ผู้เขียน หัวข้อ: โพธิราชกุมาร  (อ่าน 1243 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
โพธิราชกุมาร
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2013, 12:31:53 am »

โพธิราชกุมาร  

โพธิราชกุมาร เป็นพระโอรสของพระเจ้าอุเทน กับ พระนางวาภตขัตติยาราชเทวี แห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ

โพธิราชกุมารให้นายช่างสร้างปราสาทโกกนุท ซึ่งมีลักษณะคล้ายบัวแดง สร้างบนพื้นดินแต่ดูเหมือนลอยอยู่ในอากาศ ทรงจ้างนายช่างผู้ชำนาญมาสร้างปราสาทและมีแผนการจะฆ่านายช่างนั้นเพราะเหตุ ว่าถ้าปล่อยให้มีชีวิตรอดไปนายช่างจะไปสร้างปราสาทให้คนอื่นที่เหมือนของตน ได้ แต่ว่า ความดำรินี้ได้รั่วไหลออกไป เพราะว่า สัญชีวกบุตรซึ่งเป็นพระสหายสนิท ด้นำความไปบอกนายช่าง นายช่างทราบแล้วจึงวางแผนหนีโดยบอกกับโพธิราชกุมารเมื่อเวลามาตรัสถาม

โพธิราชกุมาร: งานก่อสร้างปราสาทของเราใกล้เสร็จหรือยัง
นายช่าง: ข้าแต่สมมุติเทพงานก่อสร้างยังเหลืออีกมาก

โพธิราชกุมาร: งานยังเหลืออะไรอีกบ้าง
นายช่าง: ข้าพระองค์จะบอกภายหลัง ขอให้พระองค์ให้คนนำไม้มาให้ก่อน

โพธิราชกุมาร: ท่านจะเอาไม้ชนิดไหน
นายช่าง: ต้องใช้ไม้ที่ความเบามากและก็ไม่มีแก่น เป็นไม้ที่แห้งสนิท ขอพระองค์ได้โปรดสั่งให้คนหามาให้ด้วยพระเจ้าข้า

"ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนกว่าข้าพระพุทธเจ้าจะกราบทูลให้ทราบว่าปราสาทหลังนี้เสร็จ ขอพระองค์จงอย่าให้ใครเข้ามาในที่นี่ ถึงแม้แต่พระองค์เองก็เช่นเดียวกัน จงอย่ามาในที่นี้เพราะว่าข้าพระพุทธเจ้าจะ ต้องทำในห้องเงียบ ๆ เพราะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ละเอียดละออมาก ถ้ามีคนเดินผ่านไปผ่านมาปราสาทจะไหวตัว ความคิดจะลางเลือน ผลจะไม่เป็นไปตามนั้น เพราะ หลังนี้ตั้งใจให้สร้างเป็นของมหัศจรรย์จริงๆ คนที่จะเข้าออกได้ขอเป็นภรรยาข้าพระพุทธเจ้าคนเดียว เป็นคนส่งอาหาร "

ท่านโพธิราชกุมาร หลงกลก็ปฎิบัติตามนั้น ให้คนขนไม้มาให้นายช่าง ส่วนนายช่างนั้นก็ได้สร้างหงส์ยนต์ที่บินไปในอากาศได้ บรรจุคนนั่งได้ประมาณสัก 10 คน พร้อมกับสัมภาระพอควร เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สั่งภรรยาว่า วันนี้กลับไปแล้ว ของอะไรที่มีอยู่พอจะขายได้ให้ขายให้หมด นำเงินติดตัวไว้แล้วก็วันพรุ่งนี้นำทรัพย์สมบัติคือเงินทองที่พอติดตัวไปที่ มีอยู่มาด้วย เอาลูกของเรามาด้วย มาเงียบ ๆ ไม่ต้องบอกใคร ใน ตอนเช้ากินข้าวเสร็จ ก็เอาลูกกับภรรยาเข้าไปนั่งในท้องนกหงส์ยนต์ ทรัพย์สมบัติพอควรใส่ในนั้นไปได้ ก็เข้านกหงส์ยนต์ ขึ้นขี่นกหงส์ยนต์ขับออกทางหน้าต่างบินไปป่าหิมพานต์ ต่อมาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระราชาพระนามว่า กัฏฐวาหนะ แปลว่า ผู้มีท่อนไม้เป็นพาหะ

