ผู้เขียน หัวข้อ: "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"  (อ่าน 26221 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 28 ไม่มีอริยสัจ
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 06:38:38 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 28 ไม่มีอริยสัจ

ธรรมที่เป็นสภาพในความเป็นมันอันแท้จริงนั้น มันก็คือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนโดยตัวมันเอง ซึ่งหมายความถึงมันเป็นความว่างเปล่าอยู่อย่างนั้น โดยสภาพตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นไปตามความหมายที่ตถาคตเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ซึ่งมีความหมายถึง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า โดยสภาพตัวมันเองอยู่อย่างนั้น แต่การอธิบายธรรมให้แก่ปุถุชนผู้มืดบอด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมอันคือธรรมชาตินี้อย่างแท้จริง จึงเป็นการอธิบายเป็นไปในทางซึ่งการหักล้าง กับทิฐิเดิมของผู้ที่มืดบอดที่พวกเขาเหล่านั้นได้ยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ ว่าทำไมธรรมซึ่งเป็นทิฐิเหล่านั้นจึงไม่ใช่ธรรมอันแท้จริง

 และเป็นการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ตรงต่อสภาพธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง การอธิบายจึงเป็นไปในกระบวนการทำความกระจ่างชัดให้เกิดขึ้นว่า อะไรคือปัญหาที่คุณกำลังเผชิญหน้าอยู่ และสาเหตุแห่งปัญหานั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และอะไรคือหนทางแห่งการแก้ไขปัญหานั้น และท้ายที่สุด อะไรคือการแก้ไขปัญหาได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ การอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างตระหนักชัดแจ้ง ในกระบวนการทั้งหมด "ของความเข้าใจ" เพื่อมุ่งไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างแท้จริงนั้น มันคือความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ในหนทางที่จะพาพวกคุณ ไปสู่เส้นทางธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งมันเป็นเนื้อหาธรรมตามธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ที่มันเป็นไปตามสภาพของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

 ธรรมอันคือเนื้อหาธรรมเพื่อทำความเข้าใจ และเพื่อให้เกิดความตระหนักอย่างชัดแจ้งรู้แจ้งนี้ ตถาคตเจ้าทรงตรัสเรียกว่า "ธรรมอันคืออริยสัจ" ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาอยู่ 4 อย่าง คือ ธรรมอันคือ ทุกข์ ธรรมอันคือ สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมอันคือ นิโรธ ความดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย อันคือสภาพธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาซึ่งคือความทุกข์ได้อย่างหมดจด ซึ่งเป็นการแก้ไขได้ด้วยความเป็นจริงที่มันเป็นไป ตามสภาพธรรมนั้นๆเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ธรรมอันคือ มรรค หนทางที่เป็นความพ้นทุกข์ และดำเนินไปสู่ความเป็นเนื้อหาเดียวกัน ของธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง แต่ด้วยธรรมอันคืออริยสัจนี้ เป็นธรรมชาติที่จะต้องนำมา "พิจารณา" เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงและถูกต้อง เพื่อที่จะได้ดำเนินไปในทางนั้น ก็ด้วยการเข้าไปพิจารณาในธรรมเหล่านี้

 ที่ว่าด้วยอะไรเป็นอะไรตามเหตุปัจจัยของธรรมนั้น อันเป็น "เหตุผล" ที่ทำให้เราเชื่อและเข้าใจในเนื้อหานั้น ได้ตรงต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง การพิจารณาดังกล่าวมันจึงเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็น "จิต" เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะการเข้าไปพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านั้น เป็นจิตที่เกิดขึ้นในความเป็นไปแห่งการแสดงภาพลักษณ์ แห่งความเข้าใจในธรรมอันแท้จริงของตน ขึ้นมาอย่างชัดแจ้งในมโนภาพ ดังนั้นธรรมอริยสัจมันจึงเป็น "ปรากฏการณ์" ในการเกิดขึ้นในความเป็นตัวเป็นตน เป็นอัตตาแห่งธรรมอันคืออริยสัจทุกครั้ง ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในการพิจารณาธรรมนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ก็โดยสภาพแห่งธรรมอันคืออริยสัจ ที่เราได้พิจารณาและเกิดความเข้าใจในธรรมดังกล่าว มันจึงเป็นเพียงธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่งไปในการพิจารณา มันจึงยังไม่ใช่สภาพธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริง ซึ่งมันคงมีแต่ความว่างเปล่าเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น เมื่อกล่าวตามสภาพความเป็นจริง ธรรมอันคืออริยสัจที่เกิดขึ้น มันจึงหาใช่ความหมายในความเป็นตัวเป็นตนไม่ ธรรมชาติแห่งธรรมที่แท้จริงมันย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน ตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จึงหามี "ธรรมอันคืออริยสัจ" นี้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงไม่ จึงเสมือนว่า มันไม่เคยมีความปรุงแต่งธรรมอันคืออริยสัจนี้ เกิดขึ้นมาก่อนเลย มันคงมีแต่ธรรมชาติอันแท้จริง คงทำหน้าที่ ใน "ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่อย่างนั้น"

นี่ก็เป็นเหตุผลเดียวตามความเป็นจริง ที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้ตอบคำถามต่อจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ ที่ได้ถามปัญหาธรรมต่อท่าน ในคราวที่ท่านได้เดินทางมาสู่แผ่นดินจีนที่เมืองกวางโจวใหม่ๆ และท่านได้รับการนิมนต์เข้าไปยังเมืองหลวง ก็จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้องค์นี้ มีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แต่ท่านก็ได้เอาแต่ทำบุญก่อสร้างวัดวาอาราม โดยมิได้ใส่ใจในการศึกษาพระธรรมอย่างแท้จริง ก็ในคราวนั้นจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ได้ถามปรมาจารย์ตั๊กม้อว่า ธรรมอันคือ "อริยสัจ" คืออะไร ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อได้ตอบไปว่า "ไม่มี" คำตอบอันเป็นความจริงโดยสภาพแห่งธรรมมันเอง กลับทำให้จักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้เกิดความขุ่นเคืองพระทัย ก็ความเป็นจริงโดยสภาพแห่งธรรมอันคือธรรมชาติอันแท้จริงนั้น มันย่อมไม่มีความเป็นตัวเป็นตนอยู่แล้ว ตามธรรมชาตินั้นมันย่อมเป็น ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น

 หามีธรรมใดๆหรือสิ่งใดๆจะเกิดขึ้นในความว่างเปล่าตามธรรมชาตินี้ ก็หาได้มีไม่ เพราะฉะนั้นการที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้ตอบจักรพรรดิเหลียงบู๊ตี้ไปว่า "ธรรมอริยสัจ" นั้น "ไม่มี" จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง เป็นความถูกต้องตามธรรมชาติว่า จะหาความมีตัวตนในธรรมอริยสัจนี้ไม่ได้แม้แต่น้อยเลย ธรรมอริยสัจนี้มันจึงเป็นความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ของมันอยู่อย่างนั้น หาเคยมีมันเกิดขึ้นไม่

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   27 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 29 เคลื่อนไหวดั่งสายลม
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 07:00:24 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 29 เคลื่อนไหวดั่งสายลม

ด้วยการที่เราสามารถทำความเข้าใจ ในความเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ของมันอยู่อย่างนั้นได้อย่างตระหนักชัดแจ้ง โดยเป็นความเข้าใจอย่างถ้วนถี่ไม่มีความลังเลสงสัยอันใดเหลืออยู่ และสามารถซึมซาบกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน กับความเป็นธรรมชาตินั้นได้อย่างแนบสนิท ชนิดที่เรียกได้ว่ามันเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นธรรมชาติ โดยไม่อาจแยกเราและความเป็นธรรมชาติ ให้มีความแตกต่างออกเป็นสองสิ่งได้เลย ความเป็นเนื้อหาเดียวกันในความเป็นไปตามสภาพธรรมชาตินั้น มันจึงเป็น "ธรรมชาติ" ในความเป็นเช่นนั้นเองของมันอยู่อย่างนั้น อย่างคงที่ในสภาพแห่งธรรมชาตินั้น โดยไม่มีวันที่จะแปรผันไปเป็นอย่างอื่นในความหมายอื่นได้เลย

 การที่เป็นเนื้อหาเดียวกันอยู่อย่างนั้นระหว่างเรากับธรรมชาตินั้น มันจึงเป็นความตั้งมั่นในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นความตั้งมั่นที่มีความหมายถึง มันทำให้เราได้กลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติโดยไม่มีความแตกต่าง ก็ธรรมชาติแห่งการตั้งมั่นอันคือธรรมชาติแห่งความกลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันแบบไม่มีความแตกต่าง อันทำให้เรา คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ เรา ชนิดที่เรียกว่าแยกกันไม่ออก เป็นไปในความแนบเนียนอยู่ในความกลมกลืนอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยขันธ์ทั้งห้าที่ถูกอุปมาไปแบบนั้นว่า นี่คือ กายเรา อันเป็นไปแห่งธาตุขันธ์ที่เราได้อาศัยอยู่อย่างนี้ และยังมีลมหายใจ ที่ขยันหายใจเข้าหายใจออกอยู่แบบนี้ อันว่านี่คือเรา คือชีวิตเรา และมันยังมีความเคลื่อนไหว สามารถกะพริบตา กระดุกกระดิกไปมาได้ ในท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน นั่ง เดิน นอน

เมื่อเรายังต้องมีการไปและการมา ด้วยการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันด้วยขันธ์ธาตุเหล่านี้ ก็ด้วยความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นธรรมชาติที่มีความสงบนิ่ง สงบตามธรรมชาติของมันที่อยู่ภายในความเป็นไป อันปราศจากความเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆของมันอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวไปมา มันก็เป็นเพียงการเคลื่อนไหวไปมาอยู่อย่างนั้น หามีผลหรือส่งผลกระทบอันจะทำให้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ธรรมชาติอันคือสภาพความสงบนิ่งที่แท้จริง ซึ่งปราศจากความเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆ มันจะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของมันตามธรรมชาตินั้นไปเป็นอย่างอื่น เพราะความเป็นธรรมชาติมันก็คือ สภาพความเป็นของมัน อยู่อย่างนั้นเองอยู่แล้ว ไม่สามารถมีใครหรือสิ่งใดๆเข้ามาทำ ให้ความเป็นธรรมชาติแห่งสภาพตัวมันเอง เปลี่ยนไปเป็นอื่นๆได้เลย

ด้วยเหตุผลความเป็นจริงเหล่านี้ การที่เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งพุทธะ และต้องเคลื่อนไหวไปมาในอิริยาบถต่างๆนี้ มันจึงเป็นการเคลื่อนไหวไปในความสงบอย่างแท้จริง เป็นความสงบ ซึ่งปราศจากการเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆภายในธรรมชาติ มันจึงเป็นความสงบนิ่งอย่างแท้จริง มันเป็นความสงบนิ่ง แต่เคลื่อนไหวได้ เคลื่อนไหวไปดุจดั่ง "สายลม" ที่พลิ้วไหวและแผ่ซ่าน ด้วยความสงบนิ่งแผ่วเบา ในทั่วทุกหนแห่ง

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   28 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 07:14:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 30 ธรรมชาติจำลอง
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2014, 07:12:40 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 30 ธรรมชาติจำลอง

ก็ด้วยที่มันเป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันเองอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิใช่เป็นธรรมชาติที่มีความหมายถึง ความเป็นสิ่งสิ่งหนึ่ง เมื่อพวกคุณไม่เข้าใจในความหมายของธรรมชาติ ตามความเป็นจริงโดยสภาพของมันเอง ด้วยอวิชชาความไม่รู้ของพวกคุณเอง อาจพาคุณคิดไปว่า ธรรมชาตินี้มันต้องเป็นสิ่งสิ่งหนึ่งหรือภาวะหนึ่ง ที่มันประกอบไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ อันทำให้ธรรมชาตินี้มีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น ด้วยความเข้าใจผิดว่า ธรรมชาติมันคือสิ่งสิ่งหนึ่งภาวะหนึ่ง และด้วยความคาดคะเนเข้าใจผิดของคุณเอง

