ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย.. สัมมัปปทาน4 เป็นไฉน  (อ่าน 2619 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย.. สัมมัปปทาน4 เป็นไฉน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 08:46:10 pm »




ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
ธรรมทั้งกลุ่มนี้รวมเรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
*********************

สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งทำความเพียรชอบ
1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่เกิดแล้ว.... ( เพียรละ )
3.ภาวนาปทาน คือ เพียรเจริญกุศลธรรม..ที่ยังไม่มี....ให้เกิดขึ้น ( เพียรเจริญ )
4.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
*******

วิธีการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ของข้าพเจ้า โดย "จะเห็นว่าอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วนั้นได้ปรากฏแก่จิตแล้ว ตั้งอยู่ และดับไปแล้ว ตามธรรมชาติ ตามกฏแ่ห่งอนิจจังเอง จึงไม่ต้องทำลายมัน มันหายไปเอง แต่เพียงมีสติดูจิตที่ทำงานอยู่ ไม่ให้ก่อรูปปรุงความคิดเป็นอกุศลอันใหม่ แม้จิตพลั้งเผลอก่อรูปความคิดทางอกุศล ก็ไม่ปรุงตามเป็นรูปความคิดที่ใหญ่ขึ้น เพียงมีสติรู้อยู่ดูความคิดนั้น แล้วความเป็นอนิจจังของความคิดนั้นจะค่อยๆทำให้มันหายไปเอง เื่มื่อจิตมีสติรู้มากเข้าจะรู้ว่าความคิดอกุศลนั้นทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ จิตก็จะไม่ก่อรูปความคิดเช่นนั้นอีก ความอยากคิดเช่นนั้นจะจืดชืดชาไป เหมือนคนที่รู้จักความสะอาดแล้ว อาบน้ำชำระล้างร่างกายสะอาดแล้วย่อมไม่ปารถนาสัมผัส โคลนตม มูตร คูถหรือความสกปรกเน่าเหม็นใดๆอีก /ข้าพเจ้าทำดังนี้
--------------.......................
---------------................................
***************
ความตั้งใจทำสัมมัปปทานเป็นอัตตกิลมถานุโยค
***
ความพยายาม ถ้าคนยังละสักกายทิฐิไม่ได้
ความพยายามมันก็คือ กิเลส และที่สำคัญผลมันเป็นทุกข์ในกระบวนการปฏิจฯ
***
ที่มาของความพอใจ
ฉันทะจะเกิด มันต้องมีเหตุปัจจัย ฉันทะนี่มันเป็นเจตสิกเป็นอาการของจิต

แท้จริงแล้ว ฉันทะเป็นธรรมหนึ่งของอิทธิบาทสี่ อิทธิบาทสี่คือการปฏิบัติให้สำเร็จ
ในงานที่มีจุดมุ่งหมายไว้ และจุดมุ่งหมายของเราก็คือ การพ้นทุกข์

เราทุกคนอยากที่จะพ้นทุกข์ ฉะนั้นเราก็ต้องปฏิบัติธรรมต่างๆที่พระพุทธเจ้า
ทรงกำหนดไว้ การปฏิบัติธรรมต่างให้สำเร็จนั้นต้องอาศัยอิทธิบาทสี่
ซึ่งมีฉันทะกำหนดอยู่ในนั้น สัมมัปปทานก็เป็นงานหนึ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ
ดังนั้นเราต้องมีความพอใจในสัมมัปปทานสี่ซึ่งก็คืออิทธิบาทนั้นเอง

ดังนั้นฉันทะที่จะปฏิบัติสัมมัปปทาน มันมีแรงจูงใจ
มาจากการที่ต้องการพ้นทุกข์ ความพอใจมันมีเหตุปัจจัยมาจากนี้ครับ
***
จุดเริ่มแห่ง สัมมาปฏิปทา
มันต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริง ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
จนเป็นสัมมาทิฐิ

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้เรื่องทิฐิทั้งสามอย่าง มิจฉาหนึ่ง และสัมมาอีกสอง
ท่านให้รู้ทั้งสามและให้ละอีกสอง นั้นก็คือให้ละมิจฉาทิฐิและสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ(โลกียะ)
ทรงเน้นให้ปฏิบัติในเรื่องสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ(โลกุตระ)

พระพุทธองค์เพียงแค่ให้รู้ไว้แล้วละมันเสีย
เพราะมันเป็นกิเลส แต่เป็นในทางกุศล

และอีกอย่างการปฏิบัติสัมมาปฏิปทาจะต้องมีสัมมาทิฐิโลกุตระ
นำหน้าเสมอ ไม่อย่างนั้นการปฏิบัตินั้นเป็นการยยึดมันถือมั่นถึงจะเป็นความดีก็ตาม
*******************

ความหมายที่ว่า อริยมรรคเป็นธรรมของพระอริยะ ความหมายมันอยู่ตรงที่
การจะปฏิบัติอริยะมรรคทั้งแปดได้นั้น จะต้องมีจุดเริ่มต้นที่บุคคลนั้นจะต้องมี
สัมมาทิฐิเสียก่อน และการเป็นอริยะบุคคลในชั้นต้นนั้นก็คือการมีสัมมาทิฐิแล้ว

เมื่อมีสัมมาทิฐิแล้ว จึงจะเอาสัมมาทิฐินี้ไปเป็นประธานหรือตัวนำในการปฏิบัติ
เพื่อให้ได้มาแห่งอริยมรรคอีกเจ็ดมรรคที่เหลือ

นี่คือที่มาของคำพูดที่ว่า อริยมรรคมีองค์แปดเป็นธรรมของอริยบุคคล
อริยมรรคองค์อื่นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ายังไม่มีสัมมาทิฐิ
และผู้ใดมีสัมมาทิฐิแล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นอริยบุคคลแล้ว

ดังนั้นสิ่งแรกสิ่งเดียวที่ปุถุชนควรจะทำหรือปฏิบัตินั้นก็คือ
การให้ได้มาซึ่งสัมมาทิฐิครับ

แล้วไอ้เรื่องการทรมานกายมันไม่ใช่มิจฉาทิฐิ
มันเป็นเรื่องสัมมาทิฐิสาสวะ(โลกียะ) ท่านว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค
นับเป็นสังโยชน์กิเลส
ก็บอกเองว่า พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติทางสายกลาง แต่ทำไมบอกว่า
ปรับมิจฉาทิฐิให้เป็นสัมมาทิฐิ ความหมายของทางสายกลางมันต้องมีสามสาย
ดังนั้น การทรมานกายที่พระพุทธเจ้าทรงทำในตอนแรก เป็นสัมมาทิฐิโลกียะ
การปรับทิฐิที่ว่าจึงเป็น ปรับสัมมาทิฐิโลกียะให้เป็นสัมมาทิฐิโลกุตตระครับ
------------------...........................................
การเกิดเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติเพื่อมุ่งตรงสู่นิพพาน
..จะเอาผลบุญผลขันธ์..  ถ้ายังอยากเป็นอยากได้แบบนี้
ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าก็ได้ ศาสนาอื่นก็สอนเรื่องผลบุญผลขันธ์เหมือนกัน

และเรื่องศีลพรตปรามาส ผมจะกล่าวถึงเรื่อง สัมมัปปทานสี่ ถ้าเราปฏิบัติแบบจงใจ
โดยขาดหลักสัมมาทิฐินำหน้า การปฏิบัติแบบนี้มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค หรืออีกนัยหนึ่ง
มันเป็นสังโยชน์กิเลส ที่เรียกว่า ศีลพรตปรามาส
--------------------......................................
- ละความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย(สีลัพพตปรามาส) /ข้าพเจ้าเห็นดังนี้
-----------------....................................

สภาวะไตรลักษณ์ เป็นสภาวะแห่งความจริงของจิต จิตจะแสดงการดับไปของอารมณ์
ที่เกิดขึ้นที่ปัจจุบันนั้นๆ ทำให้รู้ผลที่เกิดตามมาคือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์และความบังคับไม่ได้
สภาวะแบบนี้แหล่ะ ที่เราต้องใช้ในการทำวิปัสสนา เพื่อละสักกายทิฐิ เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว
ก็จะเข้าใจหรือละวิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสไปเอง

อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ที่ว่าวิปัสสนาละสักกายทิฐิอย่างไร
นั้นก็คือ การพิจารณากระบวนการขันธ์และอายตนะ
โดยต้องอยู่ในหลักแห่งไตรลักษณ์ พูดแบบนี้อาจจะไม่เข้าใจ
สมมุติว่า เราทำสมการหาความสมดุลย์ของของสองสิ่ง
ข้างหนึ่งเป็นไตรลักษณ์สภาวะที่เราไปเห็นมาแล้ว ส่วนอีกข้างเราก็ต้องหา
หรือพิจารณาให้มันตรงกับสภาวะไตรลักษณ์
------------..........................
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัปปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ
***
อาสวะ หมายถึง กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน
สาสวะ หมายถึง ความเป็นไปด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอาสวะ
อนาสวะ หมายถึง ไม่มีอาสวะหาอาสวะมิได้

อ่านความหมายของบัญญัติสามตัวนี้ก็น่าจะเข้าใจได้แล้ว
ว่าทำไมเราถึงต้องปฏิบัติตามหลัก อนาสวะ ถึงจะถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พูดง่ายๆ สาสวะเป็นการทำดีทำกุศลแต่มันเจือด้วยกิเลส ...
ความดีหรือผลบุญพระพุทธเจ้าก็ทรงกำหนดให้เป็นกิเลส เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
มันเป็นเชื้อทำให้ต้องเกิดในสังสารวัฏ
***
สัมมัปปทาน ก็คือสัมมัปปทาน มันสำคัญอยู่ตรงที่มีเหตุปัจจัยอะไร
มาทำให้เกิดสัมมัปปทานนี่ขึ้น ผลในการปฏิบัติสัมมัปปทานมันก็เปลี่ยนแปลงไป

ที่บอกต้องมีไตรลักษณ์สัมมาทิฐินำหน้าเพื่อไม่ให้เราไปยึดในธรรมที่กำลังปฏิบัติ
จนเกิดเป็นอัตตา ธรรมทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อปฏิบัติแล้วต้องละอย่าให้เกิด
เป็นอัตตา

สัมมัปทานสี่ เป็นวิธีการปฏิบัติมันเป็นหลักตายตัว แต่ที่ผิดแผกแตกต่าง
มันอยู่ที่คนปฏิบัติว่า ทำเพื่อยึดหรือทำเพื่อละ ความจงใจหรืออัตตกิลมถาฯมันเกี่ยวข้อง
ตรงนี้ ผลบุญก็คือผลขันธ์ส่วนนี้มันก็ขึ้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน คือปฏิบัติเพื่อเอาผลบุญ
ในชาติหน้า หรือจะปฏิบัติเพื่อละทิ้งทุกอย่างในชาตินี้
---------..............
ที่ว่าศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญ.. มีความหมายในตัวว่า
ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้เพราะความไม่ยึดในตัวตน
สามารถวางอุเบกขาต่อศีลได้ ไม่เคร่งจนเกินไป
เมื่อหลงไปทำอะไรที่ผิดศีลเข้าก็เกิดทุกข์ หรือการทำผิดศีลจนเกิดเจตนาขึ้นทางใจ
***
มันต้องไปเห็นครับ ไม่ใช่ทำความเห็น แล้วเห็นอะไรก็คือเห็นเหตุที่ให้รู้ว่า
นามรูปที่ว่า มันไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยงเกิดแล้วก็ดับและเป็นทุกข์
ทำความเห็นมันเป็นสังขารปรุงแต่ง
***
การพิจารณาไตรลักษณ์ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ
เมื่อเกิดสัมมาทิฐิแล้ว กิเลสหรือสังโยชน์สามก็จะละไปเองครับ
---------.........................
ทุกข์ถ้าในความหมายว่า การเกิดเป็นทุกข์ ดับความยึดมั่นถือมั่น ทุกข์นั้นก็ดับ
เหตุปัจจัยแก่ความทุกข์ ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นอีกนั้นแหล่ะ

เหตุปัจจัยแห่งไตรลักษณ์ คือการได้เห็น(ไม่ใช่ความเห็น)สภาวะของรูปนาม
ตามความเป็นจริง
***
ธัมมวิจยะ.. เป็นความคิดที่มีสัมมาทิฐินำหน้า
รูปมีนามมี ผัสสะธัมมารมณ์มันก็ต้องมี สมองมีไว้คิด ใจมีว่านึก มันเป็นธรรมชาติ
มันสำคัญว่า คิดอย่างไรถึงจะให้อยู่กับความเป็นจริงแห่ง รูปนามขันธ์ห้า
*************************
41592.เรียนถาม สัมมัปปธาน 4 คืออะไรครับ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41592&start=90



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


               

ขอยกพุทธพจน์ โพธิปักขิยธรรม มาจบลงที่มรรคมีองค์แปด
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
-http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... A%D9%B5%C3

อริยมรรคแต่ละตัว จะต้องมีการปฏิบัติให้ได้มา
สัมมามรรคนั้นแท้จริงก็คือ ผลของการปฏิบัติธรรมแห่งโพธิปัก

และสัมมัปปทานสี่ก็เป็นองค์ธรรมหนึ่งที่อริยะต้องปฏิบัติ
เพื่อให้ได้อริยมรรคของแต่ละตัว ยกเว้นสัมมาทิฐิ(ก่อนมีสัมมาทิฐิก็สามารถปฏิบัติ
สัมมัปปทานได้แต่เราไม่เรียกสัมมัปปทานนี้ว่า ธรรมของอริยะ เป็นแค่ธรรมของปุถุชน
)

และจากพุทธพจน์ที่ผมยกมากล่าวไว้ว่า สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
นั้นก็แสดงว่า ต้องมีสัมมาทิฐินำหน้า(สัมมาทิฐิคือผู้ที่ได้ผ่านไตรลักษณ์มาแล้ว)
ดังนั้นมันต้องมี สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ถึงจะถูก
********************************

พระสูตร กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วย พระมหากัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจานโคต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ... ความเกิดขิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
*************************************

๓. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
-http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

[156] ปธาน 4 (ความเพียร - effort; exertion)
1. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - the effort to prevent; effort to avoid)
2. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - the effort to abandon; effort to overcome)
3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี - the effort to develop)
4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - the effort to maintain)
ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - right exertions; great or perfect efforts).
องฺ.จตุกฺก. 21/69/96; 14/20; 13/19.

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปธานคือความเพียร ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑
อนุรักขนาปธาน ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สังวรปธาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้กุศลกรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อไม่หลงลืม เพื่อความเจริญยิ่งขึ้น
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อเพิ่มพูน เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปธานคือความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียร พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ด้วย
ปธานเหล่าใด ปธาน ๔ ประการเหล่านี้ คือ สังวรปธาน ๑
ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อัน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้แล้ว ฯ

พระไตรปิฎก 21/1990-2012 , 85-86
-http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
41592.เรียนถาม สัมมัปปธาน 4 คืออะไรครับ
(มีต่อค่ะ /ว่าด้วย..  "ธรรมนิยาม" "ไตรลักษณ์")
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41592&start=105