ผู้เขียน หัวข้อ: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)  (อ่าน 25943 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:09:53 am »



“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)

คำอนุญาต

หนังสือธรรมะ ใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ เผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้ธรรมเป็นทาน
หากผู้ใดมีเจตนา จะเอาธรรมะในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์ต่อ เพื่อมีเจตนาจะเผยแพร่ธรรม
และพิมพิ์แจกฟรี ผู้เขียนอนุญาตในทุกกรณี
แต่ห้ามดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม เนื้อหาธรรมะ ในทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้
ขออนุโมทนาบุญ สำหรับผู้ที่สนใจ จะนำ หนังสือธรรมะ
ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ไปพิมพ์แจกจ่ายฟรี เพื่อให้ธรรมเป็นทาน สมดังเจตนาของผู้เขียน
ผู้เขียน พระราเชนทร์ อานนฺโท



คำนำ
ธรรมะในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” นี้...
   เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงตามแบบแผนแห่งคำสอนนิกายเซนในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งทางครูสอนเซนทั้งหลายในรุ่นก่อนๆได้สืบทอดคำสอนเหล่านี้มาโดยตรงจากองค์พระศาสดา เพื่อนำไปชี้ทางหลุดพ้นให้แก่บรรดาลูกศิษย์ของตนเองมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว เป็นการสอนโดยมุ่งเน้นที่จะคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมที่อยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและความไม่หลุดพ้น ธรรมะในหนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นตามแบบแผนแห่งคำสอนเซนอย่าง-แท้จริง โดยแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ คือ ภาค 1 สังขตธาตุ และ ภาค 2 อสังขตธาตุ

   ในส่วนของ ภาค 1 สังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลายได้หยิบยกเรื่องธรรม คือ สังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งการที่ยังเข้าใจผิดโดยยังเห็นว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดานั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุนั้นยังไม่ใช่ธรรมะอันแท้จริง ซึ่งคือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ หากใครได้หลงผิดหยิบยกธรรมเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาและปฏิบัติก็จะมีแต่ทำให้เข้าไปติดในการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติและติดปรุงแต่งในการหวังผลแห่งการปฏิบัติอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้เขียนจึงได้เขียนธรรมะในส่วนของสังขตธาตุขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นทุกท่านได้อ่านและพิจารณาในรายละเอียดแห่งสังขตธรรมนั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้ทิ้งไปเสีย


   ผู้เขียนจึงขอเตือนนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายว่า หากได้หยิบหนังสือใจต่อใจในการฝึกตนขึ้นมาอ่านเพื่อศึกษาธรรมะในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ขอให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายพึงเฝ้าระวังเตือนตนเองให้มากๆว่า การอ่านเพื่อศึกษาธรรมอันคือ สังขตธาตุ ในภาค 1 นั้น เป็นการอ่านเพียงเพื่อทำความเข้าใจว่าธรรมในลักษณะนี้ยังไม่ใช่ธรรมอันแท้จริงที่จะทำให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ จึงเป็นเพียงการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้อันว่าด้วย การปฏิบัติและการรอคอยผลแห่งการปฏิบัติทิ้งไปสีย มิใช่เป็นการอ่าน.. เพื่อน้อมนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด

   ในส่วนของภาค 2 อสังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลาย ได้หยิบยกเรื่องธรรมคือ อสังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งอสังขตธาตุนั้น เป็นธรรมะอันแท้จริง คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นธรรมะที่จะต้องใช้ความตั้งใจเข้าไปเพื่อศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมนั้นได้ ผู้เขียนจึงได้พยายามเขียนธรรมะในส่วนของอสังตธาตุขึ้นให้ครบทุกประเด็นเท่าที่ผู้เขียนจะรำลึกได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา

   และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนก็มีความมุ่งหวังอย่างมากที่ต้องการให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลาย ได้ตระหนักชัดถึงความหมายที่แท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ ทั้งนี้ เป็นความมุ่งหวังเพื่อให้นักศึกษาทุกคน มีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจ เปี่ยมไปด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
23 พฤษภาคม 2555
ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



