ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาสวดมนต์จิตจะห่างจาก กิเลสตัณหาอุปาทาน/หลวงตาม้า  (อ่าน 1316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



เวลาสวดมนต์จิตจะห่างจาก
กิเลสตัณหาอุปาทาน

หลวงตาม้า สอนว่า
การสวดมนต์มันไม่ธรรมดาเลยนะ มันสามารถรักษาโรคได้ แต่เราต้องทำจิตให้เป็นเนื้อเดียวกับบทสวดมนต์ให้ได้ก่อน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสวดมนต์ไปทำไหม ดูคนโบราณเขาสิ เขามีมนต์ไว้รักษาตัว
เพราะเวลาสวดมนต์จิตจะห่างจาก กิเลสตัณหาอุปาทาน
   ธาตุในร่างกายเราก็ปรับไปในทางที่ดี สมัยก่อนไม่มีใครไม่สวดมนต์ ยุคปัจจุบันไม่ทำกันติดแต่ทีวี โลกยุคใหม่กินธาตุเรา ทำให้เราเป็นโรคภัยตามหนัง เวลามันเศร้าเราก็เศร้า มันร้องให้เราก็ร้องให้ คนยุคปัจจุบันจึงอายุไม่ยืน ถ้าเราอยากให้ธาตุเรามีประโยชน์ เราต้องหมั่นสวดมนต์ให้ได้ ไม่จำเป็นต้องมาวัด ทำบ้านให้เป็นวัด สวดมนต์ที่บ้าน เสาร์อาทิตย์ก็อธิษฐานสวดมนต์เช้าเย็น อาทิตย์นึงทำได้จากวันเป็นเดือน เดือนกลายเป็นปี แล้วต่อไปเราก็จะมีฐานที่มั่นคง เขาเรียกว่าฝึกเตรียมตัวตาย ไม่ประมาท
**************************************




จงพิจารณาให้เห็นโทษของการที่จิตขาดสมาธิ ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเองอย่างไร เพราะจิตเรามันวอกแวกไปตามสิ่งยั่วยุภายนอกที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสทางกายอยู่เสมอ ทำให้สมาธิขาดและไม่แล้วจิตไม่นิ่งสักที จนกระทั่งมีไฟลนก้นหรือสถานการณ์บีบบังคับ จึงรีบทำออกจากสมาธิและมีผลต่อเรื่องงาน แล้วก็ไม่มีคุณภาพ ฉาบฉวย เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่าย

ลองกำหนดเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอนที่อยากมีอยากเป็นในชีวิตอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเราจะต้องทำอะไรให้สำเร็จหรือบรรลุอะไรให้ได้ภายในระยะเวลาเท่าไร เช่น จะทำโครงการนี้ให้เสร็จภายในกี่เดือน ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมายจะล่องลอย ไม่แตกต่างอะไรกับเรื่อที่ไร้หางเสือ หรือเศษไม้หนึ่งท่อนที่ลอยอยู่บนพื้นน้ำหากถูกลมพัดพาไปในทิศทางใดก็จะล่องลอยไปตามทิศทางนั้นไร้จุดหมาย ไร้ทิศทาง และไร้คุณค่า คำว่า "ไม่เป็นไร" เมื่อผุดขึ้นในใจใครก็ตาม นั่นคือบ่อเกิดแห่งความประมาท

ดังนั้นต้องตัดสินใจทำอะไรเพราะมีความคิดว่า "ไม่เป็นไร" ผุดขึ้นในจิตแล้ว เราต้องระวังเป็นสองสามเท่า และหันกลับมาพิจารณาความคิดดังกล่าวอีกครั้ง มองดูผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว เพื่อป้องกันภัยเวรและผลเสียที่อาจบังเกิดขึ้น

ต้องหมั่นฝึกการปลีกวิเวก สงบสติอารมณ์อยู่ในที่สงัดจะได้รู้จักการฝึกลับความคิดให้แหลมคมจนสามารถควบคุมความคิดและพฤติกรรม มุ่งไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้ ในขณะเดียวกันต้องตระหนักเสมอว่า จิตที่เฝ้ารอคอยแต่ความตื่นเต้นหฤหรรษ์นั้นจะเป็นที่มาของความเบื่อหน่ายได้ง่าย เพราะทุกครั้งที่เสพความสุขจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทบมาทางตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสจิตก็จะปรารถนาให้ได้สัมผัสกับความรู้สึกนั้นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่สามารถหามาชโลมใจได้ก็จะเบื่อง่าย และไม่เอาอะไรกับชีวิตแล้ว

การหมั่นฝึกปลีกตัวจากสังคมหรือคนในครอบครัวเพื่อมาอยู่เงียบๆ หยุดการกระเพื่อมของจิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งเพื่อจะดับพลังราคะที่สุม และ เผาผลาญอยู่ในใจเสมอ


. . .

เรียบเรียงจากคติธรรมคำสอนของ
พระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร
(หลวงตาม้า) วัดพุทธพรหมปัญโญ
(วัดถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



ชมรมรักษ์ธรรม chomromrakdham
-http://www.facebook.com/pages/ชมรมรักษ์ธรรม-chomromrakdham/134565886589151

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: เหตุเกิดของทุกข์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 07:18:17 pm »



เหตุเกิดของทุกข์
" ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ:
:- อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น ( เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม )

" ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ?
*~* ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง; แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.

:- อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น:
๑) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ตนทำเอาด้วยตนเอง " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดได้;

๒) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ผู้อื่นทำให้ " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้;

๓) สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย - ผู้อื่นทำให้ด้วย " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้;

๔) ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ " ไม่ใช่ทำเอง หรือ ใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม " แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
 
( นิทาน.สํ.๑๖/๔๐/๗๕.)
ชมรมรักษ์ธรรม chomromrakdham


วัดบางกุ้ง, โบสถ์ปรกโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก