ผู้เขียน หัวข้อ: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร  (อ่าน 7760 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 03:59:49 pm »



อาหารกาย ป้อนได้ แต่อาหารใจ
ทุกคนต้องกินเอง ย่อยเอง
..
..

สมมุติว่ามีคนคนหนึ่งยืนอยู่กลางถนนสี่เลน บ่นตลอดเวลาว่า
“ที่นี่ไม่สงบเลย ที่นี่วุ่นว่าย ที่นี่ทำไมรถเยอะ”
รถเยอะเพราะถนนเป็นที่ของรถซิ อยากสงบอย่ายืนอยู่ตรงนั้น

จิตใจที่ยังขาด การฝึกอบรม ย่อมมีอารมณ์
วิ่งไปวิ่งมาตลอดทั้งวัน
เหมือนถนนสี่เลนมีรถวิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา
อยากสงบต้องเรียนวิธีนำจิตออกจากที่ขวักไขว่
มาอยู่ใต้ร่มของต้นไม้ใหญ่คือพุทธธรรม

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

ลึกๆมนุษย์เราต้องการความสุขที่มั่นคงแน่วแน่
ความสุขที่ไว้ใจได้ ที่ไม่มีวันเสื่อม ปัญหาคือเราแสวงหา
ความสุขที่เที่ยงแท้ถาวรนั้นในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสทางกาย และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
สิ่งเหล่านี้มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา
แม้แต่เครื่องรับสิ่งเหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเป็นธรรมดา
สรุปว่าเราหาความสุขผิดที่ ความทุกข์ ความขับข้องใจต่างๆที่เกิดในระหว่าง
การแสวงหาความสุขอย่างขาดปัญญาคือ ทุกขะ อริยสัจที่๑

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..



ปัญหาของปุถุชนมักจะเป็นเรื่องง่ายๆ ว่าสิ่งที่มาพร้อมกับความสุข
ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป และสิ่งที่มาพร้อมกับความทุกข์และทุกขเวทนา
ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไป ดังนั้นเราจะคบหรือไม่คบ
จะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง โดยเอาสุขหรือทุกข์เป็นหลักตัดสิน
อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถ้าเราเฉยๆ
ไม่ทำอะไรเพียงเพราะว่าไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ อันนี้ความเสียหายต่างๆ
มันก็จะค่อยๆ เกิดทีละเล็กทีละน้อยได้โดยเราไม่รู้ตัวได้
เพราะฉะนั้น การฝึกสติถึงสำคัญอย่างยิ่ง ฝึกสติคือรู้ตัว
ในแต่ละสถานการณ์แต่ละฉากของชีวิต นักปฏิบัติต้องคิดว่า
เมื่อมีสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ มีหน้าทีการงานอย่างนี้
วางใจอย่างไร มันจึงจะดีที่สุด จึงจะได้มีสติ
และจะมีสติกับอะไร มีสติกับการเคลื่อนไหวของกายไหม
มีสติกับความรู้สึกในกายไหม มีสติกับการพูดไหม
จะตั้งสติอยู่ตรงไหนอย่างไรมันจึงจะปลอดภัย
ทุกข์มันจึงจะเกิดขึ้นไม่ได้
ปัญญาจึงจะมีโอกาสทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว
นี่มันเป็นกีฬาประจำวัน มันสนุกตรงนี้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

อานิสงส์ผลดีด้านนอก
ของการขัดเกลาพฤติกรรม
คือความสามัคคีของชุมชน
บรรยากาศปลอดภัย
และอบอุ่น

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

the visible fruit of the training of conduct
is harmony of the group
an atmosphere of safety
and warmth

- Ajahn Jayasaro
..
..

อานิสงส์ผลดีด้านใน
ของการขัดเกลาพฤติกรรม
คือจิตปราศจากความเดือดร้อน
เคารพนับถือตัวเอง
รู้สึกเป็นมิตรกับตัวเอง
พร้อมที่จะรับแสงสว่างของธรรม

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

the internal fruit of the training of conduct
is a mind free of guilt and regret
fortified by self respect
we become a friend to ourself
primed to welcome the Dhamma’s light

- Ajahn Jayasaro
..
..

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
เกลียดทุกข์ รักสุข
ไม่ต่างกับตัวเราเลย
ผู้มีปัญญาจึงไม่เบียดเบียนสัตว์
ให้ความปลอดภัย
และเมตตา

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

all yes all beings
hate to suffer
love to feel good
just as we do
knowing this
the wise person harms no creature
but offers them safety
and kindness

- Ajahn Jayasaro
..
..

ส่วนมากความรู้ของมนุษย์เรา มักจะ
เป็นในลักษณะนี้
คือว่า ผิดพลาดแล้วจึงค่อยสำนึกตัว
ในทางพระพุทธศาสนา
เราต้องการความรู้เท่าทันในปัจจุบัน
ไม่ปล่อยให้สายเกินแก้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..



รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นของกลาง
ไม่มีพิษมีภัยในตัวมันเอง
แต่จิตใจมีตัณหา เหมือนโรงงานผลิตทุกข์
โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ
ตราบใดที่ยังไม่ละสมุทัย โรงงานย่อมผลิตทุกข์ไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าเราละตัณหาได้เมื่อไหร่ โรงงานก็ปิด และธรรมชาติก็
กลับกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆ

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 04:14:46 pm »


เปรียบเทียบจิตใจ เหมือนท้องฟ้า
อารมณ์และสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นดับไป อยู่ในจิตใจ
เหมือนสิ่งที่ปรากฏอยู่ในท้องฟ้า..
เราแยกได้ระหว่างท้องฟ้ากับสิ่งที่ปรากฏในท้องฟ้า
เราก็ควรจะแยกระหว่างจิตใจ กับ สิ่งที่ปรากฏในจิตใจ

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..



ถ้าเรามองดูแล้วก็ต้องยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างเจอแรกๆ นี่ชอบมาก
อยู่นานๆ เฉยๆ บางสิ่งบางอย่างเคยชอบมาก
ตอนหลังไม่ชอบเลยก็มี ในทำนองเดียวกันบางสิ่งบางอย่าง
คนบางคนเจอแรกๆไม่ชอบเลย
อยู่ไปนานๆก็ทนได้ ในที่สุดกลายเป็นเพื่อนสนิทกันก็ได้

ดังนั้นเมื่อความรู้สึกต่างๆเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ของตายตัวแน่นอนทีเดียวแล้ว
เราก็จะไม่ต้องเพลิดเพลินกับสิ่งที่ชอบจนเกินไป
เราก็ระมัดระวังเพราะมันก็เปลี่ยนได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป
เจอสิ่งที่ไม่ชอบก็ไม่ต้องทุกข์ใจมาก เพราะสิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงได้
ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนแปลงได้ ทั้งสองฝ่ายนี้ไม่แน่นอน
นี่ไม่ใช่การปลอบใจ แต่เป็นการยอมรับความจริงที่เราสามารถมองเห็นได้

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..



What is the purpose of walking meditation and how is it practiced?

Walking meditation provides both a supplement and an alternative to sitting meditation. Some meditators prefer it to sitting and may make it their main practice. Walking meditation is a particularly useful option when illness, tiredness or a full stomach make sitting meditation too difficult. Whereas in sitting meditation mindfulness is developed in stillness, in walking meditation it is developed in movement. Practicing walking meditation in combination with sitting thus helps the meditator to develop a flexible all-round awareness that can be more easily integrated into daily life than that which is developed by sitting meditation alone. As an added bonus, walking meditation is good exercise.

To practice walking meditation, a path of some 20-30 paces long is determined, with a mark placed at the mid-point. Meditators begin by standing at one end of the path with hands clasped in front of them. Then they begin walking along the path to its other end, where they stop briefly, before turning around and walking back to where they started. After another brief halt, they repeat this, walking back and forth along the path in this way for the duration of the walking meditation session. Meditators use the beginning, the end and the mid-point of the path as check-points to ensure that they have not become distracted. The speed at which meditators walk varies according to the style of meditation being practiced and to individual preference.

