อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ

<< < (2/33) > >>

sithiphong:
สมุนไพรต้านหวัด

-http://campus.sanook.com/1369703/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/-



แนะนำพืชผักและสมุนไพรใกล้ตัว เป็นทางเลือกสำหรับบรรเทาอาการหวัด ลดอาการไอ การระคายคอ จากเสมหะ มาฝากกัน

การชื้นแฉะ อาจทำให้เราเป็นหวัดหรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจกันได้ง่ายๆ โดยทั่วไปเมื่อเป็นไข้หวัดแล้ว อาการจะหายได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ โดยหมั่นจิบน้ำอุ่นอย่างต่อเนื่อง พักผ่อนให้มากๆ โดยสิ่งที่เป็นเรื่องน่ารำคาญของโรคนี้คือ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอและหายใจลำบาก เรามีพืชผักและสมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับบรรเทาอาการหวัด ลดอาการไอ การระคายคอ จากเสมหะ มาฝากกัน

ต้นหอม โดยนำต้นหอมสดๆล้างน้ำให้สะอาด กินร่วมกับอาหารทุกมื้อ มื้อละ 2 - 3ต้น หรือต้มจนเดือด สูดไอระเหยจะช่วยให้หายหวัดได้เร็ว



ขิง มีรสหวานและเผ็ดร้อน กลิ่นหอมแหลมของขิงมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย และสารธรรมชาติอีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์เป็น "ยา" ส่วนคนที่กำลังไอ ขิงก็ช่วยได้ โดยเอามาฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ อาการไอและเสมหะจะบรรเท่าเบาบาง


วิธีใช้ก็ง่ายๆคือใช้ขิงแก่ขนาดเท่านิ้วมือทุบให้แตก ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยคั้นน้ำ 2 ช้อนแกงใส่น้ำผึ้ง 2 ช้อนแกง ผสมเข้ากันแล้วจิบบ่อยๆ ระวังอย่าจิบมากเกินไป อาจทำให้แสบคอได้

กระเทียม มีคุณสมบัติเป็นยาขับเสมหะ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสหวัดและไข้หวัดใหญ่ และยังมีผลต่อเชื้อร้ายในทางเดินหายใจ จึงช่วยลดอาการไอ หรือหากรับประทานสดๆได้จะดีเพราะกระเทียมสดๆออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด




ฟ้าทะลายโจร จัดอยู่ในจำพวกยาปฎิชีวนะ เหมือนพวกเพนนิซิลินและเตตราซัยคลิน ซึ่งรักษาได้ครอบจักรวาลเลยทีเดียว แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีพิษต่อตับ และไม่ตกค้างในร่างกาย ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโดยโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก




มะขาม มีรสเปรี้ยวเพราะมีกรดอินทรีย์ มะขามช่วยให้หายคัดจมูกและขับเหงื่อ สูดจนหมดไอแล้วผสมน้ำเย็นลงไปพออุ่นแล้วอาบ ทำวันละ 1 - 2 ครั้ง ประมาณ 3-4 วัน




เพกา ส่วนที่นำมาใช้คือ เมล็ด ซึ่งเมล็ดเพกานี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำจับเลี้ยงที่คนจีนใช้ดิ่มแก้ร้อนใน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ โดยใช้เมล็ดประมาณ 1 กำมือ หนักประมาณ 3 กรัม ใส่น้ำประมาณ 300 มล. ต้มไฟ่อ่อนๆ พอเดือด เคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มวันละ 3 ครั้ง




นอกจากนี้แล้ว การที่เราหมั่นรักษาสุขภาพของตัวเองในหน้าฝนนี้ ด้วยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอุ่นๆ ก็จะช่วยให้หายจากอาการหวัดได้เร็วขึ้นได้

ที่มา:หนังสือสมุนไพรรู้ใช้ไกลโรค


sithiphong:
ระวัง! เชื้อราจากสัตว์เลี้ยงแสนรัก เจ้าของอาจถึงตาย แต่ป้องกันได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2556 09:32 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000112294-

  โดย...ทีมสัตวแพทย์คลินิกโรคผิวหนังและโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
       
       สัตว์เลี้ยงแสนรักที่นอกเหนือจากต้องสรรหาอาหารถูกหลักโภชนาการ ฉีดวัคซีนตามกำหนด เจ้าของยังต้องใส่ใจสุขอนามัยภายนอก โดยเฉพาะโรคผิวหนังและเชื้อรามักเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ซึ่งอาจนำมาติดต่อสู่ตัวเจ้าของหรือคนใกล้ชิดได้โดยไม่รู้ตัว
       
       ทีมสัตวแพทย์คลินิกโรคผิวหนังและโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ แนะวิธีดูแลเพื่อนรัก 4 ขาให้ห่างไกลจากโรคนี้ และป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคผิวหนังและเชื้อราจากสัตว์เลี้ยง ว่า ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงสัตว์ในบ้านกันมากขึ้น โดยเฉพาะสุนัข แมว กระต่าย ทำให้ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดมากขึ้น รวมถึงต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดกับผิวพรรณและเส้นขนสัตว์เลี้ยง ที่อาจเป็นสาเหตุนำมาสู่ “โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยง” ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักมีต้นตอการเกิดโรคแฝงอยู่เสมอ ทำให้การรักษามักไม่ตรงจุด สัตวแพทย์จำเป็นต้องหาสาเหตุหลักนั้นๆ ให้เจอ หรือบางโรคมักจู่โจมกับบางสายพันธุ์ เช่น ลูกสุนัขชิวาว่า มักเป็นเชื้อรา และไรขี้เรื้อนขุมขน หรือ สุนัขพันธุ์บลูด็อก มักมีโรคผิวหนังติดเชื้อตามร่องแก้ม หรือหลืบตามร่างกาย เพราะเป็นจุดที่อับชื้น อากาศน้อย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น ดังนั้นการรักษาจำเป็นต้องได้รับการซักถามประวัติกันมาก และใช้เวลาในการตรวจมากซักหน่อย
       
       "ที่สำคัญ โรคผิวหนังส่วนใหญ่พบได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ทั้งน้องหมา น้องแมว กระต่าย กระรอก เม่น ม้า วัว สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์น้ำก็เป็นได้ ซึ่งโรคผิวหนังได้มีการแบ่งหลายแบบ สามารถแบ่งให้เข้าใจง่ายคือ โรคผิวหนังแบบติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเบื้องต้น คือ การเกามากกว่าปกติ มีตุ่มตามตัว เลียบางส่วนของร่างกายมากกว่าปกติ กลิ่นตัวแรงทั้งๆที่เพิ่งอาบน้ำ ขนร่วงมากกว่าปกติ เป็นต้น ควรพาไปพบคุณหมอ"
       
       ส่วนข้อสงสัยที่ว่า โรคผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ซึ่งแนวทางการรักษาแต่ละโรคไม่เหมือนกัน ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์เสียก่อน ว่าจะรักษานานเท่าไหร่จะหายขาดหรือกลับมาเป็นใหม่ ทั้งนี้ บางโรคต้องยอมรับจริงๆว่าไม่หายขาด เช่น โรคภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างการแพ้ไรฝุ่น ที่ตรวจพบจากการทดสอบภูมิแพ้ที่ผิวหนัง แม้ให้วัคซีนแล้ว แต่ไม่สามารถเลี่ยงการเผชิญกับฝุ่นได้ เพราะอยู่บ้านเดิม นอนที่เดิม
       
       ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการช่วยบรรเทาความคันยุบยิบได้ ให้สบายตัวขึ้น และอยู่กับโรคภูมิแพ้ได้โดยไม่ทรมานเกินไป บางโรคที่ติดเชื้อที่ผิวหนังรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และเสียชีวิตได้ จึงควรพาสัตว์เลี้ยงมาตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ มิเช่นนั้นนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพสัตว์แล้ว นอกจากนี้โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยงนั้นยังอาจติดต่อสู่เจ้าของทางการสัมผัสใกล้ชิด โดยคนที่เป็นอาจมักมีภาวะอ่อนแอบางอย่าง เช่น ตั้งครรภ์ เครียด ไม่สบาย หรือพักผ่อนน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยง หากเกิดขึ้นแล้วควรรีบตรวจหาสาเหตุก่อนเพราะหลายๆโรค ติดต่อสู่คน หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น อย่างเช่น ลูกแมวเปอร์เซีย ที่เป็นเชื้อรากันมาก แต่เจ้าของคิดว่าผลัดขน เลยทิ้งไว้จนเจ้าของและลูกๆที่บ้านติด กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ดังนั้น หากจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดไหน ควรทราบถึงลักษณะเฉพาะของชนิด หรือสายพันธุ์นั้นๆก่อน ว่าเหมาะกับเราหรือครอบครัวหรือไม่ เพื่อป้องกันตนเองและสัตว์เลี้ยงแสนรัก
       
       อย่างไรก็ตาม เจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการ พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงของตัวเอง หากเริ่มมีอาการแปลกๆ อย่ารีรอ สิ่งแรกที่ควรทำคือ เมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติที่ผิวหนัง เป็นสะเก็ด คัน หรือเกาไม่หยุด แนะนำให้รีบพามาตรวจหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการเบื้องต้นของหลายๆ โรคมักเริ่มต้นเหมือนกัน โรคผิวหนังและเชื้อราเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ และหากเจ้าของสัตว์ติดโรคไปแล้วก็สามารถให้ครีมฆ่าเชื้อราทาบริเวณที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น และสิ่งสำคัญของคนรักสัตว์เลี้ยงคือ การใส่ใจในสุขอนามัยและไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเล็กๆ น้อยๆ ของสัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา ทีมสัตวแพทย์จากรพ.สัตว์ทองหล่อ ฝากทิ้งท้าย

sithiphong:
แนะวิธีปรับพฤติกรรมห่างไกลโรคหัวใจ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 กันยายน 2556 12:54 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122308-


กรมควบคุมโรคเผยปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 23.3 ล้านคนทั่วโลก ยันป้องกันได้ ถึงร้อยละ 80 แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน


       วันนี้ (28 ก.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งทั่วโลกในปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว 17.3 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 23.3 ล้านคน และยังคงเป็นสาเหตุนำของการตาย ทั้งๆที่โรคนี้สามารถป้องกันได้มากถึงร้อยละ 80 โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
       
       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และโรคหลอดเลือดสมอง มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและมักมีสาเหตุหลักมาจากที่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจและสมองลดลง เกิดอาการหัวใจขาดเลือด หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง สำหรับโรคหลอดเลือดสมองนอกจากมีสาเหตุมาจากการอุดตันแล้ว อาจมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองแตก การป้องกันโรคนี้ต้องกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม กินผัก ผลไม้น้อย ขาดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย ความเครียด ภาวะอ้วน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และต้องปฏิบัติตัว ดังนี้
       
       1. มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย 30 นาที 5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เช่น กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง ทำงานบ้าน เดินขึ้น - ลงบันได ออกกำลังกาย 2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุล เช่น การรับประทานผัก / ผลไม้ ให้มากกว่าเนื้อสัตว์และแป้ง จำกัดขนมหวาน จำกัดเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา ไม่รับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย 3. งดบุหรี่ / เหล้า 4. ตรวจสุขภาพ ได้แก่ วัดความดันโลหิต ตรวจโคเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด วัดน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อรู้ค่าความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อลดโรคหัวใจและหลอดเลือด
       
       นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า เคล็ดลับในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และทารก มีดังนี้ 1. เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ 2. ควรฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 3. เมื่อตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เช่น การกิน อาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่หรือเลี่ยงควันบุหรี่ 4. ระวังเรื่องการใช้ยา ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ 5. หลีกเลี่ยงการฉายรังสี และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าตั้งครรภ์ 6. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง( 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ) เช่น ตับ เนื้อแดง อาหารวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม มะละกอ และอาหารแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักหลากสีและผลไม้หวานน้อย 7. ออกกำลังกายครั้งละน้อยๆช้าๆ หลังครรภ์มีอายุ 3 เดือน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
       
       "วันที่ 29 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันรณรงค์หัวใจโลก สำหรับปีนี้ สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) กำหนด ประเด็นสารว่า “Take the road to a healthy heart” ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ใช้ประเด็นสาร ว่า "เลือกแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อหัวใจที่แข็งแรง" โดยเน้นไปยังกลุ่มผู้หญิงและเด็ก ตั้งแต่ทารกช่วงที่มีพัฒนาการอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ได้มอบนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวไว้ชัดเจนว่า ใน 10 ปีข้างหน้านี้คนไทยทุกคนต้องมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น โรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้ต้องลดลง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว


sithiphong:
เดือน"มะเร็งเต้านม" ร่วมรณรงค์ - พบเร็วระยะแรกมีโอกาสหายได้
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UUXpNVE0zTkE9PQ==&subcatid=-

มะเร็งเต้านม ปัญหาสาธารณสุขของโลก รวมทั้งประเทศไทย ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสเสี่ยง ซึ่งเดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านม (Breast Cancer Awareness Month) เรารู้จักกันดีกับ "สัญลักษณ์โบสีชมพู" ในเดือนนี้แคมเปญเกือบทั้งหมดจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของเต้านมด้วยตนเอง การตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และยังมีคำขวัญว่า "มะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสหาย (ขาด) ได้"

นพ.อาคม เชียรศิลป์ ที่ปรึกษาชมรม Thai Breast Friends แห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นหมอที่รักษาดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีข้อสังเกตว่า มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม คือ เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีที่แพทย์สามารถผ่าตัดเอามะเร็งที่กระจายออกหมด มีโอกาสหายได้เช่นกัน เพียงแต่กระบวนการรักษาจะมีความซับซ้อนกว่า ใช้เวลานานกว่า

จากข้อมูลทางวิชาการ ร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามแต่ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ผู้ป่วยมะเร็งลุกลามมีโอกาสหายได้ หรือควบคุมโรคได้หลายครั้ง ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ เป็นผลทำให้บนโลกใบนี้มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

ปัจจุบันการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ควรจะมีเนื้อหาสาระของมะเร็งเต้านมระยะลุกลามรวมอยู่ด้วย จะได้เป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มีมากมาย และลงลึกถึงระดับโมเลกุล (DNA) มีผลทำให้การรักษาโรคมะเร็งพัฒนาไปไกลมาก เช่น เราสามารถจัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการแสดงของยีน (DNA) ว่าแต่ละกลุ่มควรจะรักษาอย่างไร เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคล

แม้แต่ผู้ป่วยมะเร็งที่โรคกลับมาเป็นซ้ำ อาจมีการแสดง ออกของยีนแตกต่างไปจากโรคมะเร็งเต้านมต้นกำเนิด ซึ่งแผนการรักษาอาจเปลี่ยนไป ที่สำคัญการพัฒนาการรักษาและยา เพื่อเอาชนะการดื้อยาของเซลล์มะเร็ง อาจออกมาในรูปของยาขนานใหม่ หรือนำยาเดิมมาใช้ร่วมกับสูตรยาขนานใหม่ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในกลุ่มที่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก (ER+) แม้ว่าจะมีการกระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว แต่ผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพร่างกายที่ดี ก็สามารถรักษาได้

เมื่อปี ค.ศ.2009 ในสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 9 คน ได้รวมพลังกันขอเข้าพบกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในที่สุด คณะรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และการเข้าถึงการรักษา เพื่อให้ประชาชนทราบความจริง พร้อมทั้งประกาศให้วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านและช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม

ดังนั้น เพียง 1 วันในเดือนตุลาคม ควรจะเป็นวันที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยกระจายความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และแสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมระยะลุกลามไม่ใช่ระยะสุดท้ายของชีวิตอีกต่อไป

sithiphong:

--- อ้างจาก: sithiphong ที่ ตุลาคม 12, 2013, 09:34:48 am ---เดือน"มะเร็งเต้านม" ร่วมรณรงค์ - พบเร็วระยะแรกมีโอกาสหายได้
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UUXpNVE0zTkE9PQ==&subcatid=-

มะเร็งเต้านม ปัญหาสาธารณสุขของโลก รวมทั้งประเทศไทย ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสเสี่ยง ซึ่งเดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านม (Breast Cancer Awareness Month) เรารู้จักกันดีกับ "สัญลักษณ์โบสีชมพู" ในเดือนนี้แคมเปญเกือบทั้งหมดจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของเต้านมด้วยตนเอง การตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และยังมีคำขวัญว่า "มะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสหาย (ขาด) ได้"

นพ.อาคม เชียรศิลป์ ที่ปรึกษาชมรม Thai Breast Friends แห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นหมอที่รักษาดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีข้อสังเกตว่า มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม คือ เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีที่แพทย์สามารถผ่าตัดเอามะเร็งที่กระจายออกหมด มีโอกาสหายได้เช่นกัน เพียงแต่กระบวนการรักษาจะมีความซับซ้อนกว่า ใช้เวลานานกว่า

จากข้อมูลทางวิชาการ ร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามแต่ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ผู้ป่วยมะเร็งลุกลามมีโอกาสหายได้ หรือควบคุมโรคได้หลายครั้ง ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ เป็นผลทำให้บนโลกใบนี้มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

ปัจจุบันการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ควรจะมีเนื้อหาสาระของมะเร็งเต้านมระยะลุกลามรวมอยู่ด้วย จะได้เป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มีมากมาย และลงลึกถึงระดับโมเลกุล (DNA) มีผลทำให้การรักษาโรคมะเร็งพัฒนาไปไกลมาก เช่น เราสามารถจัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการแสดงของยีน (DNA) ว่าแต่ละกลุ่มควรจะรักษาอย่างไร เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคล

แม้แต่ผู้ป่วยมะเร็งที่โรคกลับมาเป็นซ้ำ อาจมีการแสดง ออกของยีนแตกต่างไปจากโรคมะเร็งเต้านมต้นกำเนิด ซึ่งแผนการรักษาอาจเปลี่ยนไป ที่สำคัญการพัฒนาการรักษาและยา เพื่อเอาชนะการดื้อยาของเซลล์มะเร็ง อาจออกมาในรูปของยาขนานใหม่ หรือนำยาเดิมมาใช้ร่วมกับสูตรยาขนานใหม่ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในกลุ่มที่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก (ER+) แม้ว่าจะมีการกระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว แต่ผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพร่างกายที่ดี ก็สามารถรักษาได้

เมื่อปี ค.ศ.2009 ในสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 9 คน ได้รวมพลังกันขอเข้าพบกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในที่สุด คณะรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และการเข้าถึงการรักษา เพื่อให้ประชาชนทราบความจริง พร้อมทั้งประกาศให้วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านและช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม

ดังนั้น เพียง 1 วันในเดือนตุลาคม ควรจะเป็นวันที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยกระจายความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และแสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมระยะลุกลามไม่ใช่ระยะสุดท้ายของชีวิตอีกต่อไป

--- End quote ---

ปีที่แล้ว ผมไปตรวจร่างกายที่สถาบันมะเร็งมา คุณหมอบอกว่า ผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมเยอะขึ้น โปรดระมัดระวังกัน ไปตรวจสุขภาพกันทุกๆปีครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version