อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (28/33) > >>

sithiphong:
วิธีไล่แมลงวันสารพัดสูตร ให้หมดไปจากบ้าน

-http://home.kapook.com/view97127.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           วิธีไล่แมลงวัน สำหรับคนที่กำลังถูกรบกวนจากแมลงหัวเขียว และอยากกำจัดแมลงวันให้ออกไปพ้น ๆ จากบ้านสักที วันนี้เรามีวิธีไล่แมลงวันมาบอก

           เคยเป็นไหมคะ ถึงแม้จะทำความสะอาดบ้านจนเอี่ยมอ่องเท่าไร แต่ก็ยังเผลอมีแมลงวันตัวจ้อยบินวนเวียนเข้ามาส่งเสียงคำรามเบา ๆ ให้รำคาญใจทุกที แถมยังไล่แล้วไล่อีกก็ไม่ยอมบินออกจากบ้านไปง่าย ๆ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอรวบรวม วิธีไล่แมลงวัน มาช่วยแก้ปัญหาให้คนที่กำลังหนักใจกับฝูงแมลงวันในบ้านอยู่ ลองไปดูวิธีกันเลยจ้า

วิธีไล่แมลงวัน

1. น้ำยาล้างจานผสมน้ำ

           เป็นวิธีบ้าน ๆ ที่ไม่ต้องหาซื้ออุปกรณ์จากไหน เพียงแค่นำน้ำยาล้างจานมาผสมกับน้ำเปล่าในปริมาณเท่า ๆ กัน อัตราส่วน 1 : 1 จากนั้นก็นำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ลงในกระบอกฉีดน้ำ แล้วนำไปพ่นใส่แมลงวัน จะทำให้แมลงวันหายใจไม่ออก หากไม่อยากให้ถึงตายก็พ่นแค่ละอองเบา ๆ โดยเว้นระยะห่างให้เยอะหน่อย แมลงวันก็คงเข็ดจนหนีหัวซุกหัวซุนแล้วล่ะ

2. พริกไทยป่นผสมน้ำตาลปีบ

           อีกหนึ่งอุปกรณ์ไล่แมลงวันที่มีอยู่ในครัว คือพริกไทยป่นและน้ำตาลปีบ โดยให้นำมาผสมกันให้เป็นเนื้อเหนียว ๆ แล้วนำไปป้ายลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าเพื่อวางล่อแมลงวัน จากนั้นเมื่อแมลงวันบินมาตอมพิษเผ็ดร้อนของพริกไทยก็จะทำให้แมลงวันสิ้นใจทันที

3. น้ำเชื่อมผสมพริกไทย

           วิธีที่ยากขึ้นมาอีกหน่อย คือการมองหาน้ำเชื่อมเข้มข้นที่มีความเหนียวหนืด นำมาผสมกับพริกไทย จากนั้นใส่ภาชนะแล้วนำไปตั้งไว้ในบริเวณที่แมลงวันชุม เมื่อแมลงวันบินเข้ามาตอมก็จะติดกับดักน้ำเชื่อมเหนียวหนืด และบินหนีไปไหนไม่ได้อีก

4. ยางพาราสดผสมน้ำมันพืช

           ทำกาวดักแมลงวันแบบง่าย ๆ ด้วยการใช้ยางพาราสดมาผสมเข้ากับน้ำมันพืช ให้มีความลื่นและเหนียว จากนั้นใส่ภาชนะหรือป้ายลงบนกระดาษ อาจจะวางเหยื่อล่อนิดหน่อย เช่น อาหารบูด เมื่อแมลงวันมาตอมก็จะติดกับดัก

5. น้ำส้มสายชูผสมน้ำ

           ใช้ประโยชน์จากน้ำส้มสายชูที่มีอยู่ในบ้านด้วยการนำมาผสมเข้ากับน้ำ โดยเน้นความเข้มข้นของน้ำส้มสายชูมากกว่า จากนั้นนำใส่กระบอกฉีดหรือชุบผ้า แล้วนำไปพ่นหรือทาบริเวณมุ้งลวด และจุดที่มีแมลงวันชุม กลิ่นฉุน ๆ ของน้ำส้มสายชูจะทำให้แมลงวันหลีกเลี่ยงและบินหนีไปที่อื่น


วิธีไล่แมลงวันสารพัดสูตร ให้หมดไปจากบ้าน


6. กระเทียมต้มน้ำเดือด

           ปอกกระเทียมแล้วนำไปใส่หม้อต้มน้ำให้เดือด จากนั้นกิ่งไม้เล็ก ๆ มาแช่ลงไปในน้ำกระเทียมที่ต้มเดือดแล้ว แช่ทิ้งไว้จนแน่ใจว่ากลิ่นจะติดกิ่งไม้ได้นาน ก็นำขึ้นไปปักไล่แมลงวันในจุดที่ชุกชุม กลิ่นฉุนของกระเทียมจะทำให้แมลงวันไม่อยากเข้าใกล้

7. รวมมิตรผักกลิ่นฉุน

           ระดมนำเอาผักสดกลิ่นฉุน เช่น ต้นหอม กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ หั่นให้กลิ่นออกแล้วนำไปวางไว้ตามหน้าต่าง หรือโซนที่คิดว่าแมลงวันชอบมาป้วนเปี้ยน กลิ่นฉุนตามธรรมชาติที่ถูกผนึกกำลังกันของผักสด จะทำให้แมลงวันเหม็นจนไม่อยากผ่านเลย

8. เผาเปลือกส้มตากแห้ง

           เปลือกส้มแห้งสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ไล่แมลงวันได้ เพียงแค่นำมาเผาให้เกิดควัน เพื่อให้แมลงวันบินหนีไป และนอกจากจะช่วยไล่แมลงวันได้แล้ว กลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ้านยังถูกกำจัดออกไปได้ด้วย

9. ตะไคร้หอม

           เรามักจะคุ้นเคยกับสรรพคุณไล่ยุงของตะไคร้หอม แต่จริง ๆ แล้วตะไคร้หอมก็สามารถนำมาไล่แมลงวันได้ไม่ต่างกัน เพียงแค่จุดเตาดินเผาเหมือนที่ใช้ในสปา จากนั้นก็นำตะไคร้หอมใส่ลงไปเผาให้เกิดควัน กลิ่นหอมปนฉุนของตะไคร้หอม จะช่วยไล่แมลงวันและกำจัดยุงได้ในคราวเดียวกันเลย

10. น้ำหมักเหล้าขาว

           สูตรนี้เป็นสูตรจัดหนักที่จะใช้ปราบแมลงวันให้สิ้นซาก ด้วยการนำ เหล้าขาว 40 ดีกรี 1 ขวด, น้ำส้มสายชู 2 ขวด, กากน้ำตาล 1 ลิตร, น้ำเปล่า 6 ลิตร และ EM สูตรขยาย 1 ลิตร นำมาผสมให้เข้ากันแล้วหมักไว้ 21 วัน

           เมื่อถึงเวลาให้นำมาใช้ครั้งละ 15 ซีซี ผสมกับน้ำอีก 1 ลิตร หรือลองปรับให้น้อยลงในกรณีที่ใช้น้อย จากนั้นให้นำไปฉีดพ่นแหล่งกำเนิดแมลงวัน จะทำให้ไข่ฝ่อจนหมด นอกจากนี้น้ำหมักที่เหลือ ยังสามารถนำไปฉีดพ่นต้นไม้ในสวนให้งามไม่มีแมลงรบกวนได้อีกด้วย


           ได้รู้จักกับวิธีไล่แมลงวันพร้อมสูตรต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะช่วยให้แมลงวันที่คอยกวนใจหมดไปจากบ้านของคุณสักทีนะคะ

sithiphong:
สเปรย์ฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงเป็นทางเลือกของผู้บริโภคหลายราย เนื่องจากสะดวกใช้งาน สามารถกำจัดแมลงต่าง ๆ ได้ ยาฆ่าแมลงประเภทสเปรย์ฉีดพ่นจะมีฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นพิษ
วันเสาร์ 4 ตุลาคม 2557 เวลา 00:00 น.



-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/271218/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84-



ปัจจุบันเราจะพบเห็นสินค้าหลากหลายชนิดที่มีการบรรจุในกระป๋องสเปรย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใช้งานเพียงแค่กดหัวฉีดก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายดาย โดยกระป๋องสเปรย์ที่ใช้บรรจุสินค้านั้นจะมีการอัดก๊าซบางชนิดเข้าไปเพื่อเป็นแรงขับดันให้ผลิตภัณฑ์ถูกฉีดพ่นออกมา โดยเฉพาะสเปรย์ฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย

สเปรย์ฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงเป็นทางเลือกของผู้บริโภคหลายราย เนื่องจากสะดวกใช้งาน สามารถกำจัดแมลงต่าง ๆ ได้ ยาฆ่าแมลงประเภทสเปรย์ฉีดพ่นจะมีฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นพิษ ถ้าหากสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนัง ตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase ซึ่งส่งผล อย่างรวดเร็วต่อระบบประสาททำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภายใน 72 ชั่วโมง ปกติยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos, dichlovos หรือ DDVP พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัดปลวก มด และมอด

ปัจจุบันผู้ผลิตได้มีการเติมสารต่าง ๆ เช่น กลิ่นผลไม้ กลิ่นดอกไม้ และกลิ่นหอมต่าง ๆ ผสมลงในสารเคมีกำจัดแมลง อาจทำให้เข้าใจว่า สเปรย์ฉีดพ่นกำจัดแมลงดังกล่าว ไม่เป็นอันตราย ซึ่งจริง ๆ แล้วยาฆ่าแมลงจะถูกสะสมไว้ในเซลล์ไขมัน เนื่องจากโมเลกุลของยาฆ่าแมลงนี้เป็นสารพิษร่างกายจะนำไขมันไปล้อมสารพิษไว้และเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เพื่อไม่ให้ออกมาทำอันตรายต่อร่างกายซึ่งระบบร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลงเหล่านี้โดยตรง ได้แก่ ตับ ไต และระบบประสาท ผลจากการได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงสะสมเป็นเวลานาน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พันธุกรรมบกพร่อง เป็นหมัน ตับถูกทำลาย โรคผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน และโรคไต

ดังนั้นการใช้ผลิตภัณฑ์ยากำจัดแมลง ผู้บริโภคจะต้องอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนการใช้งาน ควรสวมเครื่องป้องกันตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนังที่สำคัญอย่าฉีดพ่นในห้องที่มีเด็ก ผู้ป่วย ผู้อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งในบริเวณที่มีอาหารและบริเวณที่มีเปลวไฟ ควรจัดเก็บในที่มิดชิดห่างไกลมือเด็กหลังจากมีการฉีดพ่นควรปิดห้อง ไว้สักระยะหนึ่ง เพื่อให้ละอองสารเคมีกำจัดแมลงที่กระจายในอากาศเจือจาง แล้วค่อยทำความสะอาดพื้นห้องควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากการฉีดพ่น ส่วนภาชนะที่บรรจุผลิตภัณฑ์เมื่อใช้หมดแล้ว ให้นำไปฝังดินห้ามนำไปเผาเพราะอาจจะทำให้เกิดระเบิดได้.


http://www.dailynews.co.th/Content/economic/271218/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87++-+%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%84

.

sithiphong:
8 โรคที่มักแถมมาจากโรงพยาบาล
(ผู้หญิงถึงผู้หญิง)
-http://ch3.sanook.com/37195/8-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2-

เรามีชีวิตอยู่ในโลกที่มีเชื้อโรคห้อมล้อมอยู่ตลอดเวลา ยิ่งโรงพยาบาลด้วยแล้ว ก็มีเชื้อโรคมากมาย แถมยังเป็นเชื้อก่อโรคด้วย  มีการพบเชื้อโรคบนเสื้อกาวน์ บนหูฟังของแพทย์ บนเตียงคนไข้ เวชระเบียน และในโรงพยาบาลชั้นยอดที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในห้องคนไข้ก็พบเชื้อโรคมากบนคีย์บอร์ด คนไข้ที่เข้าพักในโรงพยาบาลเพียง 1 วัน จะมีเชื้อโรคของโรงพยาบาลติดตัวไปอยู่นาน 2 สัปดาห์ คนนอนโรงพยาบาลติดเชื้อมากกว่าคนอยู่บ้าน การเข้านอนในโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นจึงไม่มีผลดี   และต่อจากนี้คือ โรคที่มักจะติดมาจากการไปโรงพยาบาล

1. ไข้หวัดใหญ่
คนป่วยด้วยโรคนี้กันมาตลอดทั้งปี แล้วที่ที่คนเป็นหวัด มักไปชุมนุมกันอย่างคึกคัก ก็คือ ห้องรอตรวจ หรือโอพีดี ของโรงพยาบาลนั่นเอง

2. ไข้หวัด เจ็บคอเสียงเป็ดเรียกพี่
คนไข้ที่ติดเชื้อนี้จะมีทั้งเจ็บคอและเสียงเปลี่ยน การได้รับเชื้อมาก็ง่ายแสนง่าย แค่นั่งอยู่ใกล้ ๆ คนป่วย โดยเฉพาะอยู่ในห้องแอร์ ที่แบ่งกันหายใจด้วยอากาศเก่า ๆ

3. ปอดติดเชื้อ
มีหลักฐานที่แน่นหนาว่ามากจากโรงพยาบาลโดยตรง ถึงขนาดมีชื่อเรียกสามัญประจำโรคว่า “ปอดติดเชื้อจากโรงพยาบาล” โดยคนป่วยเป็นโรคนี้มักเกิดจากไป “แอดมิท” หรือนอนค้างอ้างแรมที่โรงพยาบาล

4. มือเท้าปาก (Hand Foot Mouth disease)
สามารถติดได้จากการสัมผัสและการหายใจ สิ่งที่น่ากลัวของโรคที่ว่านี้ คือ เป็นเชื้อ ไวรัส ที่ไม่มียารักษา

5. สุกใส (อีสุกอีใส)
มันติดได้ทางอากาศและการสัมผัสขอเพียงแค่มีสะเก็ดของสุกใสขนาดจิ๋ว ที่ลอยอ้อยอิ่งอยู่ในอากาศ ก็สามารถที่จะพาเชื้อไวรัส ติดปีก ไปติดได้ไกลแล้วผ่านระบบท่อแอร์ของโรงพยาบาล

6. เชื้อสวาปามเนื้อ (Flesh-eating bacteria)
ชื่อจริงของมันก็คือ เชื้อดื้อยา “เอ็มอาร์เอสเอ (MRSA)” เป็นเชื้อดื้อยาที่มีสิทธิ์มาติดคนไข้ที่มานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ อาการของมัน คือ จะมีไข้สูงอุกอาจมาก อาจจะมีจุดที่ผิวหนังให้เห็นได้ โดยมีรอยแดงกว้างแล้วจากนั้นไม่นานเชื้อก็จะลามลึกไปในผิวหนังจนทำให้เกิดเนื้อตายเป็นวงใหญ่

7. โรคที่เกิดกับลำไส้
โรคนี้คือ “ท้องเสียจากการให้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป” โดยเชื้อโรคนี้จะล่องลอยอยู่ในโรงพยาบาล แล้วเมื่อคนไข้ที่นอนรักษาตัวอยู่บริโภคเข้าไปโดยไม่รู้ตัวผ่านทางอาหาร (เพราะเล็กมากมองไม่เห็น) ก็จะทำให้เกิดลำไส้ติดเชื้อ

8. เยื่อหุ้มสมองติดเชื้อลุกลามในเลือด (Meningococcal disease)
ทำให้เด็กที่ติดเชื้อนั้นเสียชีวิตแทบทั้งหมด ส่วนรายที่รอดได้ก็จะต้องตัดแขนตัดขาส่วนที่ติดเชื้ออกไปเพื่อช่วยชีวิต โรคนี้ไม่พบบ่อยแต่ว่าน่ากลัวมาก เพราะว่าทำให้ตายแทบทุกราย


sithiphong:
กรมอนามัยเตือน กินเนื้อสัตว์ร้านปิ้งย่าง ระวังเป็นไข้หูดับ

-http://ch3.sanook.com/37915/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-

-http://www.krobkruakao.com/-



Family News Today  กินเนื้อสัตว์ร้านปิ้งย่าง ระวังเป็นไข้หูดับ (นาทีที่ 00.12)

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนกินอาหารประเภทปิ้ง ย่าง หรืออาหารประเภทรมควันในช่วงหน้าหนาว เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหูดับ

กรมอนามัย เปิดเผยถึงการกินอาหารประเภทปิ้ง ย่างเพื่อคลายหนาวเสี่ยงโรคมะเร็ง ว่า ในขณะนี้หลายๆ พื้นที่ในประเทศไทยเริ่มหนาวเย็นลง ซึ่งนอกจากการใส่เสื้อผ้าที่หนาเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายแล้ว ในส่วนของการกินอาหารก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพราะในช่วงนี้ประชาชนส่วนใหญ่มักเลือกอาหารประเภทปิ้งย่างเป็นเมนูสำหรับคลายหนาว

ทั้งนี้กรมอนามัย เตือนประชาชนให้งดรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น หมูกระทะที่ปิ้งย่างไม่สุก จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุก ลาบ หลู้ หมูดิบ เนื่องจากในช่วงนี้ฟาร์มหรือโรงเลี้ยงสัตว์มีความอับชื้น ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะหมูซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เป็นสาเหตุของโรคไข้หูดับ ที่มักติดมาสู่คนได้และมีอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค  ระบุว่า  ผู้ป่วยโรคไข้หูดับส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานที่มักดื่มสุราร่วมกับการรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ โดยเชื้อแบคทีเรียจจะอยู่ในทางเดินหายใจ และกระแสเลือดของหมูที่กำลังป่วย ติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย ทางเยื่อบุตา และจากการรับประทาน หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจอักเสบประสาทหูอักเสบและเสื่อมจนหูหนวก

sithiphong:
“มะเร็ง” หายขาดได้ ถ้ารักษาเร็ว

-http://club.sanook.com/64771/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81/-


“มะเร็ง” หายขาดได้ ถ้ารักษาเร็ว

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระดมแพทย์ทั่วประเทศ พัฒนาศักยภาพรักษาผู้ป่วยมะเร็ง พร้อมระบุมะเร็งหลายชนิด  อาทิ มะเร็งเต้านม  มะเร็งลูกอัณฑะ  มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว หากตรวจพบในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาหายได้


นายแพทย์ภาสกรชัยวานิชศิริ    รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ว่า  โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิต  จากโรคมะเร็ง ปีละประมาณ 60,000 รายหรือเฉลี่ย 7   รายต่อชั่วโมง และยังคงพบอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมะเร็งที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกในเพศชาย คือ มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ส่วน  3  อันดับแรกในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี  ซึ่งการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต้องใช้ระยะเวลาต่อเนื่อง และเสียค่าใช้จ่ายสูง  จึงส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโรคมะเร็ง  รวมทั้งเพื่อให้ผลลัพธ์จากความก้าวหน้าทางวิชาการ  มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์การควบคุมโรคมะเร็งระดับชาติ   ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงานของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข  คือ การลดอัตราการเกิด และการตายจากโรคมะเร็ง ทำให้ประชาชนชาวไทยห่างไกลจากโรคมะเร็ง ยกระดับการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง ดังนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ   จึงร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งภูมิภาค 7 แห่ง ของกรมการแพทย์ จัดประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติในหัวข้อ “National Strategies to Nationwide Cancer Care” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ในหลากหลายสาขา จำนวน 800 คน จากทั่วประเทศ   มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ได้ทราบถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และวิทยาการต่าง ๆ ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคมะเร็ง  รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

นายแพทย์วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ  ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นกลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ มากกว่าปกติ ให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองและในที่สุดก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะเหล่านั้นผิดปกติโดยมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ 3 ประการ คือ หนึ่ง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม  ยารักษาโรค  รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด สอง ปัจจัยจากพฤติกรรม  เช่น การสูบบุหรี่  ดื่มสุราเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและไหม้เกรียมเป็นประจำและสุดท้ายปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น ความผิดปกติของยีน  และความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน

ในปัจจุบันแพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ และทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอัตรารอดชีวิตที่ยาวนานมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ  เพราะมะเร็งระยะเริ่มแรกย่อมมีการตอบสนองต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายขาดมากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย  ดังนั้น  การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญ

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็ง มีหลักการง่าย ๆ คือ  ออกกำลังกายประจำ ทำจิตแจ่มใส กินผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของมื้ออาหาร  กินอาหารให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก จำเจ และใหม่สด สะอาด ปราศจากเชื้อรา ไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง  อาหารปิ้งย่างหรือทอดไหม้เกรียม  อาหารหมักดองเค็ม และปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบ ๆ รวมทั้งไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา  ไม่มีเซ็กซ์มั่วหรือไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย  ไม่อยู่กลางแดดนานๆ  และที่สำคัญคือตรวจร่างกายเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์
ภาพประกอบจาก istockphoto.com

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version