In the initial effort to transcend the five hindrances to meditation a variety of methods may be employed. One popular method, similar to that mentioned in the discussion of sitting meditation, is to use a two-syllable meditation word (mantra): right foot touching the ground mentally reciting the first syllable; left foot touching the ground, the second. Alternatively, awareness may be placed on the sensations in the soles of the feet as they touch the ground. As in sitting meditation, the intention is to use a meditation object as a means to foster enough mindfulness, alertness and effort to take the mind beyond the reach of the hindrances, in order to create the optimum conditions for the contemplation of the nature of body and mind.

from without and within by Ajahn Jayasaro
..
..



ส่วนมากเราก็อยู่ในลักษณะหวัง คือทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม
พูดเหมือนเดิม แต่หวังว่า
ผลของการกระทำนั้นจะไม่เหมือนเดิม จะดีกว่าเดิม

ตราบใดที่เรายังหวังพึ่งสิ่งหรือบุคคลนอกตัว
แต่เหตุปัจจัย คือการกระทำ การพูด การคิด เหมือนเดิม
ผลก็มักเหมือนเดิมอยู่ดี (คือไม่ดี)
เราสามารถทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ด้วยการรับผิดชอบการกระทำของตน
คือความจริงใจในเรื่องทาน ศีล และภาวนา

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..



นิพพิทา กับความเบื่อหนายทั่วไป ไม่เหมือนกัน
จิตใจเราเหมือนลิง เบื่อทั่วไป
คือตัวลิงมันเบื่อ
นิพพิทาคือเราเบื่อตัวลิง
เบื่อทั่วไปคือกิเลส นิพพิทาคือทางออกจากกิเลส

พระอาจารย์ชยสาโร
..
..

ถึงแม้ว่ากิเลสยังมีอยู่
และเรายังไม่เบื่อกิเลส
อย่างน้อยขอให้มีศีลธรรมกำกับ
ไม่ให้กิเลสเป็นเหตุ
เบียดเบียนตนหรือผู้อื่น

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

even though the defilements remain
even though we’re still willing to give them a home
govern them with precepts
don’t allow them to cause harm
to self or others

- Ajahn Jayasaro
..
..



ที่พระตถาคตสอนให้พวกเธอ
ละบาป บําเพ็ญกุศล
ก็เพราะเป็นสิ่งที่พวกเธอทําได้
ถ้าทําไม่ได้ เราก็ไม่สอน

- พระอาจารย์ชยสาโร
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

“That the Tathagata teaches you to abandon
the unwholesome and develop the wholesome
is because it is something you can do.
If you could not, I would not teach you to do so.”

- Ajahn Jayasaro
..
..


- ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
>>> ------------ 10 มีนาคม 57




ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
18/12/2557

การยอมพูดเท็จในบางกรณีที่อ้างว่าจำเป็นหรือสมควร แม้แต่ในเรื่องที่ฟังเผินๆชวนรู้สึกว่าไม่น่าจะผิด เช่นการพูดเท็จเพื่อไม่ให้เขาเสียใจ ย่อมมีโทษทุกครั้ง ในทำนองเดียวกันการงดเว้นจากการพูดเท็จย่อมเกิดผลดีทุกครั้ง

๑. พูดเท็จแล้ว สัจจะบารมีไม่เจริญ เราจะตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ในสัจจะได้ ก็เมื่อเราฝึกพูดความจริงในทุกๆสถานการณ์โดยไม่มียกเว้น ไม่มีกรณีพิเศษ การตั่งมั่นอยู่ในสัจจะคือความสุข และเป็นฆราวาสธรรมข้อแรก

๒. การยอมพูดเท็จในบางกรณีย่อมเปิดช่องให้กิเลสครอบงำได้ เช่นอ้างว่าจำเป็นเมื่อไม่จำเป็นจริงๆ ที่จริงเป็นการพูดเท็จเพราะเขินหรืออายบ้าง หรือเพราะกลัวเขาโกรธ หรือเพราะความอยากได้ เพราะกลัวพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ เพราะขี้เกียจอธิบาย เป็นต้น กิเลสหลายตัวเพิ่มขึ้นเพราะการไม่สำรวมวาจา

๓. การไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด บังคับให้ฉลาดในการสื่อสาร เช่นทำให้ต้องหาคำพูดที่ได้ผลทั้งสองฝ่าย คือ เขาไม่เสียใจ เราไม่ผิดศีล

๔. ผู้มีปัญญาในการสื่อสาร ผู้ไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด ย่อมกลายเป็นที่ยอมรับ ที่ไว้ใจ และที่เคารพนับถือของคนรอบข้าง คำพูดของคนผู้นี้มีนำ้หนัก

พระอาจารย์ชยสาโร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2014, 09:29:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 03:55:24 pm »


ไม่มีอะไรในโลกนี้ ใม่มีใครในโลกนี้ที่บังคับให้เราทุกข์ใจได้
บางสิ่งบางอย่าง คนบางคน อาจชวนให้เราทุกข์ใจ
แต่ถ้าเราไม่ขาดสติ
ไม่ปล่อยให้ตัณหาผสมโรงกับสิ่งหรือกิริยาที่ยุอารมณ์
ความทุกข์ใจเกิดไม่ได้
ข่าวร้ายคือ ไม่ฝึกจิตให้รู้เท่าทันสิ่งกระทบ จะต้องโลภในสิ่งที่ชวนให้โลภ
โกรธในสิ่งที่ชวนให้โกรธ และหลงในสิ่งที่ชวนให้หลง อย่างไม่มีวันจบสิ้น

ข่าวดีคือ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายว่าหญิง
สามารถฝึกจิตของตนให้เป็นอิสระภายในได้
คือไม่ต้องโลภในสิ่งที่ชวนโลภ ไม่ตัองโกรธในสิ่งที่ชวนโกรธ
และไม่ต้องหลงในสิ่งที่ชวนหลง

พระอาจารย์ชยสาโร

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 29, 2015, 04:52:48 pm »


สร้างภาพ ?

คำถามข้อที่ ๒๒ คนทุกคนมีข้อดีและข้อด้อยในตัวเอง การที่เราทำแต่สิ่งที่ดี ประพฤติดีให้คนอื่นเห็น แต่ไม่ได้ประพฤติข้อด้อย ข้อบกพร่องของเราให้ผู้อื่นรู้ ทำให้คนอื่นคิดว่าเราดี อย่างนี้เป็นการโกหกหรือไม่

ท่านชยสาโรตอบ : เราทราบว่าจิตใจมีผลต่อการพูดและการกระทำ จิตมาก่อนใช่ไหมเราจึงพูดจึงทำ แต่ในขณะเดียวกันการกระทำและการพูดก็มีผลต่อจิตใจ ยกตัวอย่างในเรื่องของศีล ถ้าเรารักษาศีลข้อแรกอย่างเคร่งครัด จะสังเกตได้ว่าการต้องงดเว้น คิดจะฆ่า คิดจะทำอะไรก็ไม่ทำ จะทำให้ความรู้สึกต่อสัตว์เปลี่ยนไป เพราะเจตนาจะงดเว้น ถ้าเรามีการกระทำหรือการพูดในสิ่งที่ดี ก็เป็นการสรรเสริญสิ่งที่ดี ถ้ามีการกระทำหรือการพูดตามอำนาจของสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นการสรรเสริญสิ่งที่ไม่ดี

