แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์
พุทธศาสนสุภาษิต
ฐิตา:
หมวดอดทน
ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต
ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน
สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง
ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น
ความอดทน ย่อมตัดแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้ เป็นต้น
ผู้มีความอดทนนับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีความอดทน ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนแก่ผู้อื่น, ผู้มีความอดทน ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และไปนิพพาน
ผู้มีความอดทน ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา, และ ผู้มีความอดทน ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยการบูชาอันยิ่งใหญ่
ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้
ความอดทนเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณ คือศีล และ สมาธิ, กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะความอดทนเท่านั้น
มีต่อค่ะ
ฐิตา:
หมวดความเพียร
อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
คนไม่ประมาท ไม่มีวันตายในกาลอันไม่ควรตาย
คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย
คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข
คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
จงมีความพยายามในหน้าที่ของตน
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
คนประมาท เปรียบเสมือนคนตายแล้ว
ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง
ทำงานไม่คั่งค้าง เป็นอุดมมงคล
ค่อย ๆ ตั้งตัว เหมือนค่อย ๆ ก่อไฟจากกองน้อย
คนผลัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเกิดความเสื่อม
คนพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร
ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
การงานใด ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
ประโยชน์งามตรงที่ความพยายามสำเร็จ
ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต
พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
ฤกษ์ยามและดวงดาว จักช่วยอะไรได้
ความคืนผ่านไป ๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่
พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง
อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
คนขยัน ได้ความสงบใจ
อย่ามัวประมาทอยู่เลย
ไม่ควรให้แต่ละวันผ่านไปเปล่า
รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้
ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
บัณฑิต ไม่ควรท้อแท้
โภคทรัพย์ มิใช่มีมาได้ด้วยเพียงคิดเอา
ไม่พึงหวนคำนึงถึงอดีต
พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง
คนที่พากเพียรไม่หยุด เทวดาก็กีดกันไม่ได้
เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
คนประมาท เสมือนคนตายแล้ว
คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
ประโยชน์ เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง
เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
จงเตรียมการให้พร้อม สำหรับอนาคต
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่
คนมีกิจธุระ ตั้งใจทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ประเสริฐกว่า
เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว จังไม่ต้องเดือนร้อนใจในภายหลัง
คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่ปรารถนาจะสำเร็จ
รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ
พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
ผู้ปรารถนาประโยชน์ด้วยวิธีการอันผิด จะต้องเดือดร้อน
ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย
ประโยชน์คือตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้
ถ้ามัวล่าช้า ทำกิจล้าหลัง จะจมลงในห้วงอันตราย
จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท
อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข
การงานที่ทำโดยผลีผลาม ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือนร้อนภายหลัง
ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง
เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย เหมือนคนมีจักษุ เว้นเดินทางอันไม่สะดวกเรียบร้อย
ผู้ไม่สำคัญความหนาว และ ความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้าบุรุษเมื่อทำกิจ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการงาน เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น
เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัว เมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า
-เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่มีใครติเตียน ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย
-สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ คนเหล่านั้นมัวประมาทอยู่ ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น
-เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น
-ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือนร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
-ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
-คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี
-ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
-คนใดไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน มีลมแดด เหลือบยุงก็ไม่หรั่น ทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้น ทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาด ทั้งคืนวัน -สิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาล ก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไป คนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชค สิริโชคจะพักพึงอยู่กับเขา
-มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
-ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์
มีต่อค่ะ
ฐิตา:
หมวดความโกรธ
ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว (เพราะความโกรธได้เข้าพำนักหมดสิ้นแล้ว)
ความโกรธย่อมทำจิตให้กำเริบ
ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ
ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์
ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย
คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
ผู้มืนเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อนั้น
ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
ความโกรธก่อความพินาศ
ฆ่าความโกรธได้ ไม่โศกเศร้า
คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน
ความโกรธน้อยแล้วมาก มักเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี
ความโกรธไม่ดีเลย
อย่าลุแก่อำนาจความโกรธ
ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์
มีต่อค่ะ
ฐิตา:
หมวดการชนะ
การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
พึงชนะคนตระหนึ่ด้วยการให้
ผู้ชนะย่อมก่อเวร
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
ความชนะใด ที่ชนะแล้ว ไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความชนะใด ที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
มีต่อค่ะ
ฐิตา:
หมวดความประมาท
ความประมาท เป็นทางแห่ง ความตาย
ความประมาท บัณฑิต ติเตียนทุกเมื่อ
ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
อย่ามัวประกอบความประมาท
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินควรแก่กาล
มีต่อค่ะ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version