ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรล่องหน :เท็ตสุเง็น  (อ่าน 6047 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทธิพลของลิ้น 《舌之因果》
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 06:53:42 pm »


อิทธิพลของลิ้น 《舌之因果》
 
ในอดีตมีพระเซนรูปหนึ่ง เขามีศิษย์เกียจคร้านเอาแต่นอนหลับทั้งวัน วันหนึ่งศิษย์ผู้นี้นอนจนสายก็ยังไม่ตื่น ทำให้พระเซนไม่พอใจ จึงต่อว่าลูกศิษย์ว่า "เวลาสายขนาดนี้ ตะวันส่องจนแม้แต่ฝูงเต่ายังพากันคลานออกนอกบึงบัวมารับแสงแดดกันหมดแล้ว เหตุใดตัวเจ้ากลับมัวแต่นอนอยู่ได้"
 
เวลาเดียวกันนั้นเอง บริเวณใกล้เคียงมีคนผู้หนึ่งที่กำลังต้องการจับเต่าไปแกงเป็นยาให้มารดาซึ่งกำลังป่วยรับประทาน เมื่อได้ฟังพระเซนบอกว่ามีเต่าออกมาจากบึง จึงได้รีบไปจับเต่ามาเชือดจากนั้นนำเนื้อมาปรุงเป็นแกงเต่า ทั้งยังแบ่งแกงเต่ามาให้พระเซนเพื่อแสดงความขอบคุณที่ชี้ทางให้อีกด้วย
 
ฝ่ายพระเซน เมื่อทราบว่าการพูดจาโดยไม่ได้ตั้งใจของตนเอง เป็นต้นเหตุแห่งการตายของบรรดาเต่าก็เกิดความรู้สึกผิดอย่างยิ่ง เพราะหากตนไม่เอ่ยปากพูดไปเช่นนั้นเต่าก็คงไม่โดนพบเห็น พระเซนจึงได้ให้คำมั่นกับตัวเองว่าต่อไปจะไม่เอ่ยปากพูดจาอีกเลยตลอดชีวิตเพื่อเป็นการชดใช้บาปที่ทำไว้ ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้ขึ้นอีกในภายภาคหน้า
 
เวลาผ่านไปไม่นาน ขณะที่พระเซนนั่งอยู่บริเวณหน้าวัด เขาพลันพบว่ามีชายตาบอดผู้หนึ่งกำลังเดินหลงทิศ มุ่งหน้าลงไปยังบึงบัวนั้น แต่จนใจที่พระเซนให้สัญญากับตัวเองเอาไว้ว่าจะไม่เปิดปากพูด จึงไม่สามารถร้องเตือนชายตาบอดได้ แต่หากไม่เอ่ยปากตักเตือน ชายตาบอดคงต้องตกลงไปในบึงบัวเป็นแน่
 
พระเซนเอาแต่ลังเลว่าจะทำเช่นไรดี ปล่อยเวลาผ่านไป ในที่สุดชายตาบอดก็เดินตกลงไปในบึงบัว จมน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา
 
เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระเซนโศกเศร้าเสียใจหาที่เปรียบมิได้ และตระหนักได้ว่าการไม่ยอมพูดจาของตนในครั้งนี้ กลับกลายเป็นการทำร้ายทำลายชีวิตผู้คนเพิ่มขึ้นอย่างน่าเสียดาย ความผิดสองครั้งที่ผ่านมาของตนคือการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด แต่กลับไม่พูดในเวลาที่ควรพูด
___________________

ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》,
慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社,
2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
18 กุมภาพันธ์ 2558



นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ส เว นิพฺพานสนฺติเก ฯ ๓๗๒ ฯ
 
ฌาน (เซน) ไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีในผู้ใด
ผู้นั้นย่อมใกล้พระนิพพาน
 
There is no concentration
For one who lacks wisdom,
Nor is there wisdom
For one who lacks concentration
In whom there are found
Both concentration and wisdom-
He indeed is in the presence of Nibbana.

10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9:22 น.
>>> F/B Sathid tongrak.