"คนของเรา"
ย่อมขึ้นฝั่งพระนิพพานทุกดวงจิต
ภายใต้ความโอบอุ้มปีกพุทธะ
แห่ง "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"
ที่เราจักหยิบยื่นให้ตามวาระและโอกาส
ด้วยมิตรไมตรีที่เคยมีให้กันเสมอมา



ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



อ่านเนื้อหาหนังสือธรรมะ.. "ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น
-http://board.palungjit.com/f14/ใจต่อใจในการฝึกตน-นิกายเซน-ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น-355568.html



คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
: http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2014, 11:03:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 05:00:31 pm »




เธอชอบเข้าไปดูในสิ่งที่มัน ไม่มี
เธอชอบเข้าไปดู "จิต"
เมื่อเข้าใจผิดว่ามันมี.. เธอก็ต้อง ตามรู้ความมี
ที่เธอเข้าใจผิด
ว่ามันดับไปเป็นธรรมดา
ตามหลักเกณฑ์อะไรของเธอ
และก็มานั่งภูมิใจว่านี่คือ.. ตัวรู้ นี่คือ.. สัมมาสติ
อะไรทำนองนี้...

ทั้งๆที่ความจริง.. มันไม่เคยมี มันจึงไม่เกิดไม่ดับ..
มัน  ไร้  วิถีเกิดดับ
มันจึงเป็นการที่เธอ หลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า.. มี
และต้องเหนื่อยกับ มัน..
ในการเข้าไป ตามรู้ตามดู มัน ที่เกิดๆดับๆ
มันเหนื่อยเปล่า.. ที่ชีวิตนี้ทิ้งไปกับ การปฏิบัติ แบบนี้

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2014, 11:32:06 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 09:53:02 pm »



มนุษย์แต่ละคน
มีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม
สำหรับการดำรงชีวิต
ที่เป็นอิสระและสมบูรณ์
..
..
เซน แห่ง " อาคิระ หัวใจที่โลกไม่เคยรู้ "
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
**************




ในหัวใจของเด็กๆ ทุกคน
มีเมล็ดพันธุ์ของความรัก
และความปรารถนาอันบริสุทธิ์
********




ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันไม่ถูกนับรวมอยู่
ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่
และไม่มีการตั้งอยู่
****************




ก็เพราะว่าพุทธะในวิถีแห่งการปฏิบัติของพวกเธอ
บนหนทางบริสุทธิ์ที่พวกเธอกำลังจ้ำเดินอยู่นั้น
มันเป็นพุทธะที่กลายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทุกๆขณะ
ที่เธอกำลังทำความเพียรและมุ่งหวังให้พุทธะชนิดนี้
ในมโนภาพที่อยู่ในหัวพวกเธอมันเกิดขึ้น
มันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอตั้งใจภาวนา
และมันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอมุ่งหวังผลแห่งการภาวนา
มันเป็นเพียงจิตที่แสวงหาจิต
****************


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2014, 11:36:01 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 10:07:36 pm »



โดยธรรมชาติที่แท้จริง อันคือความดั้งเดิม
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า
ที่มันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ภาวะทุกข์
ภาวะเหตุแห่งทุกข์ ภาวะความดับไปแห่งทุกข์
ภาวะธรรม อันคือหนทางอันออกจากทุกข์
อันคือธรรมแห่ง สัมมาทิฏฐิ ทั้งหลายทั้งปวง
****************




เซน คือ
วิถีแห่งสัจธรรม ความเป็นจริง
ตามธรรมชาติ
เซนจึงมิใช่การเรียนรู้ เผื่อฝึกฝน
ให้ภาวะมันเกิด
**************




การที่พวกเธอจะดิ้นรน
พยายามทำให้มันปรากฎขึ้น
มันจึงเป็นการเข้าใจผิด
ต่อสภาพธรรมชาติแห่ง พุทธะ ของพวกเธอเอง
***************




เมื่อทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวอันคือ..
ธรรมชาติแห่งพุทธะ
จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะก่อให้ เกิด ใครสักคน
แล้วบังอาจกระทำตัวแปลกแยก
ออกมาจาก ความกลมกลืนแห่งธรรมชาตินั้น

