ผู้เขียน หัวข้อ: นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน โดยครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท  (อ่าน 8215 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



แสงหนึ่งเมื่อรุ้งงาม
     
       เราทุกคนต่างก็ดิ้นรนเพื่อให้พ้นทุกข์ เมื่อใดที่สุขก็อยากจะอยู่กับสุขนั้นให้นาน แต่เพราะไม่ว่าจะสุข  หรือทุกข์ใดๆก็ตาม    มิอาจอยู่กับเราได้ตลอดไป             มันเป็นความจริงที่ว่าทุกสรรพสิ่งนั้น    ดำเนินอยู่ภายใต้กฎของธรรมชาติ   เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไป
       รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ต่างๆ       ก็ไม่มีอะไรที่ตั้งอยู่ได้เลย     เกิดแล้วดับไป วนเวียนจนไม่อาจนับครั้งได้    และโดยธรรมชาตินั้น จิตเราย่อมทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด  เรามักพยามไล่ตามมัน   โดยใช้สติควบคุม หรือกดมันไว้  ก็ได้แค่เพียงชั่วขณะ  แต่พอเผลอมันก็เตลิดไปอีก       บางทีไล่ตามมันจนเกิดความชำนาญ         คิดว่านั่นคือความสงบหรือความว่าง แท้จริงแล้ว   เราได้ใช้ความมีตัวตนเข้าไปจัดการมันต่างหาก   เพราะมีเราได้เข้าไปเริ่มและจบให้กับมัน ก็เป็นการสมมุติปรุงแต่งทั้งนั้น          ทำให้บดบังความเป็นธรรมชาติอันแท้จริง
        เพราะทุกสิ่งดำเนินไปตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว      มันไม่มีอะไรเลยสักอย่าง     เราเองต่างหากที่สร้างความมีตัวตน เข้าไปยึดมั่นถือมั่น           เข้าไปจัดการสร้างสิ่งอันเป็นมายาขึ้นมาใช่หรือไม่    ทำให้เกิดวัฏจักรเกิดดับไม่จบสิ้น   ทั้งๆที่ทุกสรรพสิ่งมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว     ไม่เห็นต้องทำอะไรเพื่ออะไร    หรือใช้ความพยามเข้าไปบังคับ    เมื่อมันเกิด มันก็ดับไปเอง       ไม่ต้องเข้าไปจัดการในสิ่งอันสมบูรณ์อยู่แล้ว      มันเป็นวิถีซึ่งเบ็ดเสร็จในตัวของมันเอง นี่ก็คือธรรมชาติอันคือความเป็นจริงเพียงส่วนหนึ่ง
        เราทั้งหลายก็มิได้มีสภาพอันมีตัวตนอยู่เลย        ล้วนเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งสิ้น ธาตุขันธ์ทั้งหลาย ตลอดจน   องค์ประกอบความบริบูรณ์ของสภาพแวดล้อมต่างๆ    ก็เกิดจากสภาพจิตของแต่ละคนที่ได้ยึดมั่นสั่งสมมาช้านาน  เหตุเพราะจิตเราเองยังหลงยึดมั่น ถือครองเป็นเจ้าของในสิ่งอันเราสมมุติขึ้นมานาน      และถูกฝังการรับรู้ชนิดต่าง สิ่งนั้นถูกสิ่งนี้ผิด  อันนั้นดี อันนี้ไม่ดี  หากไม่มี ไม่เป็นตามนั้นก็โศกเศร้าเสียใจ หรือความยินดีต่อการได้สิ่งนั้น สิ่งนี้มา   ก็ใครกันกำหนดกฏเกณฑ์ และสร้างเงื่อนไขต่างๆขึ้น       มิใช่เราเองหรอกหรือ        เพราะเราสร้างความมีตัวตนในทุกสิ่งทุกสภาวะของธรรมชาติ  จนเวียนว่ายเกิดดับอยู่ในวัฏสงสารมิจบสิ้น มันไม่มีวันจบจริงๆ
    ทว่าดีหรือชั่ว มีหรือไม่มี ก็อยู่แต่ในจิตเรานี้เอง   ทุกสรรพสิ่งเป็นมายาของจิตทั้งนั้น   แท้จริงแล้วมันไม่เป็นสิ่งใดเลย และมันไม่อาจมีความหมาย หรือนิยามใด     เมื่อหยุดสมมุติ ปรุงแต่ง   ก็ไม่มีสิ่งไหนเกิดสิ่งไหนเกิดดับอีกต่อไป   วัฎจักรก็จบสิ้นทันที     เปิดใจให้กว้าง            แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาให้เห็นความจริงอันเป็นสัจธรรมนี้   และตระหนักชัดถึงความเป็นธรรมชาติ         แล้วอยู่เหนือสภาวะทั้งมวล    เด็ดขาดออกจากมัน  ไม่ต้องสมมุติว่า    มี    ไม่มี ต้องเป็น หรือไม่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้     เอาความเป็นตัวเราออกมา ไม่เป็นผู้แสดง ไม่เป็นผู้แต่งบท  ปล่อยวางจากทุกสภาวะ   ก็จะเป็นอิสระทันที
         คนเรามักพยามแสวงหาในสิ่งที่ไกลตัวออกไป   จนมองข้ามที่จะศึกษาภายในจิตของตน       ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสรรพสิ่งทั้งมวล                  ไม่กล้าที่จะเด็ดขาด   และยอมรับความจริง    อย่าเที่ยวแสวงหาสิ่งใดจากภายนอกเพื่อดับทุกข์อีกเลย เพราะถึงแม้เราจะเพียรพยายามสร้างสมความดีเท่าไหร่     จิตเราก็จะติดอยู่แต่ในกุศลบุญนั้น   และยังต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป        หากเราไม่ใช้ปัญญาที่จะทำความเข้าใจความเป็นธรรมชาติภายในจิตเรา

    เหตุที่จิตนี้เป็นที่บรรจุสรรพสิ่งต่างๆไว้อย่างน่าอัศจรรย์เหลือเกิน      มันเก็บเรื่องราวไว้ได้มากมายกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดความจำสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้   ฉะนั้นผลของการแบกรับทุกสิ่งไว้  ทำให้เรารู้สึกคับแคบหรือถูกบีบอัด จนต้องดิ้นรนหนีมัน       และการเจริญด้วยสติว่ามีมันอยู่  แล้วรอดูการดับไป ก็ไม่ได้ทำให้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริง      เพราะสิ่งอันเป็นมายาทั้งหลายก็จะมาวนเวียนมาให้เราดูอยู่เสมอ      จนกว่าเราจะใช้ปัญญาซึ่งเป็นเสมือนกุญแจ        ปลดความมีตัวตนออกมา   เพื่อให้เห็นสิ่งอันจริงแท้  ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น    ว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียว
        ธรรมะจึงมิใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป      แต่มันคือการทำความเข้าใจในกฏของธรรมชาติซึ่งเป็นจริงเสมอ    และมันก็อยู่ภายในจิตเรานี้เอง
       และนี่เป็นเพียงทัศนะทางธรรมของข้าพเจ้าเท่านั้น   ที่ส่งจากเพื่อนถึงเพื่อน     ด้วยหวังว่าจะเป็น   “ แสงหนึ่ง ”    ซึ่งนำทางให้เพื่อนทั้งหลายได้ข้ามพ้นวัฏสงสาร  สาธุ 

บทความนี้
เขียนโดย       นางสาวนวพัฒน์   พรหมครุฑ  (ลูกศิษย์)
                           
                 



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
กลีบเจ้าได้บานออก
รับแสงแห่งความตื่นรู้แจ้ง
ดอกไม้ไม่จำนรรจ์
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย นายเมฆ โคโมริ
ใจต่อใจในการฝึกตน



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
ดอกไม้เบ่งบานขึ้นอย่างเงียบงัน
และจะหลุดร่วงไปโดยไร้สำเนียง
มาบัดนี้ ณ กาลนี้ และ ณ สถานที่นี้
ดอกไม้ทั้งหมด โลกทั้งหมด ล้วนเบิกบานขึ้น
นี่คือคำจำนรรจาแห่งดอกไม้
คือสัจจะแห่งการเบ่งบาน
แสงอันเรืองรองแห่งชีวิตนิรันดร์
ได้ฉายฉานลง ณ ที่นี้แล้ว
..
..

เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


ไม่มีหนทางที่จะเข้าถึง

           ธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันคือ     สัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติที่มันแสดงเนื้อหาความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น    มันดำรงเนื้อหาสัจธรรมความเป็นจริงของมันอยู่เช่นนี้มานานแสนนานแล้ว อย่าถามเลยว่าความเป็นจริงนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรและมันจะมีวันจบสิ้นสูญสลายไปไหม   ก็เพราะความจริงนี้มันคือคุณลักษณะแห่งความไม่มีไม่เป็นโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว   มันจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นหรือดับไปได้  และมันก็คือเนื้อหาธรรมชาติแห่งทุกๆอนูธรรมธาตุที่เป็นคุณลักษณะดั้งเดิมแท้ของมันอยู่แล้ว  มันจึงดำรงเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นด้วยความเป็นเช่นนั้นของมันเอง มันจึงไม่ต้องอาศัยกาลเวลาเพื่อที่จะทำให้มันเกิดขึ้นหรือเสื่อมสิ้นดับสูญไป  หากจะถามแบบโง่ๆว่ามันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เมื่อไร    ก็ขอตอบแบบโง่ๆว่า    รู้แต่ว่า “มันมีมามันเป็นมา” ตั้งแต่ก่อนที่พวกคุณจะลงมาเกิดบนโลกมนุษย์อีกด้วยซ้ำ    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกคุณที่เป็นนักศึกษาทางฝั่งโน้นจะบังอาจแสดงความโง่เขลาของตนเข้าไปทำธรรมชาติดั้งเดิมแท้ให้มันเกิดขึ้นอีกได้อย่างไรเล่า        ก็ในเมื่อมันดำรงเนื้อหาแสดงเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้มานานแสนนานอยู่แล้วก่อนที่พวกคุณจะลงมาเกิดเป็นมนุษย์เสียอีก     มันดำรงเนื้อหาซึ่งเป็นเนื้อหาที่บริบูรณ์อยู่แล้วมาก่อนหน้าพวกคุณที่คิดผิดจะเข้าไปแสวงหาสร้างให้มันเกิดขึ้นในสภาพบริบูรณ์ตามความเข้าใจของพวกคุณด้วยซ้ำ
          เพราะฉะนั้นด้วยการ “ตกผลึก” และ “ตระหนักชัด”  ในธรรมจึงจะเข้าใจว่า   แท้จริงมันไม่มีหนทางที่ไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้เลย การที่คิดว่าต้องมีหนทางมันจึงเริ่มแสวงหาเพื่อ  “สร้างหนทาง” ที่จะพาให้เราเข้าถึงตัวเนื้อแท้แห่งธรรมชาติ แต่ด้วย “ความคิด” ซี่งมันคือรายละเอียดแห่งอวิชชาการแสวงหาการ  มันก็คือการปรุงแต่งเพื่อความเกิดขึ้นและดับไปแห่งจิตที่ปรารถนาหนทางนั้นเอง  มันจึงเป็นการฝืนและขัดต่อสัจธรรม   อันคือธรรมชาติแห่งความไม่มีความไม่เกิดความไม่ดับ
      จากมุมมองแบบผ่านกระบวนการ “การตกผลึก” แล้ว  ทุกสรรพสิ่งอันคือความเกิดขึ้นมันย่อมไม่มีปรากฎ      มันย่อมไม่มีไม่เป็นแม้กระทั้งสิ่งใดๆเลย  ไม่มีโลก ไม่มีพระจันทร์  ไม่มีเขา ไม่มีใคร  ไม่มีความรู้สึก  ไม่มีขันธ์ทั้ง 5  ไม่มีสิ่งนั้น  ไม่มีสิ่งนี้  ไม่มีเรา  และไม่มีอะไรต่ออะไรอีกมากมายก่ายกองที่เรียกมันว่า “ทุกสรรพสิ่ง”     มันดำรงแต่เนื้อหาที่มีคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแสดงปรากฎออกมาอยู่อย่างนั้นแบบนี้มาช้านานตลอดกาลนานตราบชั่วนิจนิรันดร์   มันไม่มี “เรา”  แต่เราคือเนื้อหาสัจจธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่เผยตัวออกมาอยู่ตลอดเวลาต่างหากอยู่แล้วนั่นเอง 
         เพราะฉะนั้นเราเพียงแต่ทำความเข้าใจเพื่อจะได้ตระหนักชัดในความหมายแห่งคุณลักษณะมัน และซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกับมันอย่างกลมกลืนเท่านั้น   ไม่มีเราและไม่มีมันซี่งมีระยะห่างจากเราและเราต้องทำหนทางไปหามัน   ด้วยธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่เคยแยกจากที่ที่เราอยู่เลยแม้ชั่วขณะหนึ่งก็ไม่มี  เพราะฉะนั้นการเข้าไปสาละวนในการปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะแสวงหาหนทางสร้างหนทางในมรรคมีองค์แปดเพื่อเข้าถึงมัน        การมุ่งปฏิบัติเช่นนี้แล้วเข้าใจว่านิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจะเกิดขึ้น          มันก็จะเป็นการเสียเวลาเปล่า  หามีประโยชน์อันใดไม่

                   
       
       
   
 






ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่เรียกว่า “เซน” นั้น
ไม่อาจถือว่าเป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
เซนไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับพุทธศาสนานิกายเซนเท่านั้น
หากแต่เป็นสัจจะอันสากล
ซึ่งจะนำปรีชาญาณที่แท้และนำสันติสุข
มาสู่ชีวิตของมหาชนในโลก...
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เซนบอกเราอยู่เสมอ
ให้ขจัดโลกแห่งการแบ่งแยกออกไป
และเปิดตาขึ้นรับรู้ต่อโลกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวอันสูงสุด
ในขณะเดียวกัน
ก็ไม่ไปติดอยู่กับความหนึ่งเดียว
จนสูญสิ้นอิสรภาพแห่งตนไป
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์

          ในการภาวนาแบบ “เซน” มันคือ  ความตกผลึกในธรรมชาติ เพื่อให้เข้าถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนานั้น        มันเป็นเพียงแต่ทำความเข้าในความหมายเพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและตกผลึกซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้แห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นเพียงเท่านั้น     เพียงแค่ตระหนักชัดและมันไม่มีวิธีการเข้าไปทำ      การตระหนักชัดและการที่ตกผลึกซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนไม่แปลกแยกกับธรรมชาตินั้น  มัน “ไม่ใช่วิธีการ”    ตัวธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว  มันคือความบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันบริสุทธิ์โดยตัวมันเองปราศจากความสกปรกแปดเปื้อนไปด้วยมลทินแห่งอวิชชาตัณหาอุปาทานในธรรมอันคือ “สังขตธาตุ”  หรือธรรมธาตุอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาแห่งสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทั้งหลาย     ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันบริสุทธิ์ด้วยความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นไม่มีความสกปรกมลทินแห่งความเกิดขึ้นและดับไปเลย    นี่คือ “หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์”   ที่เป็นเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้
       แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีนักศึกษาทางฝั่งโน้นที่ไม่เข้าใจเนื้อหาธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้    และไม่รู้จัก “หน้าตาแห่งความบริสุทธิ์” ที่แท้จริง        นักศึกษาพวกนี้ก็เลยมีความกุลีกุจอเร่งรีบที่จะเข้าไปภาวนาโดยการ  “กำหนดลงไปที่จิต”      ว่ามีจิตชนิดนี้มีจิตชนิดนั้นเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา          และยังโง่เขลาต่อไปอีกว่าการกำหนดลงไปที่จิตต่างๆแบบนี้คือความบริสุทธิ์   และก็ได้กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์แบบนี้อยู่ตลอดเวลา      โดยเข้าใจว่ามันคือความบริสุทธิ์ที่แท้จริง    สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้นไม่ควรทำเพราะจิตต่างๆนั้นมันเป็นของมืดมัวมาก่อนเสียแล้ว    มันเป็นมลทินแห่งจิตชนิดต่างๆที่เจือปนไปด้วยธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้นและดับไป    จึงเป็นการเสียเวลาเปล่าๆที่จะเข้าไปกำหนดดูจิตแบบนี้   การเข้าไปกำหนดเช่นนี้มันจึงเป็นความมัวหมองแห่งอวิชชาที่ซ้อนเข้ามาเพื่อปิดบังความบริสุทธิ์ที่แท้จริง    และการที่เราตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับ “ความดับไปแห่งจิต”  ซึ่งเกิดจากการเข้าไปกำหนดจดจ่อจิตประเภทต่างๆนั้นแล้วถือว่าตรงนี้เป็นความบริสุทธิ์     เป็นการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้น     ก็ถือว่ามันยังไม่ใช่เป็นความบริสุทธิ์แต่มันคืออวิชชาตัวใหม่ที่เกิดขึ้นมาอันหนึ่งเท่านั้น  มันคือ “อวิชชาแห่งความบริสุทธิ์”     เพราะแท้จริงธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือความบริสุทธิ์โดยเนื้อหามันเองอยู่แล้ว คือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น    มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น    ไม่มีใครสามารถสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นมาซ้อนเข้ามาแทนมันซึ่งคือความบริสุทธิ์ดั้งเดิมแท้ได้ 
          ตัวความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันไม่มีสัณฐาน ไม่มีรูปร่างลักษณะ   ไม่มีขนาด  ไม่มีปริมาณ    ไม่มี “ความชัดเจนหรือไม่ชัดเจน” การที่จะสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นมาตามความไม่เข้าใจของตน       การสร้างความบริสุทธิ์แบบนี้คือ   “การเข้าไปประดิษฐ์รูปร่างแห่งความบริสุทธิ์”  ขึ้นมาเสียเอง       และก็ยังหลงเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการภาวนาเพื่อกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์แบบนี้มันคือปัญหาสำคัญแห่งความหลุดพ้นต้องกำหนดจดจ่อกับความบริสุทธิ์แบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีภาวะหลุดพ้นเกิดขึ้น           เมื่อถือหลักความคิดแบบนี้มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง       นักศึกษาเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธ์เสียเองแล้ว         ความคิดผิดเหล่านี้มันเป็นการปรุงแต่งซ้อนเข้ามาเพื่อมาปิดบังความบริสุทธิ์ที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นอยู่แล้ว   มันหลุดพ้นโดยตัวมันเองสภาพมันเอง
          เพียงแค่ ละทิ้ง สลัดทิ้ง สลัดออก ซึ่งกระบวนการต่างๆแห่งความเข้าใจผิดในการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิต      ในการกำหนดจดจ่อลงไปที่ความบริสุทธิ์ซึ่งเป็นธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา         แล้วหันหน้ามาทำความเข้าใจในความหมายของความบริสุทธิ์ที่แท้จริงแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้       แล้วตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมันเพียงเท่านี้   “หน้าตาแห่งความบรสุทธิ์”    ที่แท้จริงก็จะปรากฏเผยโฉมหน้าของมันขึ้นมาเองตามธรรมชาติ























ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เซนมีบางสิ่งบางอย่าง
ที่สงบล้ำและปราศจากการปรุงแต่งทั้งมวล
ในขณะเดียวกับที่ห่อหุ้มปรีชาญาณอันลึกซึ้งไว้ภายใน
และถ้าหากเราพยายามที่จะยึดมันไว้
เพื่อนำมาดูว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่
มันก็จะสูญหายไปจนไร้ร่องรอย
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เซนปฏิเสธการใช้สมองขบคิดใคร่ครวญ
เพราะกระทำดังนั้น
เท่ากับตกเป็นทาสของจิตใจแบบแบ่งแยก
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

ความสิ้นสุดแห่ง “การเกิดขึ้นและดับไป ”

          ก็ในสมัยนั้น  พระสังฆปรินายกองค์ที่ 6  (เว่ยหล่าง)      ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำทางด้านศาสนาแห่งนิกายเซน      เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่เนื้อหาธรรมอันหลุดพ้นจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทางจีนตอนใต้   มีภิกษุในประเทศจีนทั่วสารทิศในยุคนั้นได้เข้ามาพำนักฝากตัวเป็นศิษย์อยู่กับท่านเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยหลายร้อยรูป    หนึ่งในนั้นก็คือ ภิกษุ ฉิต่าว ภิกษุรูปนี้ท่านได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมานานเป็นสิบปี   ท่านไม่เข้าใจในเนื้อหาแห่งพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานที่ว่า   “สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร        ดังนั้น สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรมหรือธรรมอันปรุงแต่ง) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน   ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์          และ   ความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้น”
       พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง ได้อธิบายความหมายแห่งพระสูตรนี้ให้ ภิกษุ ฉิต่าว  ฟังว่า “ ไม่ว่าในขณะใดทั้งหมด นิพพานย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง    หรือแห่งการเกิดดับ       ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้น  และความแตกดับ    นิพพานเป็นการแสดงออกของความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง ”
            ก็ด้วยเนื้อหาพระนิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือ อสังขตธรรม  กล่าวคือเป็นธรรมอันไม่ปรุงแต่ง มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น         และความว่างเปล่านั้นมันคือคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองเป็นเนื้อหาเดิมๆของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่เป็นความว่างเปล่าที่เกิดจากการอาศัยเหตุปัจจัยจากสิ่งที่มันเกิดขึ้นและดับไปและไม่ได้อาศัยเหตุปัจจัยจากการสิ้นสุดลงแห่งความเกิดและแตกดับซึ่งเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ      ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใดเล่า        ก็เพราะว่าเนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้    มันคือความว่างเปล่าซึ่งมันว่างเปล่าเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น  มันคืออสังขตธาตุ ธรรมธาตุแห่งความไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อเป็นเช่นนี้มันจึงย่อมไม่มีปรากฎการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงในการเกิดขึ้นดับไป   ไม่มีแม้กระทั้งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่แห่งความเกิดขึ้นและดับไปดังกล่าว            เพราะเนื้อหาเหล่านี้มันคือความหมายแห่งสังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง    มันเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมา      มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อคอยอาศัยการเกิดดับ มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเพื่อรอคอยความสิ้นสุดแห่งการเกิดดับ  มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งเข้ามาซ้อนเข้ามาปิดบังไม่ให้เห็นไม่ให้เข้าใจในความหมายที่แท้จริงแห่งพระนิพพาน    เพียงแค่ตระหนักชัดและตกผลึกว่า    เนื้อหานิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นมันคือความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วซึ่งเป็นคุณสมบัติของมันอยู่แล้ว เพียงแค่ซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับมันด้วยความกลมกลืนในความว่างเปล่าแบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุซึ่งมันเป็นความบริบูรณ์แห่งความว่างเปล่าอยู่แล้ว  ไม่มีสิ่งใดอันเป็นตัวตนที่จะแทรกเข้ามาทำหน้าที่เกิดดับได้เลย
      นิพพานหรือธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น เป็นการสลัดออกจากธรรมอันคือการปรุงแต่งซึ่งคือการเกิดขึ้นดับไปโดยสิ้นเชิง   เป็นการสลัดออกโดยเด็ดขาด เป็นความเด็ดขาดที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุปัจจัยจากการทำหน้าที่แห่งความสิ้นสุดของการเกิดดับด้วยซ้ำไป     เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว  ไม่มีอะไรกับอะไรอยู่แล้ว  ไม่มีเกิดขึ้นและดับไปอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่ต้องสิ้นสุดในหน้าที่อะไรอยู่แล้ว  เป็นความเด็ดขาดที่คือความหมายแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมแท้ของมันเองอยู่แล้ว           เป็นความเด็ดขาดที่เรียกมันว่า “ตถตา” คือ มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น          เป็นความเด็ดขาดซึ่งคือการตกผลึกและเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั่นเอง