วัชรสูตรผูกที่ 577 ของมหาปรัญาสูตร
F/B pages/พบนิพพานแล้ว/
วัชรสูตรฉบับนี้ แต่เดิมได้รวมอยู่ในผูกที่ 577 ของมหาปรัญาสูตร ซึ่งนักปราชญ์ในอดีตต่างวิจารณ์พระสูตรเล่มนี้ว่ามีค่าดั่งคัมภีร์หลุนหยวี่ของสำนักขงจื่อ ซึ่งแม้ตัวอักษรจะมีจำกัด แต่ก็มีนัยอันมหัศจรรย์ที่มิอาจกล่าวให้สิ้นได้ด้วยอักษรเหล่านั้นเลย พระตถาคตทรงเทศนามหาปรัชญาสูตรเป็นจำนวนทั้งสิ้น 600 ผูก โดยได้แบ่งวาระการเทศนาเป็นจำนวน 16 ครั้งใน 4 สถานที่ และวัชรสูตรฉบับนี้พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาไว้เมื่อครั้งประชุมธรรมครั้งที่ 9 ที่ได้จัดขึ้น ณ เชตวันมหาวิหาร อันเป็นวิหารธรรมที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองสาวัตถีที่อยู่ทางภาคกลางในประเทศอินเดียนั่นเอง
ประชุมธรรม 16 วาระใน 4 สถานที่ มีรายละเอียดดังนี้
ประชุมธรรม ณ คิชกูฏบรรพตแห่งเมืองราชคฤห์ 6 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองสาวัตถี 3 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ ปรนิมตวสวัสดีแห่งสวรรค์ชั้นที่ 6 1 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองสาวัตถี 4 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ คิชกูฏบรรพตแห่งเมืองราชคฤห์ 1 ครั้ง
ประชุมธรรม ณ เวฬุวันแห่งเมืองราชคฤห์ 1 ครั้ง
1.ความเป็นมาของการประชุมธรรม
ดั่งที่เราได้สดับ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถีที่เชตวนารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1.250 รูป เวลานั้นเป็นเวลาฉันภัตตาหารพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองจีวร ทรงบาตร และเสด็จสู่มหานครสาวัตถีบิณฑบาต อยู่ในเมืองนี้ บิณฑบาตโดยบำดับจนครบจำนวน ครั้นแล้วเสด็จกลับมายังเชตวนาราม ฉันภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรจีวรชำระพระบาท จัดแต่งอาสนะแล้วประทับนั่ง
2. สุภะ ประกาศอัญเชิญ
ขณะนั้น อาวุโสสุภูติที่อยู่ท่ามกลางประชุมสงฆ์ ได้ลุกจากอาสนะเฉวียงจีวรเปลือยแขนไหล่ขวา คุกเข่าขวาลงพื้น ประคองอัญขลีพลางกราบทูลถามพระองค์ว่า "หาได้ยากนักหนา ข้าแต่ผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ทรงอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อกุลบุตร กุลธิดาบังเกิดอนุตรสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงให้คงอยู่อย่างไร ? และควรสงบจิตนี้อย่างไร ? " พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจริญพร เจริญพร สุภูติ ! ดังที่เธอกล่าว ตถาคตทรงคุ้มครองห่วงใยอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ และอบรมสั่งสอนอันดีต่อเหล่าพระโพธิสัตว์ เธอจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงแก่เธอ" "กุลบุตร กุลธิดา เมื่อบังเกิดสัมมาสัมโพธิจิตแล้ว ควรดำรงจิตของตนให้คงอยู่เช่นนั้น ควรสงบจิตของตนเช่นนั้น " สาธุ พระสุคต ! ขัาพระองค์มีความปลาบปลื้มยินดีเฝ้าคอยสดับอยู่"
3. ศาสตร์แท้
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "เหล่าเวไนยสัตว์ มหาสัตว์ ควรสยบใจเช่นนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกิดจากอัณฑชะก็ดี เกิดจากชลาพุชะก็ดี เกิดจากสังเสทชะก็ดี เกิดจากอุปปติกะก็ดี หรือจักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาหรือไ้ร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี หรือจักมิมีสัญญาหรือมิไร้ (สิ้น) สัญญาก็ดี เราล้วนชักนำเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานและขจัดฉุดฃ่วย ด้วยการขจัดฉุดช่วยสรรพสัตว์ที่จำนวนมิอาจประมาณนับได้นี้ ความจริงแล้วหาได้มีสรรพสัตว์ใด ๆ ได้รับการขจัดฉุดช่วยเลย เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! หากพระโพธิสัตว์มีอาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะแล้ว ก็จะมิใช่พระโพธิสัตว์ ?