อันนี้คือหลักการอย่างหนึ่ง เราก็มีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี แต่เราต้องการให้พ้นจากสิ่งที่ไม่ดี เหลือไว้แต่สิ่งที่ดี วิธีการก็ต้องใช้อาวุธหลายอย่าง ใช้วิธีการหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งก็คือ สิ่งที่ไม่ดีให้มันอยู่ที่จิตใจอย่างเดียว อย่าพึงแสดงออกภายนอก มันจะทำให้พลังของสิ่งที่ไม่ดีนั้น ค่อยๆลดถอยลง

ในขณะเดียวกัน การไม่ทำตามและไม่พูดตามสิ่งไม่ดีงามในจิตใจ ไม่ได้หมายความว่าเราปิดบังอำพราง ถ้าเราทำสิ่งที่ไม่ดีแล้วยอมรับผิด อย่างนี้ก็ถือว่าไม่โกหก แต่ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ดีแล้วต้องเที่ยวประกาศให้ทุกคนทราบ นี่ก็ไม่จำเป็น

พระพุทธองค์สอนเรื่องความแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับพาลในหลายกรณีเรื่องการพูด

ท่านว่าพาลชอบพูดถึงเรื่องที่ไม่ดีของคนอื่น แม้ไม่มีคนถาม เขาจะพูดก่อน แล้วพูดอย่างละเอียดด้วย ไม่เบื่อ ไม่มีสรุป ไม่มีสังเขป พูดทั้งหมดเลย และอาจจะเกินความจริงด้วยซ้ำไป สิ่งที่ดีของคนอื่นไม่อยากพูดถึง ถ้าไม่มีใครถามจะไม่บอก ถึงจะรู้ก็ไม่อยากให้เขาทราบความดีของคนอื่น แต่ถ้ามีใครปรารภหรือใครถาม ก็จะตอบอย่างสั้นที่สุด

แต่เรื่องของตัวเองจะตรงกันข้าม ความไม่ดีของตัวเองไม่อยากให้ใครทราบ ถ้ามีใครถามหรือว่าจำเป็นต้องพูดจะพูดให้สั้นที่สุด แล้วก็จะมีข้ออ้างมากมายด้วย แต่ถ้าจะพูดถึงความดีของตนจะเทศน์ได้ทั้งวันทั้งคืน “ตอนเริ่มต้นฉันก็ไม่มีอะไรนะ ฉันก็สร้างตัวเองด้วยความขยันหมั่นเพียรของตัวเอง” อะไรอย่างนี้ พูดเรื่องความดีของตัวเองนี่สนุก แต่สนุกคนเดียว คนอื่นเขาไม่ค่อยสนุกหรอก นี่คือลักษณะของพาล

ส่วนนักปราชญ์จะตรงกันข้ามทุกข้อ ปราชญ์ไม่อยากจะพูดถึงความไม่ดีของคนอื่น พยายามจะไม่พูด แต่ถ้าการไม่พูดนั้นจะมีผลกระทบต่อสถาบันหรือต่อส่วนรวม บางทีต้องพูดเหมือนกัน แต่จะพูดอย่างสั้นที่สุด ไม่ได้พูดชวนให้เกิดความโกรธจากอคติและอาจจะพยายามมองที่เหตุปัจจัยที่ทำให้เขาทำอย่างนั้น

ปราชญ์ชอบที่จะพูดถึงความดีของคนอื่น “นี่สังเกตไหม คนนั้นเขาน่ารักนะ เขาดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ” ใจเขาเองก็เป็นกุศล แล้วคนอื่นก็ค่อยๆชื่นใจด้วย “ใช่ไม่ได้สังเกตมาก่อน... ใช่” ก็เลยมีความสุขในความดีของคนอื่นและชอบเปิดเผย ชอบประกาศให้คนอื่นได้ทราบด้วย

ส่วนความไม่ดีของตัวเองยินดีจะเปิดเผยโดยที่คนอื่นยังไม่ถาม ก็พูดได้เลย เราจะเห็นครูบาอาจารย์ไม่ว่าหลวงพ่อชา ไม่ว่าท่านสุเมโธ ท่านเล่าถึงสมัยที่ท่านบวชใหม่ๆ ท่านมักจะเล่าถึงกิเลสของท่าน เราก็เคยอ่านเคยฟังท่านพูด ท่านจะพูดอย่างตลก