ปราสาทโกกนุทของโพธิราชกุมารสร้างเสร็จ ใหม่ๆยังไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ใดอาศัย โพธิราชกุมารจึงรับสั่งให้สัญชิกาบุตรให้ไปนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มา รับการถวายปราสาทโกกนุท โดยพอไปถึงให้ถามถึงพระอาการของสมเด็จพระชินสีห์ว่า ทรงสำราญดีไหม มีอาการประชวรไหม มีพระกำลังวังชากระปรี้กระเปร่าไหม พอทักทายเสร็จก็ให้นิมนต์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มา รับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร

สัญชิกาบุตรรับคำโพธิราชกุมาร ปฏิบัติตามนั้น แล้วไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง กราบทูลว่าโพธิราชกุมารฝากความให้ถามถึงสุขภาพของพระพุทธองค์ว่าทรงสบายดี ไหม มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีไหม โพธิราชกุมารขอนิมนต์พระโคดมผู้เจริญพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จงไปรับภัตตาหารของ โพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้พระเจ้าข้า ลำดับนั้นพระพุทธองค์ทรงรับนิมนต์โดยดุษฎีภาพ

ในวันถัดมาตามกำหนดเวลาที่นิมนต์พระ พุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารได้รับสั่งให้จัดเตรียมภัตตาหารอันประนีตเอาไว้ ให้คนปูผ้าขาวทางพระราชดำเนินของพระพุทธองค์ด้วยผ้าขาวตั้งแต่บันไดขั้นล่าง สุดเป็นต้นไป แล้วก็รับสั่งให้สัญชิกาไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จมา สัญชิกาบุตรก็ได้ไปกราบทูลว่า บัดนี้โพธิราชกุมารจัดเตรียมภัตตาหารไว้แล้วบัดนี้ได้เวลาแล้วพระเจ้าข้า

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครองผ้ากาสาวพัตร์แล้วถือบาตรแล้วทรงเสด็จไปยังปราสาทของโพธิราชกุมาร เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกลเมื่อโพธิราชกุมารเห็นแล้วก็ได้เข้าไป ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จไปข้างหน้า ทรงดำเนินไปยังทางโกกนุทปราสาท แล้วพระพุทธองค์ก็ยืนนิ่งอยู่ที่บันไดขั้นแรก จากนั้นโพธิราชกุมาร ก็กราบทูลเชิญพระพุทธองค์ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบบนผ้าเพื่อเกื้อกูล หม่อมฉันเพื่อความสุขกับข้าพุทธเจ้าสิ้นกาลนานด้วยพระเจ้าข้า แม้ว่าโพธิราชกุมารกราบทูล เป็นวาระที่สอง วาระที่สาม พระพุทธองค์ก็ทรงนิ่งอยู่ ชำเลืองมองพระอานนท์ พระอานนท์จึงได้บอกกับโพธิราชกุมารว่าจงเอาผ้าออกพระพุทธองค์จะไม่เหยียบผ้า นั้น โพธิราชกุมารรับสั่งให้มหาดเล็ก เก็บผ้าและปูอาสนะบนปราสาทโกกนุท

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่งพร้อม ภิกษุสงฆ์แล้ว โพธิราชกุมารได้ถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้วจึงนั่งที่อันควร

ตอนที่พระพุทธเจ้าจะโมทนา ท่านโพธิราชกุมาร เข้าไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบทูลว่า
"อยากจะทราบว่าเพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงพระพุทธดำเนินบนผ้าขาวที่ข้าพระพุทธเจ้าปูรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า: โพธิราชกุมาร ตถาคตอยากจะทราบว่าก่อนที่พระองค์จะปูผ้าขาวให้ตถาคตเดิน ขณะที่สั่งให้คนปูน่ะคิดอะไร
โพธิราชกุมาร : ข้าพระพุทธเจ้าคิดอย่างนี้ ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าไม่มีบุตร แต่งงานมาหลายปีแล้ว หาลูกกับเขาไม่ได้เกรงว่าจะไม่มีลูกสืบตระกูล จึงตัดสินใจตั้งใจอธิษฐานว่า ข้าจะได้ลูกหญิงก็ดี ลูกชายก็ดี ขอให้สมเด็จพระชินศรีทรงเสด็จพระพุทธดำเนินบนผ้าขาว
ถ้าหากว่าจะไม่ได้ลูกขอให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่เดินบนผ้าขาว

พระผู้มีพระภาคเจ้า: ราชกุมาร เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงไม่เดินบนผ้าขาว
โพธิราชกุมาร : เพราะอะไรพระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า: ว่าพระราชกุมาร การที่พระองค์จะไม่มีลูกคราวนี้ก็เพราะว่าพระองค์เป็นคนใจร้ายทำลาย ความดีของสัตว์ในสมัยก่อน
โพธิราชกุมาร : ขอพระองค์ทรงตรัสเล่าเรื่องอดีตชาติหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า

มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โพธิราชกุมาร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2013, 12:42:22 am »
ต่อค่ะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า: ในสมัยก่อนจากชาตินี้ ก็เรียกว่าไม่ได้บอกชาติว่าชาติไหน
มีคณะบุคคลคณะหนึ่งไปค้าสำเภา หรือลงสำเภาไปในมหาสมุทร ถ้าจะบอกว่าไปค้า คนนับร้อย คนเป็นร้อย ๆ นี่ อาจจะไม่ใช่ค้าแล้ว อาจจะไปเที่ยวสำเภากัน

เวลานั้นปรากฎว่ามีลมหัวด้วนคำว่าลมหัวด้วนนี่เป็นลมที่มีความแรงมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทร เรือต้านกำลังลมไม่ไหว คลื่นแรงจัด เรือก็ล่ม สำเภาก็แตก
คนทั้งหลายต่างก็ว่ายน้ำหนีความตาย แต่อย่าลืมว่ามหาสมุทรมันไม่เล็ก หนีไปเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ถ้าไม่พบเกาะ ไม่พบแก่ง ไม่พบชูชีพเป็นที่อาศัย สามีภรรยาสองคน

สามีคนหนึ่งภรรยาคนหนึ่งที่ไปในเรือนั้น ได้ไม้กระดานที่หลุดออกมาจากเรือหนึ่งแผ่น ต่างคนก็ต่างเกาะปล่อยตัวให้ลอยตามกระแสคลื่นไป ในที่สุดคลื่นก็ซัดคนสองคนเข้าไปใกล้เกาะแห่งหนึ่ง คนสองคนนั้นขึ้นอาศัยอยู่บนเกาะ ไม่รู้จะกินอะไรดี ก็เลยมองไปมองมา เห็นนกมันมีมากในเกาะนั้น เพราะไม่มีคนไปถึง นกก็เลยไม่ค่อยจะกลัวคน คนเดินเข้าใกล้นกก็ทำเฉย ๆ เพราะไม่มีอันตรายจากคนเลยไม่รู้จักพระยามัจจุราช

เธอทั้งสองก็เอาไข่นกมากินก่อน เพื่อประทังความหิว กินไปกินมาหลายวันเข้า ไข่นกก็หมด ต่อมาเมื่อไข่นกหมด ความหิวมันก็ยังไม่หมด วันต่อมาหิวไม่รู้จะทำยังไง ก็จับลูกนกเล็ก ๆ มากินอีก เมื่อกินลูกนกหมด มันก็ยังไม่หมดความหิว ชีวิตยังมีอยู่ ก็กินพ่อนกแม่นก

โพธิราชกุมาร เพราะเธอไม่เว้นกรรมชั่วทั้งสามวัย วัยต้นคือไข่ วัยกลางคือลูกนก วัยสุดท้ายคือพ่อนกและแม่นก ฉะนั้นเธอจึงจะไม่มีโอกาสจะมีลูกในวัยหนุ่มก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี หาลูกไม่ได้แน่ชาตินี้ และชาตินี้ทั้งชาติเธอจะไม่มีลูก
ถ้าเธอเว้นไม่กินไข่ เธอก็จะมีลูกเมื่อยังเป็นหนุ่มเป็นสาวปฐมวัย แต่ว่าเธอกินไข่ เธอเว้นไม่กินลูกนก เธอก็จะมีลูกเมื่อวัยกลางคน
ถ้าเธอกินทั้งไข่กินทั้งลูกนก ไม่กินพ่อนกแม่นก เธอจะมีลูกเมื่อวัยแก่ แต่ว่านี่เธอกินหมดทั้งสามวัย เป็นอันว่าชาตินี้ทั้งชาติเธอจะหาลูกไม่ได้

ท่านทั้งหลายย่อมเป็นที่รักของตน พึงรักษาตนไว้ให้เป็นคนดีทั้ง ๓ วัย ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย อย่าประมาทแม้ยามใดยามหนึ่ง
จบพระธรรมเทศนา โพธิราชกุมารบรรลุโสดาปัตติผล

พระพุทธองค์ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ มีพุทธบัญญัติว่า
" ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบต้องอาบัติทุกกฏ" ยกเว้นถูกคฤหัสถ์ผู้ต้องการมงคลร้องขอให้เหยียบก็ให้เหยียบได้

โพธิราชกุมาร: ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเห็นว่า ความสุขอันบุึคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น
พระพุทธองค์ : เมื่อตถาคตยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็เคยคิดเช่นนั้น ความเชื่อนั้นทำให้พระพุทธองค์ทรงละทิ้งความสุขเกิดจากฌานในสำนักของอาฬาร ดาบสและอุทกดาบส ทรงดำริถึงอุปมา ๓ ข้อ

๑) ไม้สดอยู่ในน้ำ ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจไม่หลีกออกจากกาม แม้จะได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๒) ไม้สดอยู่บนบก ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายออกจากกามแต่ใจไม่หลีกออกจากกาม ยังคงพอใจรักใคร่เสน่หา แม้ได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๓) ไม้แห้งอยู่บนบก สามารถทำไฟให้ติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจออกจากกาม จะได้รับทุกขเวทนาหรือไม่ได้รับทุกขเวทนา ก็สามารถจะตรัสรู้ได้

แม้เข้าใจสภาวะทั้ง ๓ แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังเชื่อว่าความสุขจะได้มาด้วยความทุกข์จึงได้เลือกวิธีทรมานตน ด้วยทุกรกิริยา ต่อมาเห็นว่าไม่ใช่หนทาง


โพธิราชกุมาร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ระยะเวลาเท่าไรที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตจะได้สำเร็จมรรคผล
พระพุทธองค์ : ขอย้อนถามท่านว่า ท่านชำนาญในศิลปะการจับช้างใช่ไหม?
โพธิราชกุมาร: พระเจ้าข้า หม่อมฉันมีความฉลาดในศิลปะการจับช้าง
พระพุทธองค์ :หากมีคนมาขอเรียนวิชาจับช้างกับพระราชกุมาร แต่ว่าเขาเป็นคนที่

๑) เป็นคนไม่มีศรัทธา ๒) เป็นคนมีโรคมาก ๓) เป็นคนโอ้อวด มีมายา
๔) เป็นคนเกียจคร้าน ๕) มีปัญญาน้อย

ผู้นั้น ควรจะศึกษาในสำนักของท่านหรือไม่?
โพธิราชกุมาร : หากคนนั้นมีเพียงคุณสมบัติข้อเดียวใน ๕ ข้อนั้นก็ไม่สมควรศึกษาวิชาจับช้างแล้วพระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ : หาก คนที่มาขอเรียนวิชาจับช้างนั้นมีคุณสมบัติ
๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี คนนั้นจะศึกษาวิชาจับช้างได้หรือไม่ ?

โพธิราชกุมาร: หากผู้นั้นเป็นผู้มีลักษณะ ๑ ใน ๕ อย่างนั้นก็ควรจะเรียนวิชาจับช้างได้
ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง ๕ ข้อพระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ : พระราชกุมารบพิตร พระภิกษุผู้มีึคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ก็เช่นกัน ๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ตถาคตสามารถสั่งสอนอบรมให้ึถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ได้ ในเวลา ๗ ปี ....๖ ปี ๕ ปี ๓ ปี ...๓ คืน ๓ วัน หรือ ๑ คืน ๑ วัน ผู้มีคุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเย็น ก็จะบรรลุธรรมวิเศษในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเช้าจะบรรลุธรรมในเวลาเย็น


>>> F/B อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล