ผู้เขียน หัวข้อ: โพธิสัตตวจรรยาวตาร โดย อาจารย์ ศานติเทวะ(Santideva)  (อ่าน 5251 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


โพธิสัตตวจรรยาวตาร

...ตราบเท่าที่อากาศยังคงอยู่ และตราบเท่าที่สรรพสัตว์ยังคงอยู่ ตราบนั้น ข้าขอคงอยู่ เพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกของโลก

...........ศานติเทวะ


โพธิสัตตวจรรยาวตาร(Introduction to Bodhicaryavatara) นี่ อาจารย์ ศานติเทวะ(Santideva) เป็นผู้รจนาขึ้นโดยขณะที่รจนานั้น อาจารย์ศานติเทวะมิได้รจนาด้วยความรู้สึกเย่อหยิ่งภาคภูมิใจในความรู้ของตนเลย แต่กลับรจนาขึ้นด้วยความคิดเพียงแค่จะเอื้อประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง ดังนั้นกล่าวได้ว่า "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" นี้เหมาะกับทุกคน เพราะหากผู้รจนาเต็มเปี่ยมไปด้วยความภาคภูมิใจในความเฉลียวฉลาดของตนแล้ว คำอธิบายทั้งหลายก็ย่อมไม่อาจกล่าวได้เหมาะสมกับคนทุกระดับ

และในโอกาศที่ "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" อันมีความหมายว่าแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตต์ ในฉบับภาษาไทยที่ รศ.ดร ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ได้แปลไว้อย่างสมบูรณ์ตามพรที่ได้รับมาจากองค์ทาไลลามะ ซึ่งประทานหนังสือเล่มนี้ให้ ได้นำมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งเพื่อให้คนไทยได้มีโอกาศอ่านงานของโพธิสัตต์มรรคชั้นเลิศทีได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างงดงามสมบูรณ์โดยอาจารย์ฉัตรสุมาลย์ ดังนั้นในโอกาสนี้จึงขอเขียนและกล่าวถึง "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" โดยย่อพอให้เห็นภาพรวม เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านฉบับสมบูรณ์ของอาจารย์ฉัตรสุมาลย์ได้ต่อไป
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ประวัติของอาจารย์ ...ศานติเทวะ

ก่อนที่จะเล่าถึงคำสอนของผู้รจนา เราควรมาทำความเข้าใจประวัติของอาจารย์ศานติเทวะโดยย่อกันก่อน ศานติเทวะเป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าชีวิตของท่านเริ่มต้นด้วยการเป็นเจ้าชาย ประสูติในเบงกอล(Bengal) แต่ต่อมาได้สละราชสมบัติและเริ่มออกแสวงหาคุรุทางจิตจิตวิญญาณ ได้เรียนรู้ศึกษาจากคุรุหลายท่าน จนในที่สุดก็ได้มาศึกษา ปฏิบัติ เรียนรู้ศาสตร์ทั้งหลายอย่างสมบูรณ์ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็น

มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ดังทีสุดในยุคนั้น เล่ากันต่อว่าอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว โดยได้ร่ำเรียนถ่ายทอดวิชาโดยตรงจากพระโพธิสัตต์ซึ่งจะมาสอนในตอนกลางคืน และด้วยเหตุที่อาจารย์ศานติเทวะดำเนินชีวิตอย่างสมถะและถ่อมตัวที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีใครสนใจและไม่มีใครเห็นว่าอาจารย์ศานติเทวะเป็นบุคคลพิเศษที่บรรลุธรรมแล้วคนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยนาลันทาต่างพากันคิดว่า ศานติเทวะเป็นคนต่ำต้อย ไร้ค่า ไม่ทำตัวให้เกิดประโยชน์ อันใดต่อมหาวิทยาลัยสงฆ์เลย มีแต่จะทำให้อาหารของสงฆ์สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์เท่านั้น

จนกระทั่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้มาประชุมกันและเห็นพ้องต้องกันว่า " อาหารและปัจจัยของหมู่สงฆ์ต้องถูกจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่พระรูปนี้ (หมายถึงพระอาจารย์ศานติเทวะ) กลับทำตัวไร้ค่ามีแต่กินและนอนเท่านั้น แสดงว่าพระรูปนี้ต้องสะสมกรรมชั่วมานาน และกำลังจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้นเราต้องหาทางกำจัดเขาให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรา"

ในทุก ๆ เดือนที่มีการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ที่เหล่าอาจารย์จะต้องมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ด้วยความไม่รู้ที่ว่าแท้จริงแล้วอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว เนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูต่ำต้อยที่ท่านแสดงออก สงฆ์เหล่านั้นจึงวางแผนกันว่าจะนิมนต์ให้ศานติเทวะขึ้นอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ซึ่งเชื่อว่าอาจารยืศานติเทวะจะต้องทำไม่ได้ และจะต้องรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก สุดท้ายต้องออกไปจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้

จากการที่เหล่าสงฆ์ได้ร่วมกันวางแผนที่จะกลั่นแกล้งอาจารย์ศานติเทวะให้ได้รับความอับอาย ด้วยการนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม และเพื่อจะทำให้อาจารย์ศานติเทวะรู้สึกอับอายมากขึ้น สงฆ์เหล่านั้นก็จงใจตั้งธรรมาสน์ให้สูง แล้วนิมนต์อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งแสดงธรรม ซึ่งท่านก็ตอบรับคำนิมนต์นั้น

แต่ทันทีที่ท่านเอื้อมมือไปแตะธรรมมาสน์นั่นเอง ธรรมาสน์ที่เคยสูงก็กลับค่อย ๆ เลื่อนลดต่ำลงมาให้อาจารย์ศานติเทวะขึ้นนั่งได้อย่างสะดวก แล้วก็หันกลับไปถามเหล่าสงฆ์ว่า
" พวกท่านต้องการจะฟังพระสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือ จะฟังอะไรใหม่ ๆ "

เหล่าสงฆ์พากันประหลาดใจอย่างมาก แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าอาจารย์ศานติเทวะไม่มีความรู้ใด ๆ จึงพากันขอให้ท่านแสดงอรรถกถาของตัวท่านเอง

และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำสอนใน "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" และเมื่อท่านแสดงจนถึงบทที่ว่าด้วยปัญญา ตัวท่านก็ลอยสูงขึ้น สูงขึ้นไปในอากาศจนกระทั่งหายลับไป เมื่อเหล่าสงฆ์ได้ฟังคำสอนเรื่อง "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" ก็รู้สึกเสียใจที่คิดและแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่ออาจารย์ศานติเทวะ จึงพากันออกตามหาท่านแต่ก็ล้มเหลว

จนกระทั่งก็มีผู้ไปพบอาจารย์ศานติเทวะบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง ผู้คนและคณะสงฆ์ที่ออกตามหาก้พากันไปเฝ้าดู และสังเกตุเห็นว่ามีกวางตัวหนึ่งเดินหายเข้าไปในถ้ำที่อาจารย์ศานติเทวะพำนักอยู่ โดยไม่กลับออกมาอีกเลย ทุกคนจึงพากันคิดว่าอาจารย์ศานติเทวะต้องฆ่ากวางเพื่อเอาเนื้อมากินแน่ จึงพากันเดินขึ้นไปบนถ้ำเพื่อจะเข้าไปทำร้ายท่าน แต่เมื่อถึงปากทางเข้าถ้ำ ปรากฎว่ามีกวางจำนวนมากมายตบแต่งด้วยเครื่องประดับอันสวยงามพากันเดินออกมาจากถ้ำโดยมีอาจารย์ศานติเทวะเดินตามมารั้งท้าย

แท้ที่จริงแล้ว การที่กวางเหล่านั้นหายเข้าไปในถ้ำเป็นเวลานาน ๆ ก็้้เพื่อไปฟังธรรมจากอาจารย์ศานติเทวะนั่นเอง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายและเหล่าสงฆ์ต่างก็รู้สึกละอายใจ และพากันไปสารภาพผิดต่ออาจารย์ศานติเทวะและขอให้อาจารย์ศานติเทวะเมตตาถ่ายทอดธรรมให้นับตั้งแต่นั้นมา

สำหรับคำสอนในเรื่อง โพธิสัตตวจรรยาวตาร ของอาจารย์ศานติเทวะนี้ ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะคำสอนในเรื่องการสอนโพธิจิต อันเป็นรากฐานที่สำคัญสู่เส้นทางเดินแห่งโพธิสัตตมรรค ถึงยุคสมัยก่อนนั้น ไม่เคยมีใครได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย

อย่างไรก็ตามคำสอนโพธิสัตตวจรรยาวตารก็มิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน เพียงแต่โพธิสัตตวจรรยาวตารนี้เป็นอรรถกถาอาจารย์ศานติเทวะตามความรู้และการปฏิบัติตามที่ท่านได้ทำมา

ในบทนำของโพธิสัตตวจรรยาวตาร อาจารย์ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า

" อรรถกถาเหล่านี้อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่อย่างน้อยที่สุดอรรถกถาเหล่านี้เอื้อประโยชน์อย่างสูงต่อตัวอาตมา และสารธารแห่งจิตของอาตมา "

การที่อาจารย์ศานติเทวะกล่าวเช่นนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นวิถีแห่งอาจารย์เชิงพุทธธิเบตที่จะพยายามลดทิฐิมานะ ยึดมั่นในอัตตาตัวตนของตนเองออกเสียและยกย่องผู้อื่นด้วยความนอบน้อมถ่อมตนเพื่อเป็นหนทางในการช่วยขจัดทิฐิมานะหยิ่งทะนงในอัตตาตัวตนออกไปเสีย

อรรถกถาโพธิสัตตวจรรยาวตาร จะประกอบไปด้วยทั้งสิ้น 10 บทคือ
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




บทที่ ๑ ประโยชน์แห่งโพธิจิต

ในบทแรกนี้อาจารย์ศานติเทวะได้กล่าวถึงคุณค่าของการได้เกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ และเราควรใช้ชีวิต ของการเป็นมนุษย์นี้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดพร้อมกันนั้นที่ได้เริ่มเกริ่นนำถึงโพธิจิต(Bodhichitta) อรรถกถากล่าวไว้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง นัก ดังนั้น ในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราที่ควรจะใช้ชีวิต ใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้กลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกครั้ง และที่สำคัญเมื่อเป็นมนุษย์แล้วโอกาสที่จะใช้ร่างกายนี้ไปกระทำความชั่วที่มีอยู่ตลอด เวลา จนกระทั่งโอกาสที่คิดจะกระทำดีที่ดูน้อยลงไปยิ่งนักหากไม่มีสติรู้เท่าทัน แต่บางครั้ง เราก็มีความคิดที่ดี ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความกรุณาขององค์พระพุทธเจ้าที่ คอยอำนวยอวยพร หรืออาจจะเป็นผลแห่งกรรมดีที่เราเคยสั่งสมมา แต่ความคิดดีงามเช่นนี้ บ่อยครั้ง ที่เปรียบได้กับค่ำคืนอันมืดมิดที่ไร้แม้แสงจันทร์แสงดาว ทันใดนั้นก็เกิดฟ้าแลบให้เราได้เห็นความจริง ของสรรพสิ่งเพียงชั่ววินาทีเดียว จากนั้นก็คืนสู่ความมืดมิดอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตในแต่ละวันของเราที่เปรียบ ได้ดุจเดียวกัน อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ จนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรานั้นมันอ่อนแอยากที่ จะเกิด ดุจเดียวกับแสงแห่งสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีเดียว แต่ยามใดที่คุณธรรมในตัวเรายังเกิดขึ้นเราต้องหล่อหลอมพลังแห่งคุณธรรมเข้ากับทุกขณะจิตของควาคิดและการกระทำ นี่แหละคือจุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของเราเอง พลังอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองเป็นผู้สั่งสมมันมานานแสนนาน ขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสั่งสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบในชั่วขณะเดียว ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขจัดพลังอกุศลกรรมนั้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาและปัญญาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธี การเอาชนะพลังอกุศล ด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์ที่จะเพียรและยึดมั่นในการตรัสรู้ เพราะนอก จากโพธิจิตอันสมบูรณ์แล้วยากที่จะมีพลังคุณธรรมอื่นใดที่จะเอาชนะพลังแห่งอกุศลที่สั่งสมมานานแสน นานได้ เปรียบได้กับการพยายามที่จะจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่กองทับถมสูงเท่าภูเขาด้วยเพียงแค่ไม้ขีดไฟหยิบมือ เดียว พลังแห่งโพธิจิตนั้นล้ำลึกเพราะด้วยโพธิจิตนี้เองที่สามารถแปรเปลี่ยนเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาสู่การเป็น ผู้ตรัสรู้ แปรเปลี่ยนกายเนื้อของมนุษย์สู่กายแห่งพุทธะที่ไม่มีพลังคุณธรรมอื่นใดจะเทียมเท่า อาจได้เปรียบ กว่าคุณธรรมอื่น ๆ ที่สั่งสมนั้นที่เป็นเพียงต้นกล้วยที่เมื่อให้ผลแล้วจักต้องตายจากไป แต่พฤกษาแห่ง โพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป โพธิจิตมีอยู่ 2 นัย คือ โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) และโพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้ ( Engaging Bodhichitta ) โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้เปรียบได้กับเมื่อเราต้องการที่จะเดินทางไปอเมริกา อันดับแรกเรามีความตั้งใจที่จะไป จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะไป การตัดสินใจที่จะไปนี่เองคือโพธิจิตที่ยึดมั่น ในการตรัสรู้ ในทางปฏิบัติก็คือการตั้งปณิธาน " เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้า ขอตั้งมั่นสู่การรู้แจ้ง " โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) ก็เหมือนกับเราตัดสินใจแล้วที่จะไป เราชื้อตั๋วเครื่องบิน และขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทางและจากจุดนี้เองที่โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้( Engaging Bodhichitta) เริ่ม ทำงานเมื่อการเดินทางเกิดขึ้นจริง ๆ ขณะที่เครื่องบินบินสู่จุดหมายนั้น เราก็เข้าไกล้การตรัสรู้มากขึ้น ๆ ทุก ที ตลอดเส้นทางสายการปฏิบัตินั้น เราจะค่อย ๆ สั่งสม คุณธรรมและปัญญา พร้อม ๆ กับ ขจัดพลังอกุศล จนกระทั่งได้ถึงจุดหมายปลายทางคือการบรรลุซึ่งการตรัสรู้นั่นเอง


บทที่ ๒ การเปิดเผยความชั่ว

ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงวิธีการเพื่อทำให้เกิดโพธิจิตอันเป็นจิตที่มคุณค่าอันได้แก่การน้อมถวายเครื่อง สักการะที่เกิดจากอาณุภาพของจิต การกราบนมัสการการประกาศขอยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และการสารภาพบาปเปิดเผยความชั่วของตนเอง การถวายเครื่องสักการะนั้น เริ่มต้นด้วยการขอน้อมถวาย กาย วาจา และ ใจ ของตัวเราเองแก่พระ รัตนตรัย ทั้งที่เป็นเครื่องสักการะที่เรามีอยู่จริง และที่เกิดจากอานุภาพจิตของเรา เพื่อเป็นการลดละ ความยึดมั่นถือมั่น หรือ ความตระหนี่ในใจตน จากนั้นเรากราบนมัสการ และ ประกาศขอยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะเพื่อเป็นหนทางสุ่การซึมซับ คุณค่าแห่งองค์พระพุทธะ เพราะเป้าหมายสุดท้ายที่เราต่างต้องการมุ่งไปให้ถึงคือการตรัสรู้ ดังนั้น เราจึงควรเริ่มต้นด้วยการขอยึดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ เพื่อเป็นแบบอย่างอัน งดงาม ให้เราได้ตระหนักถึงและมุ่งตรงต่อการได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นเราขอประกาศยึดถือพระธรรมเป็นสรณะ เพราะพระธรรมนั้นเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่เปิดเผยเส้นทางให้เราเดินก้าวไป เพื่อได้บรรลุถึงซึ่งเป้าหมายสุดท้ายอันยิ่งใหญ่ของเรา และพระสงฆ์สาวกแห่งพระพุทธเจ้า ก็เปรียบเสมือนผู้นำทางที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำสั่งสอน เราให้ สามารถออกเดินทางไปสู่จุดหมายได้อย่างถูกต้องไม่หลงทางนั้น เราจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำช่วย เหลือที่ดีจากผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนแท้ทางจิตวิญญาณของเราเอง ดังนั้นจึงเป็น การสมควรที่เราจะนบน้อมขอยึดเหล่าพระสงฆ์สาวกแห่งองค์พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ส่วนสุดท้ายของบทนี้คือการสารภาพบาป เปิดเผยความชั่วของตัวเราเอง หากเราสำรวจตัวเรา และ การกระทำของเราอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือในปัจจุบัน เราจะพบว่าตัวเราเองนั้นได้ ก่ออกุศลกรรม ทางกาย วาจา และ ใจ มาแล้วมากมายไม่ว่าจะด้วยมีเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามแต่ได้ กลายเป็นบาป เป็นมลทินติดตัวเราโดยสิ้นเชิง หากเราไม่ตระหนักรู้และยอมรับในความผิดที่ได้ก่อ อกุศลกรรม เราย่อมไม่มีวันที่จะชำระอกุศลกรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ และย่อมไม่อาจเป็นอิสระจาก อกุศลกรรมเหล่านั้นอย่างแท้จริง ดังนั้นเราควรยอมรับและสารภาพ อกุศลกรรมทั้งหลายที่เราได้กระทำไปแล้ว ที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ให้เรา ยังคงวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ แห่งห้วงวัฏสงสาร และตั้งสัจจะที่จะไม่หวนกลับไปทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกต่อ พระรัตนตรัย และขอน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดยอมรับการสารภาพบาป เปิดเผย ความชั่วและความผิดทั้งปวงของเรา เพื่อที่เราจะได้เริ่มต้นกระทำกรรมดีต่อไป



บทที่ ๓ การน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์

ในบทนี้เป็นการแสดงถึงการตั้งมั่นที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์ ที่จะยินดีสละทุกสิ่งเพื่อเป็นทานแก่ สรรพสัตว์ และตั้งมั่นปฏิบัติตนตามวิถีแห่งโพธิสัตต์ ยึดมั่นในครรลองแห่งโพธิสัตต์ศีลด้วยความ ประเสริฐบริสุทธิ์ เพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้อันจะนำประโยชน์มาสู่สรรพสัตว์ทั้งปวงโดยปราศจากเงื่อนไข หรือแบ่งแยก ( สำหรับรายละเอียดเรื่องศีลโพธิสัตต์ รศ.ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ได้ให้รายละเอียดไว้ แล้วใน " อาทิตย์ " ฉบับก่อน ๆ จึงขอไม่นำมาลงรายละเอียด ณ ที่นี้ อีกครั้งหนึ่ง)


บทที่ ๔ ความตระหนัก

ในบทที่ ๔ นี้ แสดงการพยายามตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราให้มั่นคงตามแนวโพธิสัตต์ มรรค เพราะหลังจากที่เราตั้งปณิธานที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์ ถือสัจจะตามโพธิสัตต์ศีล เพื่อยัง ประโยชน์ แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงแล้วในบทที่ ๓ จากนั้นเราต้องนำปณิธานของเราไปสู่ภาคปฏิบัติอย่าง แท้จริง

เมื่อเราได้ศึกษาคุณค่าแห่งโพธิจิต จนเกิดความศรัทธาที่จะดำเนินตามครรลองของวิถีโพธิสัตต์ เราควรมี การสำรวจซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งสภาพและจิตของเรา พร้อม ๆ กับหมั่นเพียรศึกษาเพิ่มเติมด้วยความมีปัญญา เพื่อให้เข้าใจและตระหนักอย่างถ่องแท้ถึง คุณความดีแห่งโพธิจิตและโพธิสัตต์มรรค เพราะคงไม่ใช่เรื่อง ฉลาดเลย หากเราจะเกิดความศรัทธาและเลือกที่จะปฏิบัติตามโพธิสัตต์มรรคเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เนื่อง จากเพียงเพราะเชื่อตามคำชักชวนของผู้อื่นโดยไม่มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ ดังนั้นสำหรับผู้มีปัญญาแล้ว เมื่อได้ใช้ปัญญาของตนศึกษาพิจารณา จนเกิดศรัทธาที่จะน้อมรับโพธิจิต ตั้งมั่นอยู่บนวิถีโพธิสัตต์ย่อม ไม่คิดหวนคืนกลับ จุดนี้เองคือความสำคัญยิ่งของการตั้งมั่นอยู่บนวิถีนี้

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจรับโพธิสัตต์ศีล เราควรจะศึกษาและตรวจสอบตัวเราให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น และ เมื่อตัดสินใจที่จะก้าวเดินต่อไปตามวิถีนี้แล้ว ก็ต้องพยายามตระหนักในตนเองที่จะไม่หวนกลับ เพราะ เมื่อเราได้ตัดสินใจที่จะมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ และตั้งมั่นที่จะถือศีลโพธิสัตต์ แต่ต่อ มากลับประพฤติ ตนผิด ไปจากปณิธานอันงามสง่าของตน แต่เรายังได้ทรยศต่อสรรพสัตวืทั้งปวง เพราะ เราได้ผิดสัญญาที่จะปกป้อง และปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์

นั่นคือผู้ที่อยู่บนวิถีโพธิสัตตย่อมพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผองเพื่อน สรรพสัตว์์ือย่างมีปัญญา และการ ที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นได้ ก็จำเป็นที่จะต้องหมั่นศึกษาเพิ่มเติมและตรวจสอบทั้งสภาพกายและจิต ของตนเองให้เกิดความตระหนักอยู่เสมอที่จะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และพยายามที่จะไม่ก่อ อกุศลกรรมแก่ผู้ใด
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


บทที่ ๕ ความมีสติ

เมื่อเราได้ตั้งมั่นที่จะปฏิบัติตนตามวิถีแห่งพระโพธิสัตต์ ยึดมั่นในครรลองแห่งโพธิสัตต์ศีล สิ่งที่เราต้องระวัง คือเราพึงรักษาจิตโดยตั้งใจ เพราะหากเรามิอาจรักษาจิตให้มีสติรู้ตัวได้แล้ว เราย่อมไม่อาจรักษาทางปฏิบัติ ของเราได้เช่นกัน

หากเปรียบไปแล้ว จิตของเราเป็นได้ดั่งช้างตกมัน นำมาซึ่งอันตรายได้รอบด้าน เว้นเสียแต่ช้างตกมันใน จิตใจของเรานั้นจะถูกล่ามด้วยเชือกแห่งความมีสติรอบด้าน นั่นคือเราสามารถฝึกจิตของเราให้กำหราบ ช้างตกมันในใจเราได้ ก็มิมีสิ่งใดหรือผู้ใดจะมายั่วเย้าให้ช้างตกมันในจิตของเราเกิดขึ้นมาได้อีก

ความทุกเร่าร้อนในขุมนรก และเปรตอสุรกายทั้งหลายนั้น จริง ๆ แล้ว เกิดขึ้นมาจากที่ใด ยังมีขุมนรกที่ มีผู้ลงทัณฑ์ และผู้ถูกลงทัณฑ์อยู่หรือไม่ ในเรื่องนี้อาจารย์ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า ใครเล่าตั้งใจสร้างอาวุธ ทั้งหลายในนรก ใครเล่าสร้างพื้นดินอันเป็นเหล็กเผาร้อน บรรดาผู้ลงทัณฑ์ และผู้ถูกลงทัณฑ์ในขุมนรก เกิดขึ้นจากที่ใด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครเป็นผู้สร้างเลย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำของอกุศลจิต ความทุกข์ในนรกนั้นมิใช่สิ่งใดเลยนอกจากความทุกข์ในจิตของเราเอง และการรู้แจ้งที่ไม่ได้อยู่แห่งหน ใดเลย นอกจากอยู่ภายในจิตเราเอง

ดังนั้นภายในสามโลก จึงไม่มีสิ่งใดน่ากลัวไปกว่าจิตของเราเอง ด้วยจิตของเรานี้เองที่สามารถบันดาล ได้ทั้งนรกและสันติสุขของการรู้แจ้งให้บังเกิดขึ้นต่อเรา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมีสติที่จะคอย ดูแลกำกับจิตของเรา ให้การกระทำใด ๆ ของเราที่จะตามมาเป็นไป แต่ในทางอันเป็นกุศลในที่สุด

อาจารย์ศานติเทวะ กล่าวไว้ว่า " ดุจดังผืนแผ่นดินที่เต็มไปด้วยกรวดหิน และขวากหนามยากยิ่งจะ ก้าวเดินไป แต่เราจะไปหนังสัตว์จำนวนมากให้เพียงพอได้อย่างไร เพื่อห่อหุ้มผิวโลกทั้งมวล แต่การ ใส่รองเท้าพื้นทำด้วยหนัง ก็มีผลเท่ากับห่อหุ้มผิวโลกทั้งมวลด้วยหนังเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะไปห้ามเหตุการณ์ภายนอกของสรรพสิ่งทั้งปวง แต่หากเราสามารถห้ามจิตของเราเองได้แล้ว เราจะต้องไปห้ามเหตุภายนอกทำไม "

นั่นคือหากยามใดที่เราขาดสติแล้ว เราก็ตกอยู่ในความประมาท เมื่อเราอยู่ในความประมาท ก็ย่อม เป็นการง่ายที่จะก่ออกุศล และก้าวเดินไปหนทางที่ผิด ดังนั้นเราจึงพึงยึดมั่นและรักษาจิตโดยดี เพราะ หากเราไร้สติ ไร้วินัยในการรักษาจิตแล้ว การรักษาศีลข้ออื่น ๆ ก็ย่อมจะไร้ความหมาย
และการมีสตินั้นควรจะมีอยู่ในทุกขณะจิตของการกระทำในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือ ใจ เพราะหากไร้ซึ่งสติแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของเราก็ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ทน รุ่มร้อนต่อตัวเราเองและผู้อื่นโดยง่าย


บทที่ ๖ ความอดทน

ในบทนี้กล่าวถึงความสำคัญของความอดทนในการสร้างโพธิจิตให้บังเกิดขึ้นกับตนเอง โดยอาจารย์ ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า " ความดีงามอันประเสริฐที่ได้สั่งสมมาจากการถวายความเคารพแด่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย และความ โอบอ้อมอารี เป็นเวลานับพันกัป สิ่งเหล่านั้นจะถูกทำลายลงในชั่วขณะแห่งความโกรธ ดังนั้น ไม่มีความ ชั่วร้ายใดรุนแรงเท่ากับความโกรธ และไม่มีกำแพงใดดีเท่าความอดทน ดังนั้น ข้า จึงควรเพียรพยายาม โดยวิธีต่าง ๆ เพื่อมีสมาธิอยู่กับความอดทน " นั่นคือความอดทนนั้น เป็นความดีงามอันประเสริฐ และเป็นการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอันเลิศ ที่ คอยปกป้องตัวเรา และนำเราให้ซึมซับกับคุณลักษณะอันงดงามแฝงไว้อยู่ในสรรพสิ่งรอบกาย ขณะความโกรธและความเกลียดชังนั้น กลับนำมาซึ่งความเร่าร้อน ทุกข์ทรมาณตั้งแต่ในขณะ ปัจจุบันนี้จนถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ลองสังเกตุเวลาที่เราโกรธ ในชั่วขณะ นั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่ความสุขและสันติจะบังเกิดขึ้นในจิตใจ ในใจจะเต็มไปด้วยความรุ่มร้อน จะส่งผลมาถึงทางกายทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น รู้สึกเครียด ไม่สบายกายไม่สบายใจไปเลย ในทันที และหากความโกรธนี้ได้รับการสั่งสม มากเข้า ๆ จะประทับไว้ในจิต จนกลายเป็น อุปนิสัยที่โกรธง่ายเกลียดง่ายด้วยแล้ว ในทางตันตระกล่าวกันว่า ความโกรธความเกลียดชังนี้ จะสั่งสมจนนำไปสู่ความทุกข์ทรมาณถึงชีวิตหน้าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความโกรธ ความเกลียดชัง เป็นความชั่วร้ายอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาทาง จิตวิญญาณของตัวเรา แต่มิได้หมายความว่ามันจะมีอานุภาพที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่เราจะขจัดมัน ไปได้ ดังนั้น อาจารย์ศานติเทวะจึงสั่งสอนไว้ว่า ให้เพียรปฏิบัติความอดทนเพื่อการสร้างสม บารมี โดยเริ่มปฏิบัติด้วยความอดทนต่อ สิ่ง เล็กๆ น้อยๆ ก่อน จากนั้นค่อย ๆ ขยายความ อดทน อดกลั้นต่ออุปสรรคหรือความทุกข์ยากใด ๆ ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น โดยวิธีนี้จะค่อยพัฒนาตัวเรา ต่อการปฏิบัติเพื่อสร้างสมขันติบารมีที่ยิ่งใหญ่ขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อใดก็ตามที่อุปสรรคหรือความทุกข์ยากบังเกิดขึ้นกับตัวเรา จงอย่าได้ กล่าวโทษผู้อื่น เพราะหากเรามีความมานะพยายามเพื่อความเป็นอิสระไม่ผูกมัดตนอยู่กับประโยชน์ ทางวัตถุ และเกียรติยศ อุปสรรคและความทุกข์ยากเหล่านั้นก็เหมือนดั่งประตูที่เปิดใหเราได้ ฝึกฝนสู่ภาคปฏิบัติโดยแท้ เพราะโดยปกติแล้วยามใดก็ตามที่มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่ยอมมองย้อนว่าปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้น เกิดจากตนเองแต่มัก จะโยน ปัญหาหรือความผิดพลาดเหล่านั้นให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ย่อมนำมาซึ่ง ความโกรธ ความเกลียดชัง และสถานะการณ์เลวที่ร้ายลงยิ่งขึ้น ไปอีก แต่หากลองตั้งสติแล้ว มองย้อนไปใหม่ว่า สิ่งเหล่านั้นคือปัจจัยแห่งความอดทน เพราะเมื่อใดที่เกิดความท้อแท้ใจ ความหยิ่งยโสยึดมั่นในอัตตาตัวตนก็จะมลายไปด้วย แต่หากเราล้มเหลวที่จะอดทนต่อภาวะที่ ไม่พึงปรารถนา ก็เท่ากับว่าตัวเราเองเท่านั้นที่เป็นผู้ขัดขวางตนเอง ที่จะปฏิบัติเพื่อการสร้างสม บารมี ที่จะได้รับชัยชนะในการละวางความทุกข์ยากได้ทั้งปวง

บทที่ ๗ ความเพียร

ความเพียรนี้เป็นกำลังอันสำคัญ เพราะหากปราศจากซึ่งความเพียรแล้ว ก็คงเป็นการยากที่เรา จะเดินทางไปได้ถึงเส้นทางแห่งธรรม เปรียบได้กับเรือใบที่ไม่อาจแล่นหากไร้ซึ่งลม ดังนั้น เรา ควรพัฒนาความเพียรเพื่อก้าวหน้าในเส้นทางแห่งการพัฒนาตนเอง แล้วความเพียรคืออะไร ความเพียรคือความเบิกบานในสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ฝึกฝนที่มีความเพียรย่อม มีความเบิกบานบนเส้นทางธรรมของตน เมื่อเรามีความเบิกบานมีความรู้จริงเห็นจริง ตระหนัก ชัดในคุณค่าของการก้าวเดินบนเส้นทางสายนี้ ความเพียรย่อมบังเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องบีบบังคับตนเองแต่ประการใด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความหมายของความเพียร มิได้หมายถึงการที่เราต้องบีบบังคับตน เอง ฝืนตนเองให้ทำงานอย่างหนัก เพราะในไม่ช้าภายใต้ภาวะการณ์แห่งความบีบคั้นนั้น เราย่อม จะท้อแท้และยกเลิกอย่างง่าย ๆ แต่การที่จะพัฒนาความเพียรที่แท้จริงนั้น เราต้องมีความรู้ความ เข้าใจสรรพสิ่ง อย่างน้อยเราก็ควรเห็นจริงในความทุกข์แห่งสังสารวัฏ เห็นจริงในคุณค่าแห่ง โพธิจิต หรือแม้แต่ตระหนักถึงคุณค่าแห่งการรู้แจ้งปัจจัยต่าง ๆ หากเราเข้าใจและตระหนักถึงแล้ว ความเพียรย่อมพัฒนาขึ้นภายในตัวของเราโดยไม่ต้องบีบบังคับเลย อย่างไรก็ตามการเข้าใจหรือเห็นจริงในความทุกข์แห่งสังสารวัฏหรือคุณค่าแห่งการรู้แจ้ง ไม่ได้ หมายความว่า เราต้องครุ่นคิดถึงแต่ด้านเลวร้ายของการได้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เพราะในท่ามกลางสังสารวัฏนั้น ยังมีด้านดี ยังมีความสุขความรื่นรมณ์ให้เราได้สัมผัส เพียง แต่เป็นความสุขความรื่นรมณ์อันจำกัดที่ไม่ยั่งยืน ความสุขความรื่นรมณ์นี้เป็นผลมาจากกรรม ดีที่เราได้สั่งสมมา เพียงแต่มันย่อมพาเราไปและไม่ยั่งยืน ความสุขความรื่นรมณ์ในสังสารวัฏนี้ หากเปรียบไปแล้วที่ไม่ต่างกับการลิ้มรสของความหอมหวานของน้ำผึ้งที่หยดลงใบมีดโกน ขณะ ที่เราได้ลิ้มรสความหมอหวานของน้ำผึ้งอยู่นั้น เราก็ลิ้มรสความเจ็บปวดจากคมมีดในเวลาเดียวกัน นี่แหละคือรสชาติของความสุขในสังสารวัฏนี้ ดังนั้น ความสุขในสังสารวัฏจึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ขณะที่ความทุกข์นั้นก็รุนแรงยิ่งนัก แต่เรา เคยถามตัวเองกันบ้างใหมว่า ขนาดเพียงแค่ความสุขความรื่นรมณ์อันไม่ยั่งยืนนี้ เรายังดิ้นรน เพียรพยายาม สละแทบทุกอย่างในชีวิตเพียงเพื่อให้ได้ความสุขอันไม่ยั่งยืนนี้มา แล้วเหตุใดเรา ถึงละเลยที่จะเพียรพยายามฝึกฝนตนก้าวไปถึงความสุขความรื่นรมณ์ที่แท้ของการได้รู้แจ้งเสีย เล่า หากเราได้พิจรณาเปรียบเทียบ จนตระหนักถึงความแตกต่างของความรื่นรมณ์ ที่ได้รับจาก สังสารวัฏ กับความสุขของการได้รู้แจ้งแล้ว ตัวเราเองก็ย่อมเป็นผู้บอกเราเองว่าเหตุใดเราจึง ควรพัฒนาความเพียรมุ่งไปสู่การรู้แจ้ง บนเส้นทางแห่งธรรมโดยไม่ต้องบีบบังคับตนเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



บทที่ ๘ สมาธิ

ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของการที่มจิตที่เป็นสมาธิ เพราะการที่จะพัฒนาตัวเรา ให้เป็นผู้มีปัญญาได้นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือเราจำเป็นต้องมีจิตที่ตั้งมั่น มีสมาธิ ไม่ กวัดแกว่ง เพราะหากว่าเราไม่สามารถควบคุมจิตของเราได้แล้ว ก็ย่อมเสี่ยงต่อการตกอยู่ใน อุ้งเล็บของมโนภาพที่หลงผิด เสี่ยงต่อความคิดอันเกิดจากโลภ โกรธ หลง จะเข้ามาได้ง่าย และนำไปสู่การกระทำที่หลงผิดได้อย่างไม่ยากเย็น กุศลกรรมและความตั้งใจทำที่ดีก็จะถูกชัก นำให้หันเหไปในที่สุดดังนั้น ถ้าเราไร้ซึ่งจิตอันเป็นสมาธิเสียแล้ว ก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการที่ จะถูกโจมตีด้วยมโนภาพแห่งความหลงผิดทั้งปวง

และวิธีที่จะเริ่มละวางโลกีย์วิสัยอันเป็นโทษให้ได้นั้น ในทางกายคงต้องเริ่มต้นด้วยการละวาง หรือละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ไม่จำเป็นออกเสีย ส่วนทางจิตนั้น เราควรพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะวางแผนหรือครุ่นคิดหมกหมุ่นในเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือเพ้อ ฝันความหวังในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่เราควรดำรงตนให้อยู่กับปัจจุบันทุกขณะจิตว่าเป็น อย่างไร จะเป็นประโยชน์มากกว่า

อุปสรรคสำคัญของการมีสมาธิเพื่อละวางจากโลกียวิสัยนั้นก็คือความยึดติด ไม่ว่าจะเป็นความ ยึดติดในบุคคล หวังละโมบในผลประโยชน์ทางวัตถุและสิ่งต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติสมาธินั้นพึงปฏิบัติ เพื่อละวางการยึดติดเหล่านั้น หาไม่แล้วการปฏิบัติสมาธิที่มีแต่การนำไปสู่การยึดติดหลงไหล เพิ่มพูลความวิเศษ ในอัตตาตัวตน จะเรียกว่าเป็นสมาธิที่นำไปสู่ปัญญาได้เช่นไร
ส่วนวิธีการปฏิบัติสมาธินั้น ในพระสูตรคำสอนมหายานมีอยู่หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่จะสอนให้ เราเริ่มต้นที่การปฏิบัติสมาธิ เพื่อละวางซึ่งมโนภาพที่หลงผิดในจิตของตนเองให้ได้เสียก่อน ด้วยการใช้ยาแก้ให้ถูกขนานกับแต่ละมโนภาพแห่งความหลงผิดนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากบุคคล มักโกรธง่ายเกลียดง่าย ก็ควรเริ่มต้นปฏิบัติสมาธิวิธีที่นำไปสู่การพัฒาความรักความเมตตา กรุณา ถ้าบุคคลดมีตัณหามาก มีความละโมบมาก ก็ให้ปฏิบัติสมาธิพิจารณาถึงความทุกข์ความ ไม่แน่นอนแห่งห้วงวัฏสงสาร และความไม่คงทนยั่งยืนของวัตถุ หรือผลประโยชน์ที่เราอยากได้ เพื่อให้ได้ตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน ไม่ให้ลุ่มหลงไปกับมายาภาพที่ฉาบเคลือบเอา ไว้ และที่สำคัญที่สุดการปฏิบัติสมาธินั้นควรเป็นไปเพื่อความพยายามในการตัดสายโซ่แห่งบ่วง อวิชชา เพราะอวิชชาหรือความไม่รู้นี้เองที่เป็นตัวนำไปสู่ความสับสน ความหลงผิดในมายา คติต่าง ๆ หากเราสามารถจะละได้ความเป็นอวิชชาเข้าใจถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง ท้ายที่สุดก็ย่อมนำเราไปสู่ปัญญานั่นเอง แต่ในทางกลับกัน หากการปฏิบัติสมาธิใด ๆ ก็ตาม กลับนำเราไปสู่อวิชชามากขึ้น นำไปสู่ความไม่รู้มากขึ้น หลงวนเวียนอยู่มายาคติมากขึ้น ก็คง เป็นไปได้แค่เพียงสมาธิชนิดที่นำไปสู่อุ้งเล็บของความหลงผิดเท่านั้นเอง


บทที่ ๙ ปัญญา

ในบทนี้คือผลที่พึงบังเกิดจากการที่พระบรมครูทั้งหลายได้สั่งสอนวิถีการปฏิบัติอันหลากหลาย ก็เพื่อให้บังเกิดปัญญา เพื่อนำพาสรรพชีวิตทั้งหลายที่หลงวนอยู่ในห้วงทุกข์แห่งวัฏสงสารได้ พัฒนาปัญญา เพื่อถึงซึ่งการสงบระงับแห่งความทุกข์ เพื่อขจัดเสียซึ่งอวิชาทั้งปวง

ทั้งนี้ ธรรมชาติแห่งปัญญา ก็คือการได้หยั่งรู้ และได้เข้าใจถึงความจริง ๒ ระดับ คือ ระดับสมมติสัจ และปรมัตถสัจ โดยสมมติสัจ เป็นความจริงที่ตั้งขึ้นจากจุดยืนของจิตที่หลอกลวงปิดบังความ จริงแท้ ขณะที่ปรมัตถสัจ เป็นความจริงอันหยั่งถึงโดยพระปัญญาของพระผู้เป็นเลิศ ซึ่งไม่มีสมมติสัจปรากฎ

การอธิบายถึงปัญญาในบทนี้ อธิบายในรูปแบบของบทสนทนาถามตอบระหว่างนิกายมาธยมิกะ โดยมีอาจารย์ศานติเทวะเป็นตัวแทน กับพุทธศาสนานิกายอื่น ซึ่ง ทอกมี ซังโป อาจารย์ชาวธิเบต เป็นผู้ให้คำอธิบายและอรรถกถา เนื้อหาของคัมภีร์อีกต่อหนึ่ง โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ อาทิ การอธิบาย ธรรมชาติแห่งปัญญา การแก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายจิตตามตริน เรื่อง ปรมัตถสัจ สุญตา แนะนำวัตถุ แห่งการทำสมาธิ ความเป็นอนัตตา ความไร้เอกลักษณ์แห่งปรากฎการณ์ ความมีสติแห่งจิต และ ความเข้าใจในภาวะแท้ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวมีความลุ่มลึก จำเป็นที่ผู้อ่านพึงอ่านจากฉบับ สมบูรณ์ ตามที่ รศ. ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ได้กรุณาแปลไว้อย่างครบถ้วน และง่ายต่อการทำ ความเข้าใจยิ่งขึ้นไว้แล้ว


บทที่ ๑o โมทนาบุญ

สำหรับผู้ที่ก้าวเดินบนหนทางแห่งโพธิสัตตมรรค การโมทนาบุญด้วยการแผ่เมตตา แผ่บุญกุศล อันใดที่พึงบังเกิดจากการได้ประกอบกรรมดี แก่ผองเพื่อนสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นสิ่งสำคัญอย่าง ยิ่ง การเผื่อแผ่ไปยังสรรพชีวิตอื่น ๆ นั้น สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จนสั่งสมเป็น กุศลอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการได้อุทิศตนเองสู่วิถีโพธิสัตต์ มุ่งสู่การรู้แจ้ง เพื่อยังประโยชน์ต่อ สรรพชีวิตทั้งปวงได้ในที่สุด อันเป็นหนทางของวถีแห่งปัญญาและเมตตานั่นเอง

" ตราบเท่าที่อากาศยังคงอยู่ และตราบเท่าที่สรรพสัตว์ยังคงอยู่ ตราบนั้น ขอให้ข้า คงอยู่ เพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกในโลก ขอความเจ็บปวดของสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิต จงเกิดขึ้นแต่ตัวข้า และด้วยบารมีของพระโพธิสัตต์สงฆ์ ขอสรรพสัตว์ทั้งปวงจงพบแต่ความสุข ขอให้พระธรรมคำสอน โอสถขนานเดียวที่จะเยียวยาความทุกข์ และเป็นรากฐานแห่งความเบิกบานทั้งหลาย จงได้รับการทำนุบำรุง และเคารพบูชา คงอยู่ในกาลอันยาวนาน "

ขอน้อมคารวะต่อพระเมตตาบารมีของพระโพธิสัตต์ทุกพระองค์

- จาก ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม โดย อรอุมา แววศรี-

 



http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=83&ss=
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~