ผู้เขียน หัวข้อ: 'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!?  (อ่าน 2354 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!? (Cyber Weekend)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2556 12:05 น.
-http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000150296-







       ไม่ใช่เฉพาะความงกของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ความหละหลวมของเจ้าหน้าที่รัฐ และความไม่สมเหตุสมผลของราคา 'ที่ชาร์จแท้' ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาด 'ที่ชาร์จปลอม' ขยายตัวและแพร่หลายอย่างน่ากังวลในนาทีนี้
       
       ความน่ากังวลของ 'อุปกรณ์ชาร์จไฟแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตปลอม' นั้นเป็นรูปธรรมในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งเป็นเดือนที่หนุ่มระยองตกเป็นข่าวดังทั่วโลกในฐานะผู้เสียชีวิตจากเหตุไฟรั่วขณะชาร์จไอโฟน 4S ด้วยสายชาร์จที่ถูกผลิตโดยบริษัทอื่นที่ไม่ใช่แอปเปิล
       
       เหตุน่าสลดใจนี้จุดประกายว่าทุกฝ่ายในไทยต้องยอม 'วัวหายล้อมคอก' อีกครั้งด้วยการร่วมกันให้ความสนใจและควบคุมการเติบโตของตลาด 'ที่ชาร์จปลอม' อย่างจริงจังเสียที
       
       หนุ่มระยองผู้โชคร้ายชื่อ พิสิษฐ ช่างเหล็ก อายุ 28 ปี เสียชีวิตในสภาพนอนคว่ำหน้า ลำตัวทับโทรศัพท์ในมือซ้ายถือโทรศัพท์ไอโฟน 4S เสียบเข้ากับสายชาร์จแบตเตอรี่และปลั๊กไฟ เบื้องต้นพบว่าหน้าอกมีรอยไหม้เกรียม จากการสอบสวน เชี่ยว ช่างเหล็ก อายุ 52 ปี บิดาผู้เสียชีวิต พบว่าคืนวันที่ 24 พ.ย. 2013 บุตรชายได้นอนคุยโทรศัพท์ขณะชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่สวมเสื้อ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดว่าผู้ตายน่าจะถูกไฟฟ้าดูดจากสายโทรศัพท์มือถือที่เสียบคาอยู่กับปลั๊กไฟ ซึ่งเป็นสายโทรศัพท์ที่ดูเหมือนไม่ได้รับไลเซนส์จากบริษัทแอปเปิล
       
       เหตุสลดใจนี้ทำให้สำนักงาน กสทช. ส่งหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจในระยอง ขอให้ส่งเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ชาร์จที่เป็นสินค้าเลียนแบบแบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งพบในที่เกิดเหตุมาให้ตรวจสอบโดยละเอียด ตามอำนาจของ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 ว่าเครื่องดังกล่าวมีการนำเข้าหรือมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช.หรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเครื่องดังกล่าวมีการนำเข้าที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช.ตามกฎหมายแล้ว สำนักงาน กสทช.จะ 'ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายต่อไป' ถึงแม้จะยังไม่มีการให้รายละเอียดที่ชัดเจนว่ากรอบดำเนินการจะครอบคลุมเพียงใด แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีมากแล้ว เมื่อเทียบกับการปล่อยปละละเลยจนทำให้ตลาดที่ชาร์จแบตเตอรี่ปลอมเติบโตทั่วไทยในขณะนี้

'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!? <b><font color=red>(Cyber Weekend)</font></b>
       ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่าที่ผ่านมา กสทช. ไม่มีคณะสุ่มตรวจอุปกรณ์ชาร์จโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตที่วางขายในท้องตลาด เนื่องจากกสทช.เน้นตรวจสอบโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์/บริการที่เกี่ยวข้องกับความถี่เท่านั้น รวมถึงอุปกรณ์ชาร์จที่มาพร้อมกันในกล่องโทรศัพท์ ส่วนการสุ่มตรวจอุปกรณ์ชาร์จในท้องตลาดนั้นอยู่นอกเหนือหน้าที่ กสทช.
       
