อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (10/33) > >>

sithiphong:
เทคโนโลยีซินโดรม คุกคามคุณอย่างเงียบๆ!



Weekly C3

เทคโนโลยีซินโดรม

เทคโนโลยีซินโดรม โรคที่กำลังคุกคามชาวไซเบอร์ยุคใหม่ ผู้ชื่นชอบการเสพติดเทคโนโลยี ว่าแต่…คุณเองก็กำลังป่วยด้วยหรือเปล่านะ?

สมัยนี้กลายเป็นยุคที่คนใช้ “ดวงตา” จ้องหน้าจอ ใช้ “มือ” ถือแท็บเล็ต และใช้ “นิ้ว” จิ้มและลากสมาร์ทโฟน มองไปทางไหนก็เห็นแต่คนก้มทำพฤติกรรมแบบนี้ไปหมด ไม่ว่าจะกำลังนั่งรอรถเมล์ กำลังนั่งทานอาหาร ขับรถ เดินอยู่ข้างถนน เลยไม่แปลกใจที่เราจะได้ยินคนใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวเองบ่นว่า รู้สึกเคืองตา ปวดตา เจ็บมือ เจ็บนิ้วอยู่บ่อย ๆ อาการเหล่านี้เป็นภัยสุขภาพแบบใหม่ที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” และกำลังคุกคามชาวไซเบอร์อยู่อย่างเงียบ ๆ

น่าตกใจไม่น้อยที่ในช่วงระยะหลังมานี้มีผู้ป่วยตั้งแต่เด็กเล็กยันผู้สูงอายุ เข้ารับการรักษาด้วยโรคเทคโนโลยีซินโดรมจำนวนมาก และยังมีผู้ป่วยอีกมากที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองป่วยด้วยอาการดังกล่าว วิธีการสังเกตอาการของโรคเทคโนโลยีซินโดรม เพื่อให้ตรวจสอบกันว่า ตัวคุณ หรือคนข้าง ๆ เข้าข่ายด้วยหรือไม่ ซึ่งจะมี 3 อาการหลัก ๆ คือ

1. ดวงตามีปัญหา

ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บตา ดวงตาล้า  ตาช้ำ ตาแดง แสบตา ก็สามารถเกิดขึ้นได้ หากใช้คอมพิวเตอร์ หรือจ้องจอนานเกิน 25 นาทีขึ้นไป รวมทั้งการวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ระดับที่เหมาะสมกับสายตา หรือปรับความสว่างหน้าจอไม่เหมาะสม หากดวงตาตรึงอยู่กับหน้าจอแบบนี้เป็นเวลานาน จะเกิดอาการเกร็ง มีผลกระทบต่อระบบของการกรอกตา และยังทำให้ระบบกล้ามเนื้อและประสาทผิดปกติด้วย

2. มีอาการทางกล้ามเนื้อกระดูก

ถ้าใครเป็นคนที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ แล้วยังนั่งไม่ถูกท่า ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อยู่ทุกวัน สุดท้ายแล้วอาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดนิ้วมือ ตามมาอย่างแน่นอน

3. เสพติดเทคโนโลยี

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ลองไม่ได้หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาเช็กเฟซบุ๊กสัก 10 นาที ก็รู้สึกกระวนกระวายแล้ว หรือโพสต์ภาพไปเมื่อกี้ก็ว้าวุ่นใจอยากรู้ว่าจะมีใครมากดไลค์หรือยังนะ หรือแม้เพียงเข้าอินเทอร์เน็ตไม่ได้เพียงแค่ไม่กี่นาทีก็รู้สึกหงุดหงิดสุด ๆ จนกลายเป็นความเครียด แบบนี้เข้าข่ายเป็นคนติดเทคโนโลยีแล้ว เพราะไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่ห่างจากโลกไซเบอร์ได้เลย

