คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา

เล่าให้ฟัง-มนุษย์แท้? :PULING的主頁 [1]

<< < (4/9) > >>

ฐิตา:



ดังนั้น วันนี้เรา พบคำในพุทธธรรมคือ
-อาสวะ....ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นอุปสรรค์พัฒนา ภูมิจิตภูมิปัญญา ต้องฝึก ลด ละ เลิก ล้างให้หมดจากใจ ไม่หลงเอา อุจเฉททิฐิ (วัตถุนิยม)มาเป็นเครื่องนำทางชีวิต
-สาสวะ...ขยะปรุงแต่งจิต ฝ่ายกุศล ที่ต้องยึดในเบื้องต้น เพื่อ ให้จิต ยินดีในการ ละอกุศล เจริญกุศล จนเคารพความดีตนเองได้
-อนาสวะ...ขยะปรุงแต่งจิต ที่เป็นกุศล ก็ต้องละทิ้ง เพื่อพ้น ความยึดติด ในอุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธุ์ห้า
อันเป็นเหตุ แห่งเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ที่ทุกคนต้องดับ
จนชีวิตไม่เป็นทาส ทุกข์
ไม่เป็นทาส สุข
อาลัยในอกุศล และกุศล แต่เย็น สาธุละ
สัมมาทิฎฐิ ที่ เพื่อ"ทำอาสวะให้สิ้น"
จึงต้องอยู่ท่ามกลาง จิตนิยม(สัสสตทิฐิ) และวัตถุนิยม(อุจเฉททิฐิ)
ด้วยสติปัญญา กุมสภาพจิต เบิกบาน มั่นคงในอริยธรรม มนุษย์ธรรม นั่นเอง

                   

"ติดชั่ว ติดดี อัปรีย์พอกัน"(พุทธทาส)
อัปรีย์คือ ไม่น่ารัก
เพราะติด ชั่ว ก็ทุกข์แบบคนชั่ว
ติดดี ก็ยังทุกข์แบบคนดี
พุทธศาสนา ต้องการ พ้นทั้งอุปทาน ทุกข์ สุข ด้วยการ
ล้างขยะปรุงแต่งจิต(ทำอาสวะให้สิ้น)
ด้วยการฝึกตน ตาม ธรรมอันไม่เนิ่นช้า (นิปปปัญจธรรม)
หรือ โพธิปักขิยธรรม37 เป็นธรรมะภาคปฏิบัติ
ไม่ใช่ทฤษฎี สาธุ


G* Suraphol Kruasuwan
สนทนาธรรมตามกาล  27.8.2556 -  9:55 AM
:http://www.appreciative-community.com/appreciative-community/home/space.php?uid=21

ฐิตา:



ชนะความโกธร
[๖๓๓]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                            ผู้ไม่โกรธ  ฝึกฝนตนแล้ว  มีความเป็น
                   อยู่สม่ำเสมอ     หลุดพ้นแล้ว     เพราะรู้ชอบ
                   สงบ   คงที่อยู่    ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน

                   ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว     ผู้นั้นเป็น
                   ผู้ลามก  กว่าบุคคลนั้นแหละ        เพราะการ
                   โกรธตอบนั้น        บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
                   ผู้โกรธแล้ว       ชื่อว่า    ย่อมชนะสงครามอัน
                   บุคคลชนะได้โดยยาก      ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ

                   แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้     ผู้นั้นชื่อว่าย่อม
                   ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย     คือ  แก่
                   ตนและแก่บุคคลอื่น              เมื่อผู้นั้นรักษา
                   ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย     คือ  ของตนและ
                   ของบุคคลอื่น       ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดใน
                   ธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า     เป็นคนเขลา
                   ดังนี้.
สาธุ


http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=15506

ฐิตา:


 
//-หนึ่งใน บทสวดที่ถือว่า เป็นมงคล ของชาวพุทธ คือ บทสวดพาหุง
 แปลว่า"ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธเจ้า"
มีชัยชนะสำคัญ แปดครั้ง ที่ได้รับการสรรเสริญ
จะขอถอด ความหมาย เป็นแนวทาง ครับผม