4. สังขาร (ดำเนิน) แยบยล ไร้ดำรง
"อนึ่ง สุภูติ ! ในธรรมนั้น พระโพธิสัตว์ควรบริจากทานโดยไร้ดำรงกล่าวคือ จักบริจาคทานโดยไร้ดำรงในรูป ไร้ดำรงในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ควรบริจาคทานเช่นนี้ โดยไร้ดำรงในลักษณะ เพราะเหตุใด ? หากพระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับก้จักมิอาจคิดคำนวนได้เลย สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ทิศบูรพาอันว่างเปล่าสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! " "สุภูติ ! ทิศทักษิณ ปัจฉิม อุดร ตลอดจนความว่างเปล่าในบนล่างสารทิศสามารถคะเนได้หรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" "สุภูติ ! พระโพธิสัตว์ไร้ดำรงในลักษณะบริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้ย่อมไม่อาจคะเนได้ดุจกัน สุภูติ ! พระโพธิสัตว์พึงดำรงตามคำสอนเช่นนี้แล"
5. ดั่งแท้ เห็นจริง
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้หรือไม่ ? "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ไม่สามารถอาศัยกายลักษณะเห็นตถาคตได้ เพราะเหตุใด ? กายลักษณะที่พระตถาคตได้ตรัส มิใช่กายลักษณะ" พระสุคตตรัสแก่สุภูติว่า "ลักษณะที่มีอยู่ทั้งหลายล้วนเป็นมายา หากเห็นเหล่าลักษณะมิใช่ลักษณะ ก็จะเห็นตถาคต"
6. ศรัทธาเที่ยงตรง ยากจะมี
สุภูติทูลถามพระพุทธองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ยังจักจะมีเหล่าเวไนยสัตว์ที่ได้สดับพระธรรมบรรยายฉะนี้ แล้วบังเกิดศรัทธาอันเที่ยงแท้หรือไม่ ?" พระพุทธองค์ตรัสตอบสุภูติว่า "อย่าได้กล่าวเช่นนั้น หลังจากตถาคตดับขันธ์ปรินิพพาน หลัง 500 ปี มีผู้ถือศีลบำเพ็ญบุญที่อาศัยพระธรรมนี้ จนสามารถเกิดใจศรัทธา และถือสิ่งนี้เป็นจริง ควรรู้ว่าคน ๆ นี้ ไม่เพียงแต่ปลูกฝังกุศลมูลเฉพาะ 1 พุทธะ 2 พุทธะ, 3,4,5 พระพุทธะเท่านั้น หากแต่เขาได้ปลูกฝังกุศลมูลต่อพระำพุทธะอันมิอาจประมาณได้เลย และเมื่อเขาได้สดับพระธรรมดังกล่าว กระทั่งเกิดศรัทธาบริสุทธิ์ สุภูติ ! ตถาคตนั้นรู้หมด เห็นหมด คือ เหล่าเวไนยสัตว์ที่ยึดธรรมฉันนี้ จักได้รับบุญวาสนาอันไร้ขอบเขต เพราะเหตุใด ? เป็นเพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้จะไม่กลับไปมี อาตมะลักษณะ บุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ ไร้ธรรมลักษณะ อีกทั้งไร้อธรรมลักษณะ เพราะเหตุใด ? เพราะเหล่าเวไนยสัตว์ฉันนี้ หากใจเกิดติดในลัดษณะ ก็คือติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ หากติดในธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ เพราะเหตุใด หากติดในอธรรมลักษณะ ก็คือ ติดยึดในอาตมะ บุคคละ สัตวะ และชีวะลักษณะ ฉะนั้นจึงไม่ควรติคยึดในธรรม ไม่ควรติดยึดในอธรรม ด้วยความหมายเช่นนี้ ตถาคตมักกล่าวเป็นเสมอว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงรู้ว่าธรรมที่เราแดสง อุปมาดั่งแพ แม้แต่ธรรมยังต้องละ นับประสาอะไรกับอธรรมเล่า"
7. ไร้รับ ไร้วาจา
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคตได้อนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา ? ตถาคตได้แสดงธรรมฤา ?" สุภูติตอบว่า "ตามความเข้าใจในความหมายที่พระองค์ตรัสของข้าพระองค์นั้นคือ ไม่มีธรรมที่แน่นอน ที่ชื่อว่าอนุตตรสัมมาสัมโพธิ และไม่มีธรรมที่แน่นอนที่ตถาคตได้แสดง เพราะเหตุใด ? ธรรมที่ตถาคตได้แสดงเทศนา ล้วนมิอาจยึด มิควรกล่าว ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่อธรรม ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? เมธีอริยะทั้งหลาย ล้วนเนื่องด้วยอสังขตธรรมและเกิดความแตกต่าง"
8. อาศัยธรรม ก่อเกิด
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ถ้าหากบุคคลนำสัปตรัตนะปูทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ เพื่อใช้บริจาคทาน บุญวาสนาที่ได้รับของบุคคลนี้นับว่ามากมายหรือไม่ ? " สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? บุญวาสนานี้ แท้จริงไร้แก่นแท้ของบุญวาสนา ดังนั้นตถาคตตรัสว่า บุญวาสนามากมาย" "แต่หากได้มีบุคคลสนองรับตามในพระสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงโศลกแค่ 4 บาท และประกาศสาธยายกับคนอื่น บุญนี้ยังมากมายเหนือกว่าบุญชนิดแรก เพราะเหตุใด ? สุภูติ ! พระพุทธะทั้งปวง อีกทั้งเหล่าพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดจากพระสูตรนี้ สุภูติ ! สิ่งที่เรียกว่าพุทธธรรมนั้น แท้จริงมิใช่พุทธธรรม"
9. ไร้แม้หนึ่งลักษณะ
"สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโสดาบันจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุโสดาปัตติผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระโสดาบันนามว่าเข้าสู่กระแส แต่ไม่ได้มีการเข้า การไม่เข้าสู่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงได้ชื่อว่าพระโสดาบัน" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระสกทาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุสกทาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ขัาแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระสกทาคสมีมีนามว่าไปมาหนึ่งครั้ง แต่โดยความจริงไม่มีการไปมาหนึ่งครั้ง จึงได้ชื่อว่าพระสกทาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอนาคามีจะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอนาคามิผลได้ฤา ?" สุภูติทูลตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระอนาคามีนามว่าไม่มา แต่โดยความจริงไม่มีการไม่มา จึงได้ชื่อว่าพระอนาคามี" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระอรหันต์จะสามารถมนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรคได้ฤา ?" สุภูติตอบว่า "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมที่เรียกว่าพระอรหันต์ ขัาแต่พระสุคต ! หากพระอรหันต์ได้มนสิการว่า ตนได้บรรลุอรหัตตมรรค ก็คือติดใน อาตมะ บุคคละ สัตวะ ชีวะลักษณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอารัณยิกในสมาธิ เป็นที่หนึ่งในกลุ่มคน เป็นพระอรหันต์องค์แรกที่ได้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ! ข้าพระองค์ไม่นมสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ก็คือพระอรหันต์ผู้พ้นจากกิเลส ข้าแต่พระสุคต ! หากข้าพระองค์ได้มนสิการเช่นนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บรรลุอรหัตตมรรค พระองค์ก็จะไม่ตรัสว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา แต่เนื่องด้วยความจริงแล้วสุภูติไร้ซึ่งปฏิปทาจึงได้ชื่อว่า สุภูติคือผู้ยินดีในอารัณยิกปฏิปทา"
10 อลังการ วิสุทธิเกษร
พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? ตถาคต ประทับอยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีต มีธรรมที่ได้อันใดฤา ?" "ไม่แล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! ตถาคตประทับอยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ความจริงไร้ธรรมที่ได้" "สุภูติ ! ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? พระโพธิสัตว์ได้ตบแต่งอลังการพุทธเกษรหรือไม่ ?" "ไม่แล ข้าแต่พระสุคต ! เพราะเหตุใด ? อันว่าตบแต่งอลังการพุทธเกษร คือมิใช่อลังการ เป็นเพียงว่านามอลังการ" "เพราะฉะนั้นแล สุภูติ ! ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ พึงยังจิตให้สะอาดบริสุทธิ์เช่นนี้ ไม่ควรดำรงรูปบังเกิดจิต ไม่ควรดำรงเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์บังเกิดจิต แต่ควรที่จะไร้สิ่งดำรงและบังเกิดจิตต่างหาก สุภูติ ! อุปมาว่ามีบุคคล กายดุจเจ้าแห่งขุนเขาพระสุเมรุ ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? กายนี้ถือว่ามโหฬารหรือไม่ ? " สุภูติตอบว่า "ช่างมโหฬารยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพราะเหตุใด ? พระพุทธองค์ตรัสว่ามิใช่กาย เป็นเพียงนามว่านามว่ากายมโหฬาร"
11 อสังขตะ บุญเหลือคณนา
"สุภูติ ! อุปมาดั่งจำนวนเม็ดทรายทั้งหมดในคงคานที จำนวนเม็ดทรายเหล่านี้ ให้เปรียบเป็นแม่น้ำคงคาอีกที ในความหมายนี้เป็นเช่นไร ? เหล่าเม็ดทรายในคงคานทีนี้ นับว่ามากมายหรือไม่ ?" สุภูติตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ! เพียงแค่คงคานทีเหล่านี้ ก็เป็นจำนวนที่มิอาจนับได้แล้ว จึงนับประสาอะไรกับเม็ดทรายที่ได้เทียบเท่า" "สุภูติ ! วันนี้เราขอกล่าวถึงความจริงต่อเธอ หากมีกุลบุตร กุลธิดา อาศัยสัปตรัตนะเต็มจำนวนมหาตรีสหัสโลกธาตุ อันได้มีจำนวนเทียบเท่าเม็ดทรายในคงคานทีที่เปรียบดังกล่าวเพื่อใช้บริจาคทาน บุคคลนี้จะได้รับบุญมากมายหรือไม่ ?" สุภูติทูลตอบว่า "มากมายยิ่งนัก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !" พระพุทธองค์ตรัสแก่สุภูติว่า "หากกุลบุตร กุลธิดา รับสนองปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดจะเป็นเพียงแค่คำโฉลก 4 บท และประกาศกล่าวแก่บุคคลอื่น บุญวาสนานี้ ยังจะเหนือยิ่งกว่าบุญวาสนาอย่างแรก"