ผู้เขียน หัวข้อ: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท  (อ่าน 4288 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 02:48:11 pm »



คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท

กรรม - การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม  แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)
       การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี”   ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”
กรรม ๒- กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ
       ๑. อกุศลกรรม กรรม(การกระทำ)ที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
       ๒. กุศลกรรม กรรม(การกระทำ)ที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ - กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ
       ๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
       ๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา
       ๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

กรรมฐาน - กัมมัฏฐาน - ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบาย(วิธี)ทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภทคือ
           ๑. สมถกรรมฐาน อุบาย(วิธี)สงบใจ ๑  เพื่อเป็นบาทฐานหรือเครื่องเกื้อหนุนในการวิปัสสนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน
           ๒. วิปัสสนากรรมฐาน อุบาย(วิธี)เรืองปัญญา ๑  เพื่อให้เกิดปัญญาในการดับทุกข์

กรรมฐาน ๔๐ - สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา,  ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต,  อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต แบ่งออกเป็น  กสิณ ๑๐   อสุภะ ๑๐   อนุสสติ ๑๐   พรหมวิหาร ๔   อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑   จตุธาตุววัตถาน ๑   อรูป ๔

กฐินทาน - การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)
กสิณ - วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่   เป็นชื่อของกัมมัฏฐาน(กรรมฐาน)ที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่ง เพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ

กุปปธรรม - ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้  หมายถึง ผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่เสื่อมได้,    อกุปปธรรม ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลยได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด
กุปปวิโมกข์ - ความหลุดพ้นจากกิเลสที่ยังกำเริบได้  (วิโมกข์ = ความหลุดพ้นจากกิเลส)

กาม - ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่,  กามมี ๒ คือ  ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่(เกิดแต่จิตและอาสวะกิเลส)เป็นเหตุ   ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕
กามคุณ - ส่วนหรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
กามตัณหา - ความทะยานอยากในกามหรือทางโลกๆ คือใน รูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัส ทั้ง ๕
กามฉันทะ - ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)

กามราคะ - ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม  (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)
กามภพ - ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่  อบายภูมิ ๔   มนุษยโลก   และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดี  รวมเป็น ๑๑ ชั้น (ข้อ ๑ ในภพ ๓)
กามาวจร - ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม

กายทวาร - ทวารคือกาย, กายเป็นฐานในการทำกรรมทางกาย
กายสังขาร - ๑. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก   ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม
กายสัมผัส - สัมผัสทางกาย, อาการที่กาย๑ โผฏฐัพพะ๑ และ กายวิญญาณ๑  ทั้ง ๓ ประจวบกัน

กายานุปัสสนา - สติพิจารณากายเป็นอารมณ์(ที่ยึดเหนี่ยว,ที่กำหนด)ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง ดู สติปัฏฐาน
กามุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในกามหรือทางโลก อันคือกามคุณ ๕ ในรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส ฯ. ไปยึดถือว่าเป็นเราหรือของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยา หรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทําผิด,  เป็นหนึ่งใน อุปาทาน ๔

กาลามสูตร - เกสปุตตสูตร - พระสูตรหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตัดสอนชาวกาลามะในแคว้นโกศล  ไม่ให้เชื่อถืองมงาย ไร้เหตุผล(อธิโมกข์) ตามหลัก ๑๐ ข้อ  อันมีอย่าปลงใจเชื่อในสิ่งใดโดย   ๑.ด้วยการฟังตามกันมา   ๒.ด้วยการนับถือสืบๆกันมา   ๓.ด้วยการเล่าลือ   ๔.ด้วยการอ้างตําราหรือคําภีร์   ๕.ด้วยตรรก   ๖.ด้วยการอนุมาน   ๗.ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล   ๘.เพราะการเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน   ๙.เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อถือ   ๑๐.เพราะนับถือว่าสมณะ(รวมถึงพระองค์เองด้วย)นี้เป็นครูเรา  ต่อเมื่อพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้วด้วยตนเอง จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

กิจจญาณ - ปรีชากำหนดรู้ กิจที่ควรทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือรู้ว่า ทุกข์-ควรกำหนดรู้,  สมุทัย-ควรละ,   นิโรธ--ควรทำให้แจ้ง,   มรรค-ควรเจริญคือควรปฏิบัติ
กิจในอริยสัจจ์ - ข้อที่ต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือ ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์,   ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย,   สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง หรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ,   ภาวนา การเจริญ คือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค

กิเลส - สิ่งที่ทําให้จิตขุ่นมัว เศร้าหมอง และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก
        - สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์
กิเลสกาม - กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

กุศล - บุญ, ความดี, ฉลาด, สิ่งที่ดี, กรรมดี, แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป
กุศลมูล -รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อโลภะ ไม่โลภ (จาคะ- การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ)
       ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา)
       ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

       อกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล, ต้นเหตุของความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กุศลธรรม - ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี
กำหนัด - ความใคร่,ความอยากในกามคุณ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 03:43:25 pm »


                 

ขณิกสมาธิ - สมาธิชั่วขณะ, สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบาย, และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้
ขณิกาปีติ-ความอิ่มใจชั่วขณะ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบๆ เป็นขณะๆ เหมือนฟ้าแลบ (ปีติ ๕ ข้อ ๒)

ขันธ์ - กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่ง ๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นห้ากอง คือ รูปขันธ์ กองรูป, เวทนาขันธ์ กองเวทนา, สัญญาขันธ์ กองสัญญา, สังขารขันธ์ กองสังขาร, วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)
ขันธ์๕ - เบญจขันธ์ องค์ประกอบทั้ง๕ที่ทางพุทธศาสน์ถือว่า เป็นปัจจัยของมีชีวิต อันมี รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์

ขีณาสพ - ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้หมดกิเลส, พระอรหันต์
ขุททกาปีติ - ปีติเล็กน้อย, ความอิ่มใจอย่างน้อย เมื่อเกิดขึ้นทำให้ขนชันน้ำตาไหล (ข้อ ๑ ในปีติ ๕)


ครุกรรม - กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม  กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน

ความคิดนึก - ความคิด-ความนึก-จิตสังขาร-มโนสังขาร เป็นสังขารขันธ์(ขันธ์๕)เป็นสิ่งที่ต้องมี,ต้องเป็นโดยปกติธรรมชาติ ไม่เป็นโทษ  และจำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตหรือขันธ์ ๕

คิดนึกปรุงแต่ง - คิดปรุงแต่ง - จิตปรุงแต่ง - จิตฟุ้งซ่าน - จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก -  หรือคิดนึกฟุ้งซ่าน - คิดนึกเรื่อยเปื่อย  - คิดวนเวียนปรุงแต่ง - จิตส่งออกไปภายนอก = ล้วนมีความหมายเป็นนัยเดียวกัน เป็นการกล่าวถึงจิตที่ไปทำหน้าที่อันไม่ควร จึงเป็นทุกข์  จึงเน้นหมายถึงไปคิดนึกอันเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดกิเลสตัณหา - เพราะคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้งแต่ละทีย่อมเกิดการผัสสะ อันย่อมต้องเกิดเวทนาต่างๆขึ้นด้วย ทุกครั้งทุกทีไปในทุกๆความคิดปรุงแต่ง  อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาจากความคิดนึกปรุงแต่งที่มีเกิดขึ้นอย่างหลากหลายได้,  และความคิดหรือนึกปรุงแต่งถึงอดีตและอนาคต อันมักเจือด้วยกิเลสอันทําให้ขุ่นมัว, หรือเจือด้วยตัณหาความอยาก,ไม่อยาก  อันจักก่อตัณหาต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นใหม่นั้น(เวทนา)ได้ง่ายเช่นกัน,   แต่ถ้าเป็นการคิดในหน้าที่ หรือการงานเช่นการทำงาน, คิดพิจารณาธรรม ฯ. ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นคิดปรุงแต่ง แต่ก็ต้องควบคุมระวังสติให้ดีเพราะย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นเช่นกัน

     หลักการปฏิบัติโดยทั่วไป  ไม่ใช่ให้หยุดคิด  แต่ให้เห็นความคิดชนิดคิดปรุงแต่งหรืออาการของจิตที่ฟุ้งซ่านฟุ่มเฟือย  หรือเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น  แล้วอุเบกขาคือหยุดการคิดปรุงแต่งนั้นๆเท่านั้นเอง

     ส่วนความคิดนึก(ไม่ปรุงแต่ง)ในขันธ์ ๕ ที่ใช้ในชีวิตเช่นการงาน โดยไม่มีกิเลส,ตัณหา เป็นสิ่งจําเป็นที่ควรจะมีอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเพียงความคิดนึกในสังขารขันธ์ของขันธ์ ๕ อันเป็นปกติ เป็นประโยชน์ และจําเป็นในการดํารงชีวิต  แยกแยะพิจารณาให้เข้าใจชัดเจน

     การคิดพิจารณาในธรรมก็ไม่ใช่ความคิดนึกปรุงแต่ง เป็นธรรมะวิจยะความคิดนึกที่ควรปฏิบัติและควรทําให้เจริญยิ่งขึ้นไป

         
มีต่อค่ะ : http://nkgen.com/ex3.htm#a

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2012, 07:34:45 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 04:02:46 pm »


               

ฆนะ - กลุ่ม, ก้อน, แท่ง, ความเป็นมวลรวม    เป็นธรรมหรือสิ่งที่ปิดบังไม่ให้เห็นความเป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตน หรือไม่ใช่ตัวใช่ตน
ฆราวาส - การอยู่ครองเรือน, ชีวิตชาวบ้าน;   ในภาษาไทย มักใช้หมายถึง คฤหัสถ์ คือผู้ครองเรือน, ชาวบ้าน

ฆราวาสธรรม - หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑. สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน ๒. ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓. ขันติ ความอดทน ๔. จาคะ ความเสียสละเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ

ฆานวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
ฆานสัมผัส - อาการที่ จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน

ฆานสัมผัสสชาเวทนา - เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน


งมงาย - ไม่รู้เท่า, ไม่เข้าใจ, เซ่อเซอะ, หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังผู้อื่น


จงกรม - เดินไปมาโดยมีสติกำกับ  (บางท่านใช้ไปเป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตกำหนดเพื่อทำสมาธิแต่อย่างเดียวโดยไม่รู้ตัว  ดังนั้นถ้าเป็นการกระทำไปโดยไม่รู้ตัวว่า ตนกระทำสติที่ประกอบด้วยสมาธิหรือสมาธิแต่อย่างเดียวก็เป็นการไม่ถูกต้อง)

จตุธาตุววัตถาน - การกำหนดธาตุ ๔
       คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น  จึงไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง  เพราะตัวตนสัตว์บุคคลที่เห็นหรือผัสสะนั้นเป็นเพียงกลุ่มหรือก้อนของเหตุที่มาเป็นปัจจัยประชุมกัน

จริต - ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ   ๑.ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)   ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)   ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึมงมงาย)   ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)   ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติ ปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)   ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

จักขุวิญญาณ - จักษุวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น
จักขุสัมผัส - อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา - เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จาตุรงคสันนิบาต - การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือนสาม ๒. พระสงฆ์ ๑๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ดู มาฆบูชา

จิต - ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น สภาพหรือสภาวะของชีวิตในการรับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น ฯ.),  สภาพที่นึกคิด,  ความคิด, ใจ
       ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑)
       แบ่ง โดยชาติ เป็น  อกุศลจิต ๑๒   กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)    วิปากจิต ๓๖ (๕๒)   และกิริยาจิต ๒๐;
       แบ่ง โดยภูมิ เป็น   กามาวจรจิต ๕๔   รูปาวจรจิต ๑๕   อรูปาวจรจิต ๑๒   และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

จิตตะ - เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)
จิตสังขาร - จิตตสังขาร - มโนสังขาร - สังขารขันธ์ในขันธ์๕ อันคือ ความคิด ความนึก การกระทำทางใจต่างๆ   หรือมีความหมายได้ดังนี้

              - 1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่สัญญาและเวทนา
              - 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสังขาร เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม ดู สังขาร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2012, 07:38:25 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 12:09:12 pm »

                 

จิตตานุปัสสนา - สติพิจารณาเห็นอาการของจิต(เจตสิก)หรือจิตตสังขาร,    หรือสติพิจารณาใจหรือระลึกรู้เท่าทันใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา,   กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ,   ดังเช่น จิตมี ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ,  จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ.(ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

จิตส่งใน - อาการการกระทำทางจิต  ที่เกิดจากการติดเพลิน(นันทิ)ไปในผลของความสุข สงบ สบาย อันเกิดขึ้นทั้งต่อทางกายและจิต  อันมักเป็นผลมาจากการปฏิบัติฌาน,สมาธิ มักเพราะขาดการเจริญวิปัสสนาหรือด้วยความไม่รู้(อวิชชา)  จึงเกิดอาการคอยแอบจ้อง, แอบเสพ, แอบพยายามทำให้ทรง, ทำให้เป็นอยู่ในอาการขององค์ฌาน เช่นในปีติ ความสงบ ความสุข ความแช่นิ่ง  ซึ่งเป็นไปในอาการทั้งโดยรู้ตัว และไม่รู้ตัวก็ตามที,   อาการที่จิตแช่นิ่ง อยู่ภายในจิตหรือกายตน  ;  อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ใน จิตส่งใน ในหัวข้อ เกี่ยวเนื่องกับฌานสมาธิ  เป็นการปฏิบัติผิดที่เกิดกับนักปฏิบัติมากเป็นที่สุด  และมักเข้าใจผิดกันไปว่าจิตส่งในไปแช่นิ่งหรือเสพรสอร่อยในกายหรือจิต เป็นการปฏิบัติจิตเห็นกายหรือกายานุปัสสนาหรือจิตตานุปัสสนาอันดีงามในสติปัฏฐาน ๔  แต่ไม่ใช่ดังนั้นเลย!!!

จูฬปันถกะ - พระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้ จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพบพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆ ๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้ท่านมองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกง่าย ๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก

เจดีย์ - ที่เคารพนับถือ, บุคคล สถานที่หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา, เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี ๔ อย่างคือ ๑. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย ๓. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรม คือพุทธพจน์ ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป; ในทางศิลปกรรมไทยหมายถึงสิ่งที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือเช่น พระธาตุและอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้น

เจตนา - ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตน์จำนง, ความจำนง, ความจงใจ,   เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นประธานในสังขารขันธ์  และเป็นตัวการในการทำกรรม(ทั้งทางกาย วาจา ใจ)  หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

เจตภูต - สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่า ออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ  และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย  เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่าอาตมันหรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์  และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา

เจโตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ  (แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้องเกิดปัญญาวิมุตติ จึงจักทำให้เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อ) เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญวิปัสสนา, ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา - การฝึกอบรมปัญญา เช่น โดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา,   อบรมปัญญาโดยพิจารณาปฏิจจสมุปบาท, ขันธ์ ๕ ฯลฯ.

เจตสิก ๕๒ - อาการและคุณสมบัติต่างๆของจิต หรือก็คือกลุ่มอาการของจิต  ท่านได้แบ่งออกเป็น ๕๒ ชนิด อันนอกจากเวทนาและสัญญาแล้วต่างก็ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ชนิดจิตตสังขาร(มโนสังขาร)อีกด้วย,  เจตสิก๕๒ ได้แก่  ๑.ผัสสะ - ความกระทบอารมณ์   ๒.เวทนา - ความเสวยอารมณ์   ๓.สัญญา - ความหมายรู้อารมณ์   ๔.เจตนา - ความจงใจต่ออารมณ์   ๕.เอกัคคตา - ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว   ๖.ชีวิตินทรีย์ - อินทรีย์คือชีวิต,สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง   ๗.มนสิการ - ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ,ใส่ใจ   ๘.วิตก - ความตรึกอารมณ์    ๙.วิจาร - ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์   ๑๐.อธิโมกข์ - ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์   ๑๑.วิริยะ - ความเพียร   ๑๒.ปีติ - ความปลาบปลื้มในอารมณ์,ความอิ่มใจ   ๑๓.ฉันทะ - ความพอใจในอารมณ์   ๑๔.โมหะ - ความหลง   ๑๕.อหิริกะ - ความไม่ละอายต่อบาป   ๑๖.อโนตตัปปะ - ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป   ๑๗.อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน   ๑๘.โลภะ - ความอยากได้อารมณ์   ๑๙.ทิฎฐิ - ความเห็นผิด   ๒๐.มานะ - ความถือตัว   ๒๑.โทสะ - ความคิดประทุษร้าย   ๒๒.อิสสา - ความริษยา   ๒๓.มัจฉริยะ - ความตระหนี่   ๒๔.กุกกุจจะ - ความเดือดร้อนใจ   ๒๕.ถีนะ - ความหดหู่   ๒๖.มิทธะ - ความง่วงเหงา   

๒๗.วิจิกิจฉา - ความคลางแคลงสงสัย   ๒๘.สัทธา(ศรัทธา) - ความเชื่อ   ๒๙.สติ - ความระลึกได้,ความสำนึกพร้อมอยู่   ๓๐.หิริ - ความละอายต่อบาป   ๓๑.โอตตัปปะ - ความสะดุ้งกลัวต่อบาป   ๓๒.อโลภะ - ความไม่อยากได้อารมณ์   ๓๓.อโหสิ - อโทสะ - ความไม่คิดประทุษร้าย   ๓๔.ตัตรมัชฌัตตตาหรืออุเบกขา - ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ   ๓๕.กายปัสสัทธิ - ความสงบแห่งกองเจตสิก   ๓๖.จิตตปัสสัทธิ - ความสงบแห่งจิต   ๓๗.กายลหุตา - ความเบากองเจตสิก   ๓๘.จิตตลหุตา - ความเบาแห่งจิต   ๓๙.กายมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกายหรือกองเจตสิก   ๔๐.จิตตมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต   ๔๑.กายกัมมัญญตา - ความควรแก่การใช้งานแห่งกายหรือกองแห่งเจตสิก   ๔๒.จิตตกัมมัญญตา - ความควรแก่การใช้งานแห่งจิต   ๔๓.กายปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก   ๔๔.จิตตปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งจิต   ๔๕.กายุชุกตา - ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก   ๔๖.จิตตุชุกตา - ความซื่อตรงแห่งจิต   ๔๗.สัมมาวาจา - เจรจาชอบ   ๔๘.สัมมากัมมันตะ - กระทำชอบ   ๔๙.สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ   ๕๐.กรุณา - ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์   ๕๑.มุทิตา - ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข   ๕๒.ปัญญินทรีย์หรืออโมหะ - ความรู้เข้าใจ,ไม่หลง.   ทั้ง๕๒นี้ ยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญาแล้ว   ที่เหลือทั้ง๕๐ ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ชนิดมโนสังขารหรือจิตตสังขารด้วย

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 01:59:55 pm »

                 

ชาติ - การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน,  การเกิดของสังขาร(สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง)  จึงครอบคลุมการเกิดขึ้นของสังขารทั้งปวงไม่ใช่ชีวิตหรือร่างกายแต่อย่างเดียว,  ในปฏิจจสมุปบาท ชาติ จึงหมายถึงการเกิดขึ้นของสังขารทุกข์ อันเป็นสังขารอย่างหนึ่ง   (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ ชาติ )
ชรา - ความแก่ ความทรุดโทรม ความเสื่อม, ความเปลี่ยนแปลง ความแปรปรวน,  การแปรปรวนการเปลี่ยนแปลงของสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง) จึงครอบคลุมสังขารทั้งปวง,  ในปฏิจจสมุปบาท ชรา จึงหมายถึง ความแปรปรวนหรือวนเวียนอยู่ในทุกข์หรือกองทุกข์  กล่าวคือฟุ้งซ่านปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนในสังขารนั่นเอง โดยไม่รู้ตัว
มรณะ - ความตาย ความดับไป ความเสื่อมจนถึงที่สุด,  การดับไปในสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง) จึงครอบคลุมสังขารทั้งปวง,  ในปฏิจจสมุปบาท มรณะ จึงหมายถึงการดับไปของสังขารทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นๆ

ชิวหา - ลิ้น
ชิวหาวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส
ชิวหาสัมผัส - อาการที่ลิ้น รส และ ชิวหาวิญญาณประจวบกัน
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ลิ้น รส และชิวหาวิญญาณประจวบกัน


ฌาน - การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ จนเกิดองค์ฌานต่างๆ,  ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก อีกทั้งประกอบด้วยองค์ฌานที่สำคัญอีก ๖ ;

    ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ประกอบด้วยมีองค์ ๕ คือ องค์ฌานทั้ง ๕ มี  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา  ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)   ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)  ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา) ;  องค์ฌาน หรือองค์ประกอบสำคัญของฌาน มี ๖

    วิตก  ความคิด  ความดำริ  การตรึงจิตไว้กับอารมณ์
    วิจาร  ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การปั้นอารมณ์, การฟั้นอารมณ์,  การเคล้าอารมณ์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวหรือกลมกลืนไปกับจิตหรือสติ
    ปีติ  ความซาบซ่าน, ความอิ่มเอิบ,  ความดื่มด่ำในใจ  อันยังผลให้ทั้งกายและใจ
    สุข  ความสบาย, ความสำราญ (อาการผ่อนคลายกว่าปีติ)

    อุเบกขา  ความสงบ ความมีใจเป็นกลาง ความวางเฉยต่อสังขารสิ่งปรุงแต่งต่างๆ
    เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่เป็นเอกหรือเป็นสำคัญ
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบท ฌาน,สมาธิ)

    ฌาน ๕ - ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)  ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ


ญาณ - ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากําหนดรู้หรือความเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)  หรือก็คือ ปัญญาที่เข้าใจอย่างถูกต้องแจ่มแจ้งแท้จริง ตามธรรมหรือธรรมชาติ

ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
           ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
           ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
           ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ
           ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;

ญาณ ๑๖ - ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป   ๒.(นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป   ๓.สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์  ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)   ๑๓.โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชนเป็นอริยบุคคลระดับใดระดับหนึ่ง   ๑๔.มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค   ๑๕.ผลญาณ ญาณในอริยผล   ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;   ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;   ดู วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณทัสสนวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔


ตทังควิมุตติ - “พ้นได้ด้วยองค์นั้น”  หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา จึงหายโกรธ, เกิดสังเวช จึงหายกำหนัด เป็นต้น   เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ

ตทังคปหาน - “การละด้วยองค์นั้น”, การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา  (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”)  และเป็นโลกิยวิมุตติ

ตทังคนิพพาน - "นิพพานด้วยองค์นั้น”, นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ กล่าวคือ เห็นเข้าใจธรรมใดได้อย่างแจ่มแจ้ง(ธรรมสามัคคคี) ทำให้ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดคราวหนึ่งๆ,  นิพพานเฉพาะกรณี เช่นตทังควิมุตติ

ตติยฌาน - ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒   ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 05:40:09 pm »

                       

ตถตา - ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใคร ๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา

ตถาคต - พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรง เรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน

๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น  ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจเป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสะ

ตรัสรู้ - รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ติดสุข - เป็นอาการหรือกริยาจิต ที่ไปยึดติดเพลิดเพลินจนถอนตัวไม่ขึ้นในความสุข สงบ สบาย จากอำนาจหรือกำลังขององค์ฌาน(สุข)หรือสมาธิ   จึงเกิดอาการของจิตคือ"จิตส่งใน"ไปในกายหรือจิตตน เพื่อการเสพเสวย ที่กระทำอยู่เสมอๆทั้งโดยรู้ตัว และโดยเฉพาะไม่รู้ตัว และควบคุมไม่ได้ เป็นการกระทำเองโดยอัติโนมัติ  เมื่อติดสุขแล้วจึงร่วมด้วยอาการ"จิตส่งใน" อยู่เสมอๆตลอดเวลาอย่างควบคุมไม่ได้,  เกิดจากการปฏิบัติฌานหรือสมาธิ จนเกิดองค์ฌานหรือได้รับความสบายระดับหนึ่งจากการระงับไปของนิวรณ์ ๕ แล้วไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาทางปัญญาเลย  เน้นกระทำแต่ฌานสมาธิก็เพื่อเสพสุขในรสของความสุข ความสงบ และเสพรสชาดอันแสนอร่อยขององค์ฌานต่างๆ อันมี ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ อุเบกขาต่างๆ ซึ่งเรียกรวมกันไปว่า ติดสุข,  ซึ่งเป็นไปโดยไม่รู้ตัว และประกอบด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปฏิบัติถูกต้องแล้วเป็นสำคัญอีกด้วย คือเข้าใจไปว่าถูกทางแล้วเพราะมีความสุขสบายที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องล่อลวง   หรือปฏิบัติไปด้วยเข้าใจผิดๆไปว่า จิตส่งในไปในกายหรือในจิตเป็นกายานุปัสสนาหรือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔  :   มีรายละเอียดและการแก้ไขใน รวมหัวข้อฌานสมาธิในบท ติดสุข

ตัณหา - ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓
    กามตัณหา ตัณหาความทะยานอยาก(รวมทั้งความไม่อยาก)ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้ง๕ หรือในทางโลกๆ  หรือความอยากได้ในอารมณ์(รูป รส กลิ่น ฯ.)อันน่ารักน่าใคร่
    ภวตัณหา ตัณหาความทะยานอยากในทางจิตหรือความนึกคิด หรือความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
    วิภวตัณหา ตัณหาความทะยานไม่อยาก หรือผลักไส ต่อต้าน ความไม่อยากในทางจิตหรือความนึกคิด  หรือความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้น(ไม่อยาก)ไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา,  ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐ,  พอสรุปได้เป็น ความไม่อยากทั้งหลายนั่นเอง

     ตัณหาพอสรุปเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา จึงพอจำแนกหยาบๆได้ว่าเป็นตัณหาความทะยานอยาก และไม่อยาก  ในที่นี้ผู้เขียนจึงมักเรียกสั้นๆในตัณหาว่า ความอยาก และไม่อยาก   และในปฏิจจสมุปบาทนี้ผู้เขียนหมายรวมความคิดปรุงแต่งหรือคิดนึกปรุงแต่งอันมักก่อกลายเป็นตัณหาว่า ทําหน้าที่เป็นตัณหาด้วย (ดูวงจรประกอบ หมายเลข 8 คือตําแหน่งที่เกิดตัณหา,  หรือหมายเลข 22 คิดนึกปรุงแต่งทําหน้าที่ก่อให้เกิดเป็นตัณหาได้ด้วยถ้าสติไม่รู้เท่าทัน)

ไตรทวาร - ทวารสาม, ทางทำกรรม(การกระทำ) ๓ ทาง คือ กายทวาร(ทางกาย)  วจีทวาร(ทางวาจา)  และมโนทวาร(ทางใจ)

ไตรปิฎก - “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้วโดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวดกล่าวคือ
        วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
        สุตตันตปิฎก  ว่าด้วยพระสูตรหรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง คำบรรยายธรรมบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกสำคัญบางรูป
        อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมต่างๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยาและอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา

ไตรลักษณ์ - ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ,  ๓ ประการ ได้แก่
           ๑. อนิจจตา (อนิจจัง) ความเป็นของไม่เที่ยง
           ๒. ทุกขตา (ทุกขัง) ความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
           ๓. อนัตตตา (อนัตตา) ความเป็นของมิใช่ตัวตน
       (คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)
       ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์
       ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
       (ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);
       ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ส่วนคำว่าไตรลักษณ์และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นภายหลังในยุคอรรถกถา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2011, 12:36:20 pm »

                       

ไตรวัฏฏ์, ไตรวัฏ - วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาทซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส ---> กรรม ---> และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน  ๒.กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ  ๓.วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส)

        กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น  อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลสคือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ไตรสรณะ - ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ไตรสิกขา - สิกขาสาม, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา  อธิจิตตสิกขา  อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

       
ทิฏฐิ - ความเห็น, ทฤษฎี, ความเชื่อ ;  ในภาษาไทย มักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น  (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)
ทิฏฐิ ๒ - ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง   ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
ทิฏฐิ ๓ - อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น

ทิฏฐิมานะ - ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข,  มานะ ความถือตัว, รวม ๒ คำเป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว
ทิฏฐิวิบัติ - วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมหรือผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)
ทิฏฐิวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ์ ๗)

ทิฏฐุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี ความเชื่อ ความคิดของตน ภายใต้อํานาจของกิเลสและตัณหา อันพาให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง,  ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ ;  เป็นหนึ่งในอุปาทาน ๔ ที่ยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ ที่สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เร่าร้อนกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ทิพย์ - เป็นของเทวดา, วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์
ทุกข์ - ทุกขลักษณะ - ทุกขัง
         ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ไม่ขึ้นต่อตัวของมันเอง (ทุกข์หรือทุกขัง ในไตรลักษณ์)
         ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฎขึ้นแก่คนเป็นธรรมดา คือ  ความเกิด ก็เป็นทุกข์๑   ความแก่ ก็เป็นทุกข์๑   ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์๑   ความตาย ก็เป็นทุกข์๑   ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์๑  รวม ๗ อย่าง  โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.  (ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจ   ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)
         ๓. สภาพที่ทนอยู่ด้วยได้ยากลำบาก กล่าวคือ ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา,  ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกาย คือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)   แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

ทุกขเวทนา - ความรู้สึกรับรู้พร้อมความจำได้ในสิ่งนั้นว่า ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ;  ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย   พึงทำความเข้าใจให้ดีว่าทุกขเวทนาเป็นทุกข์อย่างหนึ่งแต่เป็นทุกข์ธรรมชาติ ที่ยังคงเกิด ยังคงมี ยังคงเป็น ตลอดเวลาขณะที่ยังดำรงชีวิตอยู่ แม้ในองค์พระอริยเจ้า และแท้จริงแล้วยังจำเป็นต้องมีเสียอีกด้วย ถ้าไม่มีเสียก็เป็นอันตรายต่อชีวิตยิ่งจนไม่สามารถอยู่ได้   ทุกขเวทนาจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ จึงต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่งยวดเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ  แต่ทุกขเวทนานี้ย่อมไม่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายเหมือนดังทุกข์อุปาทานคือทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ (ดูในเวทนา)

ทุกขสมุทัย - เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย
ทุกขสัญญา - ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
ทุกขอริยสัจ - ความเกิด ก็เป็นทุกข์๑   ความแก่ ก็เป็นทุกข์๑   ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์๑  ความตาย ก็เป็นทุกข์๑   ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์๑   โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ทุกข์อุปาทาน - อุปาทานทุกข์ - ความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน  เป็นความทุกข์ที่ร่วมด้วยความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส จึงมีความเร่าร้อนเผาลนกว่าความทุกข์ชนิดทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติอันเกิดขึ้นแต่การรับรู้ของการผัสสะ, ทุกข์อุปาทานเป็นผลจากการปรุงแต่งของตัณหาอันเป็นเหตุคือสมุทัย จึงมีอุปาทานขึ้น ดังนั้นทุกขเวทนาธรรมชาติจึงถูกครอบงำด้วยอุปาทานกลายเป็นทุกขเวทนูปาทานขันธ์อันแสนเร่าร้อนเผาลน  เป็นไปดังปฏิจจสมุปบาทธรรม,   ทุกข์อุปาทานเป็นความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าโปรดสั่งสอนให้ดับสนิทลงไปได้ คือนิพพานนั่นเอง  ;  จึงไม่เหมือนดังทุกขเวทนาที่เป็นทุกข์ธรรมชาติ ที่ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่ย่อมมีความรู้สึกจากการรับรู้ เมื่อเกิดการผัสสะ(กระทบ)กัน เกิดเป็นสุขเวทนา หรือเป็นทุกขเวทนาดังกล่าว หรือเกิดอุเบกขาเวทนา(อทุกขมสุขเวทนา)คือเฉยๆ  อย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตามสัญญาของตนเป็นสําคัญ

ทุติยฌาน - ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ, สุขอันเกิดแต่สมาธิ, เอกัคคตา
โทสะ - ความคิดประทุษร้าย,   ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือตรงข้ามกับโทสะ ได้แก่ เมตตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2013, 02:57:03 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 05:40:39 am »

                             

ธรรม - สภาพที่ทรงไว้,  ธรรมดา,   ธรรมชาติ,  สภาวธรรม,  สัจจธรรม,  ความจริง;
          เหตุ, ต้นเหตุ;
          สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด;
          คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;
          หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;
          ความชอบ, ความยุติธรรม;
          พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรม(คือความจริงแท้ เรื่องของทุกข์และการดับทุกข์)ให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม ๒ - หมวดหนึ่ง คือ  ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด  ๒.อรูปธรรม ได้แก่นามขันธ์ ๔ และนิพพาน;  อีกหมวดหนึ่ง คือ  ๑.โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก   ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;   อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด   ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

ธรรมขันธ์ - กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐,  สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐,  และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ธรรมจักษุ - ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญารู้เห็นความจริง ดังเช่นว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา;  ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน
ธรรมดา - อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้น ๆ
ธรรมฐิติ - ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา
ธรรมชาติ - สิ่งหรือของที่เกิดเอง ตามวิสัยของโลก

ธรรมนิยาม -กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดากฎธรรมชาติ,
       ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
       แสดงความตามพระบาลีดังนี้
           ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา   สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
           ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา    สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
           ๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา     ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;
       ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ไตรลักษณ์ แทนคำว่า ธรรมนิยาม

ธรรมทาน - การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ธรรมาธิษฐาน - มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนา โดยยกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่าศรัทธาศีล คืออย่างนี้   ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับบุคคลาธิษฐาน
ธรรมารมณ์ - ธัมมารมณ์ - อารมณ์ทางใจ กล่าวคือ สิ่งที่กำหนดรู้ได้ทางใจ,  สิ่งที่ใจนึกคิด
ธรรมวิจยะ - ธัมมวิจยะ - ธรรมวิจัย - การวิจัยหรือค้นคว้าพิจารณาธรรม  การเฟ้นเลือกธรรม

ธรรมสามัคคี - ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกันทุกอย่าง ทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่าง ๆ โดยพร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกันให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น จนเกิดความเข้าใจในธรรมใดธรรมหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง อย่างปรมัตถ์,   แต่ถ้าเข้าใจในธรรมถึงขั้นบรรลุในมรรคผล กล่าวคือถ้าเป็นธรรมสามัคคีดังข้างต้นที่พร้อมด้วยองค์มรรค ก็เรียกกันว่า มรรคสามัคคีหรือมรรคสมังคี อันเป็นการบรรลุมรรคผลในขั้นใดขั้นหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือเป็นอริยบุคคล เช่น พระโสดาบัน   พระสกิทาคามี ฯ.เป็นต้น

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร - “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือ ความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก

ธัมมารมณ์ - ดู ธรรมารมณ์
ธาตุ - สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่ได้เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย หรือทรงสภาวะของมันเองได้โดยธรรมชาติ  :   ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา  ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

ธาตุ ๔ คือ ๑.ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่เรียกสามัญว่าธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (มันสมอง), หรือหมายถึงสารประกอบแข้นแข็งที่เกิดแต่การประกอบกันขึ้นของธาตุทั้ง๑๐๘ ที่ล้วนมีอยู่ในดิน ก็เพื่อประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาก็ได้   ๒.อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน   ๓.เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่าธาตุไฟ ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย  ๔.วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน  ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
ธาตุ ๖ - คือ เพิ่ม  ๕.อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง หรือช่องว่าง   ๖.วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้
ธาตุ - กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวมๆ ว่า พระธาตุ  (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้นๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

ธาตุ ๑๘ - สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง  ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา คือไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว  อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ
       1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท หรือจักขุประสาท)
       2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
       3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
       4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท)
       5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
       6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
       7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท)
       8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
       9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)

       10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท)
       11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
       12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)
       13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท)
       14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
       15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
       16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
       17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
       18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)


       ธาตุกัมมัฏฐาน - กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กล่าวคือ กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่  จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  จึงไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 06:06:21 am »

                     

นาม - ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้   ๑.ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ   ๒.บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ)   ๓.บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป
นามธรรม - สิ่งที่ไม่มีรูปร่างตัวตน สัมผัสได้ด้วยใจ หรือความคิด
                - สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ คือ จิตและเจตสิก,  สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ
นามรูป - นามธรรมและรูปธรรม;   นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ;    รูปธรรม หมายถึงสิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด
นามรูปปริจเฉทญาณ - ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป  และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ในญาณ ๑๖)
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ - ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ในญาณ ๑๖) เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ)

นิพพาน - การดับกิเลสและกองทุกข์เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดู นิพพานธาตุ
นิพพานธาตุ - ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสและยังมีขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์อยู่ ๑  หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่  ดังนั้นจึงไม่ใช่การพยายามดับขันธ์๕ แต่เป็นการดับอุปาทานที่ไปยึดขันธ์๕   อนุุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑ (ตายหรือดับขันธ์)
นิพพิทา - ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง  ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา เพราะเป็นการหน่ายที่เกิดจากกิเลสตัณหา;   ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์  (ดูรายละเอียดในบท นิพพิทา)
นิพพิทาญาณ - ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย ดู วิปัสสนาญาณ

นิมิต - สิ่งที่เกิดปรากฏเฉพาะขึ้นในนักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น ภาพที่ปรากฏขึ้นแต่ใจของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐาน ฯ.,  พอแยกให้เห็นโดยสังเขปได้ดังนี้
          ภาพหรือรูป,แสง,สี ที่เห็นขึ้นอันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญหรือเป็นเหตุ ผู้เขียนเรียกว่ารูปนิมิต,  ส่วนเสียงที่ได้ยินอันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติเป็นสำคัญหรือเป็นเหตุ ผู้เขียนเรียกว่าเสียงนิมิตหรือนิมิตทางเสียง เช่นได้ยินเสียงระฆัง เสียงสวดมนต์ที่ผุดขึ้นมาแต่ภายในเอง,  และความคิดที่ผุดขึ้นมาในใจของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ ก็เรียกว่านามนิมิต  ทั้งปวงล้วนเกิดแต่ใจหรือสัญญา(จึงครอบคลุมถึงเหล่าอาสวะกิเลสด้วย)ของผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ  จึงมิได้เกิดแต่ปัญญาหรือการพิจารณาอย่างแจ่มแจ้งแต่อย่างเดียว  นิมิตที่พึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาทั้งหลายนั้น จึงอย่าได้ไปยึดมั่นหรือหลงไหล เพราะพาให้การปฏิบัติผิดแนวทางในผู้ที่ไปยึดติดยึดมั่นเข้า ;  อ่านรายละเอียดได้ในบท นิมิตและภวังค์
        บางทีก็ใช้ในความหมายว่า มอง, จ้อง, เห็น
        - เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ในการเจริญกรรมฐาน,   ภาพที่ใช้เป็นอารมณ์ ในการปฏิบัติกรรมฐานมี ๓ คือ
        ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจว่า พุทโธ ก็จัดเป็นนิมิต เป็นต้น
        ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือนึกนั้นเอง จนแม่นในใจ  หรือจนหลับตามองเห็นสิ่งนั้น
        ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา

นิรามิส - นิรามิษ -หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษ(อามิส) คือ ไม่ต้องมีเหยื่อใช้เป็นเครื่องล่อใจ,  ไม่ต้องอาศัยวัตถุมาเป็นเครื่องล่อใจหรือกำหนด
นิโรธ - ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึง พระนิพพาน
นิโรธสมาบัติ - การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์  เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
นิวรณ์, นิวรณธรรม - ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมมี อย่าง คือ  ๑.กามฉันท์ ความพอใจในกามคุณ    ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น   ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ความซึมเซา   ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ,เดือดร้อนใจ   ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ;  ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์ ๕ คือสมาธิ

เนกขัมมะ - การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรม เขียน เนกขัม)
เนกขัมมวิตก - ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ในกุศลวิตก ๓)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ - ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรือ อรูปภพที่ ๔
นันทิ - ความเพลิดเพลิน ความติด ความติดเพลิน  ทําหน้าที่เป็นตัณหา
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำศัพท์ ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 05:41:48 am »

                 

บริกรรม - การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ  หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ   (ในภาษาไทยเลือนไปหมายถึง ท่องบ่น, เสกเป่า)
บริกรรมภาวนา - ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
บุคคลาธิษฐาน - มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนา ยกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้างแสดง  คู่กับธรรมาธิษฐาน
บุญ - เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ, กุศลธรรม, ความใจฟู, ความอิ่มเอิบ

บุพเพนิวาสานุสติญาณ - ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
บูชา - ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา,  พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ  ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน, บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
เบญจกามคุณ - กามคุณ ๕ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
เบญจขันธ์ - ขันธ์ ๕ - กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑. รูปขันธ์ กองรูป ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

เบญจธรรม - ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อ ดังนี้ ๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบ้าง  ข้อคือ ๒. ทาน  ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน  ๕ อัปปมาทะ = ไม่ประมาท; เบญจกัลยาณธรรมก็เรียก
เบญจศีล - ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์  เว้นลักทรัพย์  เว้นประพฤติผิดในกาม  เว้นพูดปด  เว้นของเมา  มีคำสมาทานว่า ๑. ปาณาติปาตา ๒. อทินนาทานา ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔. มุสาวาทา ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ต่อท้ายด้วยเวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ


ปราโมทย์ - ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ
ปฏิกูล - น่าเกลียด, น่ารังเกียจ
ปฏิฆะ - ความขัด, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
ปฏิฆานุสัย - กิเลส ความขุ่นข้อง ขัดเคือง ที่นอนเนื่องในสันดาน;   ดูอนุสัย

ปฏิจจสมุปบาท - สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณี เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติ เป็นปัจจัย (๑๒.) ชรามรณะ จึงมี
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ   โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมมัส อุปายาส จึงมีพร้อม
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้

ปฏิจจสมุปบันธรรม - ปฏิจจสมุปปันนธรรม - ธรรมหรือสภาวธรรมที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาแต่เหตุปัจจัย เช่น การเกิดแต่เหตุปัจจัยของความทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาท เรียกสภาวธรรมนี้ว่าปฏิจจสมุปบันธรรม,  การเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์๕,  ธรรมหรือสภาวธรรม ในการเกิดมาแต่เหตุปัจจัยของสังขารหรือสรรพสิ่งต่างๆ กล่าวคือ จึงครอบคลุมสิ่งต่างๆหรือสังขาร(สังขตธรรม)ที่เกิดขึ้นแต่เหตุหรือสิ่งต่างๆมาเป็นปัจจัยกันทั้งสิ้น นั่นเอง
ปฏิปทา - ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ
ปฏิสนธิจิตต์ - จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู วิปัสสนาญาณ