อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต
แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
sithiphong:
ภัยครีมหน้าหนาว ระวังสารก่ออันตราย
รายงานพิเศษ
ปัญหาผู้บริโภคเลือกซื้อครีมทาผิวช่วงฤดูหนาว เสี่ยงมีส่วนผสมของสารโคเบตาซอลโพรพิโอเนต (สเตียรอยด์) และอาจก่ออันตรายต่อร่างกาย
ผศ.พญ.สุ วิรากร โอภาสวงศ์ ประธานประชา สัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย บอกว่า กรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ ออกมาเตือนประชา ชนให้ระวังการเลือกซื้อครีมทาผิวแบบแบ่งขาย ที่พบว่ามีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความรุนแรง
เนื่อง จากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ผู้มีปัญหาผิวแห้งอยู่แล้ว อาจทำให้อาการกำเริบจนเกิดการอักเสบ แดง คันตามมา หรือบางคนที่มีปัญหาผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือโรคสะเก็ดเงิน ช่วงหน้าหนาวนี้โรคมักจะกำเริบมากขึ้น
ทั้งนี้การเลือก ผลิตภัณฑ์ครีมทาผิว ควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วน และซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจพบครีมทาผิวแบบแบ่งขายเอง ที่ไม่มี อย. และมีส่วนผสมของสารโคเบตาซอลโพรพิโอเนต (สเตียรอยด์) ทำให้ผิวบาง ผิวแตกลายสีขาว มีรอยแดง มีลักษณะเหมือนคนอ้วน หรือคนตั้งครรภ์ ทำให้เกิดสิว ขนยาว และดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ต่อมหมวกไตไม่ทำงาน
ผศ.พญ.สุ วิรากรบอกอีกว่า การซื้อครีมทาผิว ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด ทั้งที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป ตามเว็บไซต์ หรือการโปรโมตขายตามรายการโทรทัศน์เคเบิลทีวีบางช่อง มักมีการโฆษณาเกินจริง บางครั้งครีมทาผิวที่ใช้อาจเป็นของปลอม หรือมีส่วนผสมของ สารโคเบตาซอลเป็นสเตียรอยด์ชนิดที่แรงที่สุด และมีคำเตือนว่าห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์ และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง
นพ.ชูชัย ตั้งเลิศสัมพันธ์ อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ บอกว่า คนไทยสามารถซื้อหาครีมหรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์ได้เอง โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ราคาถูก 10 กรัม 50 บาท มีเป็นร้อยยี่ห้อ ขณะที่ประเทศเจริญแล้ว ต้องมีใบสั่งแพทย์ ร้านขายยาจึงจะขายให้
โดยผลข้างเคียงจาก การใช้ครีมสเตียรอยด์ ประเภทเฉียบพลัน ทำให้เกิดสิว เป็นตุ่มนูนแดง เกิดผื่นแพ้สัมผัส เป็นต้น ประเภทเรื้อรัง ทำให้ผิวหน้าบางลง หลอดเลือดใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย ขนยาวขึ้นบริเวณทายา เกิดสิวและผื่นอักเสบรอบปาก เวลาหยุดยาแล้วจะแดง และต้องใช้ครีมสเตียรอยด์แรงมากขึ้น เป็นต้น
วิธีการดูแลผิวหน้าหนาวที่ถูกต้อง คือ รักษาความสะอาดผิว โดยสบู่อ่อน อย่าอาบน้ำร้อนจัด ทาสารให้ความชุ่มชื้น ใช้ครีมกันแดดทุกวัน
ผู้บริโภคไม่มั่นใจผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบไปที่ สายด่วน อย. 1556
sithiphong:
ไวรัสตับอักเสบซี
-http://www.dailynews.co.th/Content/Article/206289/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9A+%E0%B8%8B%E0%B8%B5-
ในปัจจุบันพบมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ 180 ล้านคนทั่วโลกโดยเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเขตเอเชียแปซิฟิกถึง 30-35
วันอาทิตย์ 5 มกราคม 2557 เวลา 00:00 น.
ไวรัสตับอักเสบซี ถือเป็นภัยเงียบที่คุกคามผู้คนมานานโดยไม่รู้ตัว ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการจนกว่าจะมีการเสื่อมของตับมาก ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานาน 10– 20 ปีหลังจากติดเชื้อจึงจะเริ่มมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ อ่อนเพลียซึ่งตอนนั้นก็มักเกิดตับแข็งหรืออาจเป็นมะเร็งตับแล้วก็ได้
ในปัจจุบันพบมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังประมาณ 180 ล้านคนทั่วโลกโดยเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเขตเอเชียแปซิฟิกถึง 30-35 ล้านคนในประเทศไทยได้มีการสำรวจจากผู้บริจาคโลหิตพบมีอุบัติการณ์ของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ (คิดเป็น 6 แสนคนจากประชากร 60 ล้านคน) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังนี้จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีอัตราของผู้ป่วยโรคตับแข็งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 20 ในอีก 10 ปีข้างหน้ารวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง มะเร็งตับและอัตราตายจากโรคตับมากกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว
การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่ติด ต่อผ่านทางเลือดดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ผู้ที่ได้รับเลือดหรือสาร ประกอบของเลือดก่อนปี พ.ศ. 2535 ผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าทางเส้นเลือด ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่สักตามร่างกาย เจาะหู ฝังเข็มรักษาโรคหรือแม้กระทั่งการขริบอวัยวะเพศหากเครื่องมือไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่ถูกต้องก็อาจเป็นสาเหตุของการติดต่อได้รวมถึงผู้ที่ได้รับเชื้อผ่านทางการรักษาเช่น การฟอกไต เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าร้อยละ 15-30 ของผู้ป่วยก็ไม่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงใด ๆ
ไวรัสตับอักเสบซี คืออะไร
ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, ไวรัสตับอักเสบดี และไวรัสตับอักเสบอี ซึ่งมีลักษณะการติดเชื้อที่แตกต่างกัน
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายโดยเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อปะปนอยู่แล้วเข้าไปเจริญเติบโตในเนื้อตับและทำให้ตับอักเสบเรื้อรังได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีอาการจึงมักจะตรวจพบเมื่อมาตรวจร่างกายประจำปีพบการอักเสบของตับหรือทราบจากการบริจาคโลหิตแล้วไม่สามารถให้เลือดได้บางคนอาจจะรู้ว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เมื่อเป็นตับแข็งแล้ว
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรค
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซี เช่น เพศ อายุของผู้ป่วยขณะติดเชื้อ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือ ไวรัสเอชไอวี (เอดส์) ร่วมด้วย เช่นผู้ชายและการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 50 กรัม/วัน จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้เร็วกว่าในผู้หญิงที่ดื่มสุราน้อยกว่า 50 กรัม/วัน การติดเชื้อไวรัสซีในผู้ป่วยอายุมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งมากกว่า 40 ปีจะมีโอกาสการดำเนินโรคตับแข็งได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อในอายุน้อย
ใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ที่เคยได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดโดยเฉพาะในช่วงก่อน ปี พ.ศ. 2535
ผู้ที่ใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ใช้เครื่องฟอกไตเด็กที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีคู่นอนของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือ ผู้ที่มีประวัติเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆผู้ที่สูดโคเคนทางจมูกบุคลากรทางการแพทย์ที่เกิดอุบัติเหตุจากการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี เช่น เข็มตำ
การวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบซี เรื้อรัง ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงและมีการทำงานของตับผิดปกติแพทย์ก็จะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาอาการแสดงของโรคตับเรื้อรังและเจาะเลือดเพื่อดูการอักเสบของตับโดยดูจากค่า AST และ AST พร้อมกับตรวจหา anti-HCV เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี หรือไม่ ถ้าผลการตรวจ anti-HCV เป็นบวกก็จะตรวจยืนยันผลโดยการเจาะเลือดส่งตรวจปริมาณเชื้อไวรัสว่ามีปริมาณมากน้อย นอกจากนี้แพทย์จะตรวจหาชนิดของไวรัสตับอักเสบซี (Genotype) เพื่อประโยชน์ในการบ่งบอกถึงโอกาสที่จะตอบสนองต่อการรักษา
การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี เรื้อรัง
การรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบันนี้คือการรักษาด้วย PegylatedInterferon ฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 1 ครั้งร่วมกับยารับประทาน Ribavirin 4-5 เม็ด/วัน เป็นเวลานาน 24-48 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ชนิดไหน ถ้าเป็น Genotype 1 ซึ่งเป็นชนิดที่รักษายากก็ต้องใช้ระยะเวลารักษานานถึง 48 สัปดาห์โดยผลการรักษามีโอกาสหาย 50-60% แต่ถ้าเป็น Genotype 2, 3 ก็สามารถรักษาให้หายในระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยได้ผลประมาณ 80%
ผลข้างเคียงของยา : การรักษาด้วยยา Interferon อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลายอย่างเช่น อาจมีไข้ต่ำ ๆ หลังฉีดยาปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ผมร่วง ซึมเศร้าอารมณ์แปรปรวน ส่วน Ribavirin ที่ต้องรับประทานร่วมกันก็ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกจนมีอาการซีดลงได้มาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังเริ่มรักษา หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้น ดังนั้น การรักษาไวรัสตับอักเสบซี จึงต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อแพทย์จะได้ปรับขนาดยาตามความเหมาะสมและให้การรักษาผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่สำคัญของการรักษาคือค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี เรื้อรังยังมีราคาแพงรวมแล้วประมาณ 360,000 ถึง 720,000 บาทขึ้นกับระยะเวลาในการรักษาและอาจต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจเลือดและยาที่ใช้รักษาผลข้างเคียงจากยาด้วยแต่ในปัจจุบันราคายาถูกลงมากและมีโครงการในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น
การป้องกัน
เนื่องจากยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ได้วิธีที่ดีที่สุด คือ การป้องกันตนเองโดย
หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.อภิญญา ลีรพันธ์
หน่วยระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
sithiphong:
อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มกราคม 2557 08:07 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000006283-
หลายคนคงเคยประสบกับเหตุการณ์ที่อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการข้าศึกโจมตี จนทนไม่ไหวต้องรีบขอตัวไปเข้าห้องน้ำไวปานจรวด จากที่สบายดี จู่ๆ เราก็มีอาการ “อุจจาระร่วง” หรือที่มักเรียกกันว่า “ท้องร่วง” “ท้องเสีย” ขึ้นมาทันใด บางคนอาจมีอาการไม่มาก แต่บางคนอาจเป็นหนักถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว วันนี้ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคอุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามกัน
โรคอุจจาระร่วง หรือ diarrhea หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งในหนึ่งวัน หรือมีอาการถ่ายเหลวผิดปกติหรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ เรามักพูดกันติดปากว่า ท้องร่วง ท้องเสีย ในบางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดบิดในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน โดยโรคนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แบบเฉียบพลัน (acute) และแบบเรื้อรัง (chronic) ผู้ป่วยที่เป็นอุจจาระร่วงเฉียบพลันมักหายภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หายได้เอง แต่หากเป็นนานเกิน 2 สัปดาห์เรียกว่า อุจจาระร่วงเรื้อรัง โดยโรคนี้เป็นโรคพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเราทุกคน องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในแต่ละปีมากกว่า 1,700 ล้านคนทั่วโลก
โรคอุจจาระร่วงจัดว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา ในแต่ละปี มีเด็กประมาณ 2-3 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคนี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีคนเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันมากกว่า 100 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งป่วยจนส่งผลต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยจำนวน 10% ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ส่วนที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมีถึง 250,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 5,000 คน ส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ
ในประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปี พ.ศ.2555 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจำนวน 1,229,641 คน อัตราป่วยเท่ากับ 1,913.35 ต่อประชากรแสนคนและมีผู้เสียชีวิต 27 คน คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อประชากรแสนคน จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโรคนี้มีอัตราป่วยสูงและอัตราป่วยตายต่ำ อย่างไรก็ดี แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่เราก็ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เราจึงควรเรียนรู้สาเหตุและวิธีการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคอุจจาระร่วงอย่างถูกต้อง
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ผู้ป่วยมากกว่า 90% เป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากการติดเชื้อ อาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ โดยได้รับเชื้อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้ ระยะฟักตัวตั้งแต่ได้รับเชื้อจนมีอาการมักจะเป็นวันๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการคลื่นไส้ เป็นไข้ และปวดท้องร่วมด้วย ที่เหลืออีก 10% เกิดจากการกินอาหารที่มีพิษของเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ รวมทั้งผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาหัวใจเต้นผิดปกติ ยาลดความดัน ยาเคลือบกระเพาะ ยาระบาย ระยะเวลาตั้งแต่รับพิษของเชื้อ หรือรับยาจนมีอาการจะสั้นกว่า มักไม่ถึงหนึ่งวัน
โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่นซึ่งส่งผลต่อลำไส้ เช่น โรคลำไส้อักเสบ (Inflamatory Bowel Disease) โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาเกินปกติ (Hyperthyroidism) หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งก็ได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม หากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ อุจจาระมีมูกเลือดปน ท้องเสียรุนแรงนานกว่าสามวัน หรือมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ชีพจรเต้นเร็วหรือเบา หายใจเร็วหรือหอบ ซึมหรือกระสับกระส่าย ควรรีบไปพบแพทย์ เรื่องนี้ต้องอาศัยญาติ ผู้ใกล้ชิดคอยดู เพราะบางครั้งผู้ป่วยเองอาจจะไม่ทันสังเกต โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ทั้งโรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ เผลอนิดเดียว อาการทรุดหนักได้ หากเด็กๆ มีอาการท้องเสีย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ เนื่องจากเด็กมักบอกอาการเองไม่ได้ ยิ่งถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ตาโหล ปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ซึมหรือกระสับกระส่าย ไม่เล่นตามปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
การรักษาโรคอุจจาระร่วง สำหรับในแบบเฉียบพลัน สิ่งสำคัญในการรักษาคือ การให้น้ำและเกลือแร่เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไป ป้องกันและแก้ไขภาวะขาดน้ำ ในผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง อาจให้ดื่มน้ำเกลือแร่ โดยละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ หรือที่เรียกกันว่า ผง ORS (Oral Rehydration Salts) ในน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ดื่มแทนน้ำบ่อยๆ และคอยสังเกตดูสีปัสสาวะ หากมีสีเข้มแสดงว่ายังได้น้ำไม่เพียงพอ ต้องพยายามดื่มน้ำเกลือแร่เพิ่มอีก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีภาวะขาดน้ำรุนแรง โดยเฉพาะรายที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย และมีอาการอาเจียนมาก กินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ การให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยนั้น แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยให้ในผู้ป่วยบางรายที่คาดว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น โรคบิดไม่มีตัว อหิวาตกโรค หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เนื่องจากโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันส่วนใหญ่หายได้เอง ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ การให้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อดื้อยาในอนาคต ดังนั้นผู้ป่วยท้องร่วง ท้องเสีย จึงไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง หากใครมีปัญหาโรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรคอุจจาระร่วงได้ โดยดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกที่เก็บในขวดหรือภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท จะดีที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และสะอาด ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังเข้าห้องน้ำ ภาชนะที่ใส่อาหารต้องล้างให้สะอาดก่อนใช้
...หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลจากโรคอุจจาระร่วงกัน
sithiphong:
ปัญหาการนอนกรน
-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99/-
การนอนกรนถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ หากทางเดินหายใจโล่งดีไม่ควรมีเสียงกรนเกิดขึ้น
แต่อันตรายของการกรนจะมากหรือน้อย ขึ้นกับว่าสุขภาพของบุคคลนั้นเป็นอย่างไร และมีการหยุดหายใจ (Apnea) ร่วมด้วยหรือไม่
ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งการนอนกรนได้เป็น ๒ ชนิดคือ
กรนธรรมดา (Habitual Snoring)
อาจเรียกว่า “กรนรำคาญ” ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย อันตรายของการกรนจึงเกิดจากการสร้างความรำคาญให้แก่คนข้างเคียง จนในบางรายอาจถึงขั้นมีปัญหากับคู่สมรส ต้องแยกห้องนอน
กรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea)
เป็นชนิดที่มีอันตราย เนื่องจากในช่วงที่หยุดหายใจ ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือดจะลดลงเป็นช่วงๆ
ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น นอนไม่อิ่ม สะดุ้งตื่นบ่อยๆ ปวดศีรษะช่วงเช้า ง่วงนอนในตอนกลางวัน เผลอหลับในบ่อยๆ สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย และจากการศึกษาในปัจจุบันยังพบว่าผู้ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วยในระดับรุนแรงจะมีอัตราการตายสูงกว่าประชากรทั่วไป และเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆที่สำคัญได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต
การรักษา
ขึ้นกับชนิดของการนอนกรน และระดับความรุนแรง
โดยถ้ามีการหยุดหายใจร่วมด้วย ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจแบ่งการรักษาออกได้เป็น
1. การรักษาทั่วไป หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมต่างๆ ทำได้โดย ลดน้ำหนัก, ออกกำลังกาย, ปรับการนอน ไม่นอนหงาย, งดดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงยาบางประเภท รวมทั้งรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภูมิแพ้ โรคในโพรงจมูก ซึ่งต้องรักษาก่อนที่จะไปรักษาโดยใช้วิธีอื่น
2. การรักษาโดยใช้เครื่องเพิ่มความดันของอากาศในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินหายใจถ่างกว้างออกจึงไม่เกิดเสียงขณะหายใจ และไม่เกิดการหยุดหายใจเครื่องมือดังกล่าวเรียกว่า Nasal CPAP (continuous positive airway pressure) การรักษาโดยใช้ Nasal CPAP นี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกรายหากผู้ป่วยสามารถทนใช้เครื่องได้ แต่ผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถทนใช้เครื่องได้เนื่องจากรู้สึกรำคาญที่ต้องใช้เครื่องขณะนอนหลับ
3. การผ่าตัด มีหลายวิธีขึ้นกับระดับความรุนแรง ความพอใจของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งความชำนาญของแพทย์ผู้รักษา ตัวอย่างของการผ่าตัดได้แก่
- การผ่าตัดบริเวณต่อมทอนซิลและลิ้นไก่ เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้นและการสั่นสะเทือนขณะหลับน้อยลงจึงลดเสียงกรนและลดการหยุดหายใจที่เกิดจากอุดกั้นของทางเดินหายใจ
- การใช้คลื่นความถี่สูง เพื่อลดขนาดของเนื้อเยื่อบริเวณ เพดานอ่อน, ลิ้นไก่, โคนลิ้น, ต่อมทอนซิล และทำให้เนื้อเยื่อกระชับขึ้น
- การผ่าตัดเพื่อลดความอ้วน เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุของการกรนและการอุดกั้นทางเดินหายใจ แต่ควรพิจารณาเฉพาะในรายที่อ้วนมากๆเท่านั้น
- การผ่าตัดยืดขากรรไกรและแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า ได้ประโยชน์ในรายที่การกรนเกิดจากโครงสร้างของใบหน้าผิดปกติ
- การเจาะคอ ใช้ในรายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นแล้ว โดยเฉพาะในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจรุนแรงและไม่สามารถใช้ Nasal CPAP ได้
