ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร  (อ่าน 5270 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 09:14:31 am »




    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร


ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกสมาธิชื่อว่าคัมภีร์ราวสังโฆแท้

และสมัยนั้น พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์
ทรงประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง
พิจารณาอยู่อย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ
ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวต่อ พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ด้วย
พุทธานุภาพว่า
กุลบุตร หรือ กุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้งนั้น
จะพึงศึกษาอย่างไร

พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้ง
เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ
รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป ความสูญไม่อื่นไปจากรูป
รูปไม่อื่นไปจากความสูญ รูปอันใดความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น

อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความสูญอย่างเดียวกัน
ท่านสารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความสูญเป็นลักษณะ
ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร ในความสูญจึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม
ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ

ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา
จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้น ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว
แต่ยังมีกิเลสห่อหุ้มจิตอยู่ ก็เพราะยังมิได้บรรลุ คืนนั้นจึงไม่สะดุ้งกลัว
ก้าวล่วงความขัดข้องสำเร็จพระนิพพานได้ ก็เพราะความไม่มีกิเลสห่อหุ้มจิต
พระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสามทรงดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา

ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงทูลทราบมหามนต์
ในปรัชญาปาระมิตา อันเป็นมหาวิทยามนต์ อนุตตะระมนต์ อะสัมมะสมมนต์
สัพพะทุกข์ กับสมณมนต์ นี้เป็นสัจจะ เพราะไม่ผิดพลาด
มนต์ที่ท่านกล่าวไว้ ในปรัชญาปาระมิตาคือ ดูก่อนความรู้




ไป ไป ไปสู่ฝั่ง ไปให้ถึงฝั่งสวาหา


ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาจริยาในปรัชญาปาระมิตาอย่างนี้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว
ได้ประทานสาธุการ แก่พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่า
ถูกแล้ว ถูกแล้ว กุลบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร จริยาในปรัชญาปาระมิตา
อันลึกซึ้งนั้น

อันบุคคลพึงประพฤติอย่างนี้ พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลาย
ย่อมทรงอนุโมทนาอย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้จบลงแล้ว
ท่านพระสารีบุตร พระอริยะอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์บริษัท
อันมีประชุมชนทุกเหล่าและสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์
ก็มีใจเบิกบาน
ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 09:22:56 am »

 


*แบบจีน* ( ซิมเกง )

มอ ฮอ ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซิม เกง . กวน จือ ไจ ผู่ สัก .
ฮัง ชิม ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ ซือ . เจียว เกียน อู วัน ไก คง . ตู อีไช คู หงุก .

เส ลี จือ . เสก ปุก อี คง . คง ปุก อี เสก . เสก เจียก ซือ คง .
คง เจียก ซือ เสก . เซา เซียง ฮัง เสก . หยิด ฝุก ยู่ ซือ . เส ลี จือ .
ซือ จู ฝับ คง เซียง . ปุก เซง ปุก มิก .

ปุก เกียว ปุก เจง . ปุก เจง ปุก กำ . ซือ กู คง จง บู เสก .
บู เซา เซียง ฮัง เสก . บู งัน ยือ พี เสก เซง อี . บู เสก เซง เฮียง มี ฉก ฝับ .
บู งัน ไก . ไน จี บู อี เสก ไก .

บู บู เมง . หยิด บู บู เมง จิน . ไน จี บู เลา ซือ . หยิด บู เลา ซือ จิน .
บู คู จิบ หมิก เตา .บู ตี หยิด บู เตก .
อี บู ซอ เต็ก กู . ผู่ ที สัก ตอ . อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู .

ซิม บู ควง ไง . บู ควง ไง กู . บู เยา คง ปู . ยิน ลี ติน เตา มง เซียง .
กิว เกง นิบ พัน . ชาม ซือ จู ฟู .
อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู . เตก ออ เนา ตอ ลอ ซำ เมียว ซาม ผู่ ที .

กู จือ ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ . ซือ ไต เซง เจา . ซือ ไต เมง เจา .
ซือ บู เซียง เจา . ซือ บู ตัง ตัง เจา .
แนน ชี อี ไช คู . จิน สิด ปุก ฮี . กู ส่วย ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ เจา .

เจียก ส่วย เจา หวัก . กิด ตี กิด ตี . ปอ ลอ กิด ตี . ปอ ลอ เจง กิด ตี .
ผู่ ที สัก พอ ฮอ .




http://www.buildboard.com/viewtopic.php/1967/6715/126443/0/

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 09:26:16 am »



ประวัติความเป็นมา

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเป็นหนึ่งในสามพระสูตรสำคัญของมหายาน ซึ่งสอนเรื่องของความว่าง เป็นพระสูตรที่มีความยาวเพียง 268 ตัวอักษร  พระสูตรนี้ได้รับการถ่ายทอดออกเป็นภาษาจีนในราว พ.ศ.1202 โดยท่าน เฮียงจั่น หรือ ท่านพระถังซำจั๋ง โดยอาศัยต้นฉบับจากภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาหลักที่ฝ่ายมหายานยึดเป็นหลัก อยู่นั่นเอง โดยพระสูตรนี้มักเรียกสั้นๆว่า "สูตรหัวใจ" หรือ "ซิมเกง" จัดอยู่ในหมวดปรัชญา ( ในราชวงศ์เหม็งได้แบ่งพระสูตรมหายานออกเป็น 5 หมวดใหญ่คือ หมวดอวตสกะ หมวดไวปุลยะ หมวดปรัชญา หมวดสัทธรรมปุณฑริก และหมวดปรินิรวาณา ) 

ย้อนหลังขึ้นไป 2500 กว่าปี ณ.เชิงเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ คราวนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังทรงหยั่งเข้าสู่สมาธิที่ชื่อว่า "คัมภีราวสมาธิ" ท่ามกลางบรรดาพระโพธิสัตว์และพระอรหันต์สาวกจำนวนมาก ในเวลานั้นพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ได้ดำริขึ้นว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นความว่างอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้นพระอรหันต์องค์หนึ่งมีนามว่า "พระสารีบุตร"จึงได้ปรารภขอให้พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแสดงธรรมเรื่อง "ความว่าง—สุญตา" ท่ามกลางที่ประชุมนั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดพระสูตรที่ชื่อว่า "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร" หรือในสำเนียงจีน(แต้จิ๋ว)ว่า "ปัวเยียกปอลอมิกตอซิมเกง"

พิจารณาในด้านภาษาศาสตร์

คำว่า "ปรัชญา"
ในสำเนียงจีนกลางว่า "ปัว ยว่อ"
ส่วนจีนแต้จิ๋ว "ปัว เหยียก" หรือ "ปอ แย"

คำว่า "ปารมิตา"
ในสำเนียงจีนกลางว่า "ปอ หลอ มี ตวอ"
ส่วนจีนแต้จิ๋ว "ปอ ลอ มิก ตอ"

คำว่า "หฤทัย" ซึ่งแปลว่าหัวใจ
ตรงกับคำในภาษาจีนกลางว่า "ซิน"
ส่วนแต้จิ๋ว "ซิม"

คำว่า "สูตร" ซึ่งแปลว่าคาถา
ตรงกับคำในภาษาจีนกลางว่า "จิง"
ส่วนแต้จิ๋ว "เก็ง"

รวมแล้วจะได้คำออกเสียงในภาษาจีน 3 สำเนียงคือ

ปัว ยว่อ ปอ หลอ มี ตวอ ซิน จิง (ภาษาจีนกลาง)
ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ ซิม เกง (ภาษาจีนแต้จิ๋ว)
ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ ซิม เกง (อ่านตามสำเนียงคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย


ความหมายของแต่ละคำ

คำว่า "ปรัชญา" หมายถึง ปัญญา หรือ ญาณ คือการรู้แจ้งแทงตลอด
คำว่า "ปารมิตา" หมายถึง พาให้ถึงฝั่ง คือ พระนิพพานนั่นเอง
คำว่า "หฤทัย" คือ หัวใจ หมายถึง มีความสำคัญยิ่งเปรียบประดุจหัวใจ บางทีก็เป็น มหาฤทัย 

รวมความแล้ว "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร" มีความหมายว่า พระสูตรที่เน้นปัญญาเป็นสำคัญพาไปให้ถึงฝั่งพระนิพพาน

เมื่อทราบถึงความสำคัญของพระสูตรนี้แล้ว เราควรจะพิจารณาต่อไปถึงความอันลึกซึ้ง
ซึ่งอาจทำได้โดยการนำประโยคแต่ละประโยคขึ้นมาพิจารณาในเชิงธรรมะดังนี้คือ

  ๑.( กวน จือ ไจ ผู่ สัก เฮ้ง ชิม ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ ซี้ )

คำว่า กวน จือ ไจ ผู่ สัก คือพระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ( เจ้าแม่กวนอิม ) เป็นชื่อที่ท่านพระถังซำจั๋งตั้งและเขียนขึ้นเป็นครั้งแรก มีความหมายว่า ผู้มีกายและใจเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง

  ๒.( เจา เกียน โงว อุง ไก คง )

พิจารณาเล็งเห็นว่าโดยธรรมชาติที่แท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า ( ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ โดยรวมได้เป็น ๒ ลักษณะคือ รูปขันธ์ และ นามขันธ์ รูปขันธ์ก็คือ รูป ส่วน นามขันธ์ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า กาย กับ ใจ โดยรูปขันธ์ก็คือ กาย ส่วนนามขันธ์ก็คือ ใจ นั่นเอง

รูปขันธ์ คือ ร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งภายใน ภายนอก
เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกในอารมณ์ มีสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
สัญญาขันธ์ คือ ความจดจำได้ เช่นได้กลิ่นก็รู้ว่าทุเรียน แม้ไม่ได้เห็นลูกทุเรียนเลยก็ตาม
สังขารขันธ์ คืออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะเราคิดปรุงแต่งเอาเอง

วิญญาณขันธ์ คือ ความเข้าใจ เช่นเมื่อตามองเห็นแก้วบรรจุน้ำสีแดงอยู่ เรียกว่าตาเห็นรูป รู้ว่าเป็นแก้วน้ำ ( สัญญาขันธ์ ) คาดว่าน้ำจะเป็นน้ำหวาน ( สังขารขันธ์ ) รู้ว่าน้ำหวานสีแดงคือ น้ำ- น้ำตาล- และสีแดง มารวมกัน ( วิญญาณขันธ์ ) ไม่ใช่วิญญาณในความหมายที่ว่าล่องลอยคอยเข้าสิงผู้หนึ่งผู้ใดก็หาไม่

คำว่า ความว่าง หรือ สุญตา หรือ อนัตตา นั่นเอง มิใช่ว่าไม่มีตัวตนให้เห็นหรือไม่มีอยู่เลย ตามวิสัยของโลกย่อมมีอยู่ แต่เราทำใจได้ว่ามันไม่มีอยู่ คือไม่เอาใจไปยึดว่ามี เพราะถ้าไปยึดว่ามี ก็เกิด ชอบ-ชัง-หวงแหนขึ้นมา คำว่าใจว่าง มิใช่ใจที่ขาดสติไม่รู้ดีรู้ชั่ว แต่เป็นใจเหมือนคนธรรมดาเพียงแต่เอาความยึดมั่นถือมั่นออก ไม่เอาทุกสิ่งภายนอกมาเป็นอารมณ์ )

  ๓.( โต่ว เจก เชียก โค้ว แอะ )

