ผู้เขียน หัวข้อ: คติธรรมเตือนสติให้คิด กติกาพิจารณาความแก่  (อ่าน 1316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



คติธรรม เตือนสติให้คิด
กติกาพิจารณาความแก่

๑. ชอบของขม ๒. ชมเด็กสวย
๓. ช่วยศาสนา ๔. บ้าของเก่า
๕. เล่าความหลัง
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

ค่าของความแก่…
ไม้แก่ มีแก่น ทนทาน
ผลไม้แก่ สุก หอมหวาน ทานอร่อย
ข้าวแก่ ได้เกี่ยว
คนแก่ ได้ประสบการณ์
พระแก่ ได้พรรษายุกาล (รัตตัญญู)
- แก่ที่ต้องส่งเสริม และรักษา คือ แก่ศีล แก่ธรรม แก่คุณงามความดี
- แก่ที่ต้องทำลาย คือ แก่กิเลส แก่ตัณหา แก่แดด เช่น แก่ไช้เงิน แก่เที่ยว แก่กิน
แก่นอน แก่อบายมุขฯ

- แก่ ๔ แบบ….
๑. แก่ขึ้น เจริญวัย ใหญ่กล้า พัฒนา เติบโต
๒. แก่ลง ความเสื่อมโทรมของสังขาร
๓. แก่ขึ้น ๆ ลง ๆ อารมณ์หวั่นไหว ไม่หนักแน่น วิปริต คุ้มดีคุ้มร้าย
๔. แก่ไม่ขึ้นไม่ลง หนักแน่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ ทั้งอารมณ์ชอบ ทั้ง
อารมณ์ชัง เข้าลักษณะว่า “ยิ้มได้เมื่อถูกเยาะ หัวเราะเมื่อถูกเย้ย วางเฉยเมื่อถูกชม”
ข้อคิด…หัวใจหนุ่มในร่างที่แก่ ดีกว่าหัวใจท้อแท้ในร่างที่หนุ่ม
***********************


G+ นวรัตน์ พัชร์นันทพร /Aug 18, 2013


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คติธรรมเตือนสติให้คิด ทำบุญทำไม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2013, 10:55:49 pm »




คติธรรม เตือนสติให้คิด
ทำบุญทำไม
๑. ทำบุญเอาหน้า - อยากให้คนเห็น
๒. ทำบุญเอาตรา - อยากได้เกียรติ
๓. ทำบุญโฆษณา - อยากให้คนรู้จัก
๔. ทำบุญพึ่งพา - อยากให้บุญส่งเสริม

จนเพราะอะไร – ทำไมจึงจน
จนเพราะ…..
๑. ไม่มี - จนเพราะกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน
๒. ไม่พอ - จนเพราะใจรั่ว
๓. ไม่เจียม - จนเพราะกิเลส – หลงตัว
๔. ไม่จำ - จนเพราะประมาท ขาดยั้งคิด – ลืมตัว
เหตุทำให้จน…
๑. โกสัชชตา - ไม่ขยันหา
๒. อนารักขา - รักษาไม่ดี
๓. ปาปมิตตา - มีคนชั่วเป็นมิตร
๔. อสมชีวิตา - เลี้ยงชีวิตไม่เหมาะสม

คาถาแก้จน
๑. จนทรัพย์ - เสกคาถาหัวใจเศรษฐี อุ – อา – กะ – สะ
(ปฏิรูปการี ธุรวา อุฎฐาตา วินทเต ธนํ ผู้ขยัน หมั่นเอาธุระ ทำงาน เหมาะแก่จังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้)

คาถาภาวนาเอาตัวรอด
๑. หมั่นหาใช้ให้เหลือไว้เผื่อจ่าย ค่อยออมใช้ให้เหลือไว้เผื่อเก็บ
หากหาใช้ไม่เหลือไว้เผื่อเซฟ คราวป่วยเจ็บเอาไหนมาใช้เอย.
๒. จนความรู้ - เสกคาถาหัวใจบัณฑิต สุ จิ ปุ ลิ (ฟังให้หมด จดให้
มาก ปากต้องไว ใจต้องคิด
)
๓. จนความรัก - เสกคาถาหัวใจพระพรหม เม กะ มุ อุ (พรหมวินาศ ๔
หลงอำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ยกย่อง
คนเลว (หน้ามืด หน้าหมอง หน้าเหม็น หน้าหมา))

๔. จนยศศักดิ์ - เสกคาถามหานิยม ๓ อ. คือ
-๑. อ่อนน้อม - มารยาทสุภาพเรียบร้อย
-๒. อ่อนหวาน - พูดจาสุภาพชวนฟัง
-๓. อ่อนโยน - จิตใจงดงาม เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และรู้จักยกย่องให้
เกียรติผู้อื่น ทั้งมีดีรอบด้าน คือ
-๑. รู้ดี
-๒. สามารถดี
-๓. ประพฤติดี

๕. จนเพื่อน - เสกคาถาหัวใจสังคหะ ทา ปิ อัต สะ
สรุป คาถาแก้จนเพื่อน คือ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ทุกคน วางตนพอดี
๖. จนบุญกุศล - เสกคาถาบุญกิริยาวัตถุ ๓ ทา ศี ภา
โดยพิศดาร ให้ปฏิบัติตามหลักกุศลกรรมบท (ทางแห่งความดี) ๑๐ ประการ
๗. จนความดี - เสกคาถาสุจริต ๓ กาย วจี มโน
สรุป มีความรักใคร่ มีจิตใจสงสาร เบิกบานพลอยยินดี มีใจเป็นธรรม
๘. จนปัญญา - เสกคาถามหารอบรู้ จิ สุ ภา (จินตา, สุต, ภาวนา)
๙. จนใจ - ความไม่รู้จักยินดี ไม่รู้จักพอดีในสิ่งที่ตนมีตนได้ จิต
หิวกระหาย เป็นคนใจเติบ และเป็นคนใจแตก แก้ด้วยสันโดษ
ความรู้จักอิ่มใจ พอใจ และยินดี สมด้วยบทกวีที่ว่า
ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล
จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนพอฯ



G+ นวรัตน์ พัชร์นันทพร /Aug 18, 2013