       'ปัจจุบันกสทช.มีหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะเครื่องโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับเครื่องว่ามีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับการรับรองตามมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. เท่านั้น ส่วนอุปกรณ์ที่นอกเหนือจากนั้น อาทิ สายชาร์จ และอุปกรณ์ชาร์จ ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าดังนั้นจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)'
       
       แต่ปัญหานั้นอยู่ที่ผู้ซื้ออุปกรณ์ชาร์จในท้องตลาดขณะนี้แทบไม่มีผู้ใดได้เห็นตรา มอก. บนกล่อง เนื่องจากอุปกรณ์ชาร์จเหล่านี้ไม่ได้ถูกผลิตที่ประเทศไทย สิ่งที่ กสทช. ทำได้คือการย้ำเตือนผู้บริโภคให้ใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสากล
       
       ถามว่ามาตรฐานสากลที่ผู้บริโภคจะเชื่อถือได้คืออะไร คำตอบคือราคาและผู้ค้าปลีกที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ 'ความรู้สึกเสียดายเงินหรือความงก' เข้าครอบงำผู้บริโภคได้ง่ายเหลือเกิน เพราะราคาอุปกรณ์ชาร์จของแท้นั้นมีราคาเริ่มต้นเกิน 500 บาท ขณะเดียวกันยังจำหน่ายแยกชุดสายไฟและหัวต่ออแดปเตอร์ซึ่งคิดราคาแยกต่างหาก ผู้ใช้ที่ต้องการอุปกรณ์ชาร์จครบชุด จะต้องจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท

'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!? <b><font color=red>(Cyber Weekend)</font></b>
       กรณีของไอโฟน สายไฟสำหรับชาร์จและรับส่งข้อมูลลิขสิทธิ์แท้นั้นมีราคาเริ่มต้น 690 บาท (สายความยาว 1 เมตร สำหรับสาย 2 เมตรราคาเพิ่มขึ้นเป็น 1,090 บาท) อแดปเตอร์รุ่น 12 วัตต์สำหรับไอแพดและรุ่น 5 วัตต์สำหรับไอโฟนและไอพ็อดนั้นจำหน่ายราคาเท่ากันที่ 690 บาท เบ็ดเสร็จแล้วผู้ใช้จะต้องเสียเงิน 1,380 บาทเพื่อซื้ออุปกรณ์ชาร์จของแท้ในกรณีที่อุปกรณ์ชาร์จเสียหาย ราคาที่แพงนั้นเป็นเพราะลิขสิทธิ์การออกแบบและการผลิต
       
       ปัจจัยด้านราคานี้เองที่ทำให้ผู้ผลิตจีนหันมาพัฒนาอุปกรณ์ชาร์จเลียนแบบที่เน้นผลิตในราคาถูก ซึ่งสามารถทำได้เพราะอุปกรณ์ที่ชาร์จราคาถูกส่วนใหญ่จะไม่ได้ผ่านการตรวจสอบ รวมถึงกระบวนการผลิตที่ไม่ต้องใส่ใจมาตรฐานใดๆ
       
       วันนี้ตลาดที่ชาร์จปลอมนั้นมีพัฒนาการไปไกลเหลือเกิน นอกจากราคาที่จำหน่ายระหว่าง 20-200 บาท ยังมีการต่อยอดที่ชาร์จในรูปแบบหลากหลาย ทั้งสายไฟสีสันสดใสหลากสไตล์, อแดปเตอร์ที่พัฒนาสีทองตามไอโฟน 5S สีทอง รวมถึงที่ชาร์จ 'แท้ศูนย์' ซึ่งผู้ขายยืนยันว่ามีคุณสมบัติและรูปร่างเหมือนที่ชาร์จลิขสิทธิ์ และวางจำหน่ายในราคา 150-170 บาท แน่นอนว่าทุกรุ่นไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานใดแสดงไว้ และทั้งหมดสามารถผ่านกระบวนการนำเข้ามายังประเทศไทย และวางจำหน่ายได้อย่างเสรีไร้การควบคุม อย่างน้อยก็ในระยะหนึ่ง
       
       ในขณะที่ภาครัฐไม่สามารถควบคุมการเติบโตของตลาดที่ชาร์จปลอม แอปเปิลคือบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรายเดียวที่พยายามแก้ปัญหาและพยายามฆ่าตัดตอนที่ชาร์จปลอม โดยพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด iOS 7 ที่สามารถบังคับเครื่องไอโฟนไม่ให้ตอบสนองต่อที่ชาร์จปลอมซึ่งไม่ได้รับไลเซนส์การผลิตจากแอปเปิล
       
       ไอโฟน 5 ขึ้นไปที่ถูกอัปเดทเป็น iOS 7 เวอร์ชันล่าสุดในขณะนี้ จะสามารถฟ้องว่าสายไฟเชื่อมต่อเครื่องหรือ Lightning Connector นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการ 'อนุมัติ' หรือ approve หรือไม่ โดยหากพบว่าเป็นสายชาร์จปลอมที่ไม่ได้รับไลเซนส์จากแอปเปิลเพื่ออนุญาตให้ผลิต (unlicensed) จะแจ้งว่าอุปกรณ์นี้จะไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเครื่องหมายที่แสดงว่าเครื่องไม่ถูกชาร์จ ถือเป็นการมัดมือชกให้ผู้ใช้ต้องหันมาชาร์จด้วยที่ชาร์จแท้เท่านั้น
       
       อย่างไรก็ตาม ไอโฟน 4 พร้อมข้อต่อ 30-pin Dock แบบเก่านั้นจะไม่ได้รับผลกระทบจากคุณสมบัติใหม่ของ iOS 7 เช่นเดียวกันเครื่องไอโฟนที่ใช้อุปกรณ์ iOS 6 จะยังทำงานได้ดีกับที่ชาร์จปลอมต่อไป
       
       จากการสอบถามพนักงานร้านไอสตูดิโอ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของแอปเปิลในไทย พบว่าหลังจาก iOS 7 เวอร์ชันใหม่มีผลทำให้อุปกรณ์ชาร์จปลอมไม่ทำงาน ยอดจำหน่ายที่ชาร์จลิขสิทธิ์แท้นั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อสินค้าลิขสิทธิ์ยังเป็นกลุ่มเดิมซึ่งไม่ได้ใช้งาน iOS 7 พร้อมกับยืนยันว่าผู้ซื้อสามารถวางใจซื้ออุปกรณ์ชาร์จที่ไม่ใช่แบรนด์แอปเปิลซึ่งวางจำหน่ายในร้านไอสตูดิโอได้ เนื่องจากทุกรุ่นได้รับลิขสิทธิ์จากแอปเปิลพร้อมติดสัญลักษณ์ MFI (Made for iPhone/iPad) อย่างถูกต้อง
       
       ทั้งหมดนี้ กสทช.ประวิทย์ให้ความเห็นว่าหากจะป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดกรณีซ้ำรอยหนุ่มระยองขึ้นอีก หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นสำนักงานกสทช. หรือสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะออกค่ากำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ชาร์จ และสายชาร์จในทุกรุ่น ไม่ใช่เฉพาะยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้อย่างปลอดภัย

'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!? <b><font color=red>(Cyber Weekend)</font></b>
       ความจำเป็นของการออกค่ากำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ชาร์จนั้นสำคัญมาก เนื่องจากไม่เฉพาะเมืองไทย หญิงชาวจีนก็เคยตกเป็นข่าวเสียชีวิตเพราะการชาร์จไอโฟน 5 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากชายจีนรายหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุไฟฟ้าลัดวงจรขณะชาร์จไอโฟน 4 ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะอแดปเตอร์ของผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่ได้รับไลเซนส์จากแอปเปิล
       
       กรณีของจีน แอปเปิลได้ยื่นมือเข้ามาตรวจสอบทั้ง 2 กรณี พร้อมกับโพสต์ข้อความเตือนภัยจากการใช้อุปกรณ์ชาร์จที่ไม่ได้รับอนุญาต ขณะเดียวกันก็ดำเนินโครงการนำอแดปเตอร์ปลอมมาแลกซื้อของแท้ โดยจะเปิดให้ ผู้ใช้แลกซื้ออแดปเตอร์ของแท้ในราคา 10 เหรียญสหรัฐหรือ 300 บาทเพื่อใช้แทนอแดปเตอร์เดิมที่ใช้อยู่
       
       อย่างไรก็ตาม กรณีของหนุ่มระยองนั้นไม่มีรายงานว่าแอปเปิลได้ยื่นมือเข้ามาตรวจสอบหรือไม่ และยังไม่มีรายงานว่าโครงการ USB Power Adapter Takeback Program นั้นจะเริ่มให้บริการในไทย เนื่องจากการสอบถามล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม พบว่าศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์แอปเปิลในไทยยังไม่รองรับโครงการดังกล่าว โดยพนักงานระบุว่ายังต้องรอสัญญาณจากบริษัทแอปเปิลเซาธ์เอเชีย (ประเทศไทย) ต่อไป
       