แล้วมายืนตะโกนร้องบอกว่านี่คือ “ฉัน”
และนี่ก็คือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันปรากฎขึ้น
ซึ่ง “ฉัน” ได้ค้นพบมัน
ด้วยการแสวงหาอย่างเหน็ดเหนื่อย
ซึ่งเกิดจากการ ปฏิบัติธรรม ด้วยน้ำพักน้ำแรงของฉันเอง
****************


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2014, 12:08:20 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 10:33:49 pm »



ในฐานะของความเป็นมนุษย์นั่นเองแหละ
ก็คือความเป็นหน้าตาของธรรมชาติแห่งพุทธะ
ที่ปรากฎอยู่ในความเป็นสิ่งเดียวแบบกลมกลืนของทุกสรรพสิ่ง
มันจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าคนเราย่อมมีหนทาง
ไปสู่สัจธรรมได้เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว
เพราะ “ความมีหนทางไปสู่” นั้น
เท่ากับว่าคนเราเอง
ย่อมยังมีระยะห่างจากธรรมชาติที่แท้จริงอยู่
****************




หมายถึงสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นอิสระแบบเด็ดขาดโดยตัวมันเอง
มันจึงมิใช่ภาวะธรรมที่ซึ่งเกิดจาก
การเข้าไปจัดแจงภาวะธรรมใดภาวะธรรมหนึ่ง
แล้วการเข้าไปจัดแจงนั้นมันเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้ธรรมชาตินี้ปรากฎขึ้น
**********************




ในความเป็นจริงของธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนมาแต่แรกเริ่มเดิมที
อันคือความดั้งเดิมแท้ของมัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากฝีมือในการภาวนาปฏิบัติของใคร
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากการที่ได้ทำลายอะไรลงไป
มันจึงมิได้เกิดขึ้นเพราะใครไปสลายอัตตาอะไรให้หมดไป
แล้วอนัตตาคือความไม่มีตัวตนเช่นมันจึงจะปรากฎขึ้นมา
*********************




เมื่อพวกเธอเข้าใจซึมทราบด้วยใจของพวกเธอเอง
ถึงความที่มันเป็นอิสระโดยคุณลักษณะของมันเอง
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้ใครมาลุถึง
เธอก็เป็นอิสระไปแล้วทันที
************************


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2013, 06:40:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:49:19 pm »





ความว่างมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ
เป็นความอิสระที่บริบูรณ์อยู่แล้ว
มันเป็นความอิสระโดยตัวมันเอง
ซึ่งนอกเหนือความหลุดพ้นหรือความไม่หลุดพ้น
อันเป็นส่วนที่เธอจะไข่วคว้ามาในฐานะแห่งการบรรลุ
********************




ทุกคนย่อมมีเหตุผล
ในการกระทำของตัวเองเสมอ
เรามีหน้าที่เพียงยอมรับและเข้าใจ
เหตุผลของการกระทำนั้นๆ
************




ชีวิตเท่าที่มีอยู่
ตามปกติ ณ ขณะนี้
นี่คือ...วิถีชีวิตแห่งเซน

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
*********************




มิตรไมตรีของเรา
ที่เคยมีให้กันเสมอ
คือความรักแห่งเซน
..
..
เซน แห่ง วาเลนไทน์
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
*******************


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2013, 07:10:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 12:38:28 am »



บทที่ 35 ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร

หากไปศึกษาในพระสูตรต่างๆในพระสุตันตปิฏกไล่เรียงตั้งแต่ธรรมจักรกัปปวัฏตนสูตร อนัตลักขณะสูตร อาทิตยสูตร เป็นต้น พระพุทธองค์ได้ตรัสลักษณะธรรมที่เหมือนกันไว้คือ "ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ และขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเอง" และผู้ที่มาฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แบบนี้แล้วต่างก็บรรลุธรรมในระดับชั้นแตกต่างกันไปตามความเข้าใจในธรรมของตน

