ผู้เขียน หัวข้อ: อัตตตา และ ธรรมกาย จากมุมมอง พุทธศาสนานิกายวัชรยาน  (อ่าน 3512 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


คำอธิบายในเรื่องอัตตาและธรรมกาย จากมุมมองพุทธศาสนานิกายวัชรยาน


* ๑ *

 

หมู่นี้มีการพูดเรื่องอัตตา อนัตตากันบ่อย จนถึงกับบางสำนักอวดอ้าง ว่าพระนิพพานเป็นอัตตาก็มี

ในที่นี้ จักไม่ขอไปแสดงวิวาทะกะใคร จะขอพิจารณาถึงเนื้อหาสาระ หรือแก่นของพระพุทธศาสนาในเรื่องอริสัจสี่เสียก่อน ว่าทำไมพระพุทธ องค์จึงทรงเน้นในเรื่องนี้

คำตอบก็คือมนุษย์ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์โดย เราต้องรู้ว่าสุขกับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไรและความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่าง ไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออริยสัจสี่ชี้แจงแสดงให้เห็นเหตุปัจจัยที่โยงความ ทุกข์ไปถึงความสุข

อริยสัจหรือความจริงที่แท้ อธิบายจำเพาะเจาะจงไปถึงการต่อเนื่องกัน ของสรรพสิ่งอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงพระผู้สร้าง หรือ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ทหัศจรรย์จากภายนอก ที่อ้างว่าควบคุมวิถีชีวิต

อริยสัจมักแสดงออกเป็นดังข้อความสี่ข้อคือ

 

๑ ) ให้รู้เท่าทันความจริงในเรื่องของความทุกข์
๒ ) ให้รู้เท่าทันที่มาของความทุกข์
๓ ) ดับทุกข์เสียได้
๔ ) ด้วยมรรควิธีอันแยบคาย

 

ทุกคนที่ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์ ย่อมอาจประ พฤติปฏิบัติให้ลุล่วงไปได้

 

การที่จะปฏิบัติตนให้ล่วงความทุกข์เสียได้ จำต้องเข้าใจในเรื่องตัวหรือ อัตตา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่ได้รับความทุกข์คือตัวเรา และคนที่ ต้องการเอาชนะความทุกข์คือตัวเรา ยังเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ก็อยู่ใน ตัวเรา เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยนิกรในชมภูทวีป เมื่อสองพันห้าร้อยปีมานี้ พุทธทัศนะที่เกี่ยวกับตัวเรา หรือตัวตน จึงต่าง จากเจ้าสำนักอื่น ๆ ในยุคนั้นสมัยนั้นทั้งสิ้น กล่าวคือ พุทธศาสนาปฏิเสธ อัตตาหรือตัวตนที่คงที่ถาวรอย่างไม่แปรเปลี่ยน ดังที่เรียกกันว่าจิตบ้าง วิญญาณบ้าง บ้างก็ว่าจิตหรือวิญญาณนี้เวียนว่ายตายเกิด ข้ามภพข้ามชาติ เป็นตัวกำหนดการกระทำทั้งหมด อย่างมีสภาพที่เหนือร่างกาย



นอกวงการของพุทธศาสนา ถือว่าอัตตาหรือจิตหรือวิญญาณเป็นตัวตนที่ อยู่เหนือนามและรูป หรืออยู่พ้นไปจากร่างกาย ( รูป ) ความรู้สึก ( เวทนา ) ความจำได้หมายรู้ ( สัญญา ) ตราบจนกระบวนและอารมณ์ต่าง ๆ (สังขาร) ตลอดจนการตัดสินใจประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ( วิญญาณ )


ทุกลัทธินิกายในพุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องอัตตา หรือตัวตนที่คงสภาพอย่าง ถาวร อยู่นอกเหนือนามและรูป แต่บางนิกายในพุทธศาสนาก็มีทัศนะแผก แตกต่างกันไปในเรื่องตัวตน ซึ่งแฝงเข้ามาปนอยู่ในนามและรูปอย่างไร เช่น บางนิกายถือว่าปัญจขันธ์ทั้งหมดนี้แลคืออัตตา ตราบที่มีอุปาทานยึดมั่นถือ มั่นอยู่ในตัวตน ส่วนบางนิกายนั้นถือว่าอัตตาแนบสนิทอยู่กับนาม เป็นต่าง หากออกไปจากรูป และบางนิกายถือว่าวิญญาณขันธ์ตัวนั้นแลคืออัตตา ( ตราบที่มีอุปาทานติดอยู่ ) ดังใช้คำว่า อาลัยวิญญาณ แทนคำว่า อัตตา

ทางด้านลัทธินิกายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ซึ่งพวกธิเบตถือว่าเป็นคำสั่งสอน หลัก ถือว่ามีอัตตาเป็นผู้เสวยผลหรือเป็นตัวที่ได้ประสบการณ์จากขันธ์ห้า แต่ก็พูดไว้ได้ไม่ชัดเจนว่าอัตตาแฝงอยู่ในขันธ์ห้าตรงไหน อย่างไรบางพวก จึงบอกว่าอัตตาอยู่นอกเหนือขันธ์ห้าออกไป แต่ก็ไม่อาจหาอัตตาได้พบ จึงจำต้องปฏิเสธอัตตาที่ว่านี้ กล่าวคืออัตตาเกิดมีขึ้น เพราะการติดยึดใน ขันธ์ห้านั่นเอง อัตตาจึงเป็นเพียงสิ่งสมมุติ แล้วยึดถือเอาเป็นเรา เป็นของ เรา เป็นตัวกู ของกู


ท่านนาคารชุน ซึ่งเป็นศาสดา เจ้าลัทธิปราสังฆิกะ มาธยมิกะ รจนาไว้ใน คัมภีร์รัตนาวลี ของท่านว่า บุคคลคนหนึ่งนั้น หาใช่ธาตุทั้งหกที่ก่อให้เกิด เป็นคนไม่ คือไม่ใช่ธาตุดิน ไม่ใช่ธาตุน้ำ ไม่ใช่ธาตุไฟ ไม่ใช่ธาตุลม ฯลฯ และจะว่าธาตุทั้งหมดนี้ร่วมกันเป็นบุคคลหรือตัวตน ก็ไม่ใช่อีก พร้อมกัน นั้นบุคคลหรือตัวตนก็ไม่ได้ปรากฏนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหก กล่าวคือ บุคคลคือตัวตนไม่ใช่ธาตุทั้งหมดที่รวมตัวกันขึ้น และไม่ใช่ธาตุหนึ่งใดใน ธาตุทั้งหกนั้น ธาตุทุกชนิดเอามาแยะแยะได้เป็นส่วน ๆ โดยไม่อาจหาตัว ตนหรืออัตตาได้พบ ก็เมื่อธรรมชาติของอัตตาหรือตัวตนหาไม่ได้ในธาตุ หนึ่งธาตุใด จึงเหลือไว้ให้สมมุติได้เพียงว่ามีอัตตามีขึ้น เพราะความไปติด ยึด หรือสมมุติให้มีให้เป็น เพื่อความสะดวกในการเรียกขาน แล้วไปติดยึด ในสมมุตินั้น ๆ ดังกับว่ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา


ถ้าจะถามว่าเหตุใดพุทธศาสนาจึงเน้นในเรื่องแยกแยะอะไร ๆ ให้เห็นถึง ความไม่มีตัวตน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่าตัวตนนั้นเป็นเจ้าการหรือตัวตนที่ ได้รับปะสบการณ์ ข้อนี้นับว่าสำคัญ โดยขอให้เราพิจารณาประสบการณ์ ของเรา เช่นความรู้สึกเศร้าเกิดขึ้น เพราะประสบการณ์บางอย่าง แล้วตัณ หาหรือความต้องการบางอย่างย่อมเกิดขึ้นโดยมโนวิญญาณ หรือในความ คิดอันหยาบหรือละเอียด จนเกิดการตัดสินใจทำการนั้น ๆ กล่าวอีกนัย หนึ่งก็คือตัณหาหรือความต้องการผลักดันให้กลายเป็นคำพูดหรือการกระ ทำ ทั้งยังเกิดการยึดมั่นถือมั่นว่า เรา เป็นคนพูด เรา เป็นคนทำ เรา หรือ กู หรือ อัตตา หรือ ตัวตน ที่ว่านี้เกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น และลึก ๆ ลงไปแล้ว ก่อให้เกิดความทุกข์ ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร ก็ทุกข์มากเท่า นั้น เช่นถ้าอะไรมาขัดกับการยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา เราก็โกรธ จนอาจเป็น คนโทสจริตอย่างรุนแรงเอาเลยก็ได้


อุบายในทางพุทธศาสนานั้น สอนให้เรารู้เท่าทันว่า ถ้าไปติดยึดในเรื่อง ตัว ตน ตัวเรา ตัวกู แล้วผลย่อมเป็นไปในทางความทุกข์ เช่นโทสคติ ดังกล่าว มาแล้วนี้


จะแก้ไขให้ความคิดเป็นกุศลได้หรือไม่

คำตอบก็คือถ้า ตัวกู หรือ ตัวตน เป็นใหญ่เป็นประธาน อย่างมีการติดยึด มากเพียงไร ความทุกข์ก็ทับถมมากขึ้นเพียงนั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2014, 11:46:43 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



* ๒ *

 

เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงไป ก็จะเห็นได้ชัดว่า การติดยึดในตัวตนหรือใน ตัวกู ( อัตตา ) จนกลายเป็นความสำคัญยิ่งขึ้นเท่าไร ก็จะให้โทษยิ่งขึ้นเท่า นั้น หากหันมาพิจารณาตามกฏเกณฑ์ของปัจจยาการในทางพุทธศาสนา โดยไม่ติดยึดที่ตัวตนหรืออัตตาแล้งไซร้ ก็จะเห็นว่าอะไร ๆ เป็นผลพวง ซึ่งกันและกัน ตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนหนึ่งใดมาคอยบงการได้


ถ้าตราความข้อนี้ไม่ได้ เมื่อต้องการความสุข เพื่อหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะ ความทุกข์ ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าผลของกิจกรรมต่าง ๆ นั้นมาแต่เจตนา แม้การกระทำบางครั้งจะไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน หากเกิดขึ้นอย่างอย่างทันที ทันใดแสดงว่าจิตไม่ได้เป็นกุศลหรืออกุศล ท่านว่าเป็นอัพยากฤต ไม่ก่อ ให้เกิดสุขหรือทุกข์ ดังที่ท่านใช้คำว่า อทุกขมสุข


แท้ที่จริง ถ้ามองลึกลงไป จะไม่เห็นข้อชี้ชัดลงไปในทางที่แตกต่างกันระ หว่างการกระทำนัยบวกกับนัยลบ แต่เพราะเราต้องการความสุข คิดว่า ความสุขเป็นนัยบวก จึงไปกำหนดว่าการกระทำใด ๆ และความจงใจใด ๆ ที่มุ่งความสุข ย่อมเป็นไปตามนัยบวก ในขณะที่อะไร ๆ ที่เป็นตัวก่อความ ทุกข์ย่อมเป็นนัยลบ


การจะถามหาตัวตนหรือตัวกูหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น เพราะถ้าติดยึดในตัว ตนหรือตัวกูเสียแล้ว ตัวตนหรือตัวกูย่อมเกิดขึ้น เพราะอุปาทานแท้ ๆ จน เชื่อว่าตัวกูนี้แลคือผู้เสพสุข หรือเสพทุกข์ แต่ขอย้ำว่าถ้าพิจารณาให้ชัด ๆ ตัวกูนี้แลก่อให้เกิดความยุ่งยากมากเสียจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันเกิดจากขบวน การ จนเป็นความรู้สึกที่เราเสกสรรปั้นขึ้นจนไปยึดติดมันเข้า ไม่แต่กับตัว เราหรือตัวกูเท่านั้น หากมันขยายไปยังเพื่อนเราหรือศัตรูของเราเข้าอีกด้วย หากมองในแง่ดี การติดยึดในตัวเรา ก็ช่วยให้เกิดกำลังใจในการเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้ นี่หมายความว่าถ้ารู้จักวางท่าทีที่ถูกต้อง เอาสมมติ ในเรื่องตัวตนมาใช้ แต่ต้องรู้จักใช้ อย่างไม่ติดยึด


เพราะการใช้อุบายวิธีให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความเพียร ให้เกิดความเชื่อมั่น ในตน การคำนึงถึงตัวตน อย่างรู้เท่าทัน ก็นับว่าเป็นประโยชน์อยู่ แต่ถ้า ไม่เข้าใจความข้อนี้ การกระทำด้วยกำลังใจก็ดี ด้วยความเพียรก็ดี ย่อมเป็น ไปอย่างเห็นแก่ตัวได้ง่าย


ที่ร้ายกว่านั้น ก็ตรงที่คิดจนติดยึดว่า


( ๑ ) ตัวตนนั้นมีอยู่จริง
( ๒ ) ตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง
( ๓ ) ตัวตนนั้นมีจริงหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ


ขอย้ำว่าเจตนาเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ประสบการณ์ทางด้านการเสพ สุขเพื่อปลอดพ้นจากทุกข์ แล้วอะไรเล่าคือตัวกำหนดของเจตนาทั้งนี้อาจมี ร่างกายเป็นอิทธิพลที่สำคัญมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะรูปสัมพันธ์กับนาม หรือ ความคิดความอ่านย่อมสัมพันธ์กับกาย


ก็ในเมื่อเจตนาเป็นตัวการที่สำคัญในการกำหนดธรรมชาติของประสบการณ์ ฉะนั้นทัศนคติหรือทิฐิของเราจึงเป็นแรงกระตุ้นทางเจตนาของเรา เช่นการ พยายามเอาชนะพลังในทางลบ ในทางความทุกข์ ย่อมมาจากสภาวะจิตของ เรา จากสภาวะจิตนี้เองที่เราอาจเอาชนะความทุกข์ หรือธรรมชาติของจิตใจ ซึ่งเป็นปัจจยาการในทางจิตใจนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญยิ่งนัก


เวลาเราพูดถึงการเอาชนะความทุกข์ หรือความชั่วร้ายต่าง ๆ นั้น นั่นก็คือ ความมุ่งประสงค์พระโพธิญาณ หรือการตรัสรู้ ที่หลายคนเห็นว่าเป็นอุดม คติที่ไกลเกินไป แต่ถ้าพูดกันให้ไกล้ตัวเราเข้ามา เราอาจฝึกประสบการณ์ ของเรา ด้วยการฝึกจิต ให้รู้จักลดความโลภ โกรธ หลง ลงได้ยิ่งลดลงได้ เพียงไร เราก็ทดสอบประสบการณ์ของเราได้เพียงนั้น เช่นเริ่มจากอวิชชา อันเป็นต้นของความหลงผิดในกระบวนการคิดของเรา ถ้าเราเริ่มศึกษาจน ได้ประสบการณ์ขึ้นเรื่อย ๆ เราก็ลดความหลงลงได้เรื่อย ๆ นั่นแล


การเปลี่ยนแปลงจิตให้ลดความโลภ โกรธ หลง ลงนั้น ต้องเริ่มจากการรู้ จักจิตใจเสียก่อน ดังนิกายไวกาสิกะ ในพระพุทธศาสนา เสนอทฤษฎีที่ว่า การรับรู้นั้นเปล่าเปลือยหรือว่างเปล่า กล่าวคือไม่มีตัวกลางระหว่างการรับ รู้และวัตถุที่รับรู้ และการรับรู้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวเชื่อมโยงแต่อย่างใด ในขณะที่นิกายเสาตรานิกะ และอีกสองนิกายในทางฝ่ายมหายาน ถือว่ามี ตัวเชื่อมโยงทางด้านการรับรู้ ที่เรียกว่า อาการ


ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าต้องการเอาชนะความทุกข์ ต้องเข้าใจให้ชัดว่าตัวตนหรือ ตัวเราที่สมมติขึ้นนั้น ไม่มีการแบ่งอย่างชัดแจ้งในข้อที่ว่า นี้เป็นฝ่ายกุศล นั้น เป็นฝ่ายอกุศล หากขอให้ตราไว้ว่า ถ้าคิดในเรื่องตัวเรามากเท่าไร ปัจจยาการ ในทางความคิดและจิตใจ รวมไปถึงเจตนาต่าง ๆ ก็ย่อมนำไปสู่ทุกข์ทั้งนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการติดยึดในเรื่องของตัวเรา ย่อมเป็นไปในทาง อกุศลยิ่งกว่าอะไรอื่น


คราวนี้ ขอให้มาพิจารณาดูว่าตัวตนที่ว่านี้เป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่ แท้ ที่จริงจิตที่เป็นกุศลย่อมเป็นไปตามสภาวสัตย์ หรือถ้าจะฝึกจิตให้เป็นกุศล ไปจนถึงขั้นโลกุตตระ หรือฝึกจิตให้เป็นกุศล ให้ไปได้ไกลเท่าที่จะไปได้ กุศลจิตนั้น ๆ ย่อมเป็นไปตามสภาวสัตย์ ฉะนั้นขอให้เรากลับมาวิเคราะห์ รูปแบบในทางความเข้าใจทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับตัว ตน ว่าอย่างไหนเป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่

ข้อที่ ๑ ที่ว่าตัวตนนั้นมีอยู่จริง ความข้อนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าจิตใจนั้น เป็นไปตามสภาวสัตย์ โดยเราอาจถือว่าตนรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าตัวตนนั้น มีอยู่จริงละหรือ กล่าวคือสิ่งที่เรียกว่า ฉัน ข้าพเจ้า กู อาตมา นั้นเป็นจริง ตามสภาวสัตย์หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์ คำว่า ฉัน ฯลฯ ก็เป็น เพียงสิ่งซึ่งสมมติขึ้นมาเรียกขานกันเท่านั้นเอง ฉะนั้น คำว่า ฉัน ฯลฯ จึง ไม่มีจริงตามสภาวสัตย์ เพราะสภาวสัตย์ในทางพุทธศาสนานั้นคือศูนยตา


พร้อมกันนั้นก็ต้องขอบอกให้ทราบว่ามีกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่ถือว่าตัว ตนหรืออัตตานั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณในขันธ์ ๕ ในขณะที่นิกาย ปราสังฆิกะ ถือว่าตัวตนหรืออัตตานั้นเกิดขึ้นจากสิ่งที่รวมขึ้นจากนามรูป หรือขันธ์ทั้งห้า ทุกนิกายในทางพุทธศาสนาถือว่าตัวตนหรืออัตตาเป็นเรื่อง ของสมมติสัตย์ ไม่ใช่ปรมัตถสัตย์


จากเหตุผลในข้อที่ ๑ ซึ่งสรุปว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง ย่อมยืนยันความจริง ในข้อที่ ๒ ดังได้กล่าวมาแล้วแต่แรก ในส่วนข้อ ๑ ที่ว่าตัวตนจะมีอยู่จริง หรือไม่ยังไม่แน่ใจนั้น ท่านสอนให้ใช้วิธีภาวนาหรือตรวจสอบประสบการณ์ จนรู้ได้ว่าอัตตาหรือตัวตนนั้นเป็นหรือไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์


การที่จะสรุปลงได้ดังนี้ ต้องกลับมาตีประเด็นที่นามกับรูป หรือขันธ์ ๕ รวม ทั้งวิญญาณขันธ์ กล่าวคือถ้าไม่พิจารณาดูโดยแยบคาย ดูจะคล้ายกับว่าวิญ ญาณขันธ์นั้นเป็นตัวตน อย่างคงทนถาวร ดังพวกพรหมณ์เยกว่าเป็นอาตมัน ซึ่งถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่ร้ายแรง เพราะวิญญาณขันธ์เองมีความละเอียดอ่อน ลุ่มลึกอย่างที่สุด กล่าวคือจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นอยู่กับร่างกายอย่างใกล้ชิด ถ้ามันสมองทำงาน จิตใจก็ทำงานตามมันสมอง ถ้ามันสมองหยุดทำงาน จิตใจในขั้นที่หยาบก็หยุดทำงานตามไปด้วย ความข้อนี้พุทธศาสนาไม่ปฏิเสธ ทฤษฎีของนักวิชาการ โดยเฉพาะด้านจิตแพทย์


พุทธศาสนาต่างไปจากจิตแพทย์แบบตะวันตกตรงที่หัวใจมีพลังอย่างสำคัญ ยิ่ง พลังทางจิตที่ละเอียดอ่อนรวมตัวกันที่หทัยวัตถุ พระอรรถกถาจารย์ฝ่าย ธิเบตยืนยันว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงที่หัวใจของมนุษย์นั้นเอง แต่ทะไลลามะเอง ไม่แน่พระทัยว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงไหนแน่ หากแต่ถ้าเดินลมปราณไปทางจิต สิกขาอย่างลึกซึ้งแล้วจะได้ประสบการณ์ว่าพลังทางจิตอยู่ทางแถว ๆ หัวใจ นั้นเอง อย่างน้อยก็แสดงว่าหทัยวัตถุเกี่ยวข้องอย่างไกล้ชิดกับหัวใจ แม้จะ ไม่อาจบอกได้อย่างชัดแจ้งว่าหทัยวัตถุอยู่ตรงไหน จะอย่างไรก็ตาม อายุรเวท แบบธิเบตชี้ชัดลงไปทางสรีรวิทยาว่ารูปเกี่ยวโยงไปยังนามอย่างไร ดังทางเดิน ของลมหายใจนั้นเป็นเรื่องของปราณหรือชีวิตโดยทางเดินลมนั้นอยู่ในร่างกาย มีจุดศูนย์กลางต่าง ๆ ในร่างกาย มีจุด หรือ นาทิ และช่องต่าง ๆ ที่ผู้ปฏิบัติ ธรรมนำมาชี้แจงแสดงได้ว่าเวลาหลับลมปราณเปลี่ยนสภาพไปจากตอนตื่น อย่างไร เวลาฝันลมปราณก็ผันไปอีกกะแสหนึ่ง ยิ่งตอนตายด้วยแล้ว เกิด แสงสว่างกระจ่างขึ้นมาอย่างน่าสนใจยิ่งนัก ( ดู เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ที่ ข้าพเจ้าเรียบเรียงมาจาก คัมภีร์มรณศาสตร์ของธิเบต และดู ประตูสู่สภาวะ ใหม่ : คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตายกับช่วยเหลือผู้ไกล้ตาย ที่พระไพศาล วิสาโล แปล )

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


* ๓ *
 

ไม่จำเป็นต้องถกเถียงก็ได้ว่าวิญญาณขันธ์เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัว สมอง จึงกล่าวได้ว่าการทำงานของหัวสมองเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณขันธ์ ในระดับที่หยาบ และปัจจยาการที่ว่านี้มีสองประการคือ

๑ ) เหตุที่สำคัญอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแลงจนเป็นผล
๒ ) ปัจจัยเข้าไปเกื้อหนุน หากไม่ใช่ตังการที่สำคัญ อันก่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังมีการโยงใยอีกสามประการ เช่น

๑ ) " เพราะมี ก. จึงเกิด ข. ขึ้น " ถ้าประโยคที่ว่านี้เป็นจริง กล่าวคือ ถ้าไม่มี ก. ย่อมไม่มี ข. เมื่อเป็นเช่นนั้น ก. ย่อมไม่คงทนถาวร เพราะ เป็นตัวแปรให้เกิด ข. กล่าวคือ ก. ย่อมตกอยู่ใต้อนิจลักษณะ คือย่อม เปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ และเมื่อ ก. ก่อให้เกิด ข. ข. ก็ย่อมอยู่ในสภาวะ แห่งอนิจลักษณะ

๒ ) การเปลี่ยนแปลงสภาวะ ขึ้นอยู่กับอนิจลักษณะ ไม่มีอะไรเลยที่คง ทนถาวร เป็นนิรันดร ทุกเหตุย่อมเป็นผลจากเหตุอื่น ไม่มีเหตุต้นตอ หรือปฐมเหตุ ดังคัมภีร์ของพวกเทวนิยมหรือตามตำราของอริสโตเติล ( First Case หรือ Unmoved Mover )

๓ ) ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นปัจจยาการซึ่งกันและกัน หรือเป็นอิทัปปัจ จยตา

ขอให้เอาข้อความข้างบนนี้ประยุกต์ใช้กับมันสมองและวิญญาณขันธ์ โดยเราย่อมสังเกตได้ว่ามีปรากฏการณ์ ๒ ประการที่มีคุณภาพแตกต่าง กันแต่เกี่ยวข้องกัน คือ รูปธรรม กับ นามธรรม

ในขณะที่รูปธรรมปรากฏอยู่ในเนื้อที่ของร่างกาย โดยช่วยให้ตรวจ สอบในทางปริมาณ และก่อให้เกิดคุณภาพทางความคิดและจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ความคิดและจิตใจอยู่ที่ตรงส่วนไหนของร่างกายก็ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และตรวจสอบทางปริมาณก็ไม่ได้ แต่รับรู้ได้โดยประสบการณ์

ด้วยเหตุฉะนี้ จะกล่าวว่ามันสมองเป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่สุดของความ คิดและจิตใจย่อมไม่ได้ และมันสมองซึ่งเป็นรูปธรรมจะเปลี่ยนสภาพไป เป็นความคิดและจิตใจที่เป็นนามธรรม ก็ย่อมไม่ได้ เพราะมีสภาวะที่ต่าง กันโดยที่มันสมองเป็นรูปธรรม ในขณะที่ความคิดและจิตใจเป็นนามธรรม

คราวนี้ ขอให้มาพิจารณา อาลัยวิญญาณ ซึ่งเป็นคำที่นิกายวัชรยานใช้ ค่อนข้างมาก บางครั้งคำนี้ หมายถึงความว่าง ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญ ของจิตใจ บางครั้งหมายถึงการระลึกรู้อย่างมีสติ จนเป็น แสงอย่างกระ จ่าง

แสงอย่างกระจ่าง นี้ ถือว่าเป็นรากฐานหรือต้นตอของวัฏสงสาร และ ของโมกษะ หรือพระนิพพาน ในขณะที่นิกายโยคาจาระถือว่าอาลัยวิญ ญาณเป็นอัพยากฤต ไม่ให้คุณไม่ให้โทษ หากทางฝ่ายวัชรยาน ถือว่า แสงอย่างกระจ่าง ถ้าภาวนาอย่างถูกต้องถ่องแท้ จะช่วยให้เข้าถึงพระ นิพพานได้

วรรณคดีทางฝ่ายมหายาน ใช้คำนี้สองทางด้วยกัน คือ ( ๑ ) เป็นองค์ ประกอบของสภาวสัตย์ ( ๒ ) เป็นองค์ประธานของสภาวสัตย์เลยทีเดียว


กิ่งนิกาย นยิงมา ของธิเบต ขยายความว่า จิตใจนั้นแบ่งออกเป็นสอง คือ ( ๑ ) อาลัยวิญญาณ ซึ่งเป็นต้นตอที่มาของความนึกคิดต่าง ๆ ( ๒ ) ตัวสติปัญญานั้นเองซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฝึกฝนอบรมจิตใจอย่างพินิจ พิเคราะห์

อาลัยวิญญาณเป็นต้นตอที่มาของประสบการณ์ทางด้านการรับรู้อย่างมี สติอย่างมีสัมปชัญญะ โดยเราต้องตราไว้ว่าถ้าไม่ฝึกจนเกิดสติและสัมป ชัญญะแล้วไซร้ ตัวอาลัยวิญญาณย่อมรับใช้อวิชชาหรือโมหจริตได้ง่าย

การภาวนานั้น ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้จักฝึกจิตใจไว้ให้แยบคาย อย่าให้จิต ไปไปติดยึดในนิมิตใด ๆ หาไม่จะหลงทางไปติดนิมิต ไม่ว่าจะมาในทาง รูปทางเสียงหรือทางแสงก็ตามที ต้องตัดนิมิตหมายต่าง ๆ ทิ้งเสีย เพื่อ เอาชนะโมหคติ เพื่อเกิดสติควบคู่ไปกับปัญญา

เมื่อปัญญาเกิด จักเป็นความชัด ที่ละเมียด ที่ปลอดพ้นจากความครอบงำ โดยอกุศลมูลต่าง ๆ ถ้าเข้าไม่ถึงหมายเลข ๒ จะติดอยู่ทางหมายเลข ๑ ซึ่ง มีโมหจริตครอบงำ แล้วนึกว่าตนตรัสรู้ ยิ่งไปคิดว่าการตรัสรู้นั้น เป็นอัตตา อันคงทนถาวรอย่างนิรันดรด้วยแล้วถือว่านั่นเป็นมิจฉาทิฐิที่ร้ายแรงสุด

พระโยคาจาร ผู้ปฏิบัติภาวนาด้วยการนั่งสมาธิ โดยไม่ติดยึดในวัตถุใด ๆ ประการแรก จะเกิดอาลัยวิญญาณ ซึ่งยังมีโมหจริตเจือปน แล้วจึงจะเกิด สติปัญญา ซึ่งมีคุณภาพต่าง ๆ กัน จนปัญญากล้าแข็ง เข้าขั้นปัญญาวิมุติ จึงจะเอาชนะโมหจริตได้ แล้วความสว่างทางแสง จะไม่เป็นแสงแห่งโล กียะ หากเป็นแสงแห่งความวิมุติหลุดพ้น ซึ่งปลอดไปจากการยึดติดใน อัตตา

การเข้าถึงสติปัญญานั้น มี ๓ ขั้นตอนด้วยกัน คือ

( ๑ ) รู้เท่าทันวัฏสงสารและนิพพาน โดยจะรับรู้ถึงแสงอันกระจ่างอย่าง ละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ซึ่งจะรับรู้ได้ตอนใกล้ตายเท่านั้น และตอนนี้นี่แล ที่อาลัยวิญญาณปรากฏ

( ๒ ) สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตนตามภาวนาวิธี จนรู้เท่าทันวิญญาณขันธ์ จึงได้ ประสบการณ์ทางด้านสติและปัญญาอย่างควบคู่กันไป

( ๓ ) ต่อบริกรรมจนถึงขั้นสุดท้ายจึงได้เข้าถึงตัวปัญญาอันบริสุทธิ์อย่าง เป็นธรรมชาติ อันเป็นแสงกระจ่างอย่างธรรมชาติอันละเอียดอ่อน และ ลึกซึ้งที่สุด ซึ่งรับรู้ได้ตอนเวลาจะถึงแก่กาลกิริยา ( ตาย )

ตอนนี้ ขอให้เรามาพิจารณากันว่าวิญญาณขันธ์มาแต่ไหน อะไรเป็นเหตุ ให้เกิดการรับรู้เมื่อมนุษย์เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา

นิกายสูตรยาน (เถรวาท) และวัชรยาน ( อย่างธิเบต ) มี ๒ ทัศนะที่ต่างกัน ทางฝ่ายเถรวาทถือว่าวิญญาณขันธ์นั้นต่อเนื่องกัน วิญญาณนี้ดับก็ไปเกิด ใหม่อย่างไม่ขาดสาย จนกว่าจะดับลงอย่างเด็ดขาดจนเป็นสมุจเฉทปหาน คือเข้าถึงพระนิพพาน กล่าวคือจากเหตุไปสู่ผล หรือมีการเปลี่ยนแปลง สภาพไปเรื่อย ๆ ของวิญญาณขันธ์ จำเดิมแต่เกิดการรับรู้เมื่อเริ่มชีวิตใหม่ แต่ละครั้ง

ทางฝ่ายวัชรยานบ่งลงไปว่าถ้าฝึกจิตจนสุขุมอย่างละเอียดอ่อนอย่างยิ่งแล้ว อาลัยวิญญาณจะผูกสนิทอยู่กับแสงกระจ่างอย่างสำคัญยิ่ง นี้เป็นต้นตอของ วิญญาณขันธ์ที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งกลายสภาพไปได้ในสงสารวัฏ จนถึงพระนิพ พาน ทั้งหมดนี้นิกายโยคาจาระถือว่าเป็นอาลัยวิญญาณ ( ทางมหานิกายเดิม ของเรา ก็เคยพูดเรื่องอาลัยวิญญาณ )

นิกายโยคาจาระพยายามหาว่ามีอัตตาแฝงอยู่อย่างไร จึงสรุปลงได้ว่าแฝง อยู่ในอาลัยวิญญาณ แต่ในทางวัชรยาน อธิบายว่าถ้าฝึกจิตดีจนถึงขั้นสุขุม อย่างละเอียดอ่อนที่สุดแล้วจะเข้าใจว่า แม้จิตอันละเอียดอ่อนที่สุดก็หาใช่ อัตตาไม่ หากเป็นแสงสว่างอย่างธรรมชาติอันโชติช่วงที่สุด โดยจะเรียก ว่านั่เป็นพระธรรมกายก็ได้

ทางพุทธศาสนาอธิบายขยายความว่าด้วยธรรมชาติของจิตใจไว้เป็นอย่าง มาก เช่นอธิบายถึงจิตที่รับรู้อารมณ์ ด้วยจิตใจที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัย มาก่อน ทั้งนี้ชี้ให้เห็นข้อแตกต่างทางการรับรู้ กล่าวคือจิตที่อบรมมาแล้ว ย่อมรับรู้ได้อย่างถูกต้อง ถ่องแท้ ในขณะที่จิตซึ่งขาดการฝึกหัดอบรมมา ย่อมเห็นผิดเป็นชอบได้ง่าย นอกไปจากนี้แล้ว พุทธศาสนายังอธิบายถึงข้อ แตกต่างระหว่างจิตกับเจตสิกต่าง ๆ รวมถึงการรับรู้โดยการใช้ความคิด และชนิดที่รับรู้อย่างปราศจากความคิด


การแยกแยะต่าง ๆ นี้ ไม่ใช่เพื่อต้องการตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นมา และไม่เพียง เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติของจิต หากต้องการเอาชนะกิเลสมาร ที่เข้ามาครอบงำจิต และปลูกฝังเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสร้างความสุขที่แท้ ให้เกิดขึ้นและงอกงาม

ท่านอารยะ อสังคะ รจนาเรื่องอภิธรรมโกษาขึ้น เพื่ออธิบายเรื่องจิตและ เจตสิกต่าง ๆ ดังท่านพรรณาเจตสิกไว้ถึง ๕๑ ประการด้วยกัน และใน ๕๑ ประการนี้ มี ๔ ประการที่สำคัญ ประการหนึ่งนั้นพรรรณาถึงการนอน เป็นการเฉพาะ โดยที่ทั้ง ๔ ประการ เป็นไปได้ทั้งฝ่ายกุศล ขึ้นอยู่กับปัจจัย ในการตั้งเจตนา

นอกจากการภาวนาในเวลาตื่นแล้ว ยังฝึกให้ภาวนาได้ในยามหลับด้วย โดย ที่ทำได้เช่นนี้ จะช่วยอิทธิวิธีได้ดียิ่งขึ้น หาไม่ในเวลานอนเท่ากับศูนย์เสีย การเจริญจิตสิกขาไปอย่างไม่จำเป็นเอาเลย ฉะนั้นจึงควรฝึกใจให้หลับได้ อย่างเป็นกุศล เช่นทางฝ่ายเถรวาทนั้น สอนให้ภาวนาจนการนอนเป็นกุศล แต่ทางฝ่ายเถรวาทไม่มีอุบายในการฝึกให้ฝันอย่างเป็นกุศลได้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอุบายวิธีที่พระโยคาวจรอาจใช้นิมิตหมายในในความฝัน มา เป็นตัวแปรในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นได้อีกด้วย กล่าวคือความ ฝันบางประการนั้น เป็นเทพสังหรณ์ ช่วยเตือนถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้ ด้วย

ทางฝ่ายวัชรยานนั้นสอนตันตระวิธีสี่ขั้นตอนด้วยกัน แบ่งเป็นสามขั้นตอน ซึ่งอธิบายในเรื่องฝันดีฝันร้าย แต่ยังไม่ได้ฝึกถึงขั้นที่เอาความฝันมาฝันให้เป็น โมกษธรรม แต่ตันตรวิธีสามขั้นตอนก็สอนถึงการภาวนาจนอาจใช้ความฝัน ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้เทวฤทธิ์ที่สัมพันธ์กัน ( ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า อิษฏ เทวตา ภาษาธิเบตใช้คำว่า ยิดัม )


สำหรับอนุตรตันตรโยคะ อันเป็นขั้นที่ ๔ นับว่าแยบคายที่สุดอธิบายถึงพื้น ฐานทางธรรมชาติของสภาวสัตย์ โดยขยายความจากพระอริยธรรมจนถึง พุทธภาวะ และพรรณาว่าด้วยนามกับรูป ด้วยการแบ่งออกเป็นสภาพที่หยาบ สภาพที่ละเอียด จนถึงละเอียดอ่อนที่สุด โดยจะเรียกนามรูปในขั้นหยาบว่า เรา ว่า ฉัน ว่า กู ว่า อัตตา ก็ได้ หากต้องตราไว้ว่านั่นเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ โดยต้องไม่ไปติดยึดว่ามันเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งสภาวสัตย์
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


* ๔ *
 

ถ้าไม่ติดยึดใน ตัวตน หรือในความหยาบของนามและรูป จะเข้าไม่ถึง ความละเอียดอ่อนในที่ถัดไป ต่อเมื่อนามและรูปในขั้นหยาบปลาสนาการ ไป จักปรากฏแสงกระจ่างขึ้นตอนตาย นี้แลคือจิตอันละเอียดอ่อนอย่าง สุขุมซึ่งเป็นตัวสันตติ ข้ามภพข้ามชาติไปเกิดใหม่ โดยจะเรียกว่านี่เป็น ตัวตนอย่างสุขุมก็ได้ หากต้องตราไว้ว่านี้ก็เป็นสมมุติบัญญัติอีกเช่นกัน

จิตอันละเอียดอ่อนนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตอนดับขันธ์เท่านั้น แม้ในการ ฝันอย่างพิเศษ จิตที่ว่านี้ก็เกิดขึ้นได้ โดยที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงความคิดฝัน หากจิตอันละเอียดอ่อนได้ออกจากร่างอันหยาบ หากจิตที่ว่านี้ไม่ได้ปรา กฏกับความฝันตามทั่ว ๆ ไป โดยจะแสดงออกกับความฝันอันวิเศษพิศ ดารเท่านั้น กล่าวคือความฝันกลายเป็นรูปที่แยกออกจากรูปกายอันหยาบ ของเราอีกทีหนึ่ง ในการฝันอันพิเศษเช่นนี้ จักมีรูปอันละเอียดกับอัตตา อันละเอียดแสดงตนออกมาให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อทดสอบว่ามีการติดยึดใน สิ่งที่ปรากฏขึ้นนี้หรือไม่


ในอีกกรณีหนึ่ง ก็คือเมื่อตายจากชีวิตนี้ไป จิตอันละเอียดหรือจะเรียกใน ฐานะของสมมุติบัญญัติว่าอัตตาอันละเอียดอ่อน พ้นตัวตนในชาตินี้ก็จะไป ปรากฏในอันตรภพ ( บาร์โด ในภาษาธิเบต ) จะเรียกว่า ตัวกินกลิ่นหรือ สัมภเวสี หรือ โอปปาติกะ ก็สุดแท้ ตัวที่ว่านี้หรือสภาพที่ว่านี้ คือ สันตติ ที่ต่อเนื่องจากภพนี้ ก่อนไปถือกำเนิดในภพหน้า

 

จักช่วยให้สภาวะในอัตรภพ หรือในภพหน้าเป็นไปในทางกุศล จำต้องฝึก ทั้งจิตหยาบและจิตอันละเอียดอ่อน ยิ่งจิตอันละเอียดอ่อนด้วยแล้วสามารถ ฝึกได้แม้ในยามฝัน จนจิตอันละเอียดอ่อนและที่ละเอียดอ่อนที่สุดกลายเป็น พลังในทางกุศลอย่างแท้จริง ฉะนั้นการปฏิบัติทางด้านจิตสิกขาจึงสำคัญ ยิ่งนัก

ท่านพระนาคารชุน ซึ่งเป็นสดมภ์หลักของมหายาน ( คล้าย ๆ ท่านพุทธโฆษา ซึ่งเป็นสดมภ์หลักของเถรวาท ) สอนให้ฝึกโยคะวิธีกับการฝัน ดังคำสอนที่ ว่า " ใช้อินทรีย์ที่เรามีอยู่อย่างเป็นกุศล รู้จักใช้ระบบประสาทของเราและอง คาพยพทางร่างกายของเรา ซึ่งรวมเข้าเป็นอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะเหล่านี้ช่วยให้เรามีประสบการณ์ในสถานภาพทั้ง ๓ คือสภาพ แห่งการตาย สภาพระหว่างตายและเกิด ( อัตรภพ ) และสภาพแห่งการเกิด ทั้งสามนี้ มีส่วนละม้ายคล้ายพระตรีกายของพระพุทธเจ้า "


๑ ) สิ่งซึ่งเรียกว่าพระธรรมกายนั้นคือสภาวะอันบริสุทธิ์ ปราศจากการติด ยึดในปรากฏการณ์ใด ๆ สิ้น พระธรรมกาย คล้ายสภาพแห่งการตายซึ่ง หมายความว่าในขั้นหยาบนั้น พลังจิตกลายสภาพไปเป็นแสงอันกระจ่าง และตอนตายนั้น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ สลายไปสู่ความเป็นศูนย์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุ อันเป็นสภาวสัตย์ที่เป็นปรมัตถ์ หมดความเป็นตัวตน หากเป็น สภาวะ

๒ ) อัตรภพ หรือสภาวะระหว่างการตายกับเกิด ซึ่งรับรู้ได้อย่างมีประสบ การณ์ กล่าวคือในตอนตาย แสงอันกระจ่างแห่งมรณญาณมาพร้อมกับรูป ซึ่งประกอบไปด้วยพลังจิตอันละเอีอดอ่อน ช่วยให้มีความหลุดพ้นไปจาก พลังจิตอย่างหยาบและจากร่างกายอย่างหยาบ

ความข้อนี้เปรียบได้กับพระสัมโภคกาย ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยอิทธิวิธี ของพระธรรมกาย เวลาหลับนั้น ถ้าฝันอย่างวิเศษ ก็จะมีรูปอันละเอียด อ่อน คล้ายพระสัมโภคกาย หรือคล้ายสภาวะในอันตรภพเช่นกัน

ความคิดเกิดขึ้น รูปกายหย่างหยาบกับพลังอย่างหยาบมาประสานกัน นี้ ฉันใด พระรูปกายอย่างบริสุทธิ์ของพระสัมโภคกายก็อาจแสดงออกอย่าง หยาบให้รับรู้ได้ในหลากหลายรูปฉันนั้น นี้เรียกว่านิรมาณกาย ซึ่งแสดง ออกให้ปรากฏตามความต้องการของสรรพสัตว์ จะกล่าวว่านิรมาณกาย ซึ่งแสดงออกให้ปรากฏตามความต้องการของสรรพสัตว์ จะกล่าวว่า นิรมาณกายเกิดขึ้นจากแนวคิด หรือเป็นบุคคลาธิษฐานของความคิดอ่าน ก็ได้

จำต้องแยกประเด็นให้ชัด กับสิ่งซึ่งเกิดขึ้นทางความคิด กับสิ่งซึ่งเกิดขึ้น จากครรภ์มารดา ขอให้เข้าใจว่านิรมาณกายเกิดขึ้นจากความคิดเท่านั้น

ในที่นี้ ขอสรุปว่า พระสภาวะหรือพระตรีกายของพระพุทธเจ้านั้นมีความ ละม้ายคล้ายกับสภาวะทั้ง ๓ ของเรา คือตาย ระหว่างตายและเกิด กับการ เกิด เราแต่ละคนต้องผ่านขั้นตอนทั้งสามนี้ และท่านนาคารชุนเสนอว่า ถ้า ใช้ตันตรวิธีในทางสมาธิภาวนา เราจะเข้าใจอะไร ๆ ได้ชัด

พร้อมกันนั้น ทางฝ่ายมหายานยังเน้นให้ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเน้นไปที่ รูปสุญตา และกรุณา จนได้เห็นแสงอันกระจ่าง อย่างที่เห็นได้ตอนจะตาย หากภาวนาได้จนถึงขั้น ย่อมได้วิปัสสนาในขั้นความเป็นศูนย์ซึ่งแปรปรวน เปลี่ยนความตายให้เข้าสู่พระอริยมรรค ซึ่งเป็นหนทางไปสู่การตรัสรู้


อาจนำแสงอันกระจ่างตอนตายมาใช้เป็นหนทางที่นำไปสู่พระธรรมกายได้ ฉันใด ก็อาจใช้อันตรภพให้เข้าถึงพระสัมโภคกาย และก็อาจใช้การเกิดให้ เข้าถึงพระนิรมาณกาย ฉันนั้น

ภาวนาวิธีที่อาจเปลี่ยนสภาพของการตาย สภาวะระหว่างตายกับการเกิด ใหม่ให้เข้าสู่หนทางของพระอริยมรรคนั้น ขอย้ำด้วยการเปียบเทียบดังต่อ ไปนี้คือ

๑ ) ตาย ระหว่างตายกับเกิด ( อัตรภพ ) และเกิดใหม่
๒ ) ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย
๓ ) หลับ ฝัน และตื่น

เพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย พระสัมโภคกาย และพระนิรมาณกาย พระโยคา วจรพึ่งปฏิบัติตนจนคุ้นกับการหลับอย่างปราศจากความฝันกับ การฝัน และ จากการตื่น

เพื่อให้มีประสบการณ์อย่างถูกต้องในขณะนอนหลับ และในขณะตื่น จำ ต้องคุ้นเคยกับขั้นตอนของการตายแปดขั้นตอนด้วยกัน อย่างน้อยก็ควร ฝึกจิตใจในเรื่องนี้ กล่าวคือควรภาวนาในขณะที่วิญญาณขันธ์ยังตื่นอยู่ ให้ รู้ตัวทั่วพร้อม แล้วค่อย ๆ ฝึกจิตหรือวิญญาณที่ว่านี้ อย่างปล่อยวางไปเป็น ขั้น ๆ จนแลเห็นแสงอันกระจ่าง ซึ่งปรากฏตอนตาย ถ้าฝึกจิตไว้ได้เป็น ขั้น ๆ จะเห็นนิมิตหมายตามขั้นตอน

เมื่อเห็นนิมิต ก็ฝึกจิตให้คุ้นเคยกับนิมิตนั้น ๆ ด้วยสมาธิภาวนา แล้วกำหนด จิตให้ข้ามนิมิตนั้น ๆ ไป จะแลเห็นแสงอันกระจ่างในห้วงหทัยส่วนลึก จน แลเห็นความละเอียดอ่อน ออกจากร่างหยาบไป โดยอาจกำหนดให้กายอัน ละเอียดอ่อนอย่างสมบูรณ์นี้ไปในที่ใด ๆ ก็ได้ จนในที่สุดก็อาจกำหนดให้ กายอันละเอียดอ่อนนี้กลับเข้ามาสิ่งสถิตอยู่กับกายหยาบนี้



ถ้าภาวนาในขณะตื่น จนเห็นนิมิตเช่นนี้ได้ เวลาหลับ ก็อาจกำหนดจิตให้ เห็นนิมิตเช่นนี้ได้เช่นกัน โดยอาจเร่งให้เห็นนิมิตเร็วขึ้นได้ด้วย จนอาจนอน หลับได้อย่างไม่จำเป็นต้องฝัน แต่ถ้าไม่ฝึกจิตด้วยการปฏิบัติภาวนาเวลาตื่น อยู่ จะกำหนดจิตในขณะหลับฝันไม่ได้เลย

เรื่องกายอันละเอียดอ่อนออกจากร่างนี้ พระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นวิวิธ วรรณปรีชา ตรัสเรียกว่ากายเพชร ชะรอยจะทรงใช้พุทธวิธีแบบโบราณของ เราก่อนที่เราจะมาสมาทานนิกายลังกาวงค์ก็ได้ โดยที่พระองค์ท่านนั้น ทรง ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกอุดมบัณฑิตผู้หนึ่งในทางพุทธศาสนาฝ่ายฆราวาส แต่รัชกาลที่ ๕ จนรัชกาลที่ ๗ และเมื่อมีการประชุมสภาโลกว่าด้วยศาสนา ต่าง ๆ ณ เมืองชิคาโกใน ร.ศ. ๑๑๒ ก็มีพระนิพนธ์ซึ่งมีคนแปลเป็นภาษา อังกฤษไปอ่านในมหาสมาคมนั้น
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



* ๕ *
 

การปฏิบัติภาวนาทางด้านอนุตรตันตรโยคะนั้นมีสองขั้นตอน ( ๑ ) เรียกว่า สาธนา ใช้การเพ่งอย่างกสิน ถือว่าเป็นการวางพื้นฐานให้เห็นนิมิต และ ถ้าติดอยู่ในนิมิตนั้น ๆ ก็เป็นอันไม่อาจพัฒนาจิตใจได้ยิ่งกว่านี้ แต่ถ้าไปได้ ถึงขั้น ( ๒ ) เป็นการภาวนาในเรื่อง ปราณโยคะ คือนำเอาลมปราณที่เป็น พลังต่าง ๆ ของชีวิตเข้ามาสู่ช่องกลาง แล้วภาวนาให้เกิดการสลายตัวอย่าง จริงจัง เมื่อฝึกได้ถึงที่แล้ว การสลายตัวนี้จะก่อให้เกิดแสงกระจ่างขึ้น


ถ้าฝึกได้จนถึงขั้นนี้ แม้ยามหลับก็ทำให้แสงกระจ่างปรากฏขึ้นได้และกรณี เท่านั้นที่ฝึกได้จนหลับอย่างไม่ฝัน โดยที่คนซึ่งไม่ฝึกฝนทางสมาธิวิธีย่อมฝัน ด้วยกันทั้งนั้น หากส่วนมากจำความฝันไม่ได้ต่างหาก ในขณะที่ผู้ปฏิบัติ ธรรม ถ้าฝัน ก็กำหนดรู้ในเรื่องฝัน และอาจพยาการณ์ความฝันนั้น ๆ โดย โยงมาถึงโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วย


การใช้ภาวนาวิธีเช่นนี้ อาจกำหนดได้ในเรื่องหลับในฐานะที่เป็นความฝัน และในเรื่องฝันในฐานะที่เป็นความฝัน ความข้อนี้ถือว่าสำคัญสำหรับผู้ที่ ปฏิบัติธรรมตามอนุตรตันตรโยคะ


ในยามที่ตื่นอยู่ สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตนชนิดที่ยังเข้าไม่ถึงวิปัสนาญาณและจับ ไม่ได้ในเรื่องพลังทางจิตที่โยงมาถึงกระแสชีวิต ก็จะได้แต่พลานุภาพบาง ประการ ซึ่งถ้าไม่ระวัง จะไปยึดถือว่านั้นเป็นอิทธิปฏิหาริย์ จนเข้าใจว่าเป็น การตรัสรู้ธรรมก็ยังได้ แท้ที่จริงพลังพวกนี้ช่วยให้เกิดปีติและให้เกิดวิริยะ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมเท่านั้น พวกนี้ยังเข้าไม่ถึงสภาวะของการหลับ อย่างไม่ฝัน อย่างเก่งก็อาจทำใจให้แยบคายได้ คือรู้ว่านี่คือความฝัน

การที่จะช่วยให้รู้จักความฝัน ต้องอาศัยหลายปัจจัย เช่นอาหารการกินก็ เกี่ยวข้องด้วย กล่าวคืออาหารควรเหมาะกับร่างกาย ทางตำราแพทย์ของ ธิเบต กำหนดว่าทุกคนมีพลังที่สำคัญโดยโยงใยไปถึงธาตุทั้งสาม คือ ลม น้ำดี และเสมหะ บางคนมีบางอย่างสำคัญกว่าบางอย่าง การกินอาหาร ควรช่วยให้ธาตุทั้งสามเหล่านี้สมดุลกัน และเวลานอน ถ้าหลับสนิทเกิน ไปจะฝันได้ไม่ชัด ถ้าจะช่วยให้ฝันได้ชัด และนอนอย่างไม่หลับสนิทเกิน ไป ควรลดอาหารลงด้วย


นอกไปจากนี้แล้ว ตอนนอนหลับ ควรกำหนดสติไว้ที่หน้าผากพร้อม ๆ กันนั้นก็พึงตราไว้ ถ้าหลับอย่างผิวเผินเกินไป ก็จะไม่ช่วยให้การภาวนา ในเวลานอนได้ผล

การจะให้หลับเป็นไปอย่างลึกลงไป จำต้องกินอาหารหนัก ๆ ที่มีน้ำมัน และตอนที่จะหลับ ควรกำหนดสติไว้ที่ศูนย์แห่งพลังทางท้องน้อยหรือ ทางอวัยวะเพศ

ถ้าฝันได้อย่างไม่ชัดเจน แก้ได้ด้วยการกำหนดสติที่ใจกลางของคอหอย และควรมีคนมาคอยช่วยกระซิบบอกให้รู้ว่า " ตอนนี้เธอกำลังฝันแล้วน่ะ " และควรกำหนดรู้ไว้ด้วยว่านี้เป็นความฝัน จำฝันไว้ให้ได้

ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติ กำหนดรู้ได้ถึงแสงอันกระจ่างที่ปรากฏตอนหลับว่านี่เป็น แสงกระจ่าง ซึ่งเกิดจากการนอน แล้วอาจนำความจำได้หมายรู้อันนี้ไปยืด ให้แสงดังกล่าวธำรงคงอยู่ได้นานขึ้น

หลักการสำคัญของโยควิธีที่ใช้กับความฝัน ตามแบบของตันตระนั้นก็เพื่อ ให้รู้ถึงสภาพของความฝันว่านั่นคือความฝัน หลังจากนั้น พึงฝึกต่อไปให้ จับให้ได้ถึงหัวใจหรือศูนย์กลางขององค์แห่งความฝัน แล้วดึงเอาพลังที่ สำคัญของความฝันมาไว้ที่ศูนย์กลาง ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสบการณ์ทาง ด้านแสงอันกระจ่างยามนิทรา แสงที่ว่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อความฝันปลาสนา การไป

แสงอันกระจ่างที่เกิดขึ้นยามนิทรานั้นไม่ละเอียดอ่อนมากนัก และด้วย การฝึกโยคะทางด้านการฝันจนมีประสบการณ์เกี่ยวกับแสงอันกระจ่างนี้ จะช่วยให้กำหนดรู้ได้ถึงหัวใจหรือศูนย์ขององค์แห่งความฝัน แม้แสงอัน กระจ่างที่ว่านี้จะไม่ละเอียดอ่อนมากนักในระยะแรก แต่อาศัยการปฏิบัติ ภาวนา แสงที่ว่านี้จะไม่ละเอียดอ่อนมากนักในระยะแรก แต่อาศัยการ ปฏิบัติภาวนา แสงที่ว่านี้จะละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้น และรักษาแสงนี้ไว้ให้ยืน นานยิ่งขึ้นด้วย
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


* ๖ *
 

การฝึกโยคะตามแบบตันตระในเรื่องความฝันและการนอนนั้น โยงมาถึงเรื่องจิตใต้สำนึกที่ตะวันตกเพิ่งเอ่ยถึงเมื่อสมัยฟรอยนี่เอง แต่ในทางมหายานมีคำว่า วาสนา ในภาษาสันสกฤต ซึ่งบ่งถึงการสะสมพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้ในจิตใจ จนเจ้าตัวไม่รู้ เว้นแต่จะฝึก จิตจนล้วงลึกลงไปภายในได้

สภาวะของจิตดังกล่าว สงเคราะห์เข้าในวิญญาณขันธ์ อันเป็นขันธ์ตัวที่ห้า ซึ่งเริ่มแต่รูป ( ร่างกาย ) เวทนา ( ความรู้สึก ) สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) สังขาร ( ขบวนการคิดนึกทั้งหมดอันละเอียดอ่อนและซับซ้อน ) จนถึง วิญญาณ ( การตัดสินใจในการประกอบ กิจกรรมต่าง ๆ ) ทั้งทางมโนกรรม ( ภายในตัวเอง ) และแสดงออกภายนอกทางวจีกรรม และทางกายกรรม

วาสนา ที่ซ่อนเร้นอยู่ในวิญญาณขันธ์ที่เกิดจากประสบการณ์หรือ พฤติกรรมต่าง ๆ ในอดีตนั้น บางอย่างอาจผุดมาได้ง่าย ๆ เมื่อมีอะไรมากระทบหรือกระตุ้นเข้า แต่บางกรณีก็ไม่มีอะไรที่จะกระตุ้นให้แสดงออกมาได้ ในทางพุทธศาสนาถือว่า ประสบการณ์ หรือพฤติกรรมที่เรานำมาเก็บไว้ใน วาสนา แห่งวิญญาณขันธ์นั้น บางครั้ง อาจแสดงออกได้ทางความฝัน นี่แลคือการเชื่อมต่อ ระหว่างชีวิตยามตื่นตอนกลางวันของเรา กับชีวิตยามหลับในเวลาราตรีของเรา ที่เราเกิดความฝันขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการแสดงออก จาก วาสนา จนเป็นพฤติกรรมของเรา อย่างที่เราไม่รู้ตัว ดังที่กล่าวกันว่าพระสารีบุตรนั้น แม้ท่านจะตัดกิเลสได้หมดแล้ว แต่ท่าน ก็ยังมีวาสนา ท่านชอบกระโดดข้ามไปเวลาเจออะไร ๆ ที่ขวางกั้นทางเดินของท่าน แทนที่จะเดินเลี่ยงไป โดยพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่านั่นเป็น วาสนา ของท่าน จนอ้างกันว่าชาติก่อนท่านเคยเกิดเป็นวานร และตามคัมภีร์ชี้บ่งไว้ว่า กิเลส กับ วาสนา นั้น ตัดได้ขาดเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอนุพุทธอย่างพระอรหันต์ตัดได้ขาดเพียงกิเลส วาสนา ยังดำรงคงอยู่ในจิตใต้สำนึก อย่างไม่มีพิษภัยอันใด

ทางนิกายวัชรยานของธิเบต บางสำนักถือว่าอาจสาวหา วาสนา มาได้ทั้งนี้เพราะมี อาวรณ์ เป็นตัวกีดขวาง ให้เราเข้าไม่ถึงตัววาสนา โดยแบ่งแยกออกไปเป็น ฌาเนยอาวรณ์ การขัดขวางทางด้านฌาน และกิเลสอาวรณ์ การขัดขวางทางด้านกิเลส

ตัดขัดขวางหรือขวางกั้นนี้ มาจากอกุศลมูลคือโลภ โกรธ หลง และอุปาทานการยึดติด แม้จนการติดยึดทางปัญญาก็เป็นตัวขวางกั้น ที่สำคัญเพราะการติดยึดดังกล่าว ไม่จำต้องเป็นกุศล

พูดถึงการขวางกั้นทางฌานหรือทางความรู้นั้น สำนักหนึ่งกล่าวว่าอุปสรรคดังกล่าวไม่ปรากฏในวิญญาณขันธ์ หากแอบแฝงอยู่ต่างหาก ออกไป

ทางนิกายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้ว คือ ๑ อุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้าไม่ถึงองค์แห่งความรู้นั้น ไม่ปรากฏใน วิญญาณขันธ์เลย หากแทรกแซงอยู่นอกเหนือออกไป แต่บางสำนักในนิกายนี้กล่าวแย้งว่าอุปสรรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่นั้น ก็ขีดวง อยู่ในวิญญาณขันธ์นั้นเอง

คัมภีร์ของฝ่ายมาธยมิกะบ่งไว้ว่าการกำหนดรู้หรือรำลึกให้รู้นั้น ใช้สัญญาเป็นตัวการ โดยสามารถรำลึกรู้อะไร ๆ ก็ได้ ถ้าฝึกจิตใจอย่าง อบรมมาดีแล้ว พร้อมกันนั้น ก็ยืนยันว่าพฤติกรรมหรือประสบการณ์บางอย่างในอดีตนั้นไม่อาจเรียกกลับมาให้รับรู้ได้อีกเลย ยกตัวอย่าง เช่นการเห็นผู้หญิงสวยน่ารักคนหนึ่ง ในยามตื่นอยู่ แม้จะรู้สึกว่าเธอน่าพิศมัย แต่ไม่ได้กำหนดจิตใจให้จำได้หมายรู้ถึงเธออย่างรอบคอบ แม้เมื่อฝันถึงเธอก็เห็นเธออย่างฉาบฉวยเท่านั้น เพราะรับรู้ถึงเธอได้อย่างผิวเผินนั้นเอง

การรับรู้ถึงอดีตที่ปรากฏในความฝัน ไม่ใช่การรำลึกถึงอดีตอย่างจงใจ ส่วนในอีกกรณีหนึ่งนั้น ใช้จิตกำหนด เรียกเอาอดีตกลับขึ้นมาให้ ปรากฏ จะโดยกุศลวิธีหรืออกุศลวิธีก็ได้ วิธีเช่นนี้แม้พวกที่เล่นทางทรงเจ้าเข้าผี และไสยเวทวิทยาต่าง ๆ ก็ใช้กัน และนั่นมักเป็นอกุศล ยิ่งกว่ากุศล

การรำลึกได้ถึงอดีตนั้น ถ้าฝึกได้ถึงขนาดย่อมอาจรำลึกอดีตชาติได้แม้ถอยหลังไปหลาย ๆ ชาติ โดยที่สัตว์เดรัจฉานก็รำลึกชาติได้ หากรำลึกได้เท่าที่สัญชาตญาณจะกำหนด อย่างไม่ลึกซึ้งอะไรเลย

ท่านภาวะวิเวกเขียนอธิบายไว้ว่า ลูกงัวและสัตว์ประเภทกินนมต่าง ๆ พอเกิดมา ก็รู้ว่าให้ไปหานมกินได้ที่ไหน ทั้งนี้เพราะรำลึกชาติ ได้ว่าเคยเป็นงัวมาก่อน และเคยกินนมมาจนเป็นประสบการณ์อันเคยชิน

มนุษย์เอง ที่ประพฤติตนตามที่สัญชาตญาณกำหนด ก็เพราะสัญชาตญาณเกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่สะสมไว้ในวิญญาณขันธ์อย่าง ที่เจ้าตัวไม่รู้นั่นเอง ถ้าอบรมบ่มนิสัยจนมีนิสัยปัจจัยไปในทางกุศล สัญชาตญาณก็จะออกมาในทางนั้น ถ้าอบรมบ่มนิสัยไปในทางอกุศล สัญชาตญาณก็จะแสดงออกไปในทางอกุศลเช่นเดียวกัน

โดยเราต้องตราไว้ด้วยว่ามนุษย์แต่ละคนนั้นชาติก่อนอาจเป็นมนุษย์ที่ดีหรือที่เลวก็ได้ หรือมีความคิดดีเลวระคนปนกันก็ได้ โดยความ เป็นมนุษย์ของเราโยงไปถึงอดีตชาติที่เราอาจเคยเป็นเทวดา เป็นอสูร เป็นเปรต เป็นเดรัจฉานหรือเป็นสัตว์นรกมาก่อนก็ได้อีกด้วย

กล่าวกันว่าทะไลลามะองค์ที่ ๕ บรรพบุรุษของท่านประพฤติปฏิบัติตันตรโยคะสืบกันมาหลายชั่วคน จนแลเห็นนิมิตหมายต่าง ๆ ได้ ทั้งยังมีประสบการณ์ทางด้านรหัสนัยต่าง ๆ อีกด้วย พระองค์ท่านเองก็ทรงมีจิตตานุภาพที่แข็งแกร่ง ซึ่งส่วนหนึ่งสืบทอดมาจากบรรพชน และอีกส่วนหนึ่งนั้นทรงฝึกฝนด้วยพระองค์เอง โดยที่การฝึกฝนตันตระโยคะนั้น ไม่ได้แปรเปลี่ยนจิตใจให้สูงส่งขึ้นเท่านั้น หากยังแปร เปลี่ยนร่างกายได้ด้วย จากความหยาบกระด้าง สู่ความละเอียดอ่อนอย่างปราณีต จนถึงละเอียดอ่อนที่สุด ที่สำคัญคือการเปลี่ยนศูนย์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ให้ลมปราณเป็นคุณแก่ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยแก่ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยที่ร่างกายของเราเอง ก็เป็นมรดกตกทอดมา แต่บรรพชน แต่บรรพชนที่ฝึกตันตรโยคะทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมเป็นคุณูปการอย่างมหาศาลที่ตกทอดมาถึงตัวเราด้วย

นอกจากร่างกายและจิตใจแล้ว พุทธศาสนายังถือว่าสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมีส่วนเกื้อกูลหรือขัดขวางความเจริญของร่างกายและจิตใจด้วย แม้ดอกไม้ที่งอกงามหรืออับเฉา ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน โดยเราต้องรู้จักแยกแยะธรรมชาติของต้นไม้และดอกไม้ด้วย บางชนิดต้องการน้ำมาก บางชนิดต้องการน้ำน้อย บางชนิดขึ้นได้จำเพาะในบางภูมิประเทศ บางชนิดออกดอกอย่างต่าง ๆ สีกัน ซึ่งทาง พุทธศาสนาจำแนกออกไปในเรื่องของกรรม ซึ่งจะพูดอย่างสมัยใหม่ก็ได้ ในเรื่องของกฏธรรมชาติและชีววิทยาซึ่งก็คือขยับแต่พืชมา จนเดรัจฉาน และมนุษย์ รวมขึ้นไปถึงเทวดา รูปพรหมและอรูปพรหมนั่นเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



* ๗ * 

สำหรับจิตมนุษย์นั้น มีทั้งหยาบและละเอียดอ่อน จิตชนิดหยาบ ทารกหรือเด็กได้รับมาจากบิดามารดา เช่นบิดาหรือมารดา ( หรือทั้งสอง ) มีโทสจริตแก่กล้า และติดยึดในรูปสมบัติ ลูกก็มักได้รับนิสัยปัจจัยอันนี้มาด้วย เช่นเดียวกับร่างกายของบิดามารดา ซึ่งถ่ายทอดมาถึงบุตร ธิดา ร่างกายมีอิทธิพลเหนือจิตใจได้ ฉันใด จิตใจก็มีอิทธิพลเหนือร่างกายได้ ฉันนั้น และถ้าคนในสกุลนั้นไม่ได้ปฏิบัติธรรม ก็จะสืบ โทสจริตและติดยึดในรูปสมบัติของตนกันต่อ ๆ ไปในอีกหลายต่อหลายชั่วคน ยิ่งตอนมารดามีครรภ์ ถ้าโกรธง่าย หรือไม่พอใจอะไร ๆ ง่าย ๆ ทารกในครรภ์ก็พลอยได้แรงกระตุ้นให้เป็นคนเจ้าโทสะได้ง่าย แต่ถ้าฝึกฝนทางสมาธิวิธี อาจพัฒนาจิตให้ละเอียดอ่อน จนเอาชนะ โทสจริต โลภจริต ราคจริต และโมหจริตได้เป็นขั้น ๆ ไป ถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมครองเรือน ลูกหลานก็ย่อมมีร่างกายและจิตใจดีขึ้นด้วยตามลำดับ

ทางนิกายโยคาจาระถือว่าการเกิดใหม่นั้น อาศัยอาลัยวิญญาณเป็นตัวเคลื่อนย้ายจากชาตินี้ไปชาติหน้า แต่นี่ไม่ใช่อัตตา หากเป็นพลัง ทางจิตที่ทารกรับมาจากบิดามารดาด้วย และรับมาจากกระแสกรรมในชาติก่อน ๆ จนเป็นวิบากตกทอดมาถึงชีวิตใหม่นี้ด้วย นิกายโยคาจาระ เป็นส่วนหนึ่งของมหายาน ซึ่งงอกงามในอินเดียราวคริสตศตวรรษที่ ๔ บางทีเรียกนิกายนี้ว่ามุ่งที่จิตเท่านั้น ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Mind - only ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกมุ่งทางอุดมคติ ที่ถือว่าไม่มีสภาวสัตย์อื่นใด นอกเหนือจากที่ปรากฏในวิญญาณขันธ์ จนตั้งเป็น ทฤษฎีในเรื่อง อาลัยวิญญาณ นิกายต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนา ก็ออกจะคล้ายกับสาขาวิชาต่าง ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ เช่นนักชีววิทยากับ นักจิตวิทยา ย่อมมองไปยังสภาพของชีวิตมนุษย์อย่างต่าง ๆ กัน

ทะไลลามะทรงปฏิเสธทฤษฏีในเรื่องอาลัยวิญญาณ ซึ่งเป็นความคิดในทางปรัชญา ยิ่งกว่าเป็นผลที่มาจากสมาธิวิธี จนเข้าถึงตัวปัญญา ไม่ทรงเห็นว่าเป็นไปได้ ที่มีอะไร ๆ ที่คล้ายกับอัตตาที่แฝงอยู่ในร่างกาย พอร่างกายตายลง อาลัยวิญญาณที่แฝงอยู่ในร่างกายก็ไปเกิดใหม่ เป็นอันว่าอาลัยวิญญาณผนวกอยู่ในพลังจิต ซึ่งไปเกิดใหม่ ทรงยืนยันว่าถ้าพลังทางจิตที่ว่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล ย่อมอาจเปลี่ยนแปลง ให้ดีขึ้น หรือเลวลงได้ เป็นสภาพของอนิจลักษณะ ไม่คงที่ถาวร หนึ่งเดียว

ยิ่งผู้ที่เจริญภาวนาสมาธิภาวนาจนถึงขั้นที่ไปพ้นความคิดด้วยแล้ว แม้กุศลและอกุศลก็ปลาสนาการไปพลังทางจิต แต่ก็ต้องมีกระแส บางอย่างที่เป็นตัวสันตติ ที่เชื่อมต่อจากภพนี้ไปสู่ภพหน้า ที่เรียกพลังหรือกระแสดังกล่าวนี้ว่า อาลัยวิญญาณ นั่นก็เป็นเพียงสมมติ ที่เกิดจากการหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อต่อจากชาตินี้ไปชาติหน้าเท่านั้นเอง

ทะไลลามะทรงถือว่าทางฝ่ายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ซึ่งเป็นต้นตอที่มาของนิกายเคลุกปะ ซึ่งพระองค์ทรงสังกัดอยู่ ดูจะมีข้อเสนอ ที่ฟังขึ้นได้ดีกว่าลัทธินิกายอื่น ๆ โดยที่ท่านสังกะปะได้ตั้งนักบวชนิกายนี้ขึ้นเมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑๕ จนนิกายนี้มีอิทธิพลที่สุดในธิเบต ทะไลลามะทุกพระองค์ล้วนทรงสังกัดในนิกายนี้

นิกายนี้ถอยกลับไปถึงท่านนาคารชุน ( ราว ๆ คริสตศตวรรษที่ ๒ ) และสืบสายมาทางท่านภาววิเวก ซึ่งตั้งนิกายสวาตันตริกะขึ้น ( ราว ๆ คริสตศตวรรษที่ ๕ ) นิกายหลังนี้ไม่เห็นความจำเป็นเรื่องอาลัยวิญญาณ เพราะพลังจิตนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ ต้องไปแสวงหาคำอธิบายอะไรให้ลึกซึ้งไปกว่านี้

ประเด็นแห่งการอธิบายก็คือถ้าพลังจิตเป็นกระแสที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แล้วอะไรเล่าที่เข้าถึงการตรัสรู้ ทางฝ่ายเถรวาทเรา ท่านพระพุทธโฆษายืนยันว่าพำระนิพพานมีอยู่ แต่ผู้เข้าสู่นิพพานไม่มี

ทางฝ่ายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ถือว่าการอธิบายในเรื่องต่าง ๆ นั้นเป็นประโยชน์ในทางหัวสมองเท่านั้นเอง ถ้าไม่ระวัง จะไปยึด ในตัวตนจนเป็นอัตตาได้ไม่ยาก แม้จะเลี่ยงไปเรียกว่าอาลัยวิญญาณ หรือคลื่นของพลังจิตก็ตาม

ทางฝ่ายปราสังฆิกะถือว่านี่เป็นความรับผิดชอบหรือความหลง เพราะถ้าแยกแยะกันจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรที่จะเรียกว่าตัวตน หรือ อัตตาแฝงอยู่ ณ ที่ใด ๆ เลย

ทางฝ่ายปราสังฆิกะถือว่าเวลาเราประกอบกิจกรรมใด ๆ ก็เพราะเกิดแต่เจตนา โดยจะบอกว่าเจตนาเป็นกระแสจากพลังจิตก็ได้ แต่พลังทางจิตหรือกระแสที่ว่านี้ ก็แปรเปลี่ยนเป็นอนิจลักษณะอยู่ตลอดเวลา จะเป็นอัตตาหรือตัวตนไปไม่ได้เลย เว้นแต่จะไป ติดยึดมั่นจนเป็นอุปาทาน เพราะความหลง

การเอ่ยถึงตัวเรา โดยโยงไปยังร่างกายในระดับหยาบ หรือจะรวมขันธ์ห้าทั้งหมดว่าเป็นเรา ก็เพียงเพื่อประโยชน์ทางการใช้ภาษา ตามความเหมาะสมในสังคม โดยที่สาวกผู้สดับคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ต้องรู้ว่าตัวเรา หรือตัวตนที่ว่านั้น เป็นเพียงสมมติ อันเราไม่ควรไปยึดติด และการกระทำใด ๆ ถ้าไม่ติดยึดในตัวตนมากเท่าไหร่ กิจกรรมนั้น ๆ ก็จะเป็นกุศลอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างโยงไปถึงคนอื่น ๆ สัตว์อื่น และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากเท่านั้น

มองนอกตัวมนุษย์ออกไป เอาเรือมายกเป็นตัวอย่างก็ได้ เรือลำนี้ในปีแรก กับเรือลำนี้ในปีที่ ๒ และกับอีกใน ๓o ปีต่อแต่นี้ไป จะว่าเป็นเรือลำเดียวกันก็ได้ ถ้ามองอย่างเผิน ๆ แต่ถ้าพิเคราะห์อย่างละเอียด จะเห็นได้ว่าเรือลำนี้ในปีแรกกับเรือลำนี้ในปีที่สองนั้น เป็นคนละลำแล้ว มิไยต้องเอ่ยถึงออีก ๓o ปีต่อแต่นี้ไป

เรือฉันใด มนุษย์ก็ฉันนั้น ดูจากภายนอกในรอบ ๓o ปี ร่างกายก็เปลี่ยนไปมากแล้ว ยิ่งจิตใจด้วยแล้วเปลี่ยนแปลงอยู่แทบทุกขณะจิต และตามความเป็นจริง ร่างกายก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิเคราะห์เจาะลึกกันจริง ๆ แล้วจะไปติดยึดในเรื่องตัวตนหรือตัวเราได้ อย่างไร ไม่ว่าจะในทางรูปธรรมหรือนามธรรม

สำหรับนิกายเสาตรานิกะนั้น บุคคลหรือตัวตน ไม่ใช่รูป หรือนาม แต่เป็นสภาวะที่เป็นอนิจลักษณะ ซึ่งแปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ร่างกาย ธำรงคงอยู่ได้ก็เพราะมีการธำรงรักษาไว้ให้ชีวิตเป็นไปได้ จิตใจก็เช่นกัน

ฉะนั้นนิกายนี้ถือว่าอัตตามี แต่มีโดยสมมติสัตย์ ไม่ได้มีอยู่ตามสภาวสัตย์ หรือปรมัตถสัตย์ กล่าวคือจะเรียกตัวเรา ว่าสมัยก่อนเราเป็น เช่นนั้น ไม่ได้มีอยู่ตามสภาวสัตย์ หรือปรมัตถสัตย์ กล่าวคือจะเรียกตัวเรา ว่าสมัยก่อนเราเป็นเช่นนั้น สมัยแก่เป็นเช่นนั้น สมัยบวชเป็น เช่นนั้น สมัยสึกออกมาแล้ว เป็นเช่นนั้น เรา หรือ ฉัน ในที่นี้ มีประโยชน์ในทางภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นเอง ไม่มี ฉัน หรือ เรา ที่เป็น ตัวตน อย่างจริงจังแต่ประการใด

ทางธิเบตแบ่งพุทธศาสนาออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสูตรยานหรือ สาวกยาน อันได้แก่นิกายเถรวาทอย่างของเรา ซึ่งมุ่งพุทธพจน์โดย ตรง ดังจารไว้ในพระไตรปิฏกเป็นภาษาบาลี และมีอรรถกถา ฏีกา อนุฏีกา ชี้แจงแสดงพระพุทธวัจนะ และเถระเถรีภาษิตต่าง ๆ ของ พระอรหันต์ร่วมสมัยในพุทธกาล

อีกฝ่ายหนึ่งนั้นคือตันตรยานหรือวัชรยาน ซึ่งเขาถือว่าสูงส่งกว่าของเรา เพราะมีการถ่ายทอดวิถีภาวนาอย่างเป็นรหัสยะจากครูบา อาจารย์สู่ศิษยานุศิษย์ โดยไม่เปิดเผยให้คนวงนอกได้รับรู้

ทางฝ่ายธิเบตถือว่านิกายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ก็ยังเป็นฝ่ายสูตรยาน แม้นั่นจะขยับขึ้นไปเป็นมหายานแล้วก็ตาม เพราะยังเข้าไม่ถึงจิต อันละเอียดอ่อน ที่สอนให้ภาวนาได้จนเห็นแสงอันกระจ่างดังพวกปราสังฆิกะจึงยังผิดพลาดในเรื่อง บุคคล หรือ ตัวตน ที่ดำรงต่อ เนื่องกันไปจากชาติก่อนมาชาตินี้ แล้วไปอุบัติอีกในชาติหน้า

ทางฝ่ายตันตรยานถือว่า บุคคล ตัวตน เรา ฉัน นั้นเป็นเพียงสมมติสัตย์ แม้จะมีเอกลักษณ์พิเศษของบุคคลนั้น เช่น เป็นพระ เป็นผู้ชาย เป็นชาวไทย แต่นั่นก็เป็นเพียงองค์ประกอบของบุคคล ซึ่งไม่มีตัวตนคงที่ถาวร หากแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ โดยที่ทางฝ่ายตันตระนั้น ครูอาจารย์อาจสอนศิษย์ด้วยโยควิถี ให้เข้าถึงกระแสจิตอันละเอียดอ่อน และพลังทางจิตซึ่งละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง โดยที่ทั้งหมดนี้เป็นกระแสที่เคลื่อนย้ายอยู่อย่างไม่หยุดหหย่อน โดยที่กระแสจิตอันละเอียดอ่อนอย่างที่สุดนี้แลกลายเป็น แสงอันกระจ่าง ซึ่งอาจปรากฏขึ้นได้ในหลายต่อหลายโอกาส

กระแสที่ว่านี้ เริ่มแต่ต้นของกาลเวลาไปอย่างไม่มีจุดจบ ถ้าเข้าใจความข้อนี้ ก็จะตีประเด็นได้แตกในเรื่องอัตตาและตัวตน ที่ไปมัว พัวพันอยู่กับรูปนามอย่างหยาบ และกับนามขันธ์ทั้ง ๔ ( เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ) ว่านั่นเป็นเพียงสมมติบัญญัติไม่ใช่ สภาวสัตย์

ยิ่งถ้าได้ปฏิบัติภาวนาถึงขั้นสูงด้วยแล้ว บางคราวพลังชีวิตอันละเอียดอ่อนยิ่งและพลังทางจิตย่อมแสดงออกมา โดยขันธ์อย่างหยาบ ไม่ปรากฏออกมาเลยด้วยซ้ำ และถ้าไม่ระวัง จะไปหลงเอาว่ามีอัตตา ในสภาวะอันละเอียดอ่อนยิ่งนี้อีกก็ได้

ท่านไมตรีนาถอธิบายความข้อนี้โดยเปรียบเทียบกับแม่น้ำที่ไหลมาจากทุก ๆ แหล่ง แล้วลงสู่มหาสมุทรหนึ่งเดียว และในมหาสมุทรนั้น เอกลักษณ์ของแต่ละสายน้ำมลายหายสิ้นไป

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพลังทางจิตที่เป็นกระแสอันต่อเนื่องกันนั้น ก็เกิดมีขึ้นเพราะเราสมมติมันขึ้นเช่นกัน ยิ่งถ้าเข้าถึงกระแสจิตอันละเอียดอ่อนยิ่ง จะเข้าใจว่าไม่มีความคิดนึกอยู่ในนั้น เป็นอันรับรู้ได้ว่าไม่มีตัวตนหรืออัตตาแฝงอยู่ในที่ใด ๆ เลย
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



*  ๘  *

สิ่งที่เรียกว่า  สมมุติ  นั้น  ย่อมเกิดจากประสบการณ์อย่างธรรมดาของสามัญมนุษย์  ซึ่งใช้เรียกขานกันทางภาษา  เช่นว่า  ฉันไปโน่น
ฉันทำนี่  ฉันอ้วน  ฉันผอม  ฯลฯ  คำว่า ฉัน หรือ เรา  ที่ใช้กันพึงตราไว้ว่ามันไม่มีอยู่จริงตามสภาวสัตย์  หากมันมีขึ้นอยู่เพราะคำพูด
ของเรา  ที่ใช้ในการสื่อสารกันเท่านั้นเอง


ทางฝ่ายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ  ยืนยันว่า  ฉัน  หรือ  เรา  นั้น  ถ้าแยกแยะลงไปแล้ว  จะเห็นได้ว่าไม่มี 


ขอให้กลับมาพิจารณาประโยคอย่างที่ยกมาข้างบนนี้  ที่ว่า  ฉันไปโน่น  ฉันทำนี่  ฯลฯ  ถ้าปล่อยไว้แค่นั้น  เราก็นึกว่า  ฉัน  นั้นมีจริง ๆ
ทั้ง ๆ  ที่ใช้คำว่า  ฉันเพื่อสื่อให้คนอื่นรู้จักตัว  ฉัน  เท่านั้นเอง 


ถ้าลองออกนอกสมมติที่ว่านี้  แล้วพิเคราะห์ดูว่าอะไรเป็นตัวต่อเนื่อง  จนพ้นขอบเขตที่สังคมกำหนด  ก็จะเห็นได้ว่าไม่มี  ฉัน  อยู่ตาม
สภาวสัตย์ในที่ใด ๆ  เลย 


เราต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เรากำหนดขึ้นด้วยภาษานั้นไม่จำเป็นต้องมีจริง ๆ  ดังสิ่งซึ่งเราฝันขึ้น  ก็ไม่จำต้องเป็นจริงในชีวิตเรา  แม้คนส่วน
ส่วนใหญ่จะเชื่อว่า  ฉัน  นั้นมีจริง  ทัศนะของคนส่วนใหญ่นั้นไม่จำต้องถูกเสมอต้องไป


ลองพิจารณาต่อไป  ว่าถ่าเราวิเคาระห์เจาะลึกลงไปเพื่อหาสภาวสัตย์ที่เป็นปรมัตถ์ ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรปรากฏอยู่จริงตามนัยของ
สภาวสัตย์อย่างคงทนถาวรเลย 


คำว่า  ปรากฏอยู่จริงตามนัยของปรมัตถสัตย์นั้น  ฝ่ายมาธยมิกะถือว่าทุกอย่างต้องวิเคราะห์ออกให้ชัด  ดังพระนาคเสนเคยอธิบายขยาย
ความเรื่องราชรถว่าล้วนประกอบไปด้วยสิ่งต่าง ๆ  เช่น  ล้อดุม  ที่นั่ง  ฯลฯ ถ้าแยกออกไปแล้วรถก็ย่อมไม่มี  ตัวตนหรือบุคคลก็ฉันนั้น
หากเราเรียกขานขึ้นเพื่อความสะดวกในทางสื่อสารเท่านั้นเอง  ทั้ง ๆ  ที่รถมีเอกลักษณ์พิเศษ   แต่เมื่อแยกส่วนออกไป  เอกลักษณ์พิเศษ
ที่ว่านั้นก็ไม่มี


การเสนอให้ไม่ติดยึดในตัวตน  หรือเอกลักษณ์พิเศษนั้น  ฝ่ายปราสังฆิกะเสนอสามวิธีคือ ( ๑ )  บางคนอาจจะบอกว่านี่นาย  ก. แต่เราอาจ
บอกว่าไม่ใช่  เขาคือนาย  ข.  ต่างหาก  สำหรับสามัญมนุษย์ทั่วไป  ก็จำต้องถามว่าบุคคลคนนั้นคือ  นาย  ก. หรือนาย ข. กันแน่  เป็นอันว่า
ตัวตัดสินคือมหาชนหรือคนส่วนใหญ่  นอกจากสองคนเถียงกัน ( ๒ )  ใช้วิธีทางตรรกวิทยา  ( 3 )  วิธีเข้าถึงจริง ๆ  ทางปรมัตถสัตย์  โดย
ตันตระวิธี  จำเพาะวิธีนี้แหละที่ช่วยให้เข้าถึงว่านาย ก.  ก็ดี  นาย ข. ก็ดี  เป็นเพียงสมมติสัตย์


ถ้าจะใช้วิธีที่ ๔  อีกก็ยังได้  คือความเชื่อถือในบุคคลที่ควรเชื่อ  หรือเอกสารหลักฐานที่ควรเชื่อ  เช่นที่ข้าพเจ้ารู้ว่าตนเองเกิดในปี  ๒๕๗๕
ไม่ใช่  ๒๔๗๖  เพราะข้าพเจ้าเกิดเกิดเดือนมีนาคม  เวลานั้นมีนาคมเป็นปลายปี เมษายน  เป็นต้นปี  เอกสารหลักฐานเช่นนี้  ยืนยันว่าข้าพเจ้า
เกิดปี  ๒๔๗๕  แม้ว่าเมื่อเทียบกับศักราชฝรั่ง  ย่อมเป็นปี  ๑๙๓๓  ไม่ใช่ ๑๙๓๒  คือเอาเกณฑ์  ๕๔๓  มาลบออกหาได้ไม่


การที่เรารับความจริงทางวิทยาศาสตร์  ก็เพราะเราเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์มีความรู้มากกว่าเรา   เราเชื่อเขาเพราะถือว่าเขาเป็นบุคคลที่
น่าเชื่อถือ  ซึ่งอาจผิดก็ได้ถูกก็ได้ 


การแสวงหาความจริง  ในทางพุทธศาสนาของวัชรยานนั้น  ใช้วิธีการค้นหาทางด้านจิตใจอย่างพุทธวิธี  ไม่ใช่การแยกแยะหรือวิจัยในทาง
ปรากฏการณ์ของสสาร  เพื่อหากฏเกณฑ์อันเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากล  ดังวิธีวิทยาของนักวิทยาศาสตร์  ทั้งนี้เพื่อให้กฏนั้นเป็นที่ยอมรับ
อย่างเป็นเอกฉันท์  แล้วเอามาตั้งเป็นกฏเกณฑ์สำหรับทุก ๆ  คนในแวดวงวิชาการนั้น 


วิธีการเข้าถึงจิตใจในฝ่ายพุทธศาสนานั้นมีหลายทางด้วยกัน  เพราะแต่ละคนก็มีวิธีคิดที่ต่างกัน  มีความต้องการที่ต่างกัน  มีความสนใจที่
ต่างกัน  ฯลฯ  จะใช้วิธีหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงจิตใจของผู้คนอันมากหลาย  ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะกฏเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์สรุปมาได้จาก
สสาร  จากวัตถุ  ซึ่งออกจะตายตัว


ทางฝ่ายพุทธจึงใช้วิธีสังเกตกระบวนการคิดของคนนั้น ๆ  เท่าที่ปรากฏขึ้นในแต่ละคน  ยิ่งกว่าจะหาข้อสรุปมาตั้งเป็นกฏเกณฑ์อย่างสากล
ขึ้นสำหรับมนุษย์ทุก ๆ คน  เพื่อยืนยันว่ากฏเกณฑ์นี้ใช้ได้ตลอดกาล


สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรม  ยิ่งจิตเป็นสมาธิมากเท่าไร  ปัญญาย่อมสว่างขึ้นเท่านั้น  และก็จะติดยึดน้อยลงด้วยเช่นกัน  โดยผู้ปฏิบัติธรรมจะเกิด
อุปายะโกศล  จนรู้เท่าทันพลังทางร่างกายกับจิตใจ  ช่วยเชื่อมให้ร่างกายกับจิตใจบรรสานสอดคล้องกัน  คลายความเครียด  เกิดความสงบ
จนสามารถอาจใช้ภาวนาวิธีเช่นนี้มากำหนดความฝันก็ได้  ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น


การเข้าใจเรื่องความฝัน  ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องการตาย  และการเข้าใจเรื่องการตาย  ก็จะต้องเข้าใจเรื่องการมีชีวิต  กล่าวคือชีวิตดำรงคงอยู่
ก็เพราะร่างกายช่วยให้วิญญาณขันธ์  หรือตัวกำหนดกระแสของจิตดำรงอยู่  นี่ว่าเฉพาะชีวิตมนุษย์  ถ้าจะพูดให้ละเอียดออกไป  ก็ต้องเข้าใจ
ในเรื่อง  กามภพ รูปภพ และ อรูปภพด้วย  ชีวิตในภพนั้น ๆ  และการสิ้นชีวิตจากภพนั้น ๆ  ต่างกันกับชีวิตและการสิ้นชีวิตของมนุษย์  ซึ่งอยู่
ในกามภพ  เพราะในอรูปภพนั้น  ผู้ดำรงชีวิตในภพนั้น  ไม่มีรูปร่างอันหยาบกระด้างอย่างมนุษย์


พึงตราไว้ว่า  สรรพสัตว์ปรากฏรูปให้เรารับรู้ได้  จำเพาะผู้ที่มีชีวิตในกามภพและในรูปภพ  ท่านที่มีชีวิตในอรูปภพ  ย่อมไม่ปรากฏรูปให้เรา
รับรู้ได้


คนไทยสมัยนี้  แม้ที่ถือตัวว่าเป็นพุทธศาสนานิกก็ไม่เข้าใจในเรื่องพวกนี้แล้ว  ถ้าไม่ทราบว่าภพนั้น ๆ  มี  ก็ติดในรูปแบบของภพนั้น ๆ 
ไปในทางไสยศาสตร์ยิ่งกว่าพุทธศาสนา  กล่าวคือพุทธศาสนาถือว่าสรรพสัตว์ถือกำเนิดในสภาวะต่าง ๆ  กันดังนี้คือ  ( ๑ )  เทพ  ( ๒ ) อสูร
( ๓ ) มนุษย์  ( ๔ )  เดรัจฉาน  ( ๕ ) เปรต  และ  ( ๖ ) สัตว์นรก


เราจะใช้ภาษาคนภาษาธรรมตีประเด็นพวกนี้อย่างไร  ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของเรา  เกี่ยวกับตัวเรา  และเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วย  ถ้าขาด
จิตสิกขาเสียแล้ว  คำอธิบายก็เป็นไปในทางหัวสมองเท่านั้นเอง  และถ้าไม่ใช้หัวสมองก็มองเห็นสรรพสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ  อย่างไสยศาสตร์
ของพวก  พราหมณ์  หรือฮินดู  ไปได้ไม่ยากเลย


ความคิดของเราในเรื่องภพชาติต่าง ๆ  นั้นถูกย่ำยีหรือถูกทำลายลงเมื่อเราเคารพนับถือและเลื่อมใสวิธีวิทยาอย่างฝรั่ง  จนในหัวสมอง 
เราไม่รับเรื่องเทวดา  ซึ่งแตกย่อยออกไปอีกมิใช่น้อย  ดังเช่นอสูรและมนุษย์  ฯลฯ  ก็เช่นกัน  แต่ในทางอารมณ์  เรายังเชื่อเรื่องผี  และ
เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ  เป็นเหตุให้บุคคลของเราแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ  และเกิดอาการงมงายกันได้ง่าย  ดังกรณีของสมเด็จ
พระศรีสุริโยทัย  ของสมเด็จพระสุพรรณกัลยาณี   เรื่อยมาจนท้าวสุรนารี  ซึ่งเป็นสตรีในทางประะวัติศาสตร์แล้วกลายสภาพมาเป็น
เทพธิดาตามสภาวสัตย์  หรือสมมติสัตย์  หรือในทางไสยเวท  ความข้อนี้  เรายังไม่เคยอภิปรายกันซึ่ง ๆ  หน้า  ในทางพุทธศาสนาหรือ
ในทางวิธีวิทยาอย่างฝรั่ง


บุรุษในอดีตก็กลายเป็นเทพ  ถึงกับมาประทับทรง  ก็มีมิใช่น้อย  เช่น  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ( ซึ่งเรียกกันว่าเสด็จเตี่ย )  ต่อไปจน
พระจุลจอมเกล้า ฯ ( เสด็จพ่อ ร. ๕ )  ส่วนเจ้านายก่อนหน้านั้น  ที่มาประทับทรง  ล้วนตายโหงทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นพระนางเรือร่ม
( มเหสีรัชกาลที่  ๕  )  หรือเจ้าพ่อหนูเผือก( โอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี )  ส่วนสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ( ซึ่งก็ตายโหง ) เพิ่งมาปรากฏความ
ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเมื่อเร็ว ๆ  นี้เอง 


สำหรับพระในอดีต  ที่กลายเป็นเทพหรือมาประทับทรงนั้น  รวมทั้งพระพุทธรูปอย่างหลวงพ่อวัดไร่ขิง  และอย่างพระมหาเถระอย่างสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ (โต )  วัดระฆัง  และหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้


กรณีที่เอ่ยถึงนี้  ดูเป็นไปในทางไสยวิธี  ยิ่งกว่าพุทธวิธี  คณะสงฆ์เองมีทีท่าอย่างไรในเรื่องนี้  ไม่ปรากฏ 


สำหรับพุทธศาสนาอย่างธิเบตนั้น  ไม่เคยรับอิทธิพลของวิธีวิทยาอย่างตะวันตก  จนแม้จีนบุกรุกเข้าไปทำลายบ้านเมืองและผู้คน  จนองค์ทะไลลามะ
เสด็จลี้ภัยพาลออกนอกประเทศร่วมกับครูอาจารย์เป็นเรือนแสน  ก็หาได้ยอมไกล่เกลี่ยพุทธทัศนะอย่างดั้งเดิมกับวิทยาศาสตร์อย่างตะวันตกไม่
จึงน่ารับฟังทัศนะของเขา


ยกตัวอย่าง  อายุรเวทของธิเบต  เขาถือว่าร่างกายของมนุษย์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ  ๓  ประการ  คือ  ลม  น้ำดี  และเสมหะ( ซึ่งเคย
กล่าวถึงแล้ว )  ถ้าทั้งสามนี้ไม่บรรสานสอดคล้องกันด้วยดี  เท่ากับเราถูกยาพิษจากสามศรนี้เสียบแทงเอา  นั่นเป็นเรื่องในทางกาย  ยังอกุศลมูล
ทั้งสาม  ก็เป็นอีกสามศรในทางนามธรรม  ที่ทำลายจิตใจของเรา  แล้วกระทบมาถึงร่างกายของเราด้วย  กล่าวคือ  โลภ  โกรธ  หลง  นั้นเป็น
ตัวที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างร้ายแรงนัก 


นอกจากนี้  ตำราแพทย์ธิเบตบางเล่มยังถือว่าอวิชชาหรือโมหะจริตโยงไปถึงกระดูก  โลภะและอุปาทานโยงไปถึงโลหิต  ถ้าหลง  หรือโลภ
หรือโกรธ  ย่อมกระเทือนถึงร่างกาย  ไม่ให้สอดคล้องกัน  ไม่ให้สัมพันธ์กันเป็นอันดีย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย  และร้ายแรงเรื่อย ๆ  อีกด้วย
ถ้าไม่แก้ที่อกุศลมูลพร้อม ๆ  กับแก้ทางร่างกาย


นอกไปจากนี้แล้ว  ทางธิเบตยังถือว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นสัมพันธ์กับสรรพสัตว์ภายนอกตัวเราเอง  เช่นเทวดาหรือนาค  ตลอดจนเปรตหรือ
อสูร  ซึ่งดำรงอยู่บนพื้นพิภพ  หรือใต้พื้นพิภพ  อย่างในบาดาล ( ในกรณีของนาค )  แต่อาจขึ้นมาเพ่นพ่าน  และทำร้ายเราก็ได้  ถ้าเรามีจิตใจไป
ในทางอกุศล  บางทีภูติหรือผีพวกนี้อาจมาประทับทรง  หรือเกิดกรณีอย่างที่เรียกว่าผีเข้าก็ได้  โดยสรรพสัตว์พวกนี้เป็นเพียงปัจจัยย่อย  แต่ก็
ช่วยให้ขาดความสมดุลย์ในทางร่างกายและจิตใจได้ 


ใช่แต่เท่านั้น  สัมมาทิฐิหรือมิจฉาทิฐิก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเจ็บไข้หรือหายจากการป่วยไข้  นอกเหนือไปจากกรรมและวิบาก ( คือผลของ
กรรม )  ของคน ๆ นั้น 


การรักษาคนป่วยนั้น  นอกจากจับชีพจรแล้ว  ยังมีการตรวจปัสสาวะประกอบ  ซึ่งมีวิธีการซับซ้อนค่อนข้างมาก  นอกไปจากนี้  ยังมีการสำรวจ
ตรวจดูถึงความฝันของคนป่วยอีกด้วย 



เมื่อตรวจพบสมุหฐานของการป่วยแล้ว  การวางยาอย่างเดียวไม่พอ  บางทีต้องประกอบศาสนพิธีร่วมด้วย  เช่นถ้าแพทย์เข้าใจว่าเทวดามาให้
โทษก็ต้องบอกกล่าวเทวดา  ให้ยกโทษแก่ผู้ป่วย  ในหลายกรณี  การกินยาไปเป็นเวลานานแต่ก็ไม่หาย  แต่พอทำบุญอุทิศส่วนกุศลอย่างถูกต้อง
ก็หายป่วยได้ง่าย ๆ  ดังนี้เป็นต้น 


แพทย์จะรักษาคนป่วย  เท่าที่เชื่อว่าจะเยียวยาให้หายได้  แต่ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยถึงที่จะต้องตาย  แพทย์จะไม่ขืนให้ผู้ป่วยดำรงชีพอยู่อย่างทรมาณ
ให้นานออกไปอีกเลย  หากหาทางช่วย  หรืออาราธนาพระมาช่วย  ให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ  เพื่อไปเกิดใหม่อย่างเป็นสุข
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


*  ๙  *


การที่แพทย์จะรู้แน่ว่าคนไข้จักต้องตายนั้น  มีหลายวิธี  คือนอกจาก  การตรวจชีพจรแล้ว  ก็ยังมีวิธีตรวจลมหายใจโดยตรงอีก  แม้บางคนจะดูทีว่า
มีสุขภาพดี  แต่ลมหายใจสื่อให้แพทย์เห็นมรณญาณเกิดขึ้นแล้ว  ก็ช่วยเตรียมตัวตายให้ได้


สำหรับผู้ที่ชำนาญอาจบอกได้ว่าคนไข้คนนี้กำลังใกล้ตาย  หรือการตายกำลังคลานเข้ามาหาเป็นเวลาอันไม่ช้า  หรือว่าการตายยังห่างออกไป
อีกพอสมควร


ถ้าแพทย์รู้ว่าการตายใกล้เข้ามาแล้ว  ก็เป็นอันหมดหวังที่จะช่วยให้ดำรงคงชีวิตอยู่อีกต่อไป 





 @@@@@ ยังม่ายยยย โม๊ดดดด เหลืออีก หน่อย ว่าง ๆ จะมาพิมพ์ นะ คร๊าฟฟฟฟฟฟฟฟ

@@@@ ลืมไป ข้อมูล คัดมาจาก งานของ ท่าน ส.ศิวลักษณ์
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...