ข้อมูลและรูปภาพ : ศูนย์หลอดเลือด โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
sithiphong:
สธ. เตือนระวังโรคอุจจาระร่วง ช่วงหน้าหนาว พบป่วยแล้วกว่า 2 แสนราย
-http://health.kapook.com/view80513.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนระวังโรคอุจจาระร่วงช่วงหน้าหนาว เผยช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 210,906 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
วันที่ 19 มกราคม 2557 มีรายงานว่า นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยว่า สธ. ได้เฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในช่วงหน้าหนาว พบว่า โรคอุจจาระร่วง เป็นโรคที่พบได้บ่อยทุกปี จากรายงานการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงทุกจังหวัด ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวที่ผ่านมา คือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556-13 มกราคม 2557 พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงรวม 210,906 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่ากลุ่มอื่น และหากป่วยอาการจะรุนแรงกว่าวัยอื่น ๆ
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สาเหตุของโรคอุจจาระร่วง เกิดจากเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส รวมทั้งเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม อยากย้ำเตือนประชาชนว่า อย่าชะล่าใจว่าอากาศเย็นแล้วอาหารจะไม่บูดเสีย เพราะความเย็นแค่ช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรคในอาหารเท่านั้น ไม่ทำให้เชื้อโรคตาย ดังนั้น ขอให้เก็บอาหารเหลือค้างมื้อใส่ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ -1 ถึง 8 องศาเซลเซียส และนำมาอุ่นให้เดือดก่อนรับประทานทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหาร ล้างมือฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้งและหลังการใช้ห้องน้ำห้องส้วม ถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง
ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยถึงการป้องกันโรคท้องร่วงในเด็กเล็กว่า นมผสมของเด็กที่เหลือจากการดูด ไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 ชั่วโมงในห้องอุณหภูมิปกติ และไม่เกิน 4 ชั่วโมงในห้องแอร์ เพราะอุณหภูมินอกตู้เย็น เหมาะแก่การเพิ่มจำนวนเชื้อโรคที่มาจากปากและฟัน ส่วนนมแม่ หากยังไม่ได้กิน จะอยู่ในห้องแอร์ได้ 8 ชั่วโมง ไม่ควรนำนมไปวางทิ้งไว้ในที่อุ่นนม เพราะการเก็บนมไว้ในที่อุณหภูมิสูง จะทำให้เสียเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี ควรเตรียมนมให้พอดีในแต่ละมื้อ ไม่ให้เหลือค้างขวด เพราะนมอุดมไปด้วยสารอาหารที่ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีจึงมีโอกาสบูดเสียได้ แนะนำให้เปลี่ยนขวดนม ขวดน้ำ และจุกนมทุกครั้ง ล้างทำความสะอาดและนึ่งฆ่าเชื้ออุปกรณ์ให้ดี เพราะการลวกน้ำร้อนไม่สะอาดเพียงพอ อาจทำให้เด็กท้องเสียได้ และให้หมั่นล้างมือให้เด็ก ทำความสะอาดของเล่นบ่อย ๆ
สำหรับการดูและผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงนั้น อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ควรรับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร เพื่อให้มีสารอาหารที่จำเป็นไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย แต่ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด และให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่แทนน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง หรือถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด ให้รีบพบแพทย์
ส่วนการดูแลในเด็กเล็ก ขอให้ป้อนอาหารเหลวบ่อย ๆ เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด สามารถกินนมแม่ได้ตามปกติ ถ้าเด็กกินนมผสม ให้เจือจางนมผสมเหลือครึ่งหนึ่งของปกติที่เคยได้รับ จิบน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่บ่อย ๆ และให้อาหารที่ย่อยง่าย เช่นโจ๊ก ข้าวต้ม อาการเด็กจะค่อย ๆ ดีขึ้นเป็นปกติภายใน 8-12 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ถ่ายเหลวไม่หยุด เด็กซึมลง ปากแห้งมาก ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ให้พาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=215135&catid=176&Itemid=524#.UtuOTrSlYdV-
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version