นักวิชาการหนุนนโยบาย ลูกคนแรก - เก็บภาษีคนโสด
-http://hilight.kapook.com/view/90762-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นักวิชาการ ม.รังสิต เสนอภาครัฐออกนโยบาย ลูกคนแรก ช่วยค่าใช้จ่าย - เก็บภาษีคนโสด แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ เลขานุการคณะเศรษฐศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการรองรับในสองทศวรรษหน้าว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล และต้องเสียงบประมาณดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก สวนทางกับวัยรุ่นวัยทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มต่ำลง
โดยสถิติตั้งแต่ปี 2547 พบว่าสังคมไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ถึง 10% ของประชากรรวม และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 2567 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น คือ มีสัดส่วนคนอายุเกิน 60 ปี สูงเกิน 20% ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาพรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในประเทศ ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์ของไทยขณะนี้ต่ำมากเพียง 1.6 ต่อครอบครัว หรือ 1 คู่สมรส มีลูกเพียง 1 คนกว่าเท่านั้น ทั้งที่จริงต้องมีลูกขั้นต่ำ 2-3 คน ถึงจะเพียงพอต่อการทดแทนประชากรเดิม
สำหรับสาเหตุที่คนไทยมีลูกน้อยมาจากแนวโน้มสังคมเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีหนุ่มสาวจะเลือกทำงานเพื่อสร้างฐานะ ความมั่นคงในชีวิตมากกว่าการหาคู่แต่งงานสร้างครอบครัว ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพและต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ทั้งค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล สินค้าข้าวของแพงขึ้น ครอบครัวส่วนใหญ่จึงเลือกมีลูกน้อย ซึ่งต่างจากอดีตในสังคมเกษตรที่คนไทยมีลูกมากเพราะต้นทุนการเลี้ยงดูไม่สูง
นอกจากนี้ นายเทอดศักดิ์ ยังได้เสนอแนวทางแก้ไขว่า ภาครัฐควรออกนโยบายสนับสนุนให้คนไทยมีลูกเพิ่มขึ้น เช่น โครงการลูกคนแรก โดยรัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดูให้กับครอบครัวที่มีลูกคนแรก รวมถึงให้เงินอุดหนุน หรือลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกคน 2 และ 3 นอกจากนี้ ควรเรียกเก็บภาษีคนโสด ภาษีคนไม่มีลูก กระตุ้นให้มีครอบครัวเพื่อลดภาระงบประมาณ การใช้สวัสดิการดูแลของภาครัฐในอนาคต
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.dailynews.co.th/businesss/231063-
ซ้ำเติมคนโสด นักวิชาการหนุนเก็บภาษีเพิ่ม
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556 เวลา 20:11 น.
-http://www.dailynews.co.th/businesss/231063-
นักวิชาการเผย สถิติคนไทยปั๊มลูกน้อย ครอบครัวแค่ 1.6 คน ส่อแววอนาคตเด็กไทย-วัยทำงานขาดแคลน ผู้สูงอายุล้นประเทศ เศรษฐกิจแย่กำลังซื้อถดถอย ชี้ต้นเหตุมัวแต่ทำงาน แถมกลัวค่าเลี้ยงลูกแพงมหาโหด หนุนรัฐคลอดโครงการ ลูกคนแรก-เก็บภาษีคนโสด ช่วยกระตุ้นคนไทยทำการบ้าน
นายเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ เลขานุการคณะเศรษฐศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยในการอภิปรายหัวข้อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและนโยบายการรองรับในสองทศวรรษหน้าว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน โครงสร้างประชากรไม่สมดุล และต้องเสียงบประมาณดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก หลังประชากรในวัยรุ่นวัยทำงานมีแนวโน้มเพิ่มต่ำลง สวนทางกลับกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มต่อเนื่อง โดยอัตราการเจริญพันธุ์ของไทยขณะนี้ต่ำมากเพียง 1.6 ต่อครอบครัว หรือ 1 คู่สมรส มีลูกเพียง 1 คนกว่าเท่านั้น ทั้งที่จริงต้องมีลูกขั้นต่ำ 2-3 คน ถึงจะเพียงพอต่อการทดแทนประชากรเดิมที่ตายไป
ทั้งนี้สาเหตุที่คนไทยมีลูกน้อย มาจากแนวโน้มสังคมเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีหนุ่มสาวจะเลือกทำงานเพื่อสร้างฐานะ ความมั่นคงในชีวิตมากกว่าการหาคู่แต่งงานสร้างครอบครัว ประกอบกับปัจจุบันค่าครองชีพ และต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ทั้งค่าเล่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล สินค้าข้าวของแพงขึ้น ครอบครัวส่วนใหญ่จึงเลือกมีลูกน้อย เพราะกลัวจะดูแลได้ไม่ดี ซึ่งต่างจากอดีตในสังคมเกษตร ที่คนไทยมีลูกมากเพราะต้นทุนการเลี้ยงดูไม่สูง
นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า แนวทางแก้ไขภาครัฐควรออกนโยบายสนับสนุนให้คนไทยมีลูกเพิ่มขึ้น เช่น โครงการลูกคนแรก โดยรัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย การเลี้ยงดูให้กับครอบครัวที่มีลูกคนแรก รวมถึงให้เงินอุดหนุน หรือลดภาษีสำหรับครอบครัวที่มีลูกคน 2 และ 3 นอกจากนี้ควรเรียกเก็บภาษีคนโสด ภาษีคนไม่มีลูก กระตุ้นให้มีครอบครัวเพื่อลดภาระงบประมาณ การใช้สวัสดิการดูแลของภาครัฐในอนาคต
“สถิติตั้งแต่ปี 47 พบว่าสังคมไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ถึง 10% ของประชากรรวม และคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 67 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น คือ มีสัดส่วนคนอายุเกิน 60 ปี สูงเกิน 20% ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อภาพรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ แรงงาน และพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในประเทศ เพราะแต่ละช่วงอายุมีพฤติกรรมใช้จ่ายที่แตกต่างกัน”