 พวกคุณจึงเอามืออันอยู่ไม่สุขของพวกคุณเอง เข้าไปยุ่งย่ามเข้าไปเป็นส่วนเกิน ในความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ด้วยการฆาตกรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติ ให้ตายสูญหายสูญสลายไป จากธรรมธาตุแห่งความเข้าใจในความเป็นจริง ที่อาจจะมีอยู่ในความเป็นตัวเป็นตนของพวกคุณเอง พวกคุณได้กระทำตนเป็นฆาตกร ลงมือฆ่าความเป็นจริงของพวกคุณเองด้วยความเข้าใจหลงผิด และพวกคุณก็ได้ฆาตกรรมธรรมชาติ ด้วยวิธีการลงมือผ่ามันออกเป็นส่วนๆ เพื่อศึกษาความเป็นไปในสภาพมัน ตามความเข้าใจผิดของพวกคุณ

 ด้วยที่พวกคุณคิดว่า มันจะต้องมีหลายๆสิ่งอันคือธรรมทั้งหลาย เข้ามาประกอบกันเพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาตินี้มันเกิดขึ้น ก็ด้วยกำลังหรือจำนวนปริมาณแห่งธรรมอันประกอบเข้ากันนี่เอง ที่มันจะต้องมีจำนวนมากพอจนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ธรรมชาตินี้ มันเป็นธรรมชาติที่เด่นชัดเจนยิ่งขึ้นจนถึงขนาดที่พวกคุณ มีความพึงพอใจแล้วว่า การเกิดขึ้นแห่งธรรมชาติตามวิธีการที่พวกคุณเข้าใจนี้ มันคือ "ธรรมชาติที่แท้จริง" แต่ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติ ธรรมชาติมันก็คือธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เป็นธรรมธาตุแห่งคุณลักษณะ ในความเป็นของมันเองมาอยู่อย่างนั้น "อยู่แล้ว" มันคือความเป็น "อยู่แล้ว" โดยไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นและจุดจบแห่งมันได้ และมันก็มิใช่ภาวะที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก็เพราะธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่แบบนั้น "ในความเป็นธรรมชาติมันเอง" มันจึงมิใช่ภาวะโดยที่ใครจะสามารถ เอาความเป็นตัวตนของตัวเองเข้าไปอยู่ปะปนกับมันได้

เพราะในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่แท้จริง ไม่สามารถมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือภาวะใดภาวะหนึ่ง แทรกตัวเข้าไปอยู่รวมกับธรรมชาตินี้ได้เลย มันจึงไม่มีอะไรกับอะไรทั้งนั้น มันจึงไม่ใช่อะไรกับอะไรทั้งนั้น มันเป็นธรรมชาติของมันแบบสมบูรณ์พร้อมโดยตัวมันเองอยู่แล้ว มันจึงมิใช่เกิดจากสิ่งใดๆเข้ามารวมกัน และเป็นเหตุปัจจัยทำให้ความเป็นธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมาได้

เมื่อมันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันมาเองตั้งแต่ต้น ความเข้าใจผิดของพวกคุณและการปรุงแต่งไป ในการศึกษาพิจารณาเพื่อแยกแยะว่า อะไรเป็นอะไร ตามความเข้าใจผิดของคุณ มันจึงเป็นการจำลองธรรมชาติขึ้นมา มันจึงเป็นเพียงการทำให้ธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว กลายเป็นธรรมชาติที่เป็นตัวเป็นตนเป็นอัตตาขึ้นมา มันจึงหาใช่ธรรมชาติที่แท้จริงไม่ มันจึงเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งไป ในความที่จะทำให้ธรรมชาติมันเกิดขึ้น เป็นภาวะตามความต้องการ ซึ่งเป็นอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของพวกคุณเองแต่เพียงเท่านั้น

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   28 กุมภาพันธ์ 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 10:51:30 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 31 ต้นธาตุต้นธรรม

ก็ด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะปรุงแต่งนั้น โดยความหมายแห่งความเป็นสังขตธาตุหรือธรรมธาตุปรุงแต่ง มันคือปรากฏการณ์แห่งภาวะธรรมทั้งหลาย ที่มัน "เกิดขึ้น" และ "ตั้งอยู่" ในความเป็นตัวเป็นตน ก็ด้วยความเป็นจริงในการทำความเข้าใจ เพื่อศึกษาธรรมทั้งหลายเพื่อเป็นไปในความหลุดพ้นนั้น มันอาจเกิดสภาพการปรุงแต่งได้ในสามลักษณะ คือ ลักษณะปรุงแต่งไปด้วยสภาพความเป็นเนื้อหา แห่งการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยแห่งการสั่งสมอนุสัย ซึ่งเป็นการปรุงแต่งออกมาจากใจที่ยังถูกหุ้มไปด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามนิสัยสันดานเดิมๆแห่งตนนั้น คือการปรุงแต่งไปในความเป็นทุกข์ ที่ตนยังมีอยู่อย่างเต็มหัวใจอยู่อย่างนั้น



คือ ลักษณะปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมต่างๆว่า
อะไรเป็นอะไร อะไรคืออะไร
ในกระบวนการ แก้ไขปัญหา ให้กับตนเอง

และลักษณะการปรุงแต่งไป
ในการยึด จับ ฉวย ความหมายในธรรมเหล่านั้น
ซึ่งมันเป็นภาวะธรรมที่ทำให้เราเข้าใจ
ในเหตุปัจจัยแห่งกระบวนการมัน ในการแก้ไขปัญหานั้น

จึงเป็นการ ปรุงแต่งไปในภาวะ ให้เกิดขึ้น


คือ ลักษณะปรุงแต่งไป ในการเข้าไปตรวจสอบวินิจฉัยในภาวะธรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติตามความเป็นจริง ว่าแท้จริงธรรมชาติคือความว่างเปล่า แบบเสร็จสรรพอยู่แล้วโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติของมัน เมื่อไม่เข้าใจ จึงทำให้นักปฏิบัติทั้งหลายเกิดพฤติกรรมทางจิต เข้าไปตรวจสอบภาวะจิตใจของตนว่า จิตของตนอยู่ในลักษณะไหนแล้วในขั้นตอนแห่งการปฏิบัติ และจะได้ทำการแก้ไขตนเองต่อไป แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติของมัน มันคือความเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ซึ่งมันเป็นเนื้อหาความเป็นจริงที่อยู่นอกเหนือภาวะ แห่งปรากฏการณ์ความใช่หรือไม่ใช่ ความถูกหรือความผิด การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ การเข้าไปตรวจสอบจิตของตน ซึ่งคิดว่าตรงนั้นคือผลของการปฏิบัติ มันจึงล้วนเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาด้วยเหตุและปัจจัยนี้ในลักษณะหนึ่ง

 แท้ที่จริงแล้วด้วยธรรมชาติอันแท้จริง ซึ่งคือธรรมชาติตามความเป็นจริงของมันนั้น มันเป็นธรรมที่เป็นความเป็นจริงถูกต้องโดยเนื้อหาของมัน มาตั้งแต่แรกเริ่ม แรกเริ่มในความเป็นต้นธาตุต้นธรรม ตามสภาพของมันมาแบบนี้อยู่แล้ว ด้วยตัวมันเองสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น นี่คือธรรมที่เป็นความจริง และเป็นธรรมชาติที่ดำรงเนื้อหาของมันตามธรรมชาติอยู่แบบนี้เรื่อยมา จึงกล่าวได้ว่าความเป็นเราเองนี่แหละก็คือความเป็นธรรมชาตินั้น เราเองเป็นส่วนหนึ่งในความเป็นธรรมชาตินั้นมาตั้งแต่ต้น กล่าวได้ว่า ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทุกสรรพสิ่งแห่งอนันตจักรวาลอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ทุกๆสรรพสิ่งแม้แต่ความเป็นอณูธรรมธาตุเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันล้วนแต่มีความหมาย แห่งความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันจึงเป็นความจริงที่ว่า ทุกสรรพสิ่งทั้งมวลก็คือความเป็นต้นธาตุต้นธรรม คือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั่นเอง เราไม่อาจแยกตัวออกมาจากความเป็นธรรมชาตินี้ได้เลย แม้แต่เพียงขณะหนึ่ง