วันหนึ่งท่านอาจารย์สุเมโธเล่าว่า ท่านโกรธพระองค์หนึ่งมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านก็เดินเข้าป่าแล้วก็เลือกต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วก็ ตูม !! ชกต้นไม้ในป่า ไม่กล้าชกพระ

เรื่องทำนองนี้ท่านจะเล่าโดยไม่ปิดบัง เราก็ขำด้วยได้กำลังใจด้วย เพราะเราเห็นว่าตอนท่านเริ่มต้นการปฏิบัติท่านก็มีปัญหามากเหมือนกัน ที่ท่านเป็นอย่างนี้ไม่ใช่ว่าเป็นตั้งแต่เกิด ท่านเป็นด้วยการฝึกฝนอบรม

หลวงพ่อชาก็เหมือนกัน ท่านไม่เคยคิดที่จะปิดบังเพื่อให้ทุกคนเห็นว่าท่านบริสุทธิ์และน่าเลื่อมใสทุกอย่าง ท่านยินดีเปิดเผยกิเลสของท่านเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ส่วนความดีของท่าน ๆ จะพูดถึงน้อยมาก ไม่อยากจะพูด

ฉะนั้นให้เรามีความจริงใจ สำคัญอยู่ที่เจตนาของเรา

ถ้าเราเห็นว่าการเปิดเผยข้อบกพร่องของเราเป็นสิ่งที่สมควร จะเป็นคติธรรมหรือเป็นการให้กำลังใจคนอื่น เราก็พูด ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับคนอื่น พูดแล้วไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดทุกเรื่องไป

จากหนังสือคลายปม ท่านชยสาโรภิกขุ หน้าที่ ๕๓-๕๖
Anucha Ko G+
สนทนาธรรมตามกาล  -  Mar 13, 2015
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: เมษายน 24, 2015, 01:03:54 pm »


ตอนอาตมาบวชใหม่ๆ มักจะมีคนถามบ่อยๆว่า ท่านคิดถึงบ้านไหม
อาตมาจะตอบเสมอว่า ไม่ แล้วเสริมว่า.. แต่... ระลึกถึง ทุกวัน
อาตมาแยกแยะอย่างนี้ เพราะความรู้สึกของสองคำนี้ ต่างกันมาก
ความคิดถึง เกิด เมื่อจิตอ่อนแอ ไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ความคิดถึงย่อมทวีขึ้นด้วยความปรุงแต่ง และเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ส่วนการ ระลึกถึง ก็เกิดจาก การสำนึกในบุญคุณ ของผู้ที่มีพระคุณต่อตน
พยายามไม่ลืมสิ่งดีที่ได้รับจากท่าน และด้วยความตั้งใจจะให้ความพลัดพราก
จากบุพการี เกิดผลดีที่สุด ให้ท่านได้รับส่วนบุญจากการทำความดีของเราไปด้วย




ความอ่อนน้อมถ่อมตน เกิด เมื่อเรามีปัญญา
เห็นความกะล่อนของจิตใจตัวเอง เห็นความลำเอียง
และเมื่อเราตั้งใจ ไม่ลืมความผิดพลาดของเราในอตีต




อย่าเพิ่งรังเกียจ สิ่งกระทบ อย่างไรๆ ก็หนีไม่พ้น
ผู้มีสติและสัมปชัญญะครอบครอง จิตใจเปรียบเหมือนระฆัง
กระทบแล้ว เหง่ง เหง่ง เหง่ง เพราะดี



วินโย สาสนาสา อายุติ
วินัยคือชีวิตของพระศาสนา
พระสงฆ์วัดป่านานาชาติสวดปาติโมกข์กลางป่า อุทยานแห่งชาติไทรโยค จ.กาญจนบุรี


ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
15 เมษายน เวลา 6:00 น. ·
'เหนื่อยจัด'
หลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศซึ่งท่านอาจารย์มีภารกิจอย่างหนักตลอดเวลาสามวันที่เดินทาง จากสนามบินท่านก็ตรงเข้าร่วมพิธีทำวัตรสวดมนต์พร้อมทั้งแสดงธรรมแก่ญาติโยมเนื่องในวันอาสาฬหบูชาทันที ต่อด้วยการร่วมพิธีกรรมกับพระสงฆ์รูปอื่นๆ จนใกล้เที่ยงคืน เช้าวันรุ่งขึ้นลูกศิษย์จึงไต่ถามท่านด้วยความเป็นห่วง
ลูกศิษย์ “เมื่อคืนท่านอาจารย์เหนื่อยมากมั้ยครับ”
ท่านอาจารย์ “หลับเป็นมรณภาพเลยล่ะ”
--
ที่มา: 'เรื่องท่านเล่า' หนังสือรวมนิทานที่พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาเล่าไว้ เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ
https://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org?fref=nf

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: รวม พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 28, 2015, 08:11:15 pm »
ในชีวิตประจำวันผู้ครองเรือน
จะรักษาจิตให้นิ่งไม่ได้
แต่การดูแลจิตให้ดี
ไม่ให้ปรุงแต่งในสิ่งกระทบ
ด้วยความยินดีหรือยินร้าย
ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีพิษมีภัย
ตรงกันข้าม.....
กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ
คือวัตถุดิบในการผลิตปัญญา
..
..
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
ถ้าเรากำหนดรู้ “ทุกข์”
ตรงตามความเป็นจริงแล้ว
ในขณะนั้นเราก็ได้ละ “สมุทัย”
ทำ “นิโรธ” ให้แจ้ง
และเจริญ “มรรค” ให้ถึงพร้อมไปด้วย

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ
>> F/B เพจ สมาธิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ถ้าเรามองดูแล้วก็ต้องยอมรับว่าบางสิ่งบางอย่างเจอแรกๆนี่ชอบมาก
อยู่นานๆเฉยๆ บางสิ่งบางอย่างเคยชอบมาก ตอนหลังไม่ชอบเลยก็มี
ในทำนองเดียวกันบางสิ่งบางอย่าง คนบางคนเจอแรกๆไม่ชอบเลย
อยู่ไปนานๆก็ทนได้ ในที่สุดกลายเป็นเพื่อนสนิทกันก็ได้

 ดังนั้นเมื่อความรู้สึกต่างๆเปลี่ยนได้ ไม่ใช่ของตายตัวแน่นอนทีเดียวแล้ว
เราก็จะไม่ต้องเพลิดเพลินกับสิ่งที่ชอบจนเกินไป เราก็ระมัดระวัง
เพราะมันก็เปลี่ยนได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นมากจนเกินไป เจอสิ่งที่ไม่ชอบก็ไม่ต้อง
ทุกข์ใจมาก เพราะสิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงได้ ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนแปลงได้
ทั้งสองฝ่ายนี้ไม่แน่นอน
 นี่ไม่ใช่การปลอบใจ แต่เป็นการยอมรับความจริงที่เราสามารถมองเห็นได้
พระอาจารย์ชยสาโร
..
..





พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ฉะนั้นเราจะเข้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งโดยแท้ได้
ก็ด้วยการเข้าถึงพระธรรม
พระพุทธเจ้าปรินิพพานนานแล้วก็จริง แต่ธรรมะเป็นอมตะ
ไม่ได้หายไปไหน เหมือนน้ำที่อยู่ไต้ดินใครยอมขุดดิน
อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคย่อมมีสิทธิ์ดื่มรสพระธรรม
และการดื่มรสพระธรรมนั้นเปรียบเสมือนการกราบพระพุทธเจ้า
พระอาจารย์ชยสาโร


                            >> F/B jayasaro.panyaprateep.org