       การปรับราคาอแดปเตอร์ของแท้ลงในจีนและสหรัฐฯ (ช่วงวันที่ 16 สิงหาคม - 18 ตุลาคม 2013) สะท้อนว่าแอปเปิลรู้ดีถึงที่มาของปัญหาอแดปเตอร์ไม่ได้มาตรฐานที่จำหน่ายอย่างแพร่หลายในขณะนี้ โดยเฉพาะในแง่ราคาจำหน่ายที่ต่างกันมากจนทำให้ผู้บริโภคต้องเลือกซื้ออแดปเตอร์ราคาประหยัดมาใช้งานแทน ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว อแดปเตอร์ของแท้ที่แอปเปิลผลิตและจำหน่ายนั้นมีราคาสูงกว่าอแดปเตอร์จากผู้ผลิตรายอื่นสูงสุดถึง 6 เท่าตัว (อแดปเตอร์จากผู้ผลิตในประเทศจีน จำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 100-120 บาทเท่านั้น)
       
       ถึงบรรทัดนี้ หน่วยงานรัฐอาจต้องถามตัวเองว่ามีทางส่งสัญญาณถึงแอปเปิลให้ดำเนินโครงการนี้เพื่อประโยชน์ของคนไทยบ้างได้หรือไม่ หรือช่องทางสร้างมาตรฐานเพื่อควบคุมตลาดที่ชาร์จให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอให้มีเหตุสลดใจครั้งอื่นแล้วจึงล้อมคอกอีกในอนาคต

'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!? <b><font color=red>(Cyber Weekend)</font></b>
       7 พฤติกรรมเสี่ยงตายเพราะที่ชาร์จปลอม
       
       1 เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
       
       ปรับทัศนคติใหม่เสียทีสำหรับใครที่มองว่าอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่สินค้า อิเล็กทรอนิกส์ของแท้และของปลอมสามารถใช้แทนกันได้ เพราะแม้จะชาร์จไฟเข้าอุปกรณ์ได้เหมือนกัน แต่ความปลอดภัยนั้นต่างกันราวฟ้ากับเหว
       
       อย่าลืมว่าอุปกรณ์ชาร์จของแท้นั้นมีมาตรฐานการผลิตและการออกแบบวงจรไฟฟ้า รวมถึงชุดป้องกันที่ได้รับการตรวจสอบรัดกุม ผิดจากอุปกรณ์ชาร์จของปลอมที่มองข้ามการออกแบบวงจรไฟฟ้าที่ปลอดภัย แต่เน้นควบคุมต้นทุนให้มีราคาต่ำที่สุด พร้อมกับยึดจุดมุ่งหมายปลายทางให้ได้ปริมาณไฟขาออกหรือเอาท์พุตที่ต้องการเท่านั้น
       
       2 ไม่เข้าใจเรื่องไฟฟ้า
       
       ในฐานะผู้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควรรู้ว่าพฤติกรรมใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายเชื่อมต่อระหว่างอแดปเตอร์และพื้นย่อมมีความเสี่ยงทั้งสิ้น กรณีนี้เห็นได้ชัดจากหนุ่มระยองผู้เคราะห์ร้ายที่ไม่ทราบว่า การคุยโทรศัพท์ขณะชาร์จโดยนอนถอดเสื้อบนพื้นปูนนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากกระแสไฟบ้าน 220 โวลต์จะเหนี่ยวนำลงพื้นทันทีเมื่อเกิดการลัดวงจร
       
       3 ซื้ออุปกรณ์ชาร์จปลอมครบชุด
       
       อุปกรณ์ชาร์จสมาร์ทโฟนในปัจจุบันมักสามารถถอดแยกได้เป็น 2 ส่วน หนึ่งคือหม้อแปลงไฟหรืออแดปเตอร์ที่เป็นเต้าเสียบเข้ากับปลั้กไฟบ้าน อีกหนึ่งคือสายเชื่อมต่ออแดปเตอร์นี้เข้ากับสมาร์ทโฟน ซึ่งมีปลายด้านหนึ่งรองรับพอร์ตยูเอสบี อีกด้านเป็นพอร์ตเฉพาะของอุปกรณ์นั้นเช่น พอร์ตไลท์นิ่งของไอโฟน-ไอแพด หรือไมโครเอสดีของอุปกรณ์แอนดรอยด์ ปัจจุบัน ตลาดที่ชาร์จปลอมนั้นมีจำหน่ายทั้งแบบครบชุดและจำหน่ายแยก จุดนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ยืนยันเบื้องต้นว่าการซื้อที่ชาร์จปลอมยกชุดนั้นมีความเสี่ยงมากกว่า
       
