุณีผู้มีวาจาอันเราพึงเชื่อถือได้ พระ-
                             ภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ แก่เรา เราฟัง
                             ธรรมของท่านแล้ว ปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านพร่ำสอน เป็นผู้เอิบอิ่ม
                             ด้วยสุขอันเกิดจากปีติ นั่งอยู่โดยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน เราทำ
                             ลายกองแห่งความมืดแล้ว จึงเหยียดเท้าออกในวันที่ ๘.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2013, 10:30:24 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 06:33:44 am »

               

 อัญญตราอุตตมาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการเจริญโพชฌงค์ ๗
   
             [๔๓๒] โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นหนทางแห่งการบรรลุนิพพาน เราเจริญ
                          แล้วทั้งหมด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เรามีปกติได้สุญญตสมา-
                          บัติและอนิมิตตสมาบัติตามปรารถนา เราเป็นธิดาผู้เกิดแต่พระอุระ
                          ของพระพุทธเจ้า ยินดีแล้วในนิพพานทุกเมื่อ กามทั้งปวง
                          ทั้งเป็นของทิพย์และเป็นของมนุษย์ เราก็ตัดขาดแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว
                          บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

   ทันถิกาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงการเอาอย่างที่ดี
                [๔๓๓]      เราออกจากที่พักในกลางวันบนภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นช้างลงสู่แม่น้ำ
                             แล้วขึ้นจากแม่น้ำนั้น ที่ฝั่งแม่น้ำจันทรภาคา นายหัตถาจารย์ถือขอแล้ว
                             ให้สัญญาว่า จงเหยียดเท้าออก ช้างเหยียดเท้าออกแล้ว นายหัตถาจารย์
                             จึงขึ้นช้างนั้น เราเห็นช้างนั้นผู้ไม่เคยได้รับการฝึก ครั้นนายหัตถาจารย์
                             ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ตกอยู่ในอำนาจของมนุษย์ทั้งหลาย ภายหลังแต่การเห็น
                             ช้างนั้นแล้ว เราจึงไปสู่ป่า ยังจิตให้เป็นสมาธิ เพราะกิริยานั้นเป็นเหตุ.


   อุพพิริเถรีคาถา
   สุภาษิตประกาศตนถึงไตรสรณคมน์
                พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
                [๔๓๔]      ดูกรนางอุพพิริ ท่านคว่ำครวญอยู่ในป่าว่า "ลูกชีวาเอ๋ย" ดังนี้ ท่าน
                             จงรู้สึกตนก่อนเถิด บรรดาธิดาของท่านที่มีชื่อเหมือนกันว่าชีวา ถูกเผา
                             อยู่ในป่าช้าใหญ่นี้ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ท่านจะเศร้าโศกถึงธิดาคนไหน?
                นางอุพพิริทูลว่า
                             ลูกศรคือความโศก เป็นของเห็นได้ยาก เสียบอยู่แล้วในหทัย หม่อม
                             ฉันถอนขึ้นได้แล้ว หม่อมฉันบรรเทาความเศร้าโศกถึงธิดาของหม่อมฉัน
                             ผู้ถูกความโศกครอบงำได้แล้ว วันนี้ หม่อมฉันถอนลูกศรคือความโศก
                             ขึ้นแล้ว. หมดความอยาก ดับรอบแล้ว เข้าถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า
                             ผู้เป็นนักปราชญ์ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ


   สุกกาเถรีคาถา
   สุภาษิตชวนดื่มธรรมรส
                [๔๓๕]      พวกมนุษย์ในเมืองราชคฤห์เหล่านี้ ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง ดีดนิ้ว
                             มืออยู่ ไม่เข้าไปหาพระสุกกาเถรี ผู้แสดงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่
                             เล่า ส่วนชนเหล่าผู้มีปัญญา ย่อมดื่มธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
                             นั้น เป็นธรรมไม่นำกลับหลัง เป็นธรรมเครื่องทำบุคคลผู้ฟังให้ชุ่มชื่น
                             มีโอชะดุจบุคคลผู้เดินทางไกล ดื่มน้ำอันไหลมาจากซอกเขา ฉะนั้น
                             พระสุกกาเถรีมีธรรมอันบริสุทธิ์ ปราศจากราคะ มีจิตตั้งมั่น ชนะมาร
                             พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.


   เสลาเถรีคาถา
   สุภาษิตโต้มาร
                มารกล่าวกะพระเสลาเถรีว่า
                [๔๓๖]       นิพพานอันเป็นที่สลัดออกไม่มีในโลก ท่านจักทำประโยชน์อะไรได้
                             ด้วยวิเวกเล่า จงบริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด ท่านอย่าได้เป็น
                             ผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย.
                พระเสลาเถรีกล่าวว่า
                             กามทั้งหลายมีอุปมาดังหอกและหลาว ครอบงำขันธ์ทั้งหลายไว้ ท่านกล่าว
                             ถึงความยินดีในกามชนิดใด เดี๋ยวนี้ ความยินดีในกามชนิดนั้นของเรา
                             ไม่มีแล้ว เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว ทำลายกองแห่ง
                             ความมืดได้แล้ว
ดูกรมารผู้ชั่วช้า ท่านจงรู้อย่างนี้ ตัวท่านเป็นผู้อันเรา
                             กำจัดแล้ว


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2013, 10:41:28 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 07:15:45 am »


                   

   โสมาเถรีคาถา
   สุภาษิตโต้มาร
                มารกล่าวว่า
                [๔๓๗]      ฐานะอันประเสริฐกล่าวคือ อรหัต อันฤาษีทั้งหลายพึงบรรลุ บุคคล
                             เหล่าอื่นให้สำเร็จได้โดยยาก ท่านเป็นหญิงมีปัญญาเพียง ๒ องคุลีเท่านั้น
                             ไม่สามารถจะบรรลุฐานะอันประเสริฐนั้นได้.
                พระโสมาเถรีกล่าวว่า
                             เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อญาณเป็นไปอยู่ และเมื่อเราเห็นแจ้งธรรมโดย
                             ชอบ ความเป็นหญิงจะพึงทำอะไรเราได้ เรากำจัดความเพลิดเพลินใน
                             สิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดแล้ว
ดูกรมารผู้มีบาป ท่าน
                             จงรู้อย่างนี้ ท่านเป็นผู้อันเรากำจัดเสียแล้ว.


   ภัททกาปิลานีเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงเหตุออกบวช
                [๔๓๘]       พระมหากัสสปะท่านเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า เป็นทายาทของพระ-
                             พุทธเจ้า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว รู้ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ ทั้งเห็น
                             สวรรค์และอบาย อนึ่ง ท่านบรรลุอรหัต อันเป็นความสิ้นไปแห่งชาติ
                             เป็นผู้เสร็จกิจแล้วเพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓ ด้วยวิชชา
                             ๓ เหล่านี้
นางภัททกาปิลานีเป็นผู้มีวิชชา ๓ เหมือนพระมหากัสสปะ เป็น
                             ผู้ละมัจจุชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด
                             เราทั้งสองบวชแล้วเพราะเห็นโทษในโลก เราทั้งสองนั้นเป็นผู้มีอาสวะ
                             สิ้นแล้ว มีอินทรีย์อันฝึกแล้ว เป็นผู้มีความเย็นใจ ดับสนิทแล้ว.


   อัญญตราภิกษุณีเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้ผลการฟังธรรม
                [๔๓๙]       ตั้งแต่เราบวชมาตลอด ๒๕ ปี ยังไม่ประสบความสงบจิต แม้ชั่วเวลา
                             ลัดนิ้วมือหนึ่งเลย เราไม่ได้ความสงบจิต มีจิตชุ่มแล้วด้วยกามราคะ
                             ประคองแขนทั้งสองคว่ำครวญเดินเข้าไปสู่วิหาร เราได้เข้าไปหาพระ-
                             ภิกษุณีผู้ที่เราควรเชื่อถือ พระภิกษุณีนั้นได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ
                             และธาตุแก่เรา เราฟังธรรมของภิกษุณีนั้นแล้ว เข้าไปนั่ง ณ ที่ควรแห่ง
                             หนึ่ง ย่อมรู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้ ทิพยจักษุเราชำระให้หมดจดแล้ว
                             เจโตปริยญาณและโสตธาตุเราชำระให้หมดจดแล้ว แม้ฤทธิ์เราก็ทำให้
                             แจ้งแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะแล้ว ทำให้แจ้งอภิญญา ๖
                             แล้ว ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.


   วิมลปุรณคณิกาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้โทษความสวย
                [๔๔๐]       เราเป็นผู้เมาแล้วด้วยผิวพรรณ รูปสมบัติ ความสวยงาม บริวารสมบัติ
                             และความเป็นสาว มีจิตกระด้าง ดูหมิ่นหญิงอื่นๆ ประดับร่างกายงดงาม
                             วิจิตร สำหรับลวงบุรุษผู้โง่เขลา ได้ยืนอยู่ที่ประตูบ้านหญิงแพศยา ดุจ
                             นายพรานที่คอยดักเนื้อ ฉะนั้น
เราได้แสดงเครื่องประดับต่างๆ และ
                             อวัยวะที่ควรปกปิดเป็นอันมากให้ปรากฏแก่บุรุษ กระทำมายาหลายอย่าง
                             ให้ชายเป็นอันมากยินดี
วันนี้เรามีศีรษะโล้น ห่มผ้าสังฆาฏิเที่ยว
                             บิณฑบาต แล้วมานั่งที่โคนต้นไม้ เป็นผู้ได้ฌานอันไม่มีวิตก เราตัด
                             เครื่องเกาะเกี่ยว ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ได้ทั้งหมด และ
                             ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เป็นผู้มีจิตใจเยือกเย็น ดับสนิทแล้ว.


   สีหาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้โทษกามราคะ
                [๔๔๑]       เมื่อก่อนเราเป็นผู้ถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน จึงทำจิตให้อยู่
                             ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่มนสิการโดยอุบายอันแยบคาย เป็นผู้อันกิเลส
                             ทั้งหลายกลุ้มรุมแล้ว มีปกติเป็นไปตามความเข้าใจในกามคุณว่าเป็นสุข
                             ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิตอันสัมปยุตด้วยราคะ จึงไม่ได้ความสงบแห่งจิต
                             เราจึงเป็นผู้ผอมเหลือง มีผิวพรรณไม่ผ่องใสอยู่ตลอด ๗ ปี เราเป็นผู้
                             อันทุกข์ครอบงำแล้ว ไม่ได้ความสบายใจทั้งกลางวันกลางคืน เพราะ
                             เหตุนั้น เราจึงถือเอาเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่า จะผูกคอตายเสียใน
                             ที่นี้
ดีกว่าที่จะกลับไปสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก พอเราทำบ่วงให้มั่นคง
                             ผูกที่กิ่งไม้แล้ว สวมบ่วงที่คอ ในทันใดนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจาก
                             อาสวะกิเลสทั้งหลาย.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2013, 04:48:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 09:06:25 am »


                 

   นันทาเถรีคาถา
   สุภาษิตสอนตน
                [๔๔๒]      ดูกรนางนันทา ท่านจงดูร่างกายอันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด
                             เปื่อยเน่า จงอบรบจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี มีอารมณ์เป็นหนึ่งด้วยอสุภสัญญา
                             ร่างกายนี้ฉันใด ร่างกายของท่านก็ฉันนั้น ร่างกายของท่านนั้นฉันใด
                             ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป อัน
                             พวกชนพาลปรารถนากันยิ่งนัก เมื่อท่านพิจารณาร่างกายนี้อย่างนี้ ไม่
                             เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน แทงตลอดแล้ว จักเห็นด้วยปัญญาของ
                             ตนได้ เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท ค้นคว้าอยู่โดยอุบายอันแยบคาย จึง
                             เห็นกายนี้ทั้งภายในและภายนอกตามความเป็นจริง ทีนั้นเราจึงเบื่อหน่าย
                             ในกายและคลายความกำหนัดในภายใน เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยว
                             ในสิ่งอะไร เป็นผู้สงบระงับดับสนิทแล้ว

   นันทุตตราเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้โทษการถือผิด
                [๔๔๓]      เมื่อก่อนเราไหว้ไฟ พระจันทร์ พระอาทิตย์และเทวดา ไปสู่ท่าน้ำ
                             แล้วลงดำน้ำ เราสมาทานวัตรเป็นอันมาก โกนศีรษะเสียครึ่งหนึ่ง นอน
                             แผ่นดิน ไม่กินข้าวในกลางคืน แต่ยินดีในการประดับตบแต่ง บำรุง
                             ร่างกายนี้ ด้วยกายอาบน้ำ และนวดฟั่นขัดสี เป็นผู้ถูกกามราคะครอบ
                             แล้ว ต่อมาเราได้ศรัทธาในพระศาสนา ออกบวชเป็นบรรพชิต เรา
                             พิจารณาเห็นกายตามความเป็นจริงแล้ว จึงถอนกามราคะเสียได้ ตัดภพ
                             ความอยาก และความปรารถนาทั้งปวง ไม่เกาะเกี่ยวด้วยกิเลสเครื่อง
                             ประกอบทุกอย่าง บรรลุถึงความสงบใจแล้ว.


   มิตตกาลีเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้โทษการติดลาภสักการะ
                [๔๔๔]      เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่เป็นรู้ขวนขวายในลาภสัก-
                             การะ ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการมุ่งลาภ เป็นเหตุละประโยชน์อันเยี่ยม
                             แล้ว ถือเอาประโยชน์อันเลว เราตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่ยินดี
                             ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อเรานั่งในที่อยู่ ได้เกิดความสังเวช
                             ว่า เราเป็นผู้เดินทางผิดเสียแล้ว จึงตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ชีวิต
                             ของเราเป็นของน้อย ถูกชราและพยาธิย่ำยีอยู่เป็นนิตย์ กายนี้ย่อมทำลาย
                             ไปก่อน เวลานี้เราไม่ควรประมาท เมื่อเราพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
                             และความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง จึงมีจิตหลุดพ้น
                             จากภพ ๓ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.


   สกุลาเถรีคาถา
   สุภาษิตชี้ผลการฟังธรรม
                [๔๔๕]      เมื่อเรายังอยู่ในเรือน ได้ฟังธรรมของภิกษุรูปหนึ่ง ได้เห็นนิพพาน
                             อันเป็นธรรมปราศจากธุลี เป็นทางเครื่องถึงความสุข ไม่จุติต่อไป
                             เราจึงละบุตร ธิดา ทรัพย์ และธัญชาติ โกนผมออกบวชเป็นบรรพชิต
                             เราศึกษาทางสงบใจอยู่ เจริญมรรคชั้นสูง จึงละราคะ โทสะ และ
                             อาสวะทั้งหลายอันกล้าแข็งกว่าราคะโทสะนั้นได้ เราอุปสมบทเป็น
                             ภิกษุณีแล้ว ระลึกถึงชาติก่อนได้ ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์หมดมลทิน
                             อบรมแล้วด้วยดี เราเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นอนัตตา เป็น
                             ของเกิดแต่เหตุ มีอันทรุดโทรมไปเป็นสภาพ แล้วละอาสวะทั้งปวง
                             เป็นผู้มีความเย็นใจ ดับสนิทแล้ว.


   โสณาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการฟังธรรม
                [๔๔๖]       ในรูปกายนี้ เราคลอดบุตร ๑๐ คน ต่อมาเป็นคนชราทุพพลภาพ จึง
                             เข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุณีนั้นแสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ
                             และธาตุแก่เรา เราฟังธรรมของภิกษุณีนั้นแล้ว โกนผมออกบวช เมื่อ
                             เราศึกษาอยู่ ได้ชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์แล้ว รู้ระลึกชาติก่อนๆ ได้
                             อนึ่ง เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เจริญอนิมิตสมาธิเป็น
                             ผู้มีวิโมกข์เกิดแล้ว ในลำดับแห่งมรรคอันเลิศ เป็นผู้ดับแล้วโดยหาเชื้อ
                             มิได้ ขันธ์ ๕ ที่เรากำหนดรู้ มีรากขาดแล้วตั้งอยู่ สิ่งที่ยังคงอยู่ก็คงมี
                             อยู่ในกายที่คร่ำคร่าเลวทราม บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2012, 10:32:37 am »


                 

   ภัททากุณฑลาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงโทษการถือผิด
                [๔๔๗]      เมื่อก่อนเราต้องถอนผม อมขี้ฟัน นุ่งห่มผ้าผืนเดียวเที่ยวไป เรา
                             สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่า มีโทษ และเห็นสิ่งที่มีโทษว่า ไม่มีโทษ
                             ออกจากที่พักในกลางวัน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี มีพระภิกษุ
                             สงฆ์ห้อมล้อม ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
จึงคุกเข่าลงถวายบังคมประนมอัญชลี
                             เฉพาะพระพักตร์ พระองค์ตรัสว่า มาเถิดนางภัททา เท่านั้นเราก็เป็น
                             อันได้อุปสมบทแล้ว เราเป็นผู้ไม่มีหนี้สิน บริโภคก้อนข้าวของชาว
                             แว่นแคว้น
เที่ยวไปในแคว้นอังคะ มคธ วัชชี กาสีและโกศล ๕๐ ปี
                             อุบาสกผู้มีปัญญา ได้ถวายจีวรแก่เราผู้ชื่อว่าภัททา ผู้พ้นแล้วจากกิเลส
                             เครื่องร้อยกองทั้งปวง ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.


   ปฏาจาราเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการทำสมาธิ
                [๔๔๘]       มาณพทั้งหลายไถนาด้วยไถ หว่านพืชลงบนแผ่นดิน หาทรัพย์เลี้ยง
                             บุตรภรรยา เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
                             ไม่เกียจคร้าน ไม่มีใจฟุ้งซ่าน เหตุไรจึงจะไม่บรรลุนิพพาน เราล้างเท้า
                             เห็นน้ำล้างเท้าไหลมาแต่ที่ดอนสู่ที่ลุ่ม กระทำให้เป็นนิมิต แต่นั้นทำ
                             จิตให้เป็นสมาธิ เหมือนม้าอาชาไนยที่ดี อันนายสารถีฝึกแล้วโดยง่าย
                             ฉะนั้น ลำดับนั้น เราถือประทีปเข้าไปยังวิหารตรวจดูที่นอนแล้วขึ้น
                             บนเตียง ลำดับนั้น เราจับเข็มหมุนไส้ลง พอไฟดับความหลุดพ้นแห่ง
                             ใจ
ได้มีแล้ว.


   ติงสมัตตาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการเชื่อฟังคำสอน
                [๔๔๙] พระเถรีประมาณ ๓๐ รูปนี้ ได้พยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระปฏาจารา
                เถรีอย่างนี้ว่า
                             มาณพทั้งหลายถือเอาสากซ้อมข้าว แสวงหาทรัพย์มาเลี้ยงบุตรภรรยา
                             ท่านทั้งหลายจงทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่กระทำแล้วไม่เดือด
                             ร้อนในภายหลัง
ท่านทั้งหลายจงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง จง
                             ประกอบความสงบใจ ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ภิกษุณีเหล่านั้น
                             ได้ฟังคำสั่งสอนของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่ควร
                             ข้างหนึ่ง ได้ประกอบความสงบใจ กระทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธ-
                             เจ้า ในยามต้นแห่งราตรี พากันระลึกชาติก่อนได้ ในมัชฌิมยามได้
                             บรรลุทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ได้ทำลายกองแห่งความมืด พระภิกษุณี
                             เหล่านั้นพากันลุกขึ้นไปกราบเท้าพระปฏาจาราเถรี แล้วกล่าวว่า คำสั่ง
                             สอนของท่าน พวกเราได้กระทำแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันห้อมล้อม
                             พระอินทร์ผู้ชนะสงคราม ฉันใด พวกเราจักพากันล้อมท่านอยู่ ฉันนั้น
                             เพราะพวกเราเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ.

   จันทาเถรีคาถา
   สุภาษิตแสดงผลการเชื่อฟังคำสอน
                [๔๕๐]       เมื่อก่อนเราเป็นคนเข็ญใจ เป็นหญิงหม้ายไม่มีบุตร ปราศจากญาติ
                             และมิตร ไม่ได้ประสบความบริบูรณ์ด้วยอาหารและผ้านุ่งห่ม เราถือ
                             ภาชนะดินและไม้เท้าเที่ยวไปขอทานตามสกุลน้อยใหญ่ ถูกความหนาว
                             ร้อนเบียดเบียนอยู่ตลอด ๗ ปี ต่อมาภายหลัง เราได้พบพระปฏาจารา
                             ภิกษุณี ผู้ได้ข้าวและน้ำเป็นปกติ จึงเข้าไปหาท่านแล้วขอบรรพชาอยู่ใน
                             สำนักท่าน ท่านให้เราบวชด้วยความอนุเคราะห์ ต่อมาท่านกล่าวสอน
                             เรา แนะนำเราให้ประกอบในปฏิปทาอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เราฟัง
                             คำของท่านแล้ว ได้ทำตามท่านสอน โอวาทของท่านไม่เป็นโมฆะ
เพราะ
                             เราได้บรรลุวิชชา ๓ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ.


   ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา
   สุภาษิตระงับโศก
                พระปฏาจาราเถรีแสดงธรรมด้วยคาถา ความว่า
                [๔๕๑]       ท่านไม่รู้ทางของผู้ใดซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว แต่ท่านก็ยังร้องไห้ถึงคนนั้น
                             ซึ่งมาแล้วจากไหนว่า บุตรของเราๆ ถึงท่านจะรู้จักทางของเขาผู้มาแล้ว
                             หรือไปแล้วก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาเลย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็น
                             ธรรมดา เมื่อเขามาจากปรโลก ใครๆ ไม่ได้อ้อนวอนเลย เขาก็มาแล้ว
                             เมื่อเขาจะไปจากมนุษยโลก ใครๆ ก็ไม่ได้อนุญาตให้ไป
เขามาจากไหน
                             ก็ไม่รู้ พักอยู่ที่นี้ ๒-๓ วันแล้วไปก็ดี มาจากที่นี้สู่ที่อื่น ไปจากที่นั้นสู่
                             ที่อื่นก็ดี เขาละไปแล้วจักท่องเที่ยวไปโดยรูปมนุษย์ มาอย่างไรก็ไป
                             อย่างนั้น
การร่ำไห้ในการไปของสัตว์นั้นจะเป็นประโยชน์อะไร.
                พระภิกษุณี ๕๐๐ รูปกล่าวว่า
                             ท่านได้ช่วยถอนขึ้นซึ่งลูกศร ที่บุคคลเห็นได้ยาก อันเสียบแทงอยู่ใน
                             หทัยของเราแล้ว เมื่อเราถูกความโศกถึงบุตรครอบงำ ท่านได้บรรเทาเสีย
                             แล้ววันนี้
เรามีลูกศร อันถอนขึ้นแล้ว หมดความหิว ดับรอบแล้ว

                             เขาขอถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์
                             ว่าเป็นสรณะ.




พระปฏาจาราเถรีเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ และทิพยโสต (หูทิพย์ คือฟังเสียงกิเลสออก)
รู้ในเจโตปริยญาณ (รู้ใจที่เป็นกิเลสอื่นๆได้) รู้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้)
ชำระทิพพจักขุ ( ตาทิพย์ คือ มองทะลุ กิเลสได้) ให้บริสุทธิ์ ทำอาสวะ (กิเลส) ทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์ หมดมลทินด้วยดี

ต่อมา พระปฏาจาราเถรี ได้หมั่นเพียรศึกษาวินัยทั้งปวง ที่พระศาสดา ทรงบัญญัติไว้
สามารถทรงจำ และกล่าวอ้างวินัย ได้กว้างขวาง ได้อย่างชัดเจน ตรงตามจริง
กระทั่งพระศาสดา ทรงพอพระทัย ในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงแต่งตั้งไว้ ในตำแหน่ง เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมในธรรม ด้านใดด้านหนึ่ง) ว่า
"ปฏาจาราภิกษุณีผู้เดียวนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในด้านความเป็นผู้ทรงวินัย"
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๔๔๘
พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ ข้อ ๑๖๐ อรรถกถาแปลเล่ม ๕๔ หน้า ๑๘๓)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2013, 06:30:20 pm โดย ฐิตา »