ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
อันภิกษุ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมาก
มี อานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญ สติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่ เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้ มากแล้ว
ย่อม บำเพ็ญ โพชฌงค์ 7
ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญ โพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อม บำเพ็ญ วิชชา และ วิมุตติ
ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
— อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้
(ลมหายใจเริ่ม ละเอียดขึ้น เมื่อใจเป็นสมาธิ)
3.หายใจเข้า-ออกกำหนด กองลมทั้งปวง
(จิตจะกำหนด แต่ กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
4.หายใจเข้า-ออกเห็น กองลมทั้งปวง สงบก็รู้
(จับลมหายใจ ไม่ได้ เหมือน ลมหายใจหายไป)
5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
7.หายใจเข้า-ออก กำหนด จิตสังขาร
(อารมณ์ต่างๆ ที่จรเข้า มาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือ เพียงอารมณ์ อุเบกขา
(ถ้า กำหนดมา ตามระดับ)
8.หายใจเข้า-ออก เห็น จิตสังขาร สงบก็รู้
(ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะ ไม่กำหนดสัญญา)
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณา สภาวะรู้
(วิญญาณขันธ์) ว่า จิตพิจารณารู้ใน อานาปานสติอยู่
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง
(มโน-สภาวะที่น้อม พิจารณาเพ่งอยู่ จิตยินดีใน องค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น
(ในอารมณ์ฌาน ของ อานาปานสติ) ก็รู้
12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง
(ในอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต แห่ง อานาปานสติ) ก็รู้
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจ เป็นตัวแทน รูปขันธ์)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดย ไม่ปรุงแต่ง
(การไม่ปรุง แต่งภายนอก หรือวิราคะ คือ การมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ ย่อมมีลักษณะ เป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้ นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ ลักษณะไม่สวย)
15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด (การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมี คนนำขวดน้ำ มาวางไว้ ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่า กินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้น เพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้ เป็นไปตาม ธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)
จัดให้ข้อ1-4 เป็น กายานุปัสสนา
ข้อ5-8 เป็น เวทนานุปัสสนา
ข้อ9-12 จัด เป็น จิตตานุปัสนา
ข้อ13-16 จัดเป็น ธรรมนุปัสสนาอานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ที่เหมาะสม กับ คนทุกคน และเลือกได้ หลากหลาย มี ความลึกซึ้ง มากดังจะ อธิบายต่อไป เนื่องจาก อานาปานสติ สามารถ ที่ภาวนาลัด ให้มา
สู่ สัมมสนญาน 1ใน ญาณ16 ได้ โดยไม่ต้อง เจริญสติและพิจารณาสัญญา 10ไปด้วย เหมือนอย่างอื่นๆ
เมื่อเจริญอานาปานสติ ตามข้อ1 สภาวะย่อม เป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็น ปฐมฌาณ อันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบ เห็นขันธ์ ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้น เกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ
โดยที่ข้อ3-4 เป็น รูปขันธ์
ข้อ5-6 เป็น เวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
ข้อ7-8 เป็น สังขารขันธ์
ข้อ9-10 เป็น วิญญาณขันธ์
ข้อ11-12 เป็น สัญญาขันธ์เมื่อเห็น ขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่ข้อ1-12 ย่อมเห็น ขันธ์ห้า
(อันมี ลมหายใจ เป็นตัวแทน แห่งรูปขันธ์)
เกิดดับ ตลอดจนเห็น เป็นอนิจจัง
( ข้อ13หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง )
โดย สมบูรณ์พิจารณา ข้อ13 ไป จนบรรลุ ข้อ14
หายใจเข้า-ออก พิจารณา โดยไม่ปรุงแต่ง ,
15 พิจารณา โดยไม่ยึดติด ,
16 หายใจเข้า-ออกปล่อย ให้เป็นไป ตามธรรมชาติจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841