การพิจารณาธรรมว่าขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นการเรียนรู้เพื่อขจัดความไม่เข้าใจลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง เมื่อได้เรียนรู้ว่าอะไรคือทุกข์และจะดับทุกข์นั่นได้อย่างไร เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 เป็นทุกข์ เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ควรเข้าเนื่องเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง ก็ถือว่าได้เข้าใจในกระบวนการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์ได้ทั้งหมด
เมื่อพิจารณาจนเกิดความเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จงปล่อยให้ขันธ์ทั้ง5 ดับไปทุกกรณี การดับของขันธ์ทั้ง 5 เป็นการดับโดยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่แล้วโดยมีพื้นฐานแห่งความรู้ความเข้าใจในธรรมในการแก้ไขปัญหา เป็นวิธีการแบบที่ไม่มี "เรา" เข้าไปเกี่ยวข้องเข้าไปจัดการ มันเป็นวิธีการโดยตัวมันเองซึ่งเรียกว่า "วิธีแบบธรรมชาติ" เป็นธรรมชาติที่มันดับมันไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นธรรมชาติที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้วเช่นกัน

การปฏิบัติธรรมโดยการปล่อยให้มันเป็นไปตามกระบวนการ "ธรรมชาติแห่งขันธ์" ดังกล่าวนี้เป็นการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ในพระสูตรต่างๆ และข้อยืนยันในสัจธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน โดยสภาพมันเองโดยตัวมันเองนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในนิพพานสูตรว่า "นิพพานคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว" ซึ่งหมายถึงพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ว่า เส้นทางแห่งพระนิพพานเป็นเส้นทางในกระบวนการ "ธรรมชาติ" เท่านั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงอยู่แล้ว โดยตัวมันเองนั้นเท่ากับว่ามันเป็นธรรมชาติที่มันไม่ปรุงแต่งอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอีกด้วยเช่นกัน เป็นความหมายโดยนัยยะ



- การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปทำอะไรสักอย่างหนึ่งกับอีกอย่างหนึ่งเพื่อให้พระนิพพานเกิดเช่น การคิดว่าเราจักต้องทำสติ ทำสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อให้ไปสู่เส้นทางพระนิพพาน ความคิดเช่นนี้เป็นลักษณะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 โดยลืมนึกว่าความคิดแบบนี้ก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ล้วนไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วเช่นกัน การเข้าใจและการลงมือปฏิบัติด้วยความคิดแบบนี้อยู่ตลอดเวลาเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะมันไม่ใช่วิธีในการแก้ไขปัญหาในกองทุกข์แบบ "ธรรมชาติ" ตามที่พระพุทธองค์ตรัส วิธีแบบธรรมชาติมันเป็นวิธีของมันอยู่แล้วมันไม่ต้องอาศัยความมีเราเข้าไปจัดการเข้าไปปฏิบัติ (การที่จิตซี่งปรุงแต่งขึ้นดับไปเป็นธรรมดา การที่ขันธ์ทั้ง 5 ดับไปเป็นธรรมดา มันก็คือเนื้อหาแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปในตัวอยู่แล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิซึ่งคือตัวปัญญา อยู่แล้วนั่นเอง)

-การที่คิดว่าจะต้องเข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เข้าไปกำหนดว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เข้าไปกำหนดว่า สิ่งนี้คือเวทนาทั้งหลาย การเข้าไปสำรวมระวังแบบกำหนดสติไว้ในอริยบทต่างๆคือ ยืน นั่ง เดิน นอน เข้าไปกำหนดว่าอะไรคืออะไรในกระบวนการแห่งขันธ์ การกำหนดเช่นนี้เป็นลักษณะจิตปรุงแต่งซ้อนเข้าไปทำให้มีเรามีอัตตาขึ้นมาเป็นการขัดขวางธรรมชาติโดยสิ้นเชิง การรู้ชัดแบบมีสัมมาสตินี้เป็นการรู้แบบ "ธรรมชาติ" ในการรู้มีสติ เป็นการรู้มีสติบนพื้นฐานที่ขันธ์ 5 ไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว เป็นการรู้มีสติแบบ "ไม่มีเรา ไม่มีอัตตา" แต่การกำหนดเป็นการปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 จนทำให้เกิดตัณหาอุปทานมีเราขึ้นมา มันเป็นการ “ประคอง”สติ ซึ่งไม่ใช่ "ธรรมชาติ"แห่งสติ ที่แสดงเนื้อหาแห่งขันธ์ซึ่งมันต้องดับไปเองอยู่แล้วโดยสภาพ (การกำหนด เป็นการเข้าไปศึกษาธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้เราตระหนักชัดถึงลักษณะหน้าตาและความหมายแห่งธรรมนั้นๆ แต่เพียงเท่านั้น )

-การเข้าไปจับกุมจับฉวย สภาวะธรรมใดสภาวะธรรมหนึ่งตลอดเวลาเพื่อทำให้พระนิพพานเกิด การจับกุมจับฉวยก็เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อกระบวนการธรรมชาติโดยสิ้นเชิงเช่นกัน
การปฏิบัติธรรมโดยที่มี "เรา" เข้าไปคิดจัดการจัดแจงเข้าไปกำหนดเข้าไปจับกุมจับฉวย เพื่อที่จะมี "เรา" หรือ "อัตตา" เข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นความเข้าใจผิดในธรรมเป็นความลังเลสงสัยไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรมอยู่ เปรียบเสมือน เอา "เรา" หรือ "อัตตา" ไปแสวงหา "นิพพานอันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมล้วนๆ" ซึ่งเป็น "อนัตตา" เอา "อัตตา" ไปทำเพื่อให้เกิด "อนัตตา" ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ นิพพานธรรมก็จักไม่เกิดขึ้นเพราะจิตยังติดปรุงแต่งในตัววิธีปฏิบัติธรรมนั่นเอง

แต่การที่ปฏิบัติธรรมโดยอาศัยความเข้าใจในธรรมแล้วปล่อยให้ขันธ์ 5 ดำเนินไปสู่ "วิธีธรรมชาติ" ที่มันดับโดยสภาพมันเองที่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เป็นการ "ปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องเข้าไปทำอะไร" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่มีอัตตาไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นการปฏิบัติธรรมตรงต่อสัจธรรมตรงต่อที่พระพุทธองค์ประสงค์จะให้เรียนรู้และเข้าใจแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบ "ธรรมชาติแห่งความไม่มีเรา ไม่มีอัตตาเข้าไปปฏิบัติ"
" เป็นการปฏิบัติธรรมโดยที่ไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งให้มีเราเข้าไปทำอะไรอีกเลย



บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
:http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:33:46 pm »





เพราะฉะนั้นเมื่อมันปราศจากความมีความเป็น
ซึ่งมีคุณสมบัติแห่งการเกิดขึ้นดับไป
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงไม่ตกอยู่ภายใต้
“ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่”
..
..

การปฏิบัติธรรมอันเนื่องด้วยการตระหนักชัดและซึมทราบ
เป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดานั้น
มันเป็นการปฏิบัติธรรมบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจผิดของเราเอง
ว่าความเป็นตัวตนมันมีอยู่จริง
..
..

ความเป็นจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง
แต่ที่คิดว่ามีอยู่
และยังเข้าใจอีกว่าที่มีอยู่ก็เกิดขึ้นดับไป
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อธรรมชาติดั้งเดิมแท้
..
..

การปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจผิดว่า
มันต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
มันก็เป็นเพียงความรู้ที่ถูกต้องในส่วนหนึ่ง
แต่ก็ถูกอวิชชาตัณหาอุปาทานครอบปิดบังไว้ในส่วนหนึ่ง
..
..

การนั่งกรรมฐานภาวนาในทางเซน
เป็นการนั่งที่ได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวง
เฉกเช่นเดียวกับการอยู่ในอริยบทอื่นๆ
เช่น การเดิน การนอน การทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
ก็ย่อมเป็นการเคลื่อนไหวในอริยบทต่างๆอย่างมีอิสรภาพ
อันเด็ดขาดจากการปรุงแต่งทั้งปวงเช่นกัน
..
..

ด้วยความไม่รู้ความไม่เข้าใจของมนุษย์ว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นมาเอง
มนุษย์จึงพยายามทำสิ่งสมมุติเหล่านี้ให้เต็ม ให้บริบูรณ์
ให้มั่นคง ให้คงทนถาวร อยู่ในความรู้สึกของตน
หรือพยายามทำสิ่งสมมุติที่ไม่ต้องการให้หมดไป
ให้สูญสลาย ให้หายไปจากความรู้สึกของตน
..
..

ธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น
เป็นการทำหน้าที่แห่งความว่างเปล่า “โดยเด็ดขาด”
เด็ดขาดซึ่งปราศจากภาวะความเป็นของคู่โดยสิ้นเชิง
มันปราศจากภาวะความเป็นของคู่แม้กระทั้งชนิด
ที่ถูกแบ่งแยกแล้วซึ่งเรียกมันว่า
“การบรรลุ-การไม่บรรลุ”
“การหลุดพ้น-การไม่หลุดพ้น”
..
..

ในเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลาย
ปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน
และเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง
เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดสายตลอดเวลาโดยธรรมชาติของมัน
การทำนิพพานให้แจ้ง ให้เด่นชัด ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา
ก็เป็นการฝืนธรรมชาติโดยสิ้นเชิง
..
..

เพราะโดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง
สิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง
แล้วจะทำให้สิ่งเหล่านี้
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไปได้อย่างไร
..
..

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:37:12 pm »




ในความเป็นจริงธรรมชาติแห่งพุทธะ
มันไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลยให้ซับซ้อนยุ่งยาก
ถ้าหากจะกล่าวว่ามีหลักเกณฑ์
ก็โดยสภาพของธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นแหละ
คือหลักเกณฑ์
..
..

ธรรมชาติแห่งพุทธะ
มันอยู่เหนือ
กฎแห่งความเป็นเหตุและผล
..
..

ถ้าเธอจะเพียงแต่ไม่คิด
เรื่องความมีอยู่และความไม่มีอยู่
เกี่ยวกับทุก ๆ สิ่ง จริง ๆ ได้เท่านั้น
เธอก็จะลุถึงธรรมตัวจริงได้
..
..

จงเพียงแต่พักใจของท่านไว้
และไม่แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็จะเข้าถึงความว่างได้ในตัวมันเอง
..
..

ถ้าหากว่าชั่วขณะหนึ่ง
ที่มันถูกวางจากเครื่องผูกมัด
ในหัวใจของท่านเอง
ทุก ๆ แห่งก็คืออิสรภาพ
..
..

ด้วยความเสมอภาคและเที่ยงตรง
จิตของท่าน
ไม่ได้พำนัก ณ ที่ใด
..
..

ความว่างมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะที่บริบูรณ์อยู่แล้ว
มันนอกเหนือความหลุดพ้นหรือความไม่หลุดพ้น
อันเป็นส่วนที่เธอจะไขว่คว้ามาในฐานะแห่งการบรรลุ
โละทิ้งไปได้เลยการปฏิบัติและหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติ
ที่มันเป็นมายาแห่งความฝันที่เหมือน "คนตาบอด"
ลูบคลำหน้าตาพุทธะ...แล้วมานั่งนึกมโนภาพเอาเอง
..
..

เธอพยายามหยุดการกระทำ
เพื่อจะได้ถึงความหยุดนิ่ง
ความพยายามของเธอนั่นแหละ
ที่ทำให้เธอเต็มไปด้วยการกระทำ
..
..

ความฝันและปีศาจ
พรรณดอกไม้ทั้งหลาย
ในท่ามกลางท้องฟ้าว่าง
ธุระร้อนอะไรของท่าน
ที่จะไปยึดฉวยมัน
..
..

ความเรียบง่าย
ในความเป็นไปเองแห่ง “เซน”
จะพาข้ามพ้น
ความซับซ้อนทั้งปวงแห่งวิธีปฏิบัติ
..
..

เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 02:47:08 pm »




บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 38 ฌาน คือ ธรรมสำหรับบัวใต้น้ำ
ฌาน คือ สมาธิความตั้งมั่นในระดับต่างๆที่เอาความเป็นเราเข้าไปทำเป็นอัตตาชนิดหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสเรื่องฌานไว้ในกรรมฐาน 40 กอง ท่านตรัสเพื่อทรงสอนดอกบัวจำพวกใต้น้ำ คือ หมู่ชนผู้มืดบอดที่ “ ไม่รู้จักความสงบที่แท้จริง ” เพราะความเป็นจริง “จิต” ที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆนั้น ถือว่า เป็นความวุ่นวายอันเกิดจากอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งขึ้นมา มันวุ่นวายไปด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน วุ่นวายไปด้วยความหมายแห่งความเป็นตัวตนเป็นอัตตา วุ่นวายไปด้วยความมีเรามีเขามีสิ่งๆโน้นมีสิ่งๆนี้เข้ามา สรุปคือ เป็นความวุ่นวายในความเป็นอัตตาตัวตน ซึ่งมีสภาพเป็นทุกข์

แต่โดยธรรมชาติแห่งความเป็นสัจธรรมความจริง “จิต” ต่างๆนั้นเป็นธรรมชาติที่มันตั้งอยู่ได้ไม่นาน มีความแปรปรวนสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว “ความสงบที่แท้จริง” ก็คือ ความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพธรรมชาติของ”จิต” มันเองนั่นแหละ เป็นความสงบปราศจากภาวะความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ปราศจากภาวะความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ปราศจากภาวะความมีเรามีเขามีสิ่งต่างๆ ปราศจากภาวะความเป็นอัตตา มันเป็นความสงบแท้จริงซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน

แต่หมู่ชนซึ่งเปรียบเสมือนพวกบัวใต้น้ำกลับไม่เข้าใจในความหมายแห่งความสงบที่แท้จริง ไม่สามารถตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นได้ ซึ่งความดับไปตามธรรมชาตินั้นคือความสงบซึ่งแสดงเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน หมู่ชนแห่งบัวเหล่านี้ไม่รู้จักความหมายแห่งความแปรปรวน ไม่รู้จักความหมายแห่งอนิจจังความไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่ในทางตรงกันข้ามหมู่ชนเหล่านี้ กลับ“มีแต่ความปรุงแต่งทางจิต และมีความสาละวนในการปรุงแต่งซ้ำๆซากๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งก่อให้เกิดเป็นจิตประเภทต่างๆอยู่ตลอดเวลา และไม่มีปัญญาพอที่จะตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปของจิตนั้นได้ สาละวนปรุงแต่งจนกระทั้งเกิด “ภาวะอุปสรรค” เข้ามากีดกั้นปิดบังไม่ให้รู้ไม่ให้เข้าใจไม่ให้ตระหนักชัดในธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งเป็นความสงบที่แท้จริง พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงการปรุงแต่ง ซ้ำๆซากๆ

ที่กลายเป็นจิตประเภทนี้ไว้ 5 ชนิด คือ นิวรณ์ทั้ง 5 ได้แก่
1.กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง
2. พยาบาท ความไม่พอใจ ความคับแค้นใจ ความอาฆาตปองร้าย
3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่ายตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

เมื่อรอบปัญญาบารมียังไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจและตระหนักชัดในเนื้อในเนื้อหาแห่งความแปรปรวนดับไปสิ้นไปของจิตทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวข้างต้นได้ พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนบัวเหล่าใต้น้ำนี้ท่านทรงแนะนำ “ อุบาย” อันจะช่วยทำให้ “หันเห” ความสนใจหันเหจากพฤติกรรมทางจิตที่ปรุงแต่งต่างๆนาๆจนเป็นอุปสรรคทำให้ไม่รู้จักไม่เข้าใจในความอนิจจังสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิต “หันเห” มาสู่จุดใดจุดหนึ่งในองค์ภาวนาในประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ถึง 40 กอง และให้ตามเพ่งอยู่ตรงจุดนั้นจนกว่าจะเกิด “ภาวะอัตตาอันประณีต” เช่นอาการวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกคัตตา คือ จิตเพ่งตรงนั้นจนไม่ไปใหนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมันทำให้หันเหจากพฤติกรรมที่ชอบปรุงแต่งเป็นจิตประเภทต่างๆที่มันเป็นอุปสรรคได้อย่างดี เมื่อหันเหมาสู่ภาวะอัตตาอันประณีตที่เรียกว่า องค์ฌาน มันก็กลายเป็นจิตอันประณีตอยู่ตรงนี้แบบชั่วคราวแต่เมื่ออำนาจฌานหมดไปหายไป หมู่ชนเหล่านี้ซึ่งเคยมีพฤติกรรมปรุงแต่งทางจิตไปต่างๆนาๆตามความเคยชิน ก็จะกลับไปปรุงแต่งอีกเหมือนเดิม

เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้หมู่ชนเหล่านี้ทำสมาธิในลักษณะฌาน เมื่อเกิดภาวะจิตปรุงแต่งอันประณีตในองค์ฌาน เมื่อจิตมีความ “รำงับ” จากความวุ่นวายชั่วคราวแล้วก็ควรรีบมาศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องอริยสัจจ์ เรื่องการแก้ไขปัญหาแบบตรงประเด็น คือการปฏิบัติตรงแบบอุชุปฏิปันโน แบบความดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมอันคือความสงบนั้น
แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจเนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติซึ่งสามารถตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตประเภทต่างๆได้ซึ่งถือว่าหมู่ชนเหล่านี้เปรียบเสมือนบัวปริ่มน้ำ บุคคลเหล่านี้ได้ลิ้มรสชาดแห่งความสงบทางจิตที่แท้จริงได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องเข้าไปทำกรรมฐานใน 40 กอง เพื่อให้เกิดความปรุงแต่งเป็นจิตอันประณีตในองค์ฌานเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาบดบังพระนิพพานและทำให้เกิดความลำบากกายทรมานกายขึ้นมาอีก

กรรมฐาน 40 กองมีดังนี้
- กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง แบ่งเป็น
ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แสงสว่าง กสิณสีแดง กสิณเขียว กสิณสีขาว กสิณสีเหลือง

-อสุภกัมมัฏฐาน 10 อย่าง
อุทธุมาตกอสุภ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายขึ้นบวมพอง ขึ้นอืด
วินีลกอสุภ เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว ปะปนคน สีแดงในที่มีเนื้อมาก สีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก สีเขียวที่มีผ้าสีเขียวคลุม ร่างของผู้ตายส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยผ้า สีเขียวจึงมากกว่า ดังนั้นจึงเรียกว่า วินีลกะ แปลว่าสีเขียว
วิปุพพกอสุภ เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
วิฉิทททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลาง มีกายขาดออกจากกัน
วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
วิขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย
หตวิกขิตตกอสุภ คือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
โลหิตกอสุภ คือซากศพที่มีเลือดไหลอออกเป็นปกติ
ปุฬุวกอสุภ คือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
อัฏฐกอสุภ คือซากศพที่มีแต่กระดูก

- อนุสติ 10 คือ
พุทธานุสสติ - ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสสติ - ระลึกถึงพระธรรม คำสอน
สังฆานุสสติ - ระลึกถึง คุณพระสงฆ์
ศีลานุสสติ - ระลึก ถึงผู้มีศีล
จาคานุสสติ - ระลึกถึงคุณความดีของการให้
เทวตานุสสติ - ระลึกถึงความดีของเทวดา
มรณานุสสติ - ระลึกถึงความตาย
กายคตานุสสติ - ระลึกถึงร่างกายเราเป็นของสกปรกไม่มีอะไรดี
อาณาปานุสสติ - ระลึกถึงลมหายใจของเรา
อุปสมานุสสติ - ระลึกถึงอารมณ์พระนิพพาน

-พรหมวิหาร 4
-อรูปฌาน 4
-อหาเรปฏิกูลสัญญา - พิจารณาว่าอาหารเป็นของเหม็นเน่าเหมือนร่างกาย
-จตุธาตุววัฏฐาน 4 พิจารณาการเกิดของสังขาร คือเป็นการประชุมของ ธาตุทั้ง 4