ตถาคตเจ้าจึงทรงตรัสว่า ให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเป็นผู้มืดบอดด้วยอนุสัยแห่งตน และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังมืดบอดไม่เข้าใจในความเป็นจริง แห่งธรรมชาติที่แท้จริง และยังมีความโง่เขลาที่จะเข้าไปปฏิบัติ เพื่อให้สิ่งที่มันเป็นธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ให้เป็นภาวะธรรมเกิดขึ้น ตามความต้องการตามความไม่เข้าใจแห่งตน ให้สลัดทิ้งซึ่ง "ภาวะ" ธรรมอันคือการปรุงแต่งเหล่านี้ไปเสีย โดยตถาคตทรงตรัสชี้ถึง "ความมีอยู่" ของธรรมชาติอันแท้จริงนี้ ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแห่งตัวมันเอง ซึ่งมันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งมันเป็นความดั้งเดิมแท้ของมันเองมาก่อนอยู่แล้ว อันคือต้นธาตุต้นธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีเนื้อหาตามความเป็นจริงของมัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว และทรงตรัสให้เราทั้งหลาย จงลืมตาตื่นขึ้นต่อความเป็นจริงที่มีอยู่แล้วของธรรมชาตินี้ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจตระหนักอย่างชัดแจ้ง ในความเป็นธรรมชาตินั้น ของมันที่มีอยู่ก่อนแล้วอยู่อย่างนั้น และกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้นได้

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   1 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 32 จิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: มีนาคม 03, 2014, 08:52:35 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 32 จิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า

ความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนี้ มันเป็นความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าพวกคุณไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของธรรมชาติเหล่านี้ และพวกคุณมีความพยายามดิ้นรนจะหลุดออกจากทิฐิเดิมของคุณ แต่พวกคุณกลับไม่เข้าใจทิฐิตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ อันคือสัมมาทิฐินี้ ด้วยความไม่รู้ต่อความเป็นจริง และด้วย "ความดิ้นรน" ที่โดยเนื้อหามันเอง ก็คือ ตัณหา อุปาทาน ความอยากที่จะเป็นพุทธะขึ้นมาตามที่คุณต้องการ ด้วยความไม่รู้นั้นมันจึงพาให้คุณแสวงหาพุทธะในหนทางอื่นๆ อันเป็นหนทางที่มิใช่ทางธรรมชาติ

 แต่ความพยายามดิ้นรนด้วยวิธีที่พวกคุณเห็นว่ามันน่าจะใช่ และพวกคุณก็ได้ปักใจไปแล้วว่านี่คือหนทางอันคือวิธีที่แท้จริง ที่จะทำให้ความเป็นพุทธะมันเกิดขึ้นตามที่คุณคิดคาดหวัง คุณจึงได้รีบลงมือปฏิบัติ และเรียกมันอย่างสวยหรูว่า "ความเพียรพยายาม" อย่างแรงกล้า ด้วยหัวใจแห่งพุทธะอันจอมปลอมของคุณเอง และพวกคุณก็เฝ้าติดตามผลแห่งการที่คุณได้ปฏิบัติธรรมไป ว่าสิ่งที่คุณลงแรงไปนั้นมันให้ผลกลับมามากน้อยแค่ไหน ก็ด้วยการปฏิบัติธรรมที่คุณเห็นว่า "มันมีสิ่งสิ่งนี้อยู่" และสิ่งที่คุณเห็นว่ามีนั้น "ความมีนั้นมันไม่เที่ยงดับไป" และความดับไปสิ้นไปในแต่ละสิ่งแต่ละอย่างที่คุณทำได้นั้นปฏิบัติได้นั้น มันกลายเป็นความว่างเปล่าขึ้นมาตามที่คุณรู้สึกได้ หรือตามที่คุณคาดการณ์ไป

 ด้วยการที่พวกคุณได้ชั่งความมีความเป็นแห่งมันในใจแล้วว่า คุณได้ปฏิบัติโดยเอาความมีความเป็นแห่งมันออกไปเรื่อยๆ ตามที่คุณได้ทำความเพียรไป และด้วยผลแห่งการปฏิบัติที่พวกคุณคิดว่าใช่ และมันเป็นผลแห่งการปฏิบัติที่แท้จริงที่ทำให้ ความมีตัวมีตนของพวกคุณเบาบางลงไป โดยที่พวกคุณได้ตรึงผลแห่งการปฏิบัติของคุณ ไว้กับความว่างเปล่า ตามที่คุณได้ชั่งมันไว้อยู่ทุกขณะ และคุณก็ภูมิใจในความว่างเปล่านั้น

แต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติ ความว่างเปล่าอันแท้จริง มันเกิดจากความเข้าใจในความหมายแห่งธรรมชาติ ว่าแท้ที่จริงธรรมชาติมันคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ความว่างเปล่าที่พวกคุณภาคภูมิใจว่า มันคือการปฏิบัติธรรมของพวกคุณเอง แท้ที่จริงมันคือความว่างเปล่าจากการคาดคะเนของพวกคุณเองเท่านั้น มันเป็นความว่างเปล่าตามจิตนาการของพวกคุณเองแต่เพียงเท่านั้น มันมิใช่ความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ตามสภาพที่แท้จริงของมันแต่อย่างใด มันจึงเป็นเพียง "ความว่างเปล่าตามความรู้สึก" มันเป็นเพียงความว่างเปล่าที่เป็นภาวะปรุงแต่งเกิดเป็นจิตขึ้นมา มันเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในความว่างเปล่า มันมิใช่ความว่างเปล่าตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นความว่างเปล่าที่แท้จริง ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แต่อย่างใดเลย

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   2 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 33 ค้นหาตัวเอง
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: มีนาคม 03, 2014, 09:21:06 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 33 ค้นหาตัวเอง

ทุกสรรพสิ่งที่ปรากฏเป็นภาวะในสามภพ และรวมทั้งความเป็นสามภพของตัวมันเองนั้นด้วย ล้วนเกิดจากต้นตอแห่งจิต แต่แท้จริงแล้วจิตย่อมไม่มี ทุกสรรพสิ่งนั้นคือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายย่อมสอนธรรมด้วย "จิตสู่จิต" ด้วยความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงปราศจากรูปแบบและวิธีใดๆ

"ถ้าไม่ใช่รูปแบบตายตัวแล้ว ความเป็นพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจะใช้จิตด้วยวิธีใดๆ" "ก็สิ่งที่ท่านถามมานั่นเอง นั่นแหละคือจิตของท่าน" "และสิ่งที่ฉันตอบท่านไปก็คือจิตของฉัน" "ถ้าฉันไม่คิดแล้วฉันจะตอบได้อย่างไร" "ถ้าท่านไม่คิดแล้วท่านจะถามได้อย่างไร" "สิ่งที่ท่านถามก็คือความคิด ก็คือจิตของท่าน" อันเป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว จิตย่อมไม่ใช่จิต จิตท่านย่อมหาความเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริงของมันนั้นหามีไม่

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นกัปเป็นกัลป์ ท่านจะทำสิ่งใดก็ตามจะอยู่ในภพไหนก็ตาม สิ่งนั้นก็คือจิตของท่าน และจิตนั้นก็ไม่แตกต่างไปเลยจากความเป็นพุทธะ ท่านกล่าวไว้ว่า ก็นอกเหนือจากจิตของท่านนี้แล้ว ท่านจะค้นพบพระพุทธเจ้าจากที่อื่นไม่มีเลย จิตของท่านนั่นเองคือความเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อท่านรู้ว่าจิตมันย่อมไม่ใช่จิต เมื่อท่านรู้ว่าจิตแท้จริงมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า การแสวงหาโพธินอกไปจากธรรมชาตินี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ การไม่ปรากฏขึ้นด้วยความเป็นจิตตามความเป็นจริงแห่งท่าน มันก็คือธรรมชาติในความเป็นท่านเอง เป็นธรรมชาติแห่งความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างท่านกับธรรมชาตินั้น ในความหมายแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความเป็นธรรมชาตินั้นมันมีอยู่แล้วเองในจิตของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วท่านจะไม่สามารถค้นพบความเป็นพุทธะ จากที่อื่นได้เลยนอกจากจิตของท่าน (จิตที่ไม่ใช่จิตและจิตนี้คือความเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว)

