ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)  (อ่าน 9657 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 10:52:02 am »



สมาธิเพื่อชีวิต (๑) หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

สมาธิตามธรรมชาติ

คำสอนของพระพุทธเจ้า... เป็นคำสอนของ ปัญญาชน
ไม่ใช่เป็นคำสอนของบุคคล   ผู้เชื่อ ในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล ด้วยความงมงาย

ศาสนาพุทธ สอนให้คนเรียน   ให้รู้ธรรมชาติ  และกฎของธรรมชาติ
ถ้าใครจะถามว่า ธรรมะคืออะไร

ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ
ธรรมชาติคืออะไร ก็คือ กายกับใจของเรา

สมาธิแบบพระพุทธเจ้า การกำหนดรู้เรื่องชีวิตประจำวัน
นี่เป็นเหตุเป็นปัจจัยสำคัญ


สำคัญยิ่งกว่าการนั่งหลับตาสมาธิ

สอนสมาธิ ต้องสอนสิ่งที่ใกล้ตัว ที่สุด
ความรู้เห็นอะไร  ที่เขาอวดๆ กันนี่  อย่าไปสนใจเลย

ให้มันรู้ เห็นจิตของเรานี่ รู้กายของเรา
รู้ว่าธรรมชาติของกาย อย่างหยาบๆ

มันต้องมีการ   เปลี่ยนอิริยาบถ   อยู่เสมอ ยืน เดิน นั่ง นอน
รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด อันนี้คือ "ความจริงของกาย"


สมาธิ เพื่ออะไร

ปัญหาสำคัญ ของการฝึกสมาธิ นี่...
บางที เราอาจจะเข้าใจไขว้เขว ไปจากหลักความจริง

สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้จิตสงบนิ่ง

สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้มี "สติสัมปชัญญะ"
รู้ทันเหตุการณ์นั้น ๆ ในขณะปัจจุบัน


สมาธิบางอย่าง เราปฏิบัติ   เพื่อให้เกิดความรู้  ความเห็น   ภายในจิต
เช่น รู้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ รู้เรื่องอดีต อนาคต

รู้อดีต หมายถึงรู้ชาติในอดีต  ว่าเราเกิดเป็นอะไร
รู้อนาคต หมายถึงว่าเมื่อเราตายไปแล้ว  เราจะไปเป็นอะไร

อันนี้เป็นการปฏิบัติเพื่อรู้


อดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว   อนาคตก็เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ดังนั้น...เราสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ดีไหม


ที่ครูบาอาจารย์สอนว่า   ทำกรรมฐานไปเห็นโน่นเห็นนี่
มันใช้ไม่ได้ ให้มันเห็นใจเราเองซิ

อย่าไปเข้าใจว่าทำสมาธิแล้ว   ต้องเห็นนรก
ต้องเห็นสวรรค์ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไร

สิ่งที่เราเห็นในสมาธิ มันไม่ผิดกัน   กับที่เรานอนหลับ แล้วฝันไป
แต่สิ่งที่เราจำเป็น ต้องรู้ ต้องเห็นนี่   คือเห็น"กาย" ของเรา เห็น"ใจ" ของเรา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 10:54:14 am »





หลักสากลของการปฏิบัติสมาธิ

การบำเพ็ญสมาธิจิตเพื่อให้เกิด สมาธิ สติ ปัญญา
มีหลักที่ควรยึดถือว่า

ทำจิตให้มีอารมณ์"สิ่งรู้"  สติให้มี"สิ่งระลึก"   จิตนึกรู้สิ่งใด ให้มีสติ"
สำทับ" เข้าไปที่ตรงนั้น


ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด   เป็นอารมณ์จิต ฝึกสติให้รู้อยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าใครจะทำอะไร มีสติตัวเดียว   เวลานอนลงไป จิตมันมีความคิดอย่างใด
ปล่อยให้มันคิดไปแต่ให้มีสติ    ตามรู้ไปจนกว่าจะนอนหลับ

อันนี้เป็นวิธีการทำสมาธิตามหลักสากล


ถ้ามีใครมาถามว่า ทำสมาธินี่คือทำอย่างไร
คำตอบมันก็ง่ายนิดเดียว การทำสมาธิ คือ การทำจิตให้มีสิ่งรู้

ทำสติให้มีสิ่งระลึก หมายความว่า เมื่อจิตของเรานึกถึงสิ่งใด
ให้มีสติสำทับไปที่ตรงนั้น เรื่องอะไรก็ได้

ถ้าเอากันเสียอย่างนี้ เราจะรู้สึกว่าเราได้ทำสมาธิอยู่ตลอดเวลา



สมาธิ ไม่ใช่การนั่งหลับตาเท่านั้น
ถ้าหากไปถือว่าสมาธิคือการนั่งหลับตาอย่างเดียว

มันก็ถูกกับความเห็นของคนทั้งหลายที่เขาแสดงออก
แต่ถ้าเราจะคิดว่า อารมณ์ของสมาธิ

คือ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
ไม่ว่าเราจะทำอะไร มีสติสัมปชัญญะ


รู้อยู่กับเรื่องปัจจุบัน คือเรื่องชีวิตประจำวันนี้เอง
เราจะเข้าใจหลัก การทำสมาธิ อย่างกว้างขวาง

และสมาธิที่เราทำอยู่นี่ จะรู้สึกว่านอกจากจะไปนั่งหลับตาภาวนา
หรือเพ่งดวงจิตแล้ว ออกจากที่นั่งมา

เรามีสติตามรู้ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน
ดื่ม ทำ พูด คิด แม้ว่าเราจะไม่นั่งสมาธิอย่างที่พระท่านสอนก็ได้

เพราะว่าเราฝึกสติอยู่ตลอดเวลา
เวลาเรานอนลงไป คนมีความรู้ คนทำงาน ย่อมมีความคิด

ในช่วงที่เรานอนนั่นแหละ เราปล่อยให้จิตเราคิดไป
แต่เรามีสติตามรู้ความ คิดจนกระทั่งนอนหลับ

ถ้าฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน ๆ เราจะได้สมาธิอย่างประหลาด

ออฟไลน์ ดอกโศก

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 862
  • พลังกัลยาณมิตร 595
    • rklinnamhom
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 10:54:57 am »
อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม
ขอบคุณที่นำคำสอนของครูบาอาจารย์มาปันให้อ่านค่ะ ^_^

เรื่องน่าอ่าน ภาพประกอบก็น่าประทับใจ สวยมากค่ะ

 :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 10:56:33 am »





นี่ถ้าเราเข้าใจกันอย่างนี้   สมาธิจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์โลกให้เจริญ

แต่ถ้าหากจะเอา สมาธิมุ่งแต่ความสงบอย่างเดียว
มันจะเกิดอุปสรรคขึ้นมาทันที แม้การงานอะไรต่าง ๆ

มองดูผู้คนนี่ขวางหูขวางตาไปหมด   อันนั้นคือสมาธิแบบฤาษีทั้งหลาย


ทำสมาธิถูกทาง ไม่หนีโลก ไม่หนีปัญญา
ผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิที่ถูกต้องนี่ สมมติว่ามีครอบครัว

จะต้องรักครอบครัวของตัวเองมากขึ้น
หนักเข้าความรักมันจะเปลี่ยน

เปลี่ยนจากความรักอย่างสามัญธรรมดา
กลายเป็นความเมตตาปรานี

ในเมื่อไปเผชิญหน้ากับงานที่ยุ่ง ๆ
เมื่อก่อนรู้สึกว่ายุ่ง แต่เมื่อปฏิบัติแล้ว

ได้สมาธิแล้ว งานมัน จะไม่ยุ่ง
พอประสบปัญหาเข้าปุ๊บ

จิตมันจะปฏิวัติตัวพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

ทีนี้บางทีพอเราหยิบปัญหาอะไรขึ้นมา
เรามีแบบแผนตำรายกขึ้นมาอ่าน พออ่านจบปั๊บ

จิตมันวูบวาบลงไปปัญหาที่เราข้องใจจะแก้ได้ทันที
อันนี้คือสมาธิที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน

แต่สมาธิอันใดที่ไม่สนใจกับเรื่องชีวิตประจำวัน
หนีไปอยู่ที่หนึ่งต่างหากของโลกแล้ว

สมาธิอันนี้ทำให้โลกเสื่อมและไม่เป็นไป
เพื่อทางตรัสรู้ มรรค ผล นิพพานด้วย

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 10:59:43 am »





ทุกคนเคยทำสมาธิมาแล้ว

ทุกสิ่งทุกอย่างเราสำเร็จมาเพราะพลังของสมาธิ
ไม่มีสมาธิ            เรียนจบปริญญามาได้อย่างไร

ไม่มีสมาธิ            สอนลูกศิษย์ลูกหาได้อย่างไร
ไม่มีสมาธิ            ทำงานใหญ่โตสำเร็จได้อย่างไร

ไม่มีสมาธิ            ปกครองบ้านเมืองได้อย่างไร


พวกเราเริ่มฝึกสมาธิมา
ตั้งแต่พี่เลี้ยง นางนม พ่อแม่ สอน

ให้เรารู้จักกิน รู้จักนอน รู้จักอ่าน
รู้จักคนโน้นคนนี้ จุดเริ่มต้นมันมาแต่โน่น

ทีนี้พอมาเข้าสู่สถาบันการศึกษา
เราเริ่มเรียนสมาธิอย่างจริงจังขึ้นมาแล้ว

แต่เมื่อเรามาพบพระคุณเจ้า หลวงพ่อ หลวงพี่ ทั้งหลายนี้
ท่านจะถามว่า “เคยทำสมาธิไหม”

จึงทำให้พวกเราทั้งหลายเข้าใจว่า
เราไม่เคยทำสมาธิไม่เคยปฏิบัติสมาธิมาก่อน

เพราะท่านไปขีดวงจำกัดการทำสมาธิ
เฉพาะเวลานั่งหลับตาอย่างเดียว


ไม่เป็นชาววัดก็ทำสมาธิได้    ใครที่ยังไม่มีโอกาสจะเข้าวัดเข้าวา
มานั่งสมาธิหลับตา อย่างที่พระท่านชักชวน

การปฏิบัติ สมาธิเอากันอย่างนี้ ยืน เดิน
นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด

ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ทุกคนได้ฝึกสมาธิ
มาตามธรรมชาติแล้วตั้งแต่เริ่มรู้เดียงสามา

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:07:32 am »





ทีนี้เรามาเริ่มฝึกใหม่

นี่เป็นการเสริมของเก่าที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
อย่าไปเข้าใจผิด ยืน เดิน นั่ง นอน

รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นอารมณ์จิต
เราทำให้สิ่งเหล่านี้ให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น


เวลานอนลงไป จิตมันคิดอะไร ให้มันคิดไป
ให้มีสติไล่ตามรู้มันไป จนกระทั่งนอนหลับ

ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน แล้วท่านจะได้สมใจอย่างไม่คาดฝัน


ในขณะทำงาน กำหนดสติรู้อยู่กับงาน
เวลาคิด ทำสติรู้อยู่กับการคิด

โดยถือการทำงาน การคิด เป็นอารมณ์ของจิต

โดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
จิตย่อมสงบ มีปีติ สุข เอกัคคตา


ได้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งจนได้   ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งใจทำจริง






พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

Pics by : Google
Credit by : http://yodnapa.bloggoo.com/archives/4185

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:11:07 am »





สมาธิเพื่อชีวิต(๒) หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

นักธุรกิจทำสมาธิกับการงาน

มีผู้หญิงมาหาหลวงพ่อ แล้วมาบอกว่า
“หลวงพ่อหนูอยากจะฝึกสมาธิ แต่หนูนั่งสมาธิไม่เป็น”

หลวงพ่อก็บอกว่า
“คุณนั่งไม่เป็นก็ไม่ต้องนั่ง ให้ฝึกสติให้มันรู้อยู่กับการยืน
เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด”

ทีนี้เมื่อสมาธิมันเกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติอย่างนี้
ภายหลังมานี่ ความรู้สึกมันก็รู้สึกว่า เราทำอะไร พูด คิดอะไร

มันเป็นสมาธิทั้งนั้น มันก็ไปสอดคล้องกันเอง
มองเห็นงานที่มันเคยยุ่ง ๆ ตั้งแต่ก่อน

เมื่อมีสมาธิดีแล้วไปประสบความยุ่งเหยิงอย่างนั้น
จิต มันรู้สึกว่ามันไม่ยุ่ง มันสามารถแก้ไขปัญหาของมันได้

อย่างบางทีพอติดปัญหาปั๊บ กำหนดจิตมันวูบวาบไป
ปัญญาที่จะแก้ไขปัญหานั้นมันก็เกิดขึ้น

แม้แต่เกี่ยวกับเรื่องงานเรื่องการก็เหมือนกัน
อันนี้เราไปติดอยู่ตรงที่ว่า อย่าไปคิดเรื่องโลก ให้คิดแต่เรื่องธรรม



แต่ความจริงโลกน่ะเป็น อารมณ์ของจิต
ในเมื่อจิตตัวนี้ รู้ ความจริงของโลก

แล้วมันจะปลีกตัวไปลอยเด่นอยู่ เหนือโลก
และมันอาศัยโลกนั่นแหละ เป็นบันไดเหยียบไปสู่ จุดที่อยู่เหนือโลก

โลกทั้งหลายนี่เป็นอารมณ์จิต กายและใจของเราก็เป็นโลก


สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย
ที่เราประสบอยู่เป็นเรื่องชีวิตประจำวัน ก็โลก

ในเมื่อเรามาฝึกสติให้รู้ทันโลกอันนี้แล้ว
จิตมันจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของโลก

 มันก็ปล่อยวาง ถึงแม้ว่ามันจะอยู่กับโลก
มันก็แตะ ๆ แตะ ๆ มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างนี่

เป็นแต่เพียงหน้าที่เท่านั้น แล้วมันจะจัดสรรตัวมันเอง
ว่าเรามีหน้าที่อย่างไร ควรจะรับผิดชอบอย่างไร

มันจะปฏิบัติหน้าที่ไปตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา

 




มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:13:36 am »





นักเรียน นักศึกษา ทำสมาธิในการเรียน

…ขณะนี้นักเรียนทั้งหลายกำลังเรียน
ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะได้พลังของสมาธิ

พลังของสติ เพื่อสนับสนุนการศึกษา
หลวงตาจะสอนวิธีทำสมาธิในห้องเรียน

สมมติว่าขณะนี้หลวงตาเป็นครูสอนพวกเธอทั้งหลาย
ให้พวกเธอทั้งหลายเพ่งสายตามาที่หลวงตา

ส่งใจมาที่หลวงตาแล้วก็สังเกตดูให้ดีว่าหลวงตาทำอะไรบ้าง
หลวงตายกมือ หนูก็รู้ เขียนหนังสือให้ หนูรู้ พูดอะไรให้หนูตั้งใจฟัง

ถ้าสังเกตุจนกระทั่งกระพริบหูกระพริบตาได้ยิ่งดี
เวลาเข้าห้องเรียนให้เพ่งสายตาไปที่ตัวครู ส่งใจไปที่ตัวครู

อย่าเอาใจไปอื่น เพียงแค่นี้ วิธีการทำสมาธิในห้องเรียน
ถ้าพวกหนู ๆ จำเอาไปแล้วปฏิบัติตาม จะได้สมาธิ


ตั้งแต่เป็น นักเรียนเล็ก ๆ ชั้นอนุบาล ในตอนแรกนี่
การควบคุมสายตาและจิตไปไว้ที่ตัวครูนี่อาจจะลำบากหน่อย

แต่ต้องพยายามฝึก ฝึกจนคล่องตัวชำนิชำนาญ
ภายหลังแม้เราจะไม่ตั้งใจ พอเห็นใครเดินผ่านหน้ามันจะจ้องเอา ๆ

พอมาเข้าห้องเรียนแล้วพอครูเดินเข้ามาในห้อง สายตามันจะจ้องปั๊บ
ใจมันก็จะจดจ่ออยู่ตรงนั้น หนูลองคิดดูซิว่า การที่มองที่ครู

และเอาใจใส่ตัวครูนี่ เราเรียนหนังสือเราจะเข้าใจดีไหม ลองคิดดู
ทีนี้เมื่อฝึกจนคล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว

สายตามันยังจ้องอยู่ที่ตัวครู แต่ใจจะมาอยู่ที่ตัวเราเอง
มาตอนนี้ครูท่านสอนอะไร พอท่านพูดจบประโยคนั้น

ใจของเรารู้ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปท่านพูดอะไร เวลาไปสอบ
อ่านคำถามจบ ใจของเราจะวูบวาบแล้วคำตอบมันจะผุดขึ้น

อันนี้เป็นสูตรทำสมาธิที่หลวงพ่อทำได้ผลมาแล้ว


หลวงพ่อทำสมาธิในการเรียนสมัยเป็นเณร
…อาจารย์องค์นั้นชื่ออาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ

ลูกศิษย์ต้นของหลวงปู่มั่น เห็นหลวงพ่อ
ถือหนังสือเดินท่องไปท่องมา แบบเดินจงกรม

ท่านก็ทักว่า “เณร ถ้าจะเรียนก็ตั้งใจเรียน
จะปฏิบัติก็ตั้งใจปฏิบัติ จับปลาสองมือมันไม่สำเร็จหรอก”

ที่นี้เราก็อุตริคิดขึ้นมาว่า
“เอ๊…หลักของการเพ่งกสิณนี่ ปฐวีกสิณ เพ่งดิน

อาโปเพ่งน้ำ วาโย เพ่งลม เตโช เพ่งไฟ
อากาศ เพ่งอากาศ  วิญญาณ เพ่งวิญญาณ

ในตัวครูนี่มีกสิณครบทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ
เราจะเอาตัวครูเป็นเป้าหมายของจิต ของอารมณ์

เอาตัวครูเป็นอารมณ์ของจิต
เป็นที่ตั้งของสติ เอามันที่ตรงนี้แหละ”





มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:16:38 am »





การเรียนคือการปฏิบัติธรรม

วิชาความรู้ที่นักศึกษาเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี่
มันเป็นสิ่งที่เราสามารถรู้ด้วยจิตใจ สิ่งใดที่เรา สามารถรู้ด้วยจิตใจ

สิ่งนั้นคือ"สภาวธรรม" สภาวธรรมอันนี้มันทำให้เราดีใจเสียใจเพราะมัน
เราท่องหนังสือไม่ได้เราเกิดเสียใจน้อยใจตัวเอง

หนังสือที่เราท่องนั่นคือสภาวธรรม เราจำไม่ได้
นั่นคือสิ่งที่มันไม่เป็นไปตามความปรารถนา

มันเข้าในหลักอนัตตา บางทีอยู่ดี ๆ เกิดเจ็บไข้
เราไปวิทยาลัยของเราไม่ได้ มันก็ส่อถึงอนัตตาอนิจจัง ทุกขังนั่นเอง


เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาฝึกสติสัมปชัญญะของเรานี้ให้มันรู้
พร้อมอยู่กับปัจจุบัน มันเป็นการปฏิบัติธรรม เดิน เรารู้

ยืน เรารู้ นั่ง เรารู้ นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เรารู้
เอาตัว รู้ คือ สติ ตัวเดียวเท่านั้น

แม้ในขณะที่เราเรียนหนังสืออยู่
เราตั้งใจจดจ่อต่อการเรียนในปัจจุบันนั้น

นั่นก็เป็นการปฏิบัติสมาธิ
ทีนี้ความรู้ ความเห็น ที่เราจะพึงทำความเข้าใจ

มันอยู่ที่ตรงไหน มันอยู่ที่กายกับใจของเรานี่
ทำอย่างไรกายของเราจึงจะมีสุขภาพอนามัยเข้มแข็ง

ทำอย่างไรจิตใจของเราจึงจะปลอดโปร่ง

เมี่อมีปัญหาขึ้นมา ทำอย่างไร..เราจึงจะมี สติปัญญา
แก้ไขปัญหาหัวใจของเราได้


นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ที่เราจำเป็นต้อง เรียนให้มันรู้





มีต่อค่ะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิเพื่อชีวิต (๑), (๒)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:23:15 am »





ทำสมาธิในการเรียนได้ผลอย่างไร

นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาในทุน
ที่หลวงพ่อส่งไปเรียนเอง ตอนแรกเขาไม่อยากจะไปเรียน

เพราะเขาคิดว่ามันสมองของเขาไม่สามารถจะเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้
หลวงพ่อก็เคี่ยวเข็นให้เขาไป ในเมื่อเขารับปากว่าจะไปเรียน

หลวงพ่อก็บอกว่า “หนูไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องฝึกสมาธิ ด้วย”
เขาก็เถียงว่า “จะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วต้องให้ทำสมาธิ

เอาเวลาที่ไหนไปเรียน” มันเกิดมีปัญหาขึ้นมาอย่างนี้
หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำว่าการฝึกสมาธิแบบนี้ไม่ขัดต่อการศึกษา

หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำเบื้องต้นว่า “เมื่อเวลาหนูเข้าไปอยู่ในห้องเรียน
ให้กำหนดจิตให้มีสติรู้อยู่ที่จิตของตัวเอง ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่ง

ที่จะต้องเพ่งมองก็เพ่งมองไปที่จุดนั้น เช่น กระดานดำ เป็นต้น
เมื่ออาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียน ให้เอาความรู้สึกและสายตาทั้งหมด

ไปรวมอยู่ที่ตัวอาจารย์ ให้มีสติรู้อยู่ที่ ตัวอาจารย์เพียงอย่างเดียว
อย่าส่งใจไปอื่น

…เขาใช้เวลาเรียนเพียง ๔ ปีก็จะจบแล้ว
ทีแรกเขาคิดว่าเขาอาจจะเรียนถึง ๖ ปีกว่าจะเอาให้จบได้

แต่มันก็ผิดคาดทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยน ความรู้สึกว่ามันสมองไม่ดี
มันเปลี่ยนเป็นดีขึ้นมาหมด ก็เป็นอันว่าเขาสามารถฝึกสมาธิ ให้จิตมีสมาธิ

มีสติสัมปชัญญะ
เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาที่เขาเรียน อยู่ในปัจจุบันได้


…ถ้านักศึกษาพยายามฝึกสมาธิแบบนี้ ผลพลอยได้จากการฝึก
ความเคารพ ความเอาใจใส่ ความกตัญญูกตเวที ความรู้สึกซึ้งในพระคุณ

ของครูบาอาจารย์
มันจะฝังลึกลงสู่จิตใจ เราจะกลายเป็นคนกตัญญูกตเวที
ไม่อาจลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

เราก็มีแต่ความเคารพบูชาในครู อาจารย์ ลูกศิษย์ที่มีความเคารพในครูอาจารย์
การเรียน ทำให้เรียนได้ดีเกินกว่าที่เราคาดคิด





มีต่อค่ะ