อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
ฐิตา:
۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞
ภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ
ได้ภาษิตคาถา
[๔๐๒] ได้ยินว่าภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ ได้ภาษิตคาถาไว้อย่างนี้ว่า
ดูกรพระเถรี ท่านจงทำไตรจีวรด้วยท่อนผ้า แล้วนุ่งห่มให้สบายเถิด
เพราะว่าราคะของท่านสงบระงับแล้ว ดุจน้ำผักดองอันแห้งในหม้อ
ฉะนั้น.
มุตตาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางมุตตาเถรี
[๔๐๓] ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกล่าวสอนนางมุตตาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระคาถา
นี้ อย่างนี้ว่า
ดูกรนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย ดุจ
พระจันทร์ถูกราหูจับแล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ฉะนั้น เธอมีจิตหลุด
พ้นแล้ว จงไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.
ปุณณาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางปุณณาเถรี
[๔๐๔] ดูกรนางปุณณา เธอจงบริบูรณ์ด้วยธรรมทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์
ในวันเพ็ญ ฉะนั้น เธอจงทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์
เถิด.
ดิสสาเถรี
พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
[๔๐๕] ดูกรนางดิสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย
อย่าครอบงำเธอเลย เธอจงเป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวด้วยโยคะทั้งปวง ไม่มี
อาสวะ เที่ยวไปในโลกเถิด.
อัญญตราดิสสาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
[๔๐๖] ดูกรนางดิสสา เธอจงประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย ขณะอย่าได้ก้าวล่วง
เธอไปเสีย เพราะว่าชนทั้งหลายผู้มีขณะอันก้าวล่วงแล้ว ย่อมพากันไป
ยัดเยียดในนรกเศร้าโศกอยู่.
ฐิตา:
ธีราเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
[๔๐๗] ดูกรนางธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่สงบระงับสัญญาเป็นสุข เธอ
จงทำนิพพานอันยอดเยี่ยมปลอดโปร่งจากโยคะให้สำเร็จเถิด.
อัญญตราธีราเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
[๔๐๘] นางธีราภิกษุณีผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่อง
ทรง เธอจงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะแล้วทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุดเถิด.
มิตตาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางมิตตาเถรี
[๔๐๙] ดูกรนางมิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในกัลยาณมิตร
จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ.
ภัทราเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางภัทราเถรี
[๔๑๐] ดูกรนางภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมอัน
เจริญ จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
อย่างยอดเยี่ยม.
อุปสมาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางอุปสมาเถรี
[๔๑๑] ดูกรนางอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก เธอ
จงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.
ฐิตา:
มุตตาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงความหลุดพ้น
[๔๑๒] เราผู้ชื่อว่ามุตตาเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยดี ด้วยการหลุดพ้นจากความค่อม
๓ อย่าง คือ ค่อมเพราะครก ๑ ค่อมเพราะสาก ๑ ค่อมเพราะสามี ๑
และเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากความเกิดและความตาย ถอนตัณหาเครื่อง
นำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว.
ธรรมทินนาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงการบรรลุนิพพาน
[๔๑๓] เราเป็นผู้มีฉันทะอันเกิดแล้ว มีที่สุดอันมิใช่วิสัย เป็นผู้ถูกต้องแล้วซึ่ง
นิพพานด้วยใจ และไม่มีจิตปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเรียกว่า
มีกระแสในเบื้องต้น.
วิสาขาเถรีคาถา
สุภาษิตชวนประพฤติธรรม
[๔๑๔] ท่านทั้งหลาย จงทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่บุคคลทำแล้วไม่
เดือดร้อนในภายหลัง ขอท่านทั้งหลายรีบล้างเท้าทั้งสองแล้วนั่ง ณ ที่
ควรเถิด.
สุมนาเถรีคาถา
สุภาษิตสอนการพิจารณาธาตุ
[๔๑๕] ท่านจงพิจารณาเห็นธาตุ ทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์แล้ว อย่าเข้าถึง
ความเกิดอีกเลย ท่านคลายความพอใจในภพแล้ว จักเป็นผู้สงบระงับ
เที่ยวไป.
อุตตราเถรีคาถา
สุภาษิตสอนการสังวร
[๔๑๖] เราเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกาย วาจา และใจ ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก
แล้ว เป็นผู้มีความเย็นใจดับสนิทแล้ว.
ฐิตา:
สุมนวุฐฒปัพพชิตาเถรีคาถา
สุภาษิตสอนการนุ่งห่ม
[๔๑๗] ดูกรนางสุมนาผู้เจริญ ท่านจงทำไตรจีวรด้วยท่อนผ้า นุ่งห่มแล้วนอนให้
สบายเถิด เพราะราคะของท่านสงบระงับแล้ว ท่านเป็นผู้มีความเย็นใจ
ดับสนิทแล้ว.
ธรรมาเถรีคาถา
สุภาษิตสอนการพิจารณากาย
[๔๑๘] เราเป็นคนทุพพลภาพ มีกายอันสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต
ได้ล้มลงที่แผ่นดินตรงนั้นเอง ที่นั้นจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะ
พิจารณาเห็นโทษในกาย.
สังฆาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงผลการออกบวช
[๔๑๙] เราละเรือนและละบุตร ทั้งสัตว์ของเลี้ยงอันเป็นที่รักออกบวชแล้ว ละ
ราคะ โทสะ และคลายอวิชชาแล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก เป็นผู้
สงบระงับดับแล้ว.
นันทาเถรีคาถา
พระพุทธโอวาทสอนนางนันทาเถรี
[๔๒๐] ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนนางนันทาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระ
คาถาเหล่านี้ อย่างนี้ว่า
ดูกรนางนันทา เธอจงพิจารณาอัตภาพอันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว
อันกระสับกระส่าย ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า จงอบรมจิตให้ตั้งมั่น
มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา อนึ่ง เธอจงอบรมจิตให้หานิมิตมิได้
และบรรเทาซึ่งอนุสัย คือมานะ เพราะการละมานะเสียได้ แต่นั้นจัก
เป็นผู้สงบเที่ยวไป.
ชันตาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงผลการเจริญโพชฌงค์
[๔๒๑] โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันเป็นหนทางแห่งการบรรลุนิพพาน เราเจริญ
แล้วทั้งหมด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเราเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น อัตภาพร่างกายของเรานี้มีในที่สุด
ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ การเกิดอีกไม่มี.
ฐิตา:
อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา
สุภาษิตแสดงการมีความสุข
[๔๒๒] เราพ้นแล้วพ้นแล้วด้วยดี เป็นผู้พ้นดีแล้วจากสาก จากสามี ผู้หา
ความละอายมิได้ ซึ่งเราไม่ชอบใจ จากการทำร่มของสามีที่เราไม่ชอบใจ
จากหม้อข้าว จากความขัดสน เราได้ตัดราคะ และโทสะขาดแล้ว เรา
เข้าไปอาศัยโคนไม้ เพ่งฌานอยู่โดยความสุขว่า สุขหนอ.
อัฑฒกาสีเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงการปฏิบัติตามคำสอน
[๔๒๓] กาสีชนบทมีประมาณเท่าใด ส่วนของเราได้มีแล้วประมาณเท่านั้น
ชาวนิคมกำหนดราคา แคว้นกาสีไว้แล้ว ตั้งราคาเราไว้ครึ่งราคาแคว้นกาสี
ภายหลังเราเบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด ไม่พึงแล่นไปสู่
ชาติสงสารอีกบ่อยๆ วิชชา ๓ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าเราก็ทำเสร็จแล้ว.
จิตตาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงถึงพลังจิต
[๔๒๔] เราเป็นผู้มีร่างกายผอม ทุพพลภาพหนักเพราะความไข้ ถือไม้เท้าไปใน
ที่ไหนๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรายังขึ้นภูเขาได้ วางผ้าสังฆาฏิ และคว่ำ
บาตร แล้วนั่งบนภูเขา ทำลายกองแห่งความมืด ข่มตนไว้.
เมตติกาเถรีคาถา
สุภาษิตแสดงถึงพลังจิต
[๔๒๕] เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์ มีกำลังน้อย ผ่านพ้นความเป็นสาวไปแล้ว
ถือไม้เท้าไปในที่ไหนๆ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เรายังขึ้นภูเขาได้ วางผ้า
สังฆาฏิและคว่ำบาตร แล้วนั่งบนภูเขา ทีนั้นจิตของเราหลุดพ้นแล้ว
วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราทำเสร็จแล้ว.
มิตตาเถรีคาถา
สุภาษิตประกาศไม่ปรารถนาเทพนิกาย
[๔๒๖] เราปรารถนาเทพนิกายชั้นจาตุมมหาราช จึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ
ตลอดปาฏิหาริยปักข์ วันนี้เรามีการบริโภคภัตตาหารครั้งเดียว มีศีรษะ
โล้น ห่มผ้าสังฆาฏิบวชแล้ว เรากำจัดความกระวนกระวาย ในหฤทัย
เสียได้ไม่ปรารถนาเทพนิกายอีก.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version