       เหตุผลคือสายไฟเชื่อมต่อนั้นมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นต้นเหตุการลัดวงจรนั้นมีไม่สูงมากเท่าอแดปเตอร์ที่ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นการใช้สายปลอมบนอแดปเตอร์แท้จึงมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ที่ชาร์จปลอมแบบครบชุด
       
       4 ไม่ใช้เคส
       
       แม้ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนที่ใช้โลหะหรืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบนั้นมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุด้านไฟฟ้าสูงเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่การนำเคสพลาสติกหรือวัสดุอื่นมาหุ้มเครื่องนั้นช่วยลดความเสี่ยงได้ ดังนั้นการไม่ใช้เคสระหว่างชาร์จไฟจึงเป็นหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง
       
       5 ชาร์จไปคุยไป
       
       ไม่มีใครรู้ว่าอแดปเตอร์ที่ชาร์จไฟจะเกิดเหตุไฟรั่วขึ้นเมื่อใด และเมื่อเกิดเหตุแล้ว ไฟพลังสูงจะรั่วไหลทันทีโดยที่ผู้ใช้ตั้งตัวไม่ทัน ทางที่ดีหยุดพฤติกรรมชาร์จไปคุยไปใช้งานไปเสียแต่วันนี้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
       
       6 ใช้งานเมื่อฟ้าผ่า
       
       ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศ การเกิดฟ้าผ่าจะทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กแผ่ออกโดยรอบจนเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้าหลายหมื่นโวลต์ ซึ่งมีโอกาสวิ่งไปตามสายไฟและสื่อนำสัญญาณบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น สมาร์ทโฟนจึงเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกรณรงค์ให้งดใช้งานกลางแจ้งขณะฟ้าผ่า เพราะมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบเหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
       
       7 หลงเชื่อคุณสมบัติบนกล่องอุปกรณ์ปลอม
       
       อย่าหลงเชื่อตราหรือข้อความบรรยายสรรพคุณบนกล่องอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ปลอมที่ ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากช่างไฟผู้ชำนาญการยืนยันว่าการตรวจสอบอุปกรณ์ชาร์จแบตปลอมนั้นจะทำได้ด้วยการแงะเครื่องเพื่อดูวงจรภายในเท่านั้น
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: 'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2013, 08:54:01 pm »
 :14: ที่ชาร์จปลอม 70 บาทนี่ผมเคยใช้ สมัยใช้โนเกียครับ เสียบชาร์จค้างคืนไว้ ตื่นมาตกใจเพราะที่ชาร์จระเบิดครับ แฮะๆ
โชคดีที่ปลั๊กไฟเป็นระบบฟิวส์ตัดไฟ ไฟเลยไม่ไหม้ แต่แปลกดีที่โทรศัพท์โนเกียไม่เป็นไร 55+

ตั้งแต่นั้นมาไม่ซื้อของถูกต่ากว่า ร้อยเลยครับ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ กระตุกหางแมว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 943
  • พลังกัลยาณมิตร 545
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ที่ชาร์จปลอม' ไม่ได้โตเพราะความงก!?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2013, 09:07:21 pm »
:14: ที่ชาร์จปลอม 70 บาทนี่ผมเคยใช้ สมัยใช้โนเกียครับ เสียบชาร์จค้างคืนไว้ ตื่นมาตกใจเพราะที่ชาร์จระเบิดครับ แฮะๆ
โชคดีที่ปลั๊กไฟเป็นระบบฟิวส์ตัดไฟ ไฟเลยไม่ไหม้ แต่แปลกดีที่โทรศัพท์โนเกียไม่เป็นไร 55+

ตั้งแต่นั้นมาไม่ซื้อของถูกต่ากว่า ร้อยเลยครับ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ของเขาดีจิง โนเมียเอ้ยโนเกีย :45: :17:
อัน1เพ ของดี มีตำหนิ แต่พอใจ
-อยากอยู่อย่างเพียงพอ แต่ใจไม่ยอมพอเพียง-