ผผัสสะ - การประจวบกันของ
อายตนะภายใน๑ และอายตนะภายนอก๑ และวิญญาณ๑ เรียกการประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ ว่า
ผัสสะ ดังเช่น ตา + รูป + วิญญาณ; ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ; ผัสสะ ๖ ผัสสะอันเนื่องมาจากอายตนะต่างๆทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผล - สิ่งที่เกิดจากเหตุ, ประโยชน์ที่ได้; ชื่อแห่งโลกุตตรธรรม
คู่กับมรรค
และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ผลญาณ - ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมรรคญาณ และเป็นผลแห่งมรรคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ชื่อว่าเป็น
พระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มี
โสดาบัน เป็นต้น
โผฏฐัพพะ -
อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วย
กาย,
สิ่งที่ถูกต้องด้วย
กาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น (ข้อ ๕ ในอายตนะภายนอก ๖ และในกามคุณ ๕)
พพระเสขะ - อริยะบุคคล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ มี พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
พระอเสขะ - อีกชื่อหนึ่งของ "พระอรหันต์ "
พรหมวิหาร - ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
พุทธาธิบาย - พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า, พระดำรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า
พยากรณ์ - ทาย, ทำนาย, คาดการณ์; ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา
พยาบาท - ความขัดเคืองแค้นใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
โพธิปักขิยธรรม - ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘
ภภพ - โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์,
ภาวะชีวิตของสัตว์ มี ๓ คือ ๑.
กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ ๒.
รูปภพ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาณ ๓.
อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาณ
ภูมิ - 1.พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน 2. ชั้นแห่งจิต,
ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ ๑.
กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ๒.
รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน ๓.
อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปหรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน ๔.
โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลกหรือระดับพระอริยบุคคล
ภวตัณหา - ความอยาก-ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิด อยากมีอยู่คงทนตลอดไปตามใจปรารถนา
ภวังค์, ภวังคจิต -
ขณะจิต ที่จิตมิได้มีการเสวยอารมณ์จากทวารทั้ง ๖ หรือก็คือ
ขณะที่จิตหยุดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖ ; จิตที่เป็น
องค์แห่งภพ, ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้น อยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ กล่าวคือตั้งแต่เกิดจนถึงตาย
ในเวลาใดที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ (
อันมี จักขุทวาร-ตา,โสตทวาร-หู, มโนทวาร-ใจหรือจิต ฯ. เป็นต้น), แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยินเป็นต้น ก็เกิดเป็น
วิถีจิตขึ้น แทน
ภวังคจิต และเมื่อวิถีจิตที่เกิดจากทวารทั้ง๖ไปเสวยอารมณ์ดับไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม ภวังคจิต นี้ คือมโน(ใจ) ที่เป็น
อายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็น
วิบาก จัดเป็น
อัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน เป็นเพียงมโน(จิตหรือใจ) ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ(ที่
รู้แจ้งคือรับรู้ในสิ่งที่กระทบ)
พุทธพจน์ว่า “
จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ภวังคจิต ภาวนา - การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ
๑. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่างคือ ๑.
สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.
วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.
จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.
ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา
ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ ๒. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิมี ๓ ขั้น คือ ๑.
บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.
อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ ๓.
อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาณ
๓. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆให้ขลัง ก็มี
ภาวนาปธาน - เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิดให้มีขึ้น (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)
ภาวนามัย - บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตากรุณา (
จิตตภาวนา) และฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง (
ปัญญาภาวนา) ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)
ภาวรูป - รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย