วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

ว่าด้วย “สุตมยญาณ” อันเป็นเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับ...

(1/2) > >>

ฐิตา:


ธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็น “สุตมยญาณ” อย่างไร
     “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ...
********************

     เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
     .....ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้
     .....ธรรมเหล่านี้ควรละ
     .....ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ
     .....ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ
     .....ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
     .....สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
     .....สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
     .....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
     .....นี้ทุกขอริยสัจ
     .....นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
     .....นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
     .....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นสุตมยญาณ [แต่ละอย่าง]
---------------------------------------

  “ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว” คือ.......
      เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า....
     ..... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
*********************************

      ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
      ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
      ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
      ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
      ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕

      ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ
อีกต่อไป] ๗
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้] ๘
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐

********************
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร”
************************

     สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร”
      สัตว์ทั้งปวง (สพฺเพ สตฺตา) ได้แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น ในเอกโวการภพเป็นต้น
     ดำรงอยู่ได้ด้วย “อาหาร” (อาหารฏฺฐิติกา) หรือ มีอาหารเป็นที่ตั้ง หมายถึง การดำรงอยู่ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอาหาร
      “อาหาร” เพราะเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวงเป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นธรรมควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เมื่อรู้ปัจจัยแล้ว ก็เป็นอันรู้ปจฺจยุปบนฺ (ธรรมเกิดแต่ปัจจัย) เพราะปัจจัย และธรรมเกิดแต่ปัจจัยทั้ง ๒ นั้น เพ่งความอาศัยกันและกัน
**********************************



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
  อาหาร ๔ เป็นไฉน
  อาหาร ๔ ได้แก่
     ..... ๑. กวฬีการาหาร (อาหารคือคำข้าวเป็นอาหารหยาบ หรือละเอียด)
     ..... ๒. ผัสสาหาร (อาหารคือ ผัสสะ)
     ..... ๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือเจตนา)
     ..... ๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)
     อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
*******************************

       อาหารของอวิชชา
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่าก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย …….
     เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของอวิชชา” ควรจะกล่าวว่า “นิวรณ์ ๕”

      แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของนิวรณ์ ๕” ควรกล่าวว่า “ทุจริต ๓”

      แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของทุจริต ๓” ควรกล่าวว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์”

      แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์” ควรกล่าวว่า “ความไม่มีสติสัมปชัญญะ”

      แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ” ควรกล่าวว่า “การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย”

      แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย” ควรกล่าวว่า “ความไม่มีศรัทธา”

      แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของความไม่มีศรัทธา” ควรกล่าวว่า “การไม่ฟังสัทธรรม”

      แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการไม่ฟังสัทธรรม” ควรกล่าวว่า “การไม่คบสัปบุรุษ”
*******************************************

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ……
      …..การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์       ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
      …..การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์      ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
      …..ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์       ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
      …..การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์  ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
      …..ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์   ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
      …..การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์       ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
      …..ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
      …..นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
      อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


มีต่อค่ะ...

ฐิตา:



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ………….
      …..เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม      ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม

      …..ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม      ย่อมยังหนองให้เต็ม
      …..หนองที่เต็ม     ย่อมยังบึงให้เต็ม
      …..บึงที่เต็ม     ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
      …..แม่น้ำน้อยที่เต็ม     ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
      …..แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม     ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
      …..มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย .........
......การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
*******************************



“อาหารของวิชชา และ วิมุตติ”
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของวิชชาและวิมุตติ ” ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ ”

      แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของโพชฌงค์ ๗” ควรกล่าวว่า “สติปัฏฐาน ๔”

      แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสติปัฏฐาน ๔” ควรกล่าวว่า “สุจริต ๓”

      แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสุจริต ๓” ควรกล่าวว่า “การสำรวมอินทรีย์”

      แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการสำรวมอินทรีย์” ควรกล่าวว่า “สติสัมปชัญญะ ”

      แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของสติสัมปชัญญะ” ควรกล่าวว่า “การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ”

      แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย” ควรกล่าวว่า “ศรัทธา”

      แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของศรัทธา” ควรกล่าวว่า “การฟังสัทธรรม”

      แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็น “อาหารของการฟังสัทธรรม” ควรกล่าวว่า “การคบสัปบุรุษ”
******************************



     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ……
     …… การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์       ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
     …… การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์       ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
     …… ศรัทธาที่บริบูรณ์       ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
     …… การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์       ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
     …… สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์       ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
     …… การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์       ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
     …… สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
     …… สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
     …… โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์       ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
      วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ
******************************************



      ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขา
     …… เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วย
ให้เต็ม
     …… ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม       ย่อมยังหนองให้เต็ม
     …… หนองที่เต็ม       ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
     …… แม่น้ำน้อยที่เต็ม       ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
     …… แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม       ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
     …… มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ... ....โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ



-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=481

ฐิตา:


                 

  “ธรรม ๒ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       ธาตุ ๒
      ธาตุ ๒ (เทฺว ธาตุโย) ได้แก่ สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ
      “ สังขตธาตุ ” ได้แก่ “ขันธ์ ๕” อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่งแล้ว
      “ อสังขตธาตุ ” ได้แก่ “พระนิพพาน” อันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้
*********************************

“ธรรม ๓ ” ควรรู้ยิ่ง คือ       ธาตุ ๓
      “ธาตุ ๓ ” (ติสฺโส ธาตุโย) ได้แก่......
     .....กามธาตุ
     .....รูปธาตุ
     .....อรูปธาตุ

     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....กามธาตุเป็นไฉน ?
     ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม
     ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า “กามธาตุ”
     ชั้นต่ำมี “อวีจินรก” เป็นที่สุด ชั้นสูงมี “เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี”เป็นที่สุด
     ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “กามธาตุ”

     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....รูปธาตุเป็นไฉน ?
     ในเบื้องต่ำมีพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด
     สภาวธรรมทั้งหลายคือจิต เจตสิก ของบุคคล....
     ......ผู้เข้าสมาบัติก็ดี
     ......ของผู้เกิดแล้วก็ดี
     ......ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี
     ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “รูปธาตุ”

     บรรดาธาตุ ๓ นั้น....อรูปธาตุเป็นไฉน ?
     ในเบื้องต่ำมีอากาสานัญจายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีเนวสัญญานาสัญายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด

     สภาวธรรมทั้งหลายคือจิต เจตสิก ของบุคคล....
     ......ผู้เข้าสมาบัติก็ดี
     ......ของผู้เกิดแล้วก็ดี
     ......ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี
     ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้
นี้เรียกว่า “อรูปธาตุ”
****************************************

      “ธรรม ๔ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       อริยสัจ ๔
      “อริยสัจ ๔” (จตฺตาริ อริยสจฺจานิ) ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ได้แก่........

     .....ทุกขอริยสัจ
     .....ทุกขสมุทัยอริยสัจ
     .....ทุกขนิโรธอริยสัจ
     .....ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

      “ทุกขอริยสัจ”
     ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ?
     .....ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขอริยสัจ” คือ .....
     .....ความเกิดก็เป็นทุกข์
     .....ความแก่ก็เป็นทุกข์
     .....ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์
     .....ความตายก็เป็นทุกข์
     .....ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
     .....ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
     .....ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
     โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

      “ทุกขสมุทัยอริยสัจ”
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ .....
     ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ประกอบด้วย....
     .....ด้วยความกำหนัด
     .....ด้วยอำนาจความเพลิน
     .....มีปกติเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

     “ทุกขนิโรธอริยสัจ”
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขนิโรธอริยสัจ” คือ .....
     .....ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรค คือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.

      “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็น “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ........
     .....สัมมาทิฏฐิ
     .....สัมมาสังกัปปะ
     .....สัมมาวาจา
     .....สัมมากัมมันตะ
     .....สัมมาอาชีวะ
     .....สัมมาวายามะ
     .....สัมมาสติ
     .....สัมมาสมาธิ
*******************************************

      “ ธรรม ๕ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       วิมุตตายตนะ ๕
     “ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ” (วิมุตตายตนะ ๕) ความว่า เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการ
     ๑. การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน
     ๒. การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่านั้น
     ๓. การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว
     ๔. การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ
     ๕. อารมณ์อันสมควรแก่กรรมฐาน ๔๐ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น


-http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=492

ฐิตา:


               

“ธรรม ๖ ”       ควรรู้ยิ่ง คือ       อนุตตริยะ ๖
                 “อนุตริยะ ๖ ”
      “อนุตริยะ” (อนุตฺตริยานิ) หมายถึง ธรรมชาติอันประเสริฐ ภาวะอันเยี่ยม สิ่งที่ยอดเยี่ยม
                    ธรรมชาติอันประเสริฐ “อนุตริยะ ๖ ”.......ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน?
     อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ คือ ...............
     .....ทัสสนานุตตริยะ ๑
     .....สวนานุตตริยะ ๑
     .....ลาภานุตตริยะ ๑
     .....สิกขานุตตริยะ ๑
     .....ปาริจริยานุตตริยะ ๑
     .....อนุสสตานุตตริยะ ๑
*************************

     .......ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ “ทัสสนานุตตริยะ” เป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

     .....ดูกรภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
     .....เป็นของชาวบ้าน
     .....เป็นของปุถุชน
     .....ไม่ประเสริฐ
     .....ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
     .....ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
     "การเห็น" นี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย

     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ทัสสนานุตตริยะ” ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ
****************************

     .......ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ “สวนานุตตริยะ” เป็นไฉน ?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ
ต่ำๆ
     ..........ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว
 
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
     “การฟัง” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ” สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
****************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ลาภานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือ
ได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      “การได้” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ” ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
********************************************



มีต่อค่ะ

ฐิตา:


                 

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิกขานุตตริยะเป็นไฉน ?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษา
ศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
     ..........ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
     “การศึกษา” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
     .....ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า "สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ" สิกขานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
***********************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ
บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      “การบำรุง” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “ปาริจริยานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ” ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ
************************************************************

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้…….
     ..........ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
     การระลึกนี้มีอยู่เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว

  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใด.......
     .....มีศรัทธาตั้งมั่น
     .....มีความรักตั้งมั่น
     .....มีศรัทธาไม่หวั่นไหว
     .....มีความเลื่อมใสยิ่ง
     .....ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
      “การระลึก” นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
     .....ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
     .....เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
     .....เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
     .....เพื่อบรรลุญายธรรม
     .....เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า “อนุสสตานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ” อนุสสตานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

     ภิกษุเหล่าใด…………
     .....ได้ทัสสนานุตตริยะ
     .....ได้สวนานุตตริยะ
     .....ได้ลาภานุตตริยะ
     .....ยินดีในสิกขานุตตริยะ
     .....ได้ปาริจริยานุตตริยะ
     .....ได้อนุสสตานุตตริยะ

     เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล
     ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ

           
      ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิ อีกต่อไป] ๗
      ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายี บุคคลครอบงำไว้] ๘
      ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
      ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือ   นิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐
- http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=492



ยังมีต่อค่ะ...

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version