ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ เครดิตบูโร  (อ่าน 1338 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลควรรู้ เกี่ยวกับ เครดิตบูโร
-http://hilight.kapook.com/view/80943-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "เครดิตบูโร" (Credit Bureau) ในยามที่เราจะทำธุรกรรมด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการขอสินเชื่อ บางคนบอกว่า "ติดเครดิตบูโร" บ้างก็บอกว่า "ติด Black List" แล้ว 2 อย่างนี้ คืออะไร ใช่อันเดียวกันหรือไม่ ในวันนี้ กระปุกดอทคอม จึงนำข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ เครดิตบูโร ที่เชื่อว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ถือบัตรเครดิตอยู่ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการจะมีบัตรเครดิตในวันข้างหน้า มาฝากกันค่ะ เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจข้อมูลเครดิต หรือ Credit Bureau กันเลย...

เครดิตบูโร คืออะไร

            เครดิตบูโร นั้นมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของบุคคลจากสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่ง เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต โดยเมื่อลูกค้าให้ความยินยอมให้สถาบันการเงินตรวจสอบข้อมูลการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของตนในขณะที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วนั้น สถาบันการเงินก็สามารถจะเรียกดูข้อมูลดังกล่าวจาก เครดิตบูโร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้

รายงานข้อมูลเครดิตเก็บข้อมูลใดไว้บ้าง

            เครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมเฉพาะข้อมูลของการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิต ซึ่งข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนที่บ่งชี้ตัวบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน และอีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิต รวมเรียกว่า "รายงานข้อมูลเครดิต" รายงานข้อมูลเครดิตจะมีการบันทึกและจัดเก็บวงเงินยอดหนี้คงค้าง รวมถึงประวัติการผิดนัดชำระในแต่ละสิ้นเดือนย้อนหลังไม่เกิน 36 เดือน ด้วยเหตุนี้แล้ว การชำระสินเชื่อทุกครั้งให้ตรงเวลาจึงเป็นการรักษาเครดิตที่ดีที่สุด

ใครมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาดูรายงานข้อมูลเครดิต

            นอกจากสถาบันการเงินที่ผู้ขอสินเชื่อได้ให้ความยินยอม จะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อได้แล้ว ผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะมาขอดูรายงานข้อมูลเครดิตของตนได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการยื่นคำขอได้ที่ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศก็ได้ มีค่าธรรมเนียม 100 บาท ทั้งนี้ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่เก็บรักษารายงานดังกล่าวเป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นใด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้

การตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง

            ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

ณ ที่ทำการบริษัท  (ศูนย์บริการตรวจสอบเครดิตบูโร) มีขั้นตอนดังนี้

1. เจ้าของข้อมูลมาติดต่อด้วยตนเอง แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

            บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง

 
กรณีนิติบุคคล

            สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมดารผู้มีอำนาจ

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงนำมาแสดง

            ตราประทับของนิติบุคคล (ถ้ามี) เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต


2. เจ้าของข้อมูลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน แสดงเอกสารหลักฐาน ดังนี้

กรณีบุคคลธรรมดา

            หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงมาแสดง

 
กรณีนิติบุคคล

            หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน

            สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม้เกิน 3 เดือน และลงนามรับรองความถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจประทับตราของนิติบุคคล (ถ้ามี)

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และลงนามรับรองความถูกต้องพร้อมตัวจริงนำมาแสดง

            สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองความถูกต้อง พร้อมตัวจริงนำมาแสดง

            ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท

            เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ฉบับละ 20 บาท)

 
สถานที่ตรวจสอบข้อมูลเครดิต ศูนย์บริการตรวจสอบบูโร 3 แห่ง ดังนี้

1. ส่วนบริหารเจ้าของข้อมูล บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

    อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
    เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
    โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
    โทรสาร : (66) 02-612-5895
    เวลาทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. - 16.30 น.


2. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ด้านในสถานี)

    เวลาทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. - 18.00 น.
    (*ตรวจสอบเครดิตบูโรเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น)


3. ห้างเจเวนิว (นวนคร) ติดโรงพยาบาลนวนคร

    เปิดทำการทุกวัน เวลา 10.00 น. - 19.00 น. หยุดนักขัตฤกษ์
    (*ตรวจสอบเครดิตบูโรเฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น)


การตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเองผ่านธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการตรวจสอบเครดิตบูโร

            เคาน์เตอร์ธนาคาร ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกสาขาทั่วประเทศ

            ทำรายการผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ (ต้องมีบัตรเอทีเอ็ม)

            ทำรายการผ่านระบบธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องมีบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตของธนาคารนั้น ๆ

            ทำรายการผ่านธนาคารออนไลน์ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องมีบัญชีธนาคาร (ให้บริการเฉพาะบุคคลธรรมดา)

            กรณีทำรายการผ่านเครื่อง ATM สามารถทำรายการขอข้อมูลได้ทันที โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลหรือแบบฟอร์มคำขอ ส่วนในกรณียื่นผ่านสาขา ลูกค้าสามารถเลือกการรับข้อมูลเครดิตได้หลายแบบ ทั้งแบบปีละ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 4 ครั้ง หรือ 6 ครั้ง โดยยื่นความจำนงเพียงครั้งเดียว ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกสบายอย่างมากให้กับลูกค้าและประชาชน จากนั้นศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะส่งข้อมูลเครดิตบูโรให้ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วัน คิดค่าบริการ 150 บาท ต่อ 1 รายการ


การติดแบล็กลิสต์ (Black List) หรือ การติดเครดิตบูโร

            ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ไม่ได้รับสินเชื่อเพราะติดแบล็กลิสต์จากเครดิตบูโร แต่ความจริงแล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสต์ผู้ขอสินเชื่อ เพราะเครดิตบูโรจะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินใช้ข้อมูลเครดิตเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อเพราะการตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้สินเชื่อนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้น ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 
จะขอสินเชื่อแต่ติดเครดิตบูโรจะทําอย่างไร

            มีหลายท่านที่ต้องการจะขอกู้เงิน ไม่ว่าจะนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือจะขอกู้เงินไปทำอะไรก็ตาม แต่ต้องมาประสบปัญหาติดแบ็กลิสต์เครดิตบูโร เพราะทุกธนาคาร ทุกสถาบันการเงิน ต้องมีหน้าที่คอยส่งข้อมูลเครดิตของเราให้กับ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ดังนั้นถ้าหากเรามีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ก็จะทราบข้อมูลของเราทั้งหมด ทำให้ขอสินเชื่อไม่ผ่าน ซื่งถ้าหากประวัติของเราเสีย หรือติด Black List โดยที่เราไม่ได้เป็นผู้ก่อ แต่เกิดจากความผิดพลาดของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่ไม่ตรวจสอบรายงานก่อนทำการส่งข้อมูลเครดิตให้ดีก่อน เช่น

            กรณีที่ลูกหนี้ชำระหนี้หมดแล้ว แต่การปฏิบัติการส่งข้อมูลเครดิตผิดพลาด

            กรณีถูกปลอมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อ

            กรณีถูกปลอมเอกสารในการสมัครบัตรเครดิต

            กรณีถูกขโมยข้อมูลของบัตรเครดิต

            ทั้งนี้ ถ้าเกิดปัญหาดังกล่าว ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายป้องกันทุจริตของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ที่จะต้องประสานงานเพื่อยับยั้งการส่งข้อมูลเครดิตที่ไม่ถูกต้อง หรือที่เรียกกันในวงการธนาคารว่า Dispute Transaction คือ มีการตั้งยอดมูลหนี้ที่เกิดจากการทุจริต เพื่อการตรวจสอบจนกว่าจะตรวจสอบเสร็จสิ้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติจะไม่มีการคิดดอกเบี้ย และไม่นำยอดดังกล่าวมาลดจำนวนวงเงินเครดิตลูกค้า

            อย่างไรก็ตาม ถ้าหากท่านตรวจสอบแล้วเห็นว่าท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการส่งข้อมูลเครดิตของธนาคารหรือสถาบันการเงิน เราสามารถโต้แย้งได้โดยตรงและสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ทั้งทางแพ่งและอาญา แต่ที่ผ่านมาก็ไม่มีผู้บริโภคคนใดขอฟ้องร้องดำเนินคดีกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพราะคนไทยชอบคิดไปเองว่าเค้าใหญ่กว่าเราสู้ไม่ได้หรอก นั่นเป็นเหตุผลที่คนไทยมักอยู่ในมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่ต่ำมาก เพราะทุกคนไม่รู้สิทธิ์ของตนเอง หรือรู้สิทธิ์ของตัวเองดีแต่ไม่กล้าดำเนินการใด ๆ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20110714/400265/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2.html-

, บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด -https://www.ncb.co.th/Default.htm-

, consumerthai.org -http://www.consumerthai.org/debt/index.php?option=com_fireboard&func=view&catid=2&id=7893-

.



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)