การพยายามค้นหาพุทธะภาวะให้แก่ตนเอง หรือการพยายามหาทางเพื่อบรรลุธรรม มันก็เหมือนพยายามจับฉวยเอาอากาศนั้น ให้มันเกิดเป็นสิ่งสิ่งหนึ่งขึ้นและยึดฉวยมันเอาเข้ามาไว้ในมือได้แล้ว แต่สภาพความเป็นจริง อากาศก็คือความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ท่านไม่สามารถจับฉวยเอาอะไรขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย ก็มันเป็นอากาศที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จะต้องดำริริเริ่มเพื่อให้มันเกิดอะไรขึ้นมาอีก ก็พระพุทธเจ้าคือความเป็นธรรมชาติของท่าน แล้วท่านจะค้นหาความเป็นพระพุทธเจ้าจากที่อื่นทำไม

 ก็ท่านนั่นแหละคือพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนกล่าวถึงความเป็นธรรมชาตินี้เท่านั้น ดังนั้นธรรมชาติก็คือพุทธะ พุทธะก็คือธรรมชาตินั่นเอง นอกเหนือจากธรรมชาตินี้แล้วย่อมไม่ใช่พุทธะ และพุทธะนี้ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากธรรมชาติ ถ้าท่านคิดว่าพุทธะมีอยู่ที่อื่นนอกเหนือธรรมชาตินี้แล้ว พระพุทธเจ้าที่แท้จริงอยู่ที่ไหนกัน ดังนั้นจึงไม่มีพระพุทธเจ้านอกไปจากธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้เลย ทำไมเมื่อพระพุทธเจ้าอยู่ตรงหน้าเรานี้แล้วทำไมไม่มองท่าน จ้องมองดูสิเมื่อกล้าเผชิญกับความเป็นจริงที่อยู่ต่อหน้าทุกขณะ

 ตราบใดที่ยังหลอกตัวเองด้วยการหันหลังให้กับความจริง ด้วยการสอดส่องสายตาจ้องไปที่อื่น ท่านก็จะไม่รู้จักความเป็นพุทธะ ซึ่งมันคือความเป็นท่านเองตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น ตราบใดที่ท่านยังหลงเพลิดเพลินไปกับการปรากฏแห่งรูป ซึ่งความเป็นจริงมันย่อมไร้ความมีชีวิต ท่านก็ยังไม่มีความเป็นอิสระ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์แห่งรูปที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อท่านได้ตระหนักชัดอย่างแท้จริงว่า มันไม่เคยมีรูปเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาอย่างแท้จริงเลย และรูปมันก็เป็นรูปที่มีความหมายถึงความเป็นธรรมชาติของท่านเอง ท่านก็เป็นอิสระแล้วเดี๋ยวนั้น ถ้าหากท่านใช้จิตซึ่งคือปรากฏการณ์แห่งภาวะใช้มันหาพุทธะ ท่านก็จะไม่เห็นพุทธะเลย แต่ถ้าท่านเข้าใจแล้วว่า จิตไม่ใช่จิต แล้วจิตนี้คือพุทธะ ท่านก็คือพุทธะนั้นแล้วโดยไม่ต้องหา

อย่าใช้ความเป็นท่านอันคือธรรมชาติแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า บูชาพระพุทธเจ้าเลย เมื่อท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งย่อมรู้จักความเป็นตัวท่านดี ในความเป็นธรรมชาตินั้น ธรรมชาติก็ย่อมทำให้ท่านไม่หลงเข้าไปยึดบูชาสิ่งอื่นใดได้อีกเลย แม้แต่สิ่งสิ่งนั้นคือรูปปