ผู้เขียน หัวข้อ: แสวงหาตน :สมเด็จพระญาณสังวร  (อ่าน 1086 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
แสวงหาตน :สมเด็จพระญาณสังวร
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2013, 11:13:04 pm »




แสวงหาตน...
พระนิพนธ์...
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 89 ฉบับที่ 6 มีนาคม 2548
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ในครั้งพุทธกาล เมื่อ พระเจ้ามหากัปปินะ ทรงสละราชสมบัติ
เสด็จออกจากรัฐของพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทรงขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ

แล้วฝ่ายพระเทวีของพระองค์มีพระนามว่า อโนชา
ได้เสด็จติดตามไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทรงสอดส่ายพระเนตรหาพระราชาว่าจะประทับอยู่ไหน
ในหมู่พระพุทธสาวกที่นั่งแวดล้อมพระพุทธองค์อยู่นั้น
เมื่อไม่ทรงเห็นก็กราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า
ได้ทรงเห็นพระราชาบ้างหรือ

พระพุทธองค์ได้ตรัสถามว่า
ทรงแสวงหาพระราชาประเสริฐ
หรือว่าแสวงหาพระองค์เอง (ตน) ประเสริฐ
พระนางจึงทรงได้สติกราบทูลว่า
แสวงหาตนประเสริฐ ทรงสงบพระทัยฟังธรรมได้


ครั้งทรงสดับธรรมไปก็ทรงเกิดธรรมจักษุ
คือ ดวงตาเห็นธรรม เรียกว่าธรรมจักษุนี้
มีแสดงไว้ในที่อื่นว่าคือเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ได้แก่เห็นธรรมดาที่เป็นของคู่กันคือเกิดและดับ

จะกล่าวว่าเห็นความดับของทุกสิ่งที่เกิดมาก็ได้
ชีวิตนี้เรียกได้ว่าเป็นความเกิดสิ่งแรก
ซึ่งเป็นที่เกิดของสิ่งทั้งหลายในภายหลัง ก็ต้องมีความดับ
สิ่งที่ได้มาพร้อมกับชีวิตก็คือตนเอง
นอกจากตนเองไม่มีอะไรทั้งนั้น
สามีภริยา บุตร ธิดา ทรัพย์สิน เงินทอง ไม่มีทั้งนั้น
เรียกว่าเกิดมาตัวเปล่า มาตัวคนเดียว

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ตนแลเป็นคติ (ที่ไปหรือการไป) ของตน” ในเวลาดับชีวิต
ก็ตนเองเท่านั้นต้องไปแต่ผู้เดียวตามกรรม
ทิ้งทุกสิ่งไว้ในโลกนี้ แม้ชีวิตร่างกายนี้ก็นำไปด้วยไม่ได้

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
บุคคลผู้จะต้องตายทำบุญและบาปทั้งสองอันใดไว้ในโลกนี้
บุญบาปทั้งสองนั้นเป็นของผู้นั้น ผู้นั้นพาเอาบุญบาปทั้งสองนั้นไป
บุญบาปทั้งสองนั้นติดตามผู้นั้นไปเหมือนอย่างเงาที่ไม่ละตัว


ก็เมื่อตนเองเป็นผู้มาคนเดียวไปคนเดียว
เมื่อมาก็มาตามกรรม เมื่อไปก็ไปตามกรรม เมื่อไปก็ไปตามกรรม
ถึงผู้อื่นก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้น
คือจะเป็นสามี ภริยา เป็นบุตรธิดา เป็นญาติมิตร หรือแม้นเป็นศัตรู
ต่างก็มาคนเดียวตามกรรม ไปตามกรรม ฉะนั้นก็ควรที่ต้องรักตน
สงวนตน แสวงหาตนมากกว่าที่จะรักจะสงวนจะแสวงหาใครทั้งนั้น
คำว่า แสวงหาตน เป็นคำมีคติที่ซึ้ง

คิดพิจารณาให้เข้าใจให้ดี จะบังเกิดผลดียิ่งนัก แต่ที่จะเริ่ม
แสวงหาตน ได้ ก็ต้องได้สติย้อนมานึกถึง ตน ในทางที่ถูกที่ควร
และคำว่า แสวงหาตน หาได้ความหมายว่าเห็นแก่ตนไม่
เพราะผู้ที่เห็นแก่ตน หาใช่ผู้ที่แสวงหาตนไม่
กลายเป็นแสวงหาสิ่งที่มิใช่ตนไปเสีย

คำสอนของพระพุทธเจ้าบางคำ
ผู้ที่ขาดความไตร่ตรองอาจฉวยเอาไปในทางผิด
ดังเช่นที่ตรัสสอนให้แสวงหาตนว่าดีกว่าแสวงหาใครอื่นฉะนั้น
ท่านจึงสอนให้พิจารณาให้รู้ทั่วถึงอรรถ (ความหรือผล)
ให้รู้ทั่วถึงธรรม (ข้อธรรมหรือเหตุ) แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ท่านสอนไว้อย่างรอบคอบดังนี้ จึงควรทำความเข้าใจกันว่า
คำว่า “แสวงหาตน” มีอรรถมีธรรมอย่างไร
ที่แรกควรจะแยกคำออกไปก่อนว่า
คำนี้ประกอบด้วยคำสองคำคือ “แสวงหา” คำหนึ่ง “ตน” อีกคำหนึ่ง

คำว่า “ตน” มีอรรถคือความหมายอย่างไร
ตนหมายถึงตัวเราเองของทุกๆ คน
และหมายถึงสิ่งที่เป็นของตน หรือเนื่องอยู่กับตนด้วย
เช่นตัวเรานี้เกิดมามีชาติตระกูลเป็นอย่างนี้
ได้เล่าเรียนศึกษามีวิชาความรู้อย่างนี้ได้ทำการงานมีฐานะตำแหน่งอย่างนี้
ได้ทำกรรมดีเป็นคนดีอย่างนี้ หรือได้ทำกรรมชั่วไม่ดีเป็นคนไม่ดีอย่างนี้
ตนหมายถึงตัวเราในตัวอย่างนี้
ส่วนชาติตระกูล วิชาความรู้ ฐานะตำแหน่งการงาน

กรรมดีหรือชั่วที่ทำ เป็นสิ่งที่เป็นของตน หรือเนื่องกับตน
ในสัปปุริสธรรมข้ออัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักตน) ก็มีอธิบายโดยนัยดังกล่าว
ว่าคือรู้จักตนโดยชาติตระกูลเป็นต้น ว่าเรามีชาติตระกูล เป็นต้น อย่างนี้ๆ



คำว่า “แสวงหา” ก็คือพยายามเสาะหาค้นหาให้พบให้ได้
เพื่อที่จะเข้าใจคำว่า “แสวงหาตน” ให้ดี
ก็ควรคิดถึงเรื่องที่เป็นเหตุให้ตรัสคำนี้
สอนเรื่องหนึ่งก็คือนางอโนชาเทวี เสด็จติดตามแสวงหาพระราชสวามี
อีกเรื่องหนึ่งเมื่อต้นพุทธกาล ภัททวัคคีย์กุมาร 30 คน
เที่ยวติดตามหญิงบำเรอคนหนึ่ง ที่ลักห่อของมีค่าหนีไป
พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ แสวงหาตน ทั้งสองเรื่อง

และบุคคลในเรื่องทั้งสองก็ได้สติรับรองขึ้นทันที
ว่า  แสวงหาตน  ประเสริฐกว่า
จิตก็ถอนจากความผูกพันไขว่คว้าในบุคคลอื่นสิ่งอื่น
กลับมาตั้งสงบอยู่ได้ในทางธรรม

และก็จะได้พบตัวเองที่มีความสุขอันเกิดจากความมีจิตสงบนั้น
ข้อว่าในธรรมจะเป็นในธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
หรือในธรรมเทศนาคือคำแสดงอธิบายธรรม
หรือในทางที่ถูกที่ชอบตามเหตุผลแม่ที่เคยทราบก็ได้

เพราะถ้าจิตไม่สงบตั้งมั่นจะฟังจะอ่านธรรมหาได้ไม่
พอจิตตั้งสงบลงได้ก็จะอ่านจะฟังได้ และจะได้ปัญญาในธรรม
จะมองเห็นสัจจะในตนเอง ทั้งที่เป็นตัวทุกข์ ทั้งที่เป็นตัวเหตุเกิดทุกข์
คือความปรารถนายึดถือนี้แหละเป็นความรู้ธรรมในข้อว่า

รู้ทั่วถึงธรรม” รู้ขึ้นดังนี้เมื่อใด จิตจะสงบลงได้เมื่อนั้น

และการปฏิบัติทุกอย่างที่เป็นไปในทางข่มใจ
ให้สงบตั้งมั่นธรรมให้ได้ปัญญาในธรรม
เรียกได้ว่าเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมทุกอย่าง
แสวงหาตน
จึงหมายถึงแสวงหาธรรม ที่จะเป็นที่พึ่งดับทุกข์ของตนลงได้แล

คัดลอกมาจาก
-http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/march-48.html
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34592


Pics by...   : NaiChang Boon
: winter.brendan