จึงได้ก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ คือเมื่อเล็งเห็นว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างล้วนไม่คงทน ( อนิจจัง ) ล้วนเป็นความว่าง ( อนัตตาหรือสุญตา ) แม้นจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใดๆกับใจของผู้รู้อีกต่อไป คือการรู้เท่าทันตามสภาพความจริงของสิ่งนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นผู้ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง

  ๔. ( เสีย ลี่ จือ )

คำว่าแสหลี่จือ แปลได้สองความหมาย คือพระสารีบุตร และอีกความหมายหนึ่งคือ พระบรมสารีริกธาตุ แต่ในพระสูตรนี้แปลว่าพระสารีบุตร ท่านสารีบุตร เหตุที่ต้องเอ่ยนามของ ท่านพระสารีบุตร ก็เพราะท่านเป็นผู้ขอให้พระอวโลกิเตศวร ( เจ้าแม่กวนอิม ) เป็นผู้แสดงธรรมบทนี้ ดังนั้นพระอวโลกิเตศวร จึงตรัสเรียกท่านเป็นการเท้าความก่อนที่แสดงธรรมโดยละเอียดต่อไป

  ๕. ( เสก ปุก อี คง ) รูปไม่ต่างจากความว่าง


( คง ปุก อี เสก ) ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป
( เสก เจียก สี่ คง ) รูปคือความว่างนั่นเอง
( คง เจียก สี่ เสก ) ความว่างก็คือรูปนั่นเอง
( ซิ่ว เสียง เฮง เสก ) เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
( เอีย หอก หยู่ สี ) ก็เป็นดังนี้ด้วยเช่นกัน





ขอบพระคุณที่มาส่วนนี้จาก : http://www.chomrom.com/description.aspx?q_sec=93969258

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 10:48:40 am »





เมื่อทราบถึงความสำคัญของพระสูตรนี้แล้ว เราควรจะพิจารณา
ต่อไป ถึงความอันลึกซึ้ง ซึ่งอาจทำได้โดยการ
นำประโยคแต่ละประโยคขึ้นมาพิจารณาในเชิงธรรมะ
ดังนี้คือ

(ต่อค่ะ)


๖. ( เสีย ลี่ จือ ) ท่านสารีบุตร
( สี่ จู ฮับ คง เซียง ) ธรรมทั้งปวงมีความว่างเป็นลักษณะ

๗.( ปุก เซง ปุก มิก ) ไม่เกิด ไม่ดับ
( ปุก อู ปุก เจ๋ง ) ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแพ้ว
( ปุก เจง ปุก เกี้ยม ) ไม่เต็ม ไม่พร่อง

( ในข้อนี้เป็นการอธิบายขยายความในข้อข้างบน คือเน้นที่ความว่าง
-สุญตา-อนัตตา
นี้เป็นภาษาธรรม จะนึกคิดง่ายๆเหมือนภาษาที่เราพูดจากันนั้นไม่ได้
คำว่าความว่างไม่ได้แปลว่าไม่มีเลย
คือมันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ คือสภาวธรรมที่เป็นอยู่แล้วดั้งเดิม

ของสภาวะที่เรียกว่านิพพาน คือเป็นสิ่งที่ไม่มีการเกิด-ไม่มีการดับ(สิ้นสุด)
–ไม่สวยงามหรือมัวหมอง –ไม่มีส่วนที่ขาดตกไม่ครบและ
-ไม่มีความหมายว่าเต็มบริบูรณ์แล้ว ในความหมายของภาษาพูดของคน

คือเป็นสภาวะที่ไม่อาจใช้คำพูดอธิบายให้เข้าใจได้นั่นเอง
จะรู้ได้ก็โดยผู้มีจิตว่างที่แท้จริง
คือ มองทุกอย่าง-รับเอาทุกอย่างด้วย จิตว่างที่แท้จริงตามธรรมชาติ
ตัวธรรมชาติแท้ๆดั้งเดิมของมนุษย์นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า
สุญตา-อนัตตา-นิพพาน นั่นเอง )


๘.( สี่ กู่ คง ตัง บ่อ เสก )
ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป

๙. ( บ่อ ซิ่ว เสียง เฮง เสก )
ไม่มี เวทนา –สัญญา –สังขาร –วิญญาณ

๑๐.( บ่อ งั้ง ยือ พี จิ เซง อี่ )
ไม่มี ตา –หู –จมูก –ลิ้น –กาย –ใจ

๑๑.( บ่อ เสก เสียง เฮียง บี ตก หวบ )
ไม่มีรูป –เสียง –กลิ่น -รส –สัมผัส -ธรรมารมณ์

๑๒. ( บ่อ งัน ไก่ ไน จี้ บ่อ อี้ เสก ไก่ )
ไม่มีผัสสะ และวิญญาณ ในอายตนะทั้ง ๖

( ความหมายของคำว่าวิญญาณในที่นี้คือ ความรู้สึกที่ได้จาก
อายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกันเข้า คือ

ตา มองเห็น รูป เรียกว่า จักษุวิญญาณ
หู ได้ยิน เสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ

จมูก ดม กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้น ได้ลิ้ม รส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ

กาย ได้สัมผัสแตะต้อง เรียกว่า กายวิญญาณ
ใจ ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ เรียกว่า มโนวิญญาณ )


๑๓.( บ่อ บ่อ เม้ง ) ไม่มีอวิชชา ไม่มีวิชชา
(เอีย บ่อ บ่อ เมง เจ๋ง ) ไม่มีความดับลงแห่งอวิชชาและวิชชา

( ไน จี้ บ่อ เหลา ซี้ เอีย บ่อ เหลา ซี้ จิ๋ง )
จนถึงไม่มีความแก่และความตาย และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย

( คำว่า วิชชา ในที่นี้คือ ความรู้อย่างชัดแจ้งใน ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์
และแนวทางเพื่อการดับทุกข์ คือรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ นั่นเอง
ส่วนคำว่า อวิชชา ก็มีความหมายตามนัยตรงข้ามกับคำว่า วิชชา

เมื่อมีใจเป็นสุญตาหรือพิจารณาแจ้งชัดแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
เป็นความว่างอยู่แล้ว
ดังนั้นใจก็หลุดพ้นได้ถึงนิพพานแล้ว จึงไม่สนใจหรือยอมรับว่า
วิชชา แห่งการดับทุกข์เป็นเรื่องที่ต้องทำให้แจ้งอีกแล้ว

และเมื่อใจว่างแล้วก็เป็นใจที่ไม่มีอวิชชาอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงระบุว่า
ไม่มีวิชชาและอวิชชาอยู่เลย จึงไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชาและอวิชชา

เมื่อมีใจว่างเป็นวิมุติ คือหลุดพ้นแล้ว ไม่ต้องวนเวียนในวัฏฏะอีกต่อไปอีก
ดังนั้นจึงไม่มีความแก่และความตาย )


๑๔.( บ่อ โค้ว จิก มิก เต๋า )
ไม่มีความทุกข์ –สมทัย –นิโรธ –มรรค

( เมื่อมีใจเป็นสุญตาหรือพิจารณาแจ้งชัดแล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความว่างอยู่แล้ว
ดังนั้นใจก็ไม่มีทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ย่อมไม่มีเหตุที่ให้เกิดทุกข์
เหลืออยู่ต่อไป ก็ไม่ต้องมีการดับทุกข์ และไม่จำเป็นต้องมีมรรคเพื่อการดับทุกข์ )


๑๕.( บ่อ ตี่ เอีย บ่อ เต็ก )
ไม่มี ญาณ ( การประจักษ์แจ้ง ) และไม่มีการบรรลุถึง

๑๖.( อี บ่อ ซอ เต็ก กู่ )
เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอีกต่อไป

(เมื่อเป็นผู้สามารถบำเพ็ญปัญญาบารมีจนถึงสภาวะจิตว่าง หรือพิจารณาแจ้งชัดแล้วว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความว่างอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญญา หรือ ญาณ ย่อมมาถึงที่สุด
ดังนั้นจึงไม่ต้องแสวงหาปัญญาอื่นอีก และไม่ต้องขวนขวายใดๆที่จะให้บรรลุถึงอีก )


๑๗.( ผู่ ที สัก เตย ) พระโพธิสัตว์
( ฮี ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ กู่ ) ผู้บำเพ็ญปัญญาบารมี

(ในตำราจีนกล่าวว่า มีพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาย ที่ถือกันว่าอาวุโส
หรือเป็นพระมหาโพธิสัตว์นั้น มีด้วยกัน ๗ พระองค์

๑.พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ( เจ้าแม่กวนอิม ) ( กวน ซี อิม ผู่ สัก )
๒.พระมหาสถามปราปต์มหาโพธิสัตว์ ( ไต้ ซี จี้ ผู่ สัก )
๓.พระมัญชูศรีมหาโพธิสัตว์ ( บุน ชู ผู่ สัก )

๔.พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ ( โผ้ว เฮียง ผู่ สัก )
 
๕.พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ ( ตี่ ใช่ หวั่ง กวง )
๖.พระศรีอารียเมตไตยมหาโพธิสัตว์ ( หมี เล็ก ผู่ สัก )
๗.พระวัชรปราณีมหาโพธิสัตว์ ( กิม กัง ผู่ สัก )

๑๘.( ซิม บ่อ ควง ไก่ ) จิตของพระองค์เป็นอิสระจากความกังวลใดๆ
( ปอ ควง ไก่ กู่ ) ไม่ถูกผูกมัดขวางกั้น

๑๙.( บ่อ อู่ คง ปู่ ) พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ
๒๐.( เอียง ลี้ เต็ง เต้า ม่วง เซียง ) ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา
๒๑.( กิ้ว เก่ง เน็ง พวง ) ในที่สุดก็บรรลุถึงพระนิพพาน

๒๒.( ซา ซี่ จู ฮุก ) พระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๒๓.( อี ปอ เยียก ปอ ลอ มิก ตอ กู่ ) ล้วนแต่ได้บำเพ็ญปัญญาบารมีมา
ทุกๆพระองค์

๒๔. ( เตก ออ นอ ต่อ ลอ ซำ เมา ซำ ผู่ ที้ )
เพราะได้บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้วจึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณ

๒๕.( กู่ ใจ ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ ) ดังนั้น ควรได้ทราบเถิดว่า ปัญญาบารมีนี้
๒๖. ( สี่ ไต่ เซ้ง จิ่ว ) เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์
๒๗. ( สี่ ไต่ เม่ง จิ่ว ) เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่

๒๘.( สี่ บ่อ เซียง จิ่ว ) เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า
๒๙. ( สี่ บ่อ เต้ง เต้ง จิ่ว ) เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้

๓๐. ( แนน ตี่ เจก เขียก โค๋ว ) ซึ่งจะตัดเสียได้ซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
( จิง สิก ปุก ฮี ) นี่เป็นสัจจะเป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวลอย่างไม่ต้องกังขา

๓๑. (กู่ ส่วย ปัว เยียก ปอ ลอ มิก ตอ จิ่ว )
ดังนั้น จงหมั่นสวดภาวนามนต์แห่งโลกุตรปัญญานี้เถิด
๓๒. ( เจียก ส่วย จิว เฮียก ) ด้วยเหตุนี้แล

๓๓. ( กิด ที้ กิด ที้ ) จงไป จงไป
(ปอ ลอ กิด ที้ ) ไปยังฟากฝั่งโน้น

(ปอ ลอ เจง กิด ที้ ) ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง
( ผู่ ที สัก พอ ลอ ) ไปสู่ความเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ





 
เนื้อหาบทความ : มหาโพธิญาณฺณ
[ 2008-01-15 23:28:13 ]
แก้ไขและเรียบเรียง : มหาเทพ เทวาพิทักษ์
[2008-05-17 05:27]


Credit by : http://mahayarn.exteen.com/20080518/entry

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2010, 11:34:26 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 12:11:32 am »
อนุโมทนาครับพี่แป๋ม :13:
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 02:08:24 am »




*เค้ามูลปรัชญาปรามิตา*


เค้ามูลปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร จากวันนี้ย้อนไปกว่า 2500 ปีมาแล้ว ณ. เชิงเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครานั้นองค์พระศากยนีพุทธเจ้ากำลังทรงเข้าสู่สมาธิที่ชื่อว่า " คัมภีราวสมาธิ " ท่ามกลางบรรดาพระโพธิสัตว์และพระอรหันตสาวกจำนวนมากอยู่นั้น เป็นขณะเดียวกันกับที่พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ได้ดำริขึ้นว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นความว่างอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้น พระอรหันตสาวกองค์หนึ่ง ซึ่งนามว่า " ท่านสารีบุตร " จึงได้ปรารภขอให้องค์พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จงแสดงธรรมเรื่อง " ความว่าง-สุญญตา " ให้แก่บรรดาพุทธบริษัทที่ชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีกำเนิดแห่งพระสูตรที่ชื่อว่า " ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร " หรือ " ปอแยปอลอมิกตอซิมเกง " ในภาษาจีนขึ้น ซึ่งหมายความว่า " พระสูตรที่ว่าด้วยปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่จะพาไปให้ถึงฝั่ง ( พระนิพพาน ) " พระสูตรนี้ได้รับการถ่ายทอดออกเป็นภาษาจีนราว พ. ศ. 1206 โดยท่านเฮียงจั่ง ( พระถังซำจั๋ง ) โดยอาศัยต้นฉบับจากภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาหลักที่พุทธศาสนามหายานยึดเป็นหลักอยู่นั่นเอง โดยปกติพระสูตรนี้คนทั่วๆไปมักนิยมเรียกกันว่า " สูตรหัวใจ " หรือ " ซิมเกง " ในภาษาจีน

พระสูตรนี้มีขนาดสั้นมีอักษรเพียง 268 คำ ทั้งๆที่โดยความจริงตามคำบอกเล่าของท่านกุมารชีพแล้วระบุว่าพระสูตรนี้มีความยาวถึง 600 บรรพ เขียนออกเป็นหนังสือได้ถึงจำนวน 24 เล่ม เป็นพระสูตรที่จัดอยู่ในหมวดปรัชญา พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ( พระแม่กวนอิม ) เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมีจนถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว ก็พิจารณาเห็นว่าที่แท้จริงแล้ว ขันธ์ 5 นั้นเป็นสูญ ( สุญญตาหรืออนัตตาหรือความว่าง )และเมื่อสามารถมองเห็นว่า ขันต์ 5 เป็นสูญแล้ว จักช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ท่านสารีบุตร !







ใจความเป็นภาษาไทย

รูปไม่ต่างไปจากความสูญ ความสูญไม่ต่างไปจากรูป รูปคือความสูญ ความสูญคือรูปนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นความสูญเช่นเดียวกัน ท่านสารีบุตร ! ธรรมทั้งปวงมีความสูญเป็นลักษณะไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแหละ ! ในความสูญจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ไม่มีตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ( อายตะภายใน 6 อย่าง ) ไม่มีรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัสและธรรมารมณ์ ( อายตะภายนอก 6 อย่าง ) ไม่มีวิญญาณ ( ความรู้สึกรับรู้ได้ ) ในอายตะภายในทั้ง 6 ด้วย ( จักษุวิญญาณ -โสตวิญญาณ-ฆานวิญญาณ-ชิวหาวิญญาณ-กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ )

ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชาและอวิชชา จนถึงไม่มีความแก่-ความตาย และไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่ความตาย ไม่มีทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ไม่มีญาณ ( ปัญญา ) ไม่มีการบรรลุถึงซึ่งปัญญา และไม่มีอะไรต้องบรรลุอยู่ต่อไป พระโพธิสัตว์ ! เมื่อได้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีจิตที่ปราศจากอุปสรรคขวางกั้นทั้งมวล ไม่มีความขลาดกลัว หรือวิตกกังวลใดๆเหลืออยู่ต่อไปแล้ว จึงเป็นผู้มีความเห็นถูกต้องชอบธรรม ( สัมมาทิฐิ ) และกระทำกิจทั้งปวงอย่างถูกต้องโดยเสมอ

ในที่สุดก็บรรลุถึงพระนิพพาน บรรดาปวงพระพุทธเจ้าทุกๆองค์ทั้งอดีตกาล ปัจจุบันกาลและอนาคตกาล ล้วนต่างได้เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีมาด้วยกันทุกๆพระองค์ และเมื่อได้บำเพ็ญคุณธรรมนี้แล้วจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนั้นควรได้ทราบว่า ปัญญาบารมีนี้เป็นมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์ที่ไม่อาจมีมนต์บทใดมาเทียบเคียงได้ เป็นมนต์ที่สามารถขจัดทุกข์ภัยทั้งปวง และนำพาไปสู่แดนนิพพานได้แน่นอน จึงไม่ควรจะมีความกังขาใดๆต่อไปเลย ดังนั้นควรหมั่นสวดภาวนามนต์บทนี้ ด้วยเหตุนี้แล.....

จงไป-ไป-ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ไปสู่ความเป็นผู้ตรัสรู้ ไปสู่ความสงบสันติเบิกบานเกษมศานต์เถิด



หมายเหตุ*

คำว่า " กวนจือไจผู่สัก " คือ พระนามอีกพระนามหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระแม่กวนอิมฯ เป็นชื่อที่ท่านสมณะถังซำจั๋ง ตั้งและเขียนขึ้นไว้เป็นครั้งแรกในคำแปลภาคภาษาจีน ของปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร มีความหมายว่า " ผู้มีกายและใจเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวงทั้งสิ้น "

ณัฐนนท์     ผู้พิมพ์




Credit by : http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=365
Pics by : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนา สาธุธรรมค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 02:13:16 am »


http://www.youtube.com/watch?v=P2D8epuXla8&feature=player_embedded#
Prajna-paramita Hrdaya Sutram (The Heart Sutra) 般若心経
ขอบคุณ น้อง"บางครั้ง"ค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2011, 06:34:27 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 02:29:49 am »




ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร
( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )


อายาวะโลกิติซัวราโบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน
วียาวะโลกิติสมา ปัญจะสกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา
อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะสูญนิยะตา อีวารูปา
รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง
ยารูปังสา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง
อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม
อีฮาสารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา
อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลาอานุนา อาปาริปุนา
ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานาสังสการานา วียานัม
นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง
สัพพะกันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา
นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียานาวิดียา เจียโย
ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย
นาตุขา สมุดานิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ
นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม
ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา
จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส
วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม
ทรียาวะเรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา
อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิมอะบิ สัมโบดา
ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา
มหาวิทยะ มันทราอะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา
สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิเจียจัว
ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ
"คะเต คะเต ปาระคะเตปาระสังคะเตโบดิซัวฮา"


ขอบคุณน้องไอยค่ะ
Credit by : http://www.sookjai.com/index.php?topic=577.0

ออฟไลน์ (〃ˆ ∇ ˆ〃)

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 328
  • พลังกัลยาณมิตร 199
    • ดูรายละเอียด
Re: ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 09:56:41 am »

 
 :13:  อนุโมทนาสาธุค่ะ