ส่วนใครที่มีอาการติดเทคโนโลยีแบบว่าอยู่ห่างแทบไม่ได้เลย คุณหมอ ก็แนะนำให้หากิจกรรมอื่นทำบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ออกไปเที่ยว ไปออกกำลังกาย อย่าเอาแต่จ้องหน้าจออย่างเดียว และถ้าไม่อยากปวดตาก็พยายามพักสายตาประมาณ 1-5 นาที หลังจากเล่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนทุก ๆ 25-30 นาที เพื่อให้สายตาไม่อ่อนล้าจนเกินไป

 


sithiphong:
ท้องเสียคร้ังต่อไปคิดถึง “ฝรั่ง”

-http://club.sanook.com/17580/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%96-




ใครที่มีอาการท้องเสียบ่อย ๆ  วันนี้มีวิธีรักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่งมาบอก

นำใบฝรั่งมาล้างน้ำให้สะอาด ประมาณ 10-15 ใบ แล้วโขลกพอแหลก ใส่น้ำ 1 แก้วใหญ่ นำไปต้มใส่เกลือ พอเดือดยกลงนำมาดื่มแทนชา ได้ผลดี

นำผลฝรั่งอ่อน ๆ มาฝานเอาแต่เปลือกกับเนื้อ ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วกินรวมกัน หรือจะใช้ต้มดื่มเป็นน้ำฝรั่งก็ได้

นำใบฝรั่งสดที่ไม่อ่อน และไม่แก่เกินไป มาตัดหัวตัดท้าย แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้สักครู่ ตักน้ำที่ได้จากการแช่ใบฝรั่ง มาจิบทีละนิด ก็ช่วยรักษาได้เช่นกัน แต่อย่าจิบมากจนเกินไป อาจทำให้ท้องผูกได้ ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติกันได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.

ภาพประกอบจาก www.photos.com

sithiphong:
7 วิธีปฏิบัติตัวป้องกันมะเร็ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 ธันวาคม 2556 17:44 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000156641-

    ขึ้นชื่อว่า "มะเร็ง" ใครๆก็ไม่อยากเป็น ทว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างกลับเอื้อต่อการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ อย่างมาก ซึ่งขอเพียงเราปรับพฤติกรรมสุขภาพและการบริโภคให้เหมาะสมก็จะสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ 30-40% ของโรคมะเร็งทั้งหมดได้ รวมไปถึงป้องกันโรคหัวใจ ฏรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุนได้ด้วย

ทั้งนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้แนะนำวิธีการปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ 7 วิธี คือ
       
       1.ไม่สูบบุหรี่ เพราะมีผลวิจัยที่ชัดเจนว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน นาน 10 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งปอด 8-10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และที่สำคัญ 80% ของมะเร็งปอดล้วนเกิดจากการสูบบุหรี่ทั้งสิ้น ขณะที่ผู้สูบบุหรี่หากหยุดสูบก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ 60-70%
       
       2.ไม่ดื่มสุรา หรือดื่มแค่พอควรถ้ามีความจำเป็น นั่นก็คือดื่มไม่เกินปริมาณของ Ethanol 20 กรัม/วัน หรือประมาณวันละ 1 แก้ว เพราะการดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของ Ethanol ต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง 9 เท่าของผู้ไม่ดื่ม ที่น่ากลัวคือถ้าดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของ Ethanol ต่อวัน และสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวันด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง 50 เท่า
       
       3.ปรับพฤติกรรมการกิน โดย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย โดยกินอาหารที่หลากหลาย อย่ากินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเป็นประจำ เพื่อให้ได้สารอาหารต่างๆ ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการและหลีกเลี่ยงการสะสมสารพิษจากอาหาร รวมไปถึงควรเลือกกินอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ งา ข้าวโพด ข้าวกล้อง มันฝรั่ง และกินผักผลไม้สดให้มากเป็นประจำตามฤดูกาล ประมาณวันละ 500 กรัม หรือมากกว่าครึ่งของปริมาณอาหารที่กินจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ 20%
       
       นอกจากนี้ ควรเลือกกินอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยในผู้ชายผู้ใหญ่ควรได้พลังงานวันละ 2,000 แคลอรี ผู้หญิง 1,600 แคลอรี และได้รับไขมันไม่เกิน 25-30% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดต่อวัน กินอาหารที่เค็มน้อยและหวานน้อย โดยกินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัมในอาหารทั้งหมดของแต่ละวัน กินน้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน ที่สำคัญอาหารที่มีสารก่อมะเร็งควรกินให้น้อยลง เช่น เนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง รมควัน หากก่อด้วยกระดาษอลูมิเนียมจะช่วยลดสารก่อมะเร็งได้ อาหารหมักดองเค็มและเนื้อสัตว์เค็มตากแห้ง อาหารที่มีเชื้อราขึเน การกินปลาสุกๆดิบๆ และการกินเนื้อสัตว์สีแดง เช่น วัว หมู ในปริมาณมากเป็นเวลานาน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ควรกินเกิน 80 กรัมต่อวัน ที่ขาดไม่ได้คือควรดื่มน้ำประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน
       
       4.หลีกเลี่ยงการสูดควัน ทั้งจากการเผาไหม้ของน้ำมัน ถ่านหิน ถ่านไม้ หรือจากการทำอาหาร
       
       5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมตามร่างกายและวัย เช่น เดินเร็วๆ วันละ 1 ชั่วโมง ทำงานบ้าน ทำสวน และให้ออกกำลังกายให้เหงื่อออกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เช่น เล่นกีฬา เต้นแอโรบิค
       
       6.ควบคุมน้ำหนักให้พอดีตัว ไม่อ้วน โดยดัชนีมวลกาย คือ น้ำหนักกิโลกรัม หารด้วย ความสูงเมตรยกกำลังสอง ค่าจะต้องออกมาอยู่ในช่วง 18.5-25 น้ำหนักจึงพอดี หากได้ 25-30 น้ำหนักมาเกินไป และมากกว่า 30 คือโรคอ้วน
       
       และ 7.ทำจิตใจให้ผ่องใส ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
       
       เท่านี้คุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง

sithiphong:
4 เคล็ดลับ บ๊าย บาย อาการนอนไม่หลับ

-http://campus.sanook.com/1370169/4-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%9A%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A/-


เชื่อว่าหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า ′การนอนไม่หลับ′ มักเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งอาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต การเจ็บป่วย การใช้ยา ความเครียด ดื่มกาแฟก่อนนอน รวมไปถึงรูปแบบเตียงนอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่นอนไม่หลับ มักมีอาการเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น และหลังจากนั้นอาการดังกล่าวจะหายไปเอง แต่บางรายนอนไม่หลับเป็นเวลานานติดต่อกันเป็นสัปดาห์ขึ้นไป และหากปล่อยเอาไว้นานๆ จะกลายเป็นอาการเรื้อรัง (Insomnia) จนส่งผลเสียร้ายแรงต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา และไม่มีเรี่ยวแรง ท้ายสุดแล้วจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ฉบับนี้เราเลยอาสานำสารพัดวิธีเด็ดมาพิชิตอาการนอนไม่หลับกัน

1) กุญแจสู่การหลับอย่างเป็นสุข

เริ่มจากการนอนและตื่นเป็นเวลา โดยพยายามตื่นเวลาเดิมทุกเช้า ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ตาม และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันพบว่า ผู้ที่วิ่งหรือเดินก่อนนอนเป็นประจำวันละ 40 นาที จะหลับลึกนานกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ การทำกิจกรรมเพื่อความผ่อนคลายก่อนเข้านอนทุกคืนยังจะช่วยให้คุณนอนหลับสนิทได้อีกด้วย เช่น ฟังเพลงเบาๆ สบายๆ เขียนบันทึกประจำวัน เป็นต้น และยิ่งถ้าคุณผสมสมุนไพรต่างๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลายและทำให้ง่วง อย่างเช่น ลาเวนเดอร์ ดอกมะนาว คาโมไมล์ เลมอน และบาล์ม ใส่ไว้ในปลอกหมอน หรือทำถุงผ้าเล็กๆ แล้ววางไว้ข้างศีรษะเพื่อสูดดมกลิ่นหอมขณะนอน กลิ่นหอมอ่อนๆ ที่ระเหยออกมาจากหมอน จะช่วยให้คุณคลายเครียดได้ หรือจะเป็นการแช่น้ำอุ่น ก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายแล้วปล่อยให้เย็นลง จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกว่าถึงเวลานอนแล้ว และจะทำให้คุณผ่อนคลายจนรู้สึกอยากนอนขึ้นมาเลยทีเดียว ที่สำคัญเตียงคุณนุ่มเกินไปหรือแข็งจนเกินไปที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหรือเปล่า

2) การกินอาหารก็ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น

ในขณะที่คุณกำลังทานอาหารในมื้ออยู่นั้น พึงระลึกเสมอว่าไม่ควรกินอิ่มจนเกินไป เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก และถ้าคุณเกิดหิวในเวลาก่อนนอน ควรเลือกกินอาหารเบาๆ เช่น นมจืดพร่องมันเนย นมถั่วเลือง โยเกิร์ต ก่อนนอน ส่วนข้อแนะนำอื่นๆเพื่อช่วยให้หลับง่ายนั้นอาจจะต้องงดหรือลดเครื่องดื่มกาเฟอีน เนื่องจาก กาเฟอีนจะตกค้างในร่างกายหลายชั่วโมงกว่าจะถูกขับออก คนที่ติดกาแฟเมื่อเลิกทันทีจะทำให้อ่อนเพลีย สะลึมสะลือ ดังนั้น ควรค่อยๆ ลดปริมาณลง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้หลับสบายในชั่วโมงแรก แต่หลังจากนั้นจะทำให้เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายและอุณหภูมิร่างกาย ทำให้ตื่นกลางดึก และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะสารนิโคตินจะกระตุ้นให้ตื่นตัว ทำให้หลับยาก เลี่ยงการดื่มน้ำและเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น น้ำผลไม้ 90 นาทีก่อนนอน เพราะร่างกายใช้เวลาประมาณ 90 นาทีในกระบวนการขับน้ำออกทางปัสสาวะ

3) วิตามินเสริมการนอนหลับ

หากใครยังไม่หาย ลองหันมาเสริมวิตามินต่างๆ เหล่านี้ดูบ้าง เผื่อบางทีอาจช่วยให้คุณมีการนอนหลับที่ดีขึ้นได้ เริ่มจากวิตามินบี 6 จะมีความสำคัญในการสร้างสารเซโรโทนินในสมอง สารตัวนี้จะช่วยควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ คนที่ได้รับวิตามินตัวนี้ไม่เพียงพออาจมีอาการซึมเศร้าหรือหงุดหงิดได้ ส่วนวิตามินบี 12 จะช่วยให้อาการนอนไม่หลับดีขึ้น แต่เมื่อหยุดเสริมอาการจะกลับมาอีก แต่การเสริมวิตามินบี 12 เพื่อแก้ไขอาการนอนไม่หลับต้องใช้ปริมาณสูง ดังนั้น จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์และสำหรับแคลเซียมและแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้ง 2 ตัวจะช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาท มีผลทำให้นอนไม่หลับ นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กและทองแดงจะทำให้หลับช้า นอนนาน และอาจตื่นกลางดึก ทำให้นอนไม่อิ่มสำหรับการทานวิตามินนั้น

4) คลายเครียด

อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพจิตใจ หรือความเครียดที่สะสมจนทำให้เกิดความกังวลและทำให้นอนไม่หลับ หากเกิดอาการแบบนี้ ลองฝึกกำหนดลมหายใจ ฝึกสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ นอกจากนี้ ในช่วงวัยทองหลายคนยังเกิดอาการหงุดหงิด ร้อนวูบวาบ ตื่นมากลางดึกแล้วพาลนอนไม่หลับเสียเฉยๆ ก็มี อาการเหล่านี้ อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า อาการทางจิตประสาท หากนอนไม่หลับจนรู้สึกว่ากระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น ไม่มีสมาธิ รู้สึกง่วงตลอดวัน โมโห ฉุนเฉียวง่าย เก็บตัว ฯลฯ ต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์ด่วน

6 สูตรสมุนไพรช่วยได้

1.ดอกไม้จีนแห้ง 15 กรัมต้มในน้ำ 1 ถ้วย เติมน้ำตาลกรวด ดื่มเป็นชาก่อนนอน

2.ใบขี้เหล็กประมาณ 30-50 กรัม ต้มเอาน้ำ ดื่มก่อนนอน เพราะมีสารแอนไฮโดรบาราคอลช่วยให้นอนหลับ

3.มะตูมอ่อน เหง้าขมิ้นอ้อย เถาบอระเพ็ด และพริกไทยในปริมาณเท่าๆกัน ต้มเอาน้ำ เพื่อดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ถ้วยชา

4.ราก ลำต้น และใบ ของ ตะไคร้ ต้นข่าตาแดง และเหง้าขิงสด อย่างละ 5 ต้น มาล้างให้สะอาด สับเป็นท่อน ต้มให้เดือด 15 นาที ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา

5.ดื่มน้ำสมุนไพร คาโมไมล์ ดอกเสาวรส หรือชาวาลิเรียน ก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายได้ดียิ่งขึ้น

6.ดื่มชาที่ทำจาก เมล็ดเซเลอรี 1 ถ้วยก่อนนอน โดยใช้เมล็ดที่บดแล้ว 2 ช้อนชาแช่ในน้ำเดือด 1 ถ้วยก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

Tip : สำหรับอาการนอนไม่หลับที่ควรไปพบแพทย์ : จะต้องมีอาการมานานกว่า 1-2 สัปดาห์ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน หรือรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย จนไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในตอนกลางวัน รวมไปถึงสงสัยว่าเป็นโรคบางอย่างแฝงอยู่ เช่น ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

ที่มา : หน้าพิเศษ Hospital Healthcare นสพ.มติชน

คอลัมน์ สุขภาพทางเลือกเชิงป้องกัน : โดย ชาญณรงค์ บุปผาแดง


sithiphong:
8 ท่ายืดเส้นแก้ปวดหัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 มกราคม 2557 20:25 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001228-


รู้หรือไม่ว่าการยืดเส้นยืดสายสามารถป้องกันและบรรเทาอาการปวกศีรษะได้ โดยอาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบบ่อยมากอาจมีอาการมึนงง ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน หรือชาลงไปตามแขน หรืออาจจะมีอาการเหล่านี้โดยไม่มีอาการปวดศีรษะ ส่วนมากมักจะเป็นที่บริเวณหน้าผาก กระบอกตา ขมับ ท้ายทอย อาจจะเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียว
       
       อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุที่พบบ่อย คือมีจุดเจ็บหรือตึงในกล้ามเนื้อและพังผืด ที่อยู่บริเวณลำคอ บ่า และบริเวณหลังส่วนบน เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวมีการหดหรือเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานจากการใช้แขน และมือทำงานต่างๆ หรือมีท่าทางไม่เหมาะสมการรับประทานยาแก้ปวดหรือคลายกล้ามเนื้อ กดจุดหรือฝังเข็มอาจจะดีขึ้นเพียงชั่วคราวแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้น การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ บ่า และหลังส่วนบนด้วยการยืดเหยียด จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันและแก้ปัญหาการปวดศีรษะ
       
       สำหรับท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อที่สามารถปฎิบัติได้ตามง่ายๆมีทั้งหมด 8 ท่า ดังนี้


       1.ท่าเตรียม : ยืนหรือสั่งศีรษะตรง มือประสานกันหันฝ่ามือขึ้นวางบนศีรษะ
       
       ปฎิบัติ: เหยียดแขนขึ้นข้างบนและเอนไปข้างหลังค้างไว้ประมาณ 10 วินาที กลับสู่ท่าเตรียมผ่อนคลายและทำซ้ำ


       2.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่ง ศีรษะตรง มือประสานกันข้างหน้าในระดับไหล่ หันฝ่ามือออกข้างหน้า
       
       ปฎิบัติ: เหยียดแขนไปข้างหน้าในระดับไหล่จนสุด ก้มศรีษะค้างไว้ประมาณ 10 วินาที กลับสู่ท่าเตรียมผ่อนคลายและทำซ้ำ


       3. ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่งศีรษะตรง มือประสานกันข้างหลังหันฝ่ามือเข้าหาลำตัว เหยียดแขนให้ตรง
       
       ปฎิบัติ : ยกแขนขึ้นเท่าที่สามารถจะทำได้ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ผ่อนคลายและทำซ้ำ


       4.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่งศีรษะตรง
       
       ปฎิบัติ : เอียงศีรษะไปข้างขาวขณะเดียวกันใช้มือขวาดึงมือซ้ายลงมาข้างล่างไว้ประมาณ 10 วินาที กลับสู่ท่าเตรียม เปลี่ยนสลับข้าง ทำเช่นเดียวกันและทำซ้ำ


       5.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่ง ศีรษะตรง
       
       ปฎิบัติ : ยกฝ่ามือขวาดันศรีษะและใบหู เกร็งกล้ามเนื้อต้นคอไว้ประมาณ 6 วินาที กลับสู้ท่าเตรียม เปลี่ยนสลับข้าง ทำเช่นเดียวกันและทำซ้ำ จากนั้นเปลี่ยนเป็นการดันศีรษะบริเวณหน้าผากสลับกับท้ายทอย และทำซ้ำตามรูป


       6.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่ง ศีรษะตรง
       
       ปฎิบัติ : ยกฝ่ามือขวาวางที่แก้มขวาใช้ปลายนิ้วชี้ไปทางหู ข้อศอกชี้ไปข้างหน้าออกแรงดันขณะที่พยายามหมุนศีรษะไปทางขวา เกร็งค้างไว้ 6 วินาที ผ่อนคลายและหมุนศีรษะไปทางซ้ายให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำจากนั้นเปลี่ยนสลับข้างทำเช่นเดียวกัน


       7.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่ง ศีรษะตรง แขนห้อยแนบลำตัว
       
       ปฎิบัติ : หมุนไหล่ทั้งสองไปข้างหน้าและวนไปข้างหลัง ทำซ้ำๆ


       8.ท่าเตรียม : ยืนหรือนั่ง ศีรษะตรง
       
       ปฎิบัติ : หันหน้าไปข้างขวา จากนั้นก้มศีรษะและหมุนทวนเข็มนาฬิกาไปทางซ้าย ทำกลับไปกลับมาอย่างช้าๆ ซ้ำๆ ตามต้องการไม่ควรหมุนศีรษะเป็นวงกลม เพราะอาจจะเกิดการบาดเจ็บที่คอได้
       
       ทั้งนี้ให้เหยียดกล้ามเนื้อค้างไว้ 10-30 วินาที หรือเกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ 6 วินาที หายใจเข้าออกตามปกติไม่ต้องกลั้นหายใจ แต่ละท่าทำซ้ำ 4-6 ครั้ง ทำอย่างน้อย 2-3วันต่อสัปดาห์หรือเป็นประจำทุกวัน ก็จะช่วยให้อาการปวดศีรษะดีขึ้นได้


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000001228

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version