             

1.ชนะมาร
มาร หมายถึง ผู้ขัดขวาง การ เข้าถึง ธรรมะที่ทำให้หลุดพ้นจาก
เพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส โดยการเรียนรู้แบบล้างเงื่อนไข(ทำอาสวะสิ้น)
มีอยู่ห้า ประการคือ

-ขันธุ์มาร
คือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีชีวิต ประกอบเป็นเรา
เป็นสิ่งที่ปรุงแต่ง ขบวนการธรรมชาติ ธรรมดา หากไปยึดว่า เป็นตัวเรา ของเราจริงๆ
ก็เป็นเหตุแห่ง การสร้างอารมณ์ทุกข์
องค์ประกอบคือ
..รูป(ข้อมูลที่เป็นพลังงานวัตถุ)
..เวทนา(ประสาทการรับรู้)
..สัญญา(ความทรงจำ ทั้งสัญชาติญาณ การเรียนรู้)
..สังขาร(การปรุงแต่ง เป็นคำสั่ง เป็นเจตนา เป็นบุคลิกภาพ)
..วิญญาณ(ความรู้ทีประสาทรับรู้นำเข้า จาก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ)

-อภิสังขารมาร
การคิด โดยขาดแสงสว่างแห่ง สติปัญญากำกับ(ขาดวิชชา)
ทำให้เกิด ขบวนการสร้าง ความรู้สึก ความอยาก ความยึด อารมณ์ จนเกิดบุคลิกภาพใหม่
ของอารมณ์ทุกข์ เวทนาทุกข์ สภาวะทุกข์

-กิเลสมาร
ความ ต้องการ ความจำเป็น ความอยาก ที่ขาดการควบคุม ฝึกฝนสู่ทางกุศล

-เทวบุตรมาร
คือ ความสมใจ สะใจ ในการได้รางวัลของชีวาในชีวิต
หรือไม่ได้ดั่งใจ ทำให้เกิบุคลิกภาพต่างๆ
ทั้งที่ต่ำกว่ามาตราฐาน มนุษย์(อบายภูมิ มี นรก อสุรกาย เดียรัจฉาน เปรต)
ทั้งที่เป็นมนุษย์(ยอมรับ กฎ กติกา มารยาท กฎหมาย ของวัฒนธรรม สังคม)
ทั้งที่สูงกว่ามนุษย์(เทวดา ผู้มีแสงแห่งความสุขจาก หรรษา ภาคภูมิใจ สมใจ สะใจ)
ทั้งที่ สงบ สันโดษ สมถะ มีเมตตา กรุณา
(รูปพรหม ยินดีในอารมณ์มั่นคง จากการฝึกกสิญ
...อรูปพรหมพรหม..ยินดีในอารมณ์มั่นคง เพราะ ยอมรับ ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ของจักรวาล)

-มัจจุราชมาร
คือเวลา ที่กลืนกิน ทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวเวลาเอง
....มารที่พระพุทธเจ้า คือ ความสมใจ สะใจ ในความดีที่เคยบำเพ็ญมา(ติดดี)
ชนะโดย อุทิศให้ ไม่หลงยึดว่าเป็นของพระองค์เอง

2.ชนะ ความอยากโอ้อวดตน(ยักษ์)
โดยการ อดทน ฝึกฝน จำแนก แจกแจง ธรรมชาติ ตามความเป็นจริง

3.ชนะสัญชาติญาณ อารมณ์แห่งการการทำลายล้าง(ช้างดุร้าย)
ด้วยมหาเมตตา มหากรุณา

4.ชนะ วัตถุนิยม
(อุเฉท ทิฎฐิ อเหตุกะทิฐิ อกริยาทิฎฐิ)
ความเชื่อว่า ตายแล้วสูญ ด้วย โลกุตระฤทธิ์
ตำนาน กล่าวถึงอุงคุลีมาร ผู้ฆ่าคน เอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัย
เพราะเชื่อว่า ตายแล้วสูญ.. บาป บุญไม่มี ...คุณของบุพการีไม่มี
ชาตินี้ไม่มี(ทุกอย่างเป็นปฏิกริยาทางวัตถุ)
ชาติหน้าไม่มี(การเวียนว่ายตายเกิดไม่มี)
ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นอริยะบุคคลไม่มี
การเกิดแบบ ผุดขึ้นเป็นตัวเต็มวัยทันทีไม่มี(โอปาปาติกะ)
ทรงชนะโดย จำแนกแจกแจงให้ เห็น อิทฤทธิ์ บุญฤทธิ์ โลกกุตระฤทธิ์

