อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส
-http://guru.sanook.com/27277/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA/-
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส
ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
สมอง ไขสันหลัง ระบบประสาทวิทยา
อาการที่เกี่ยวข้อง :กล้ามเนื้ออ่อนแรง
บทนำ
ถ้าใครติดตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วพบข่าวดังข่าวหนึ่งว่า แม่ของดาราชื่อดังท่านหนึ่งป่วยเป็น “โรคเอแอลเอส (ALS)” ท่านคงจะงงกับโรคนี้ โรคเอแอลเอส คืออะไร จะรักษาหายหรือไม่ ต้องตามอ่านบทความนี้ครับ เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งขึ้น
โรคเอแอลเอส คืออะไร?
โรคเอแอลเอส (ALS) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ย่อมาจาก Amyotrophic lateral sclerosis เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron dis ease : MND) ไม่ใช้โรคกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เนื่องจากเซลล์ประสาทนำคำสั่งในไขสันหลังส่วนหน้า และมีบางส่วนของเนื้อสมองเสื่อม จึงสูญเสียการนำคำสั่งในการทำงานมายังกล้าม เนื้อ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อขึ้น
โรคเอแอลเอสเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เกิดการเสื่อมของเซลล์นำคำสั่งได้อย่างไร เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น สารพิษ ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก สารรังสี การติดเชื้อไวรัส หรืออาจเกิดจากการเสื่อมของเซลล์เอง (อาจจากอายุ และ/หรือ มีจีน/ยีน/Gene บางชนิดผิดปกติ)
ใครมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคเอแอลเอสบ้าง?
โรคเอแอลเอสนี้ พบได้น้อยมาก ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลว่าพบมากน้อยเพียงใด ในยุ โรปพบประมาณ 2 รายต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบบ่อยกว่าผู้หญิง ไม่พบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แน่ชัด
โรคเอแอลเอสมีอาการอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคเอแอลเอส จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณ แขน มือ ขา ข้างหนึ่งข้างใดก่อน โดยอาการค่อยๆเป็นค่อยๆไป ต่อมามีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการ พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อต่างๆลีบ และมีอาการเต้นกระตุกของกล้ามเนื้อด้วย ต่อมาเป็นทั้ง 2 ข้างของร่างกาย อาการในช่วงแรกๆจะไม่ค่อยชัดเจน ผู้ป่วยอาจบ่นว่าอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงเดิน หรือหยิบจับของไม่ถนัด ร่วมกับมีกล้ามเนื้อเต้นกระตุกด้วย การดำเนินโรคจะใช้เวลาหลายเดือนถึงเป็นปี จึงมีอาการชัดเจน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติด้านความจำ ระดับความรู้สึก ตัวใดๆ รวมทั้งในการขับถ่าย แม้จะเป็นในระยะสุดท้ายของโรคก็ตาม
เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
ผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อเต้นกระตุกบ่อยผิดปกติ และ/หรือพูดลำบาก ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ ไม่ควรรอให้เป็นมาก
โรคเอแอลเอสวินิจฉัยได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคเอแอลเอสได้โดย จะพิจารณาจากลักษณะอาการผู้ป่วย คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยการรับรู้ความรู้สึกเป็นปกติ กล้ามเนื้อลีบฝ่อ ไม่ปวด ไม่ชา มีการเต้นกระตุกของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อลิ้นลีบ และมีการเต้นของกล้ามเนื้อลิ้น
ตรวจร่างกายพบกล้ามเนื้อลีบฝ่อทั่วๆไป ลิ้นลีบ มีการเต้นกระตุกของลิ้น และพบรีเฟล็กซ์ผิดปกติ
ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า (Electromyography) พบความผิดปกติที่เข้าได้กับโรคนี้
นอกจากนั้นคือ ต้องตรวจประเมินไม่พบโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน และ โรคนี้ไม่จำเป็น ต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอสมอง ซึ่งการตรวจสืบค้นเพิ่มเติมเหล่านี้ขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์ผู้รักษา
อนึ่ง โรคที่มีอาการคล้ายกับโรคเอแอลเอส เช่น
โรคไทรอยด์เป็นพิษ
โรคซิฟิลิส ระยะเข้าไขสันหลัง และ/หรือเข้าสมอง
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ
รักษาโรคเอแอลเอสอย่างไร? มีการพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร?
ปัจจุบัน การรักษาและการพยากรณ์โรคของโรคเอแอลเอส คือ โรคเอแอลเอส ยังไม่มียา หรือวิธีใดๆที่จะรักษาให้หายได้ มีเพียงยาชื่อ ริลูซอล (Riluzole) ที่พอจะชะลออาการของโรคได้บ้าง โดยสามารถชะลอภาวะหายใจล้มเหลวได้ระยะเวลาหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่ใช้ยา แต่สุด ท้ายผู้ป่วยก็จะมีอาการรุนแรงขึ้น หายใจเองไม่ไหว ต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจตลอดไป โดยส่วนใหญ่ อาการจะค่อยๆเลวลงหลังจากวินิจฉัยได้แล้วประมาณ 2-5 ปี ก็จะมีภาวะหายใจล้มเหลว และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว และการติดเชื้อในระบบต่าง ๆโดยเฉพาะในทางเดินหายใจ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะค่อยๆไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เพราะกล้ามเนื้อทุกส่วนจะอ่อนแรง และฝ่อลีบไปเรื่อยๆจนไม่มีแรงเลย ยกเว้นที่พอทำงานได้ คือ การกลอกตาไปมา และการหลับตา ลืมตา
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ชะลอการฝ่อลีบให้ช้าลง และเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน/ผลข้าง เคียงที่จะเกิดขึ้น เช่น แผลกดทับ และการสำลักอาหารและน้ำลาย ที่จะส่งผลถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ก็อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งการดูแลในโรงพยาบาลคือ การดูแลการใช้เครื่อง ช่วยหายใจ และการป้องกันการติดเชื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นถ้าทางครอบครัวมีความพร้อม ก็สามารถให้การดูแลที่บ้านได้ ซึ่งจะปลอดภัยจากภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก และต้องลงทุนซื้อเครื่องช่วยหายใจ และติดตั้งระบบออกซิเจนที่บ้าน ปัจจุบันก็มีบางครอบครัวที่สามารถทำแบบนี้ได้
ครอบครัวและผู้ป่วยควรทำอย่างไรเมื่อทราบว่าเป็นโรคนี้?
เมื่อเป็นโรคนี้ กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทุกคนต้องมีกำลังใจที่ดี ยอมรับความเป็นจริง ปรับตัวอยู่กับโรคให้ได้ ไม่ควรท้อแท้ หรือหมดกำลังใจ ในระยะแรกของโรค การออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ก็เป็นการช่วยชะลอโรคได้
อนึ่ง การดูแลรักษาที่บ้านนั้น ในระยะแรกสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว การดูแลที่บ้าน ทางครอบครัวต้องมีความพร้อมทุกอย่างดังที่กล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง ไม่ว่าจะเป็นทางจมูกหรือทางหน้าท้อง การดูแลการขับถ่าย และการเตรียมญาติและผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเมื่ออยู่บ้าน ผู้ป่วยจะมีความสุขมากกว่าอยู่โรงพยาบาล
เมื่อดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?
เมื่อผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหารบ่อยขึ้น มีไข้ หรือมีการติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่น ในทางเดินหายใจ หรือในทางเดินปัสสาวะ หรือเมื่อมีปัญหาต่างๆในการดูแลผู้ป่วย ก็ควรต้องปรึกษา แพทย์ พยาบาลก่อนนัด ซึ่งเมื่อป่วยเป็นโรคนี้ ควรต้องสอบถามแพทย์/พยาบาลล่วงหน้าถึงวิธี การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การปรึกษาแพทย์/พยาบาลทางโทรศัพท์ หรือการมาโรงพยาบาลก่อนนัดว่า ควรทำอย่างไร จะได้เหมาะสมและสะดวกทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแล
โรคเอแอลเอสป้องกันได้หรือไม่?
เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคเอแอลเอส
สรุป
อาจกล่าวได้ว่าโรคเอแอลเอส เป็นโรคเวรโรคกรรมก็ได้ แต่เราก็ต้องเข้าใจ ยอมรับธรรมชาติ และมีกำลังใจที่ดีในการอยู่กับโรคนี้
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก haamor.com
sithiphong:
ภัยเงียบจากตัวเรือดไม่ควรมองข้าม
-http://ch3.sanook.com/38919/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-
Family News Today ภัยเงียบจากตัวเรือดไม่ควรมองข้าม (นาทีที่ 10.00)
การพบตัวตัวเรือดแมลงสร้างความรำคาญในปัจจุบัน มักติดมากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการตรวจพบตัวเรือดสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในประเทศไทย กรมควบคุมโรคแนะนำดูแลความสะอาดของสถานที่สม่ำเสมอ และถูกวิธี เป็นการป้องกันกำจัดตัวเรือดที่ได้ผลดีที่สุด
นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ประเทศไทยไม่มีรายงานตรวจพบตัวเรือด ซึ่งเป็นแมลงขนาดเล็ก ดูดเลือดสัตว์และคนกินเป็นอาหาร มาหลายสิบปีแล้ว แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการตรวจเจอตัวเรือดอย่างต่อเนื่องตามโรงแรม หรือ เกสต์เฮ้าส์ เพราะส่วนใหญ่ตัวเรือดมักจะติดมากับเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงมีการขยายพันธุ์และซ่อนตัววางไข่อยู่ตามร่องไม้ หัวเตียง ใต้ที่นอน ตะเข็บที่นอน หรือโซฟา และอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวได้ ที่สำคัญยังมีการพบตัวเรือดสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในไทยด้วย
ทั้งนี้ตัวเรือดนอกจากจะก่อความรำคาญจากการกัดและรบกวนการนอนแล้ว น้ำลายของตัวเลือดยังมีพิษทิ้งรอยผื่นแดงไว้บนผิวหนัง และอาจเกิดอาการคัน อักเสบ ติดเชื้อซ้ำ หากมีอาการแพ้ ทำให้รอยแผลหายยากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ปรากฎว่าตัวเรือดเป็นพาหะนำโรคติดต่อสู่คน ซึ่งปกติตัวเรือดจะออกมาดูดกินเลือดเฉพาะในเวลากลางคืน และหลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน พบมากตามรอยแตกของอาคาร มุมอับ อาคารสาธารณะ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงแรม โดยเฉพาะสถานที่ที่ค่อนข้างสกปรก เฟอร์นิเจอร์ที่มีซอก ตะเข็บ
สำหรับการกำจัด และป้องกันตัวเรือด นายแพทย์นิพนธ์ ให้คำแนะนำว่า ควรหมั่นดูแลบ้านเรือนให้สะอาด หากมีรอยแตกแยกโดยเฉพาะห้องนอนให้ทำความสะอาด แก้ไขซ่อมแซม เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของตัวเรือด เครื่องนอนต่าง ๆ ต้องนำไปทำความสะอาด ตากแดดอยู่เสมอ
สำหรับผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เสื้อผ้าที่พบว่ามีตัวเรือดให้นำไปต้มในน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 15-30 นาที ไข่และตัวเรือดก็จะตาย จากนั้นฉีดพ่นสารกำจัดแมลงชนิดกำจัดปลวกไปตรงจุดที่พบตัวเรือด ทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ จนกระทั่งตัวเรือดหมดไป
-http://www.krobkruakao.com/-
sithiphong:
รู้เท่าทัน “โรคริดสีดวงทวาร”
-http://men.sanook.com/1082/-
ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง ริดสีดวงทวารเป็นเนื่องจากมีภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไป ในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้แนะนำเพื่อรู้ทันโรคริดสีดวงทวาร
สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระ ท้องผูก การนั่งนานๆ ภาวะตั้งครรภ์ หรืออาจส่งผลมาจากน้ำหนักตัวมาก การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไอเรื้อรัง ตับแข็ง ต่อมลูกหมากโตและผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น
ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อนจากนั้นจะมีเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปน มีก้อนที่ยื่นออกมาจากทวารขณะที่เบ่งอุจจาระ คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนัก เจ็บและคันบริเวณทวารหนัก
สำหรับวิธีการรักษาริดสีดวงทวาร
ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
- รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนักเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด อาจใช้ร่วมกับยาระบายได้
- ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวารเพื่อให้เกิดพังพืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เอง มักใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงมีเลือดออกและหัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
- ยิงยางรัดหัวริดสีดวง(Baron Gun) จะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปเองประมาณ 7 วัน
- รักษาโดยการผ่าตัด มักใช้ในระยะที่ 3,4 และริดสีดวงที่มีการอักเสบ
อาการหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร อาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 ของการผ่าตัดปกติจะมีเลือดออกไม่มากและจะหยุดเอง ถ้ามีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ หรือมีน้ำเหลืองซึ่งที่ขอบทวาร 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผล และบริเวณปากทวารหนักอาจบวมเป็นติ่ง แนะนำให้นั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น อาจถ่ายอุจจาระไม่ออกในระยะแรก
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือ ยาเพิ่มกากใย ดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีถึง 1 ชม. อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ ฝึกขับถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอและขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำให้สังเกตว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นให้รับประทานอาหารชนิดนั้นเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 ชม. ต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานๆให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
ข้อมูลโดยศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลธนุบรี
sithiphong:
ไม่อยากเป็น “โรคหัวใจ” ต้องเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
-http://club.sanook.com/59207/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B9%89/-
กรมการแพทย์แนะพฤติกรรมห่างไกลโรคหัวใจ
อธิบดีกรมการแพทย์เผย คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แนะเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากอาหารไทยไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้วันที่ 29 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์หัวใจโลก เนื่องจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่าโรคดังกล่าวมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตประชากรโลก ประชากรจำนวน 17.3 ล้านคน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2556 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คนหรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน สะท้อนให้เห็นว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่รุนแรงและต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนสำหรับอาการที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ จุกแน่นหน้าอก จะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลางมักเป็นในขณะออกกำลังกาย หลังจากหยุดออกกำลังกายอาการจะดีขึ้น มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ และอาการเจ็บนี้จะปวดร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายหรือไปที่กราม ถ้าอาการเจ็บหน้าอกนี้เป็นนานเกินกว่า 5 นาที พักแล้วไม่ทุเลาหรืออาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบพบแพทย์ มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาทำงาน หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของชีพจร มีสะดุดหรือไม่สม่ำเสมอ ที่สำคัญประชาชนจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้อง หากพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด ไม่ออกกำลังกาย ไม่กินผักผลไม้ โรคอ้วนลงพุง เช่น รอบเอว มากกว่า 36 นิ้วในผู้ชาย และมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ควรได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้นจากแพทย์
นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน งดอาหารมัน เค็ม เพิ่มอาหารพวกผัก ผลไม้ และพวกเส้นใยต่างๆ ทำจิตใจให้แจ่มใส งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อประเมินภาวะสุขภาพและระดับความเสี่ยง ซึ่งเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้
ขอขอบคุณข้อมูล จาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์ (กระทรวงสาธารณสุข)
sithiphong:
"อธิบดีกรมควบคุมโรค" พบเชื้ออหิวาเทียมในเลือดไก่ ทำโรคอาหารเป็นพิษระบาดอีสาน-เหนือ ชี้มักปะปนใน "ข้าวมันไก่-ลาบไก่"ที่มีเลือดผสมอยู่ สั่งโรงงานผลิต เร่งปรับปรุงก่อนระบาดหนัก
วันอังคาร 23 ธันวาคม 2557 เวลา 06:30 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content/regional/289192/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88_%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยกับ "เดลินิวส์" ว่า แม้ขณะนี้กรมควบคุมโรคจะขาดแคลนนักระบาดวิทยา เพราะติดปัญหาเรื่องค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในวิชาชีพ แต่จากการลงพื้นที่ของนักระบาดวิทยา 20 คน ตรวจหาอันตรายจากโรคติดเชื้อต่างๆ ตั้งแต่โรคอาหารเป็นพิษ จนถึงโรคติดเชื้อรุนแรง โดยจากข้อมูลใน จ.เชียงใหม่ พบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ย. 57 จากการตรวจสอบในเชิงลึกพบว่าเกิดจากการรับประทานข้าวมันไก่ถึง 15 เหตุการณ์ และเมื่อทบทวนรายงานการสอบสวนโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ พบเชื้ออหิวาเทียม (Vibrio parahaemolyticus) ถึง 13 เหตุการณ์ ซึ่งเกิดจากก้อนเลือดไก่ ในข้าวมันไก่ โดยเป็นเลือดไก่ที่มาจากโรงงานผลิตแห่งหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังพบการระบาดลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค.พบรายงานการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับไก่ และผลิตภัณฑ์จากไก่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ทั้งหมด 20 เหตุการณ์ จำนวน 1,410 ราย กระจายไป 7 จังหวัด ได้แก่ จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด โดยพบการระบาดมากที่สุดในเดือน พ.ย.และสงสัยมาจากอาหารที่มีเลือดไก่เป็นส่วนประกอบ อาทิ ข้าวมันไก่ ลาบไก่ที่ผสมเลือด ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งไปยังโรงงานผลิตเลือดไก่ ขอให้ปรับปรุง ซึ่งเร็วๆ นี้กรมควบคุมโรคได้เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบซ้ำ
นพ.โสภณ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่านักระบาดวิทยามีความสำคัญมาก เพราะข้อมูลข้างต้นได้มาจากการลงตรวจสอบในพื้นที่ ดังนั้น นักระบาดจึงเป็นเหมือนนักสืบที่มีความสำคัญในการทราบว่าแหล่งโรคมาจากที่ใด เพื่อป้องกันได้ตรงจุด และจากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรตรงนี้ ตนได้ทำหนังสือถึงนพ.รัชจะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ให้พิจารณาปรับค่าตอบแทนให้กับบุคลากรกลุ่มนี้ และระหว่างการพิจารณาอยู่นั้น กรมควบคุมโรคได้จัดระบบในการสร้างแรงจูงใจให้กับแพทย์ระบาดวิทยาด้วยการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงรายวันสำหรับคนลงพื้นที่ภาคสนามจากวันละ 100 กว่าบาท เป็น 200 บาทต่อวัน ขณะเดียวกันก็เร่งผลิตบุคลากรกลุ่มนี้เพิ่มด้วยการอบรมบุคลากรสายเชี่ยวชาญอื่นๆ เบื้องต้นจะพยายามให้ได้ 30-40 คน เพราะการผลิตนักระบาดระดับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง อาจจะค่อนข้างยาก.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version