5.ชนะความอิจฉา ของชนชั้นฉกามาวจรภูมิ
ด้วยความสงบ สงัด จากอุปธิทั้งปวง
ตำนาน นางจิญจา อ้างว่าท้องกับพระองค์
แต่ท้องเป็นปีไม่คลอด เพราะนางแกล้ง เอาหมอนผูกไว้หน้าท้อง

6.ชนะ สัสสตทิฎฐิ
สัจจกนิครณ์ ต้องการโต้วาที ชนะพุทธเจ้า ว่าสัสสตทิฐิ คือ ปรัชญาสูงสุด
ทรงชี้ให้เห็น กฎไตรลักษ์ สูงสุด ของธรรมชาติ
กฎอนัตตา ทุกสิ่งกำลังเป็นไปตาม กฎเหตุปัจจัย ปรุงแต่ง ไม่เป็นดั่งใจบังคับได้

7.ชนะ กฎป่า
สัญชาติญาณ ดิบ ที่ อยากชนะ ยิ่งใหญ่ อมตะ ของมนุษย์
โดยการ ให้ ผู้นำธรรมชาติ ชี้แจงแทน(พระโมคคัลลานะ)

8.ชนะ ความเชื่อ วิสุทธิ์สูงสุด
ปฎิบัติธรรม ไม่เป็นไปเพื่อ ชื่อเสียง ลาภสักการะ ความบริสุทธิ์แห่งอาหาร
อนิสงค์แห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่เพื่อหลุดพ้น เพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลสความอยาก อย่างสิ้นเชิง


ตำนาน เทศน์โปรด ผกาพรหม

ฐิตา:



//-ระยะทาง อนันต์ สู่อนันต์........เกินจินตนาการฝัน
บ้านเรา อยู่แห่งหน หาว............แห่ง ใดกัน
หรือเป็นเพียง ภาพฝัน................จินตนาการเรา?

//-ไร้รูป ไร้นาม.......................เป็นเพียง เสี้ยวเศษเร็วกว่า ....แสง
ลีลา มายา สำแดง.....................เวลา อวากาศ มิอาจกั้น
ด้นเหิรหาว ลิ่วมา.....................รอบโลกกา อัศจรรย์
วันหนึ่งนั้น มาติดกับ.................ในระบบชีวาลัย

//-วันที่ หม่นหมอง.....................ให้ครวญคิด
ชีวิต ยามชีวา ...........................นั้นห่างหาย
มีเพียงศิลปะ กล่อมจิตเจ้า..............ประโลมใจ
เพียงสายไย เล็กๆ ห่วงโลก...........เคารพธรรมฯ
***************

//-จิตเดิม.................................เป็นเช่นนั้น
จิตปรุงแต่ง...............................ลีลา มายา ร่ายรำเล่น
ชีวิต ผ่านมา จากไป....................ดังสายลมเย็น
โลกฤๅเพียง เวทีละคร เรียน เล่น....เช่นนั้นเอยฯ
*****************

พบกับความจริงของธรรมชาติ ผ่าน
-ความภักดี ในเทพเทวะ
-ทำหน้าที่ ที่เป็นมงคล
-ค้นหาตัวตน ของตนเอง
-เรียนรู้ตลอดชีวิต สุขจากจิตอาสา
ไม่ว่าจะเดินทางไหน
ถ้าพ้น ไม่เป็นทาส ทุกข์ หลงสุข พบชีวิตที่ เย็น
นับว่า การเกิดครานี้ มิสูญเปล่า

Jonathan Livingston Seagull - Dear Father
Shared publicly  -  Sep 22, 2013



 
//-อยากเป็นนักปราชญ์ มีสี่ประการ
1.เรียนรู้ ศาสตร์ศิลป์....รอบรู้เรื่อง"โลก"
2.เรียนรู้ ธรรม กฎ วัฒนธรรม...รอบรู้เรื่อง"ธรรมชาติ"
3.เรียนรู้ ภาษา ทั้งภาษาคน ภาษาสัญญาลักษ์ ภาษาท่าทาง ภาษาศิลป์
4.เรียนรู้ ฝึกฝน มีปฏิภาณ ไหวพริบ
******************************

//-จะเป็นพุทธะ ต้องฝึกเปิดตาปัญญา (วิสัยทัศน์)ทั้งห้าปัญญา
-ตาปัญญาพุทธะ....ที่พิจรณา ด้วย สติปัญญา ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ลำเอียง อหังการ
-ตาธรรมะ.........เข้าใจธรรมชาติ ทั้ง สมมุติ ธรรม ปรมัตถะ อริยะ
-ตาสมันตะ........ความรู้รอบตัว ศาสตร์ศิลป์ อัพเดทเสมอ
-ตาญาณ ฌาน.....ความรู้เช่นทศพลญาณ และ สหัชญาณ ที่เป็นผลของสมาธิฌาน
-ตาทิพย์.........ความสามารถเข้าใจสิ่งที่ละเอียยด ลึกซึ้ง
*******************************

นักปราชญ์ จึงไม่ใช่ พุทธะเสมอไป
เพราะ นักปราชญ์ ..........ทำ"อาสวะให้สิ้น".....ไม่เป็นอิๆ
จึงตกเป็นทาส ขยะปรุงแต่งจิต ที่จิตสำนึกตน ที่ปรุงและเสพจาก
-ตรรกะ..เหตุผลที่ตนเอง เชื่อ ชอบ
-จินตนาการ...ที่ปรุงแต่งแบบ ใส่ไข่ใส่นม เว่อร์เกิดเหตุ
-มโนธรรม....ยึดเอามโนสำนึกตน เป็นใหญ่
-ทักษะ......เทคโน เทคนิค แทคติก ทักษะ..ที่ตนใช้แล้วได้ผล
ในการส่งเสริม แรงขับชีวิตตนเอง

-อยากชนะ
-อยากยิ่งใหญ่
-อยากเป็นอมตะ
-อยากเป็น ที่หนึ่งในสังคม

สาธุ  / Suraphol Kruasuwan
สนทนาธรรมตามกาล  -  Sep 22, 2013


G+ Suraphol Kruasuwan

ฐิตา:



เอามา เล่าให้ฟัง เผื่อ ฟังแล้ว จับใจความ คิดตาม
อาจมีประโยชน์คือ
-ไพเราะเบื้องต้น
-ไพเราะเบื้องกลาง(รู้ความหมาย)
-ไพเราะในที่สุด (เอาไปปรับใช้ ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ)
สาธุ




วิสัยทัศน์ ที่ มองเห็น
อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา
มาเปรียบเทียบกับ "สังขาร ของท่านเอง"
จึง ถอนอาลัย คลายกำหนัด ตัดวัฎฏะ สิ้น
พ้นอำนาจ เพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลส
***************




"กรรมดำ กรรมขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว"
-การละ กรรมดำ คือ อกุศล
-เจริญกรรมขาว คือ กุศล
-กรรมไม่ดำไม่ขาว คือวัตรที่พ้นสังโยชน์
คือที่สุดของชีวิต
อย่าประมาท กรรมเวลา มัจจุราช ไม่เคยคอยใคร
ชีวิตต้องเลือก....สาธุ
*********************

หิตายะ สุขายะ
หมายถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า
-"เพื่อประโยชน์"

..ประโยชน์ตน คือมีสัมมาสติ
โพธิปัญญาตื่น พ้นเพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลส
.เพื่อประโยชน์ของสังคม
ด้วยธรรมบาล มงคล และสุขจากจิตอาสา และแบ่งปัน
..เพื่อโอาสโลก
คือระบบชีวาลัย สิ่งแวดล้อม ที่ไม่ควรเบียดเบียน ทำลายสมดุลย์
-เพื่อความสุข"..
พ้นจากกามสุข...สงบมั่นคงในฌานสุข...
เย็นหรือนิพพาน เพราะไม่ร้อน จากกุญแจ สุขและทุกข์
********************

พุทธะคุณวิเศษ ห้า
1.-เป็นผู้บอกทางข้ามห้วงน้ำที่ข้ามยาก
คือ กาม ภพ ทิฐิ อวิชชา
2.-เป็นผู้บอกวิธีอยู่เหนือสามภพ
คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ พบพุทธภูมิ
3.-เป็นผู้รักษาโรค คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่เป็นอุปสรรค์พัฒนาชีวิต
4.-เป็นผู้เปล่งแสงแห่งความสุขจาก มีความเมตตา กรุณา อันหาประมาณมิได้
5.-เป็นผู้มี สัมมาสติ โพธิปัญญาที่ตื่นแล้ว
กุมสภาพจิต อย่างยั่งยืน
สาธุ


 
//-ธรรมชาติ สิบมิติ
ท่านอาจารย์พุทธทาส เรียบเรียงมา "เก้า ตา" ปู่ลิงเพิ่มอีกหนึ่ง เป็นสิบ
-อนิจจตา.....สิ่งปรุงแต่ง หรือสังขาร ย่อมเปลี่ยนแปลง
-ทุกขตา.....สิ่งปรุงแต่ง ย่อมทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
-อนัตตา.....ธรรมชาติทั้งหมด ย่อมเป็นไปตาม กฎ เหตุปัจจัย มิได้เป็นดั่งใจปราถนา
(ยุคนั้น มีความเชื่อเรื่องอัตตา"จิตเป็นใหญ่" นิรัตตา"กาย หรือวัตถุเป็นใหญ่")
-ธรรมฐิติตา...กฎของธรรมชาติ ซ่อนอยู่ในทุกสิ่ง
-ธรรมนิยาม...ธรรมชาติวิวัฒนาการ จากสิ่งไม่ซับซ้อน เป็นสิ่งซับซ้อน
-อีทัปปจยตา..ความเป็นเหตุผล ปรุงแต่งต่อเนื่อง
ของสิ่งต่างๆ จะปรุงเป็นสุข ทุกข์ อยุ่ที่ใครใช้อะไรมาปรุงฯ
-ตถาตา......ธรรมชาติอยู่ใน"กระแสเดียวกัน" เป้นธรรมดาเช่นนั้นเอง
-สุญญตา.....เมื่อจิตว่างจาก อุปทาน ตัณหา กิเลส จึงเห็นธรรมชาติตามจริง
-อตัมมยตา....ธรรมชาติล้วนเป็น ของปลอมที่ มายา ธรรมชาติสังเคราะห์ขึ้น
"เองเป็นของปลอมโว้ย"
"ตูไม่เอากับเองแล้วโว้ย"อิๆ

-อพยากตาธรรม...เมื่อจิตไม่ลำเอียงในของคู่(นันทวันธรรม)
เช่น ดี...ชั่ว
ชอบ....ชัง
ผิด.....ถูก
ได้.....เสีย
ย่อมหลุดจาก อุปทวะ อาสวะกิเลสทั้งปวง เพราะ"ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในธรรมที่มาปรุงแต่งนั้น"
”สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ”

พุทธทาส ความว่างคือยารักษาสรรพโรค"
สนทนาธรรมตามกาล  -  Sep 19, 2013




๑. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ
สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ
ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ฯ ๒๗๓ ฯ

ยอดแห่งมรรคา คืออัษฎางคิกมรรค
ยอดแห่งสัจจะ คืออริยสัจสี่ประการ
ยอดแห่งธรรม คือความปราศจากราคะ
ยอดแห่งมนุษย์ คือพระผู้เห็นแจ้ง

Best of paths is the Eightfold Path.
Best of truths is the Four Noble Truths.
Best of conditions is Passionlessness.
Best of men is the Seeing One.


:http://www.dhammathai.org/dhammapada/dp20.php
:https://plus.google.com/u/0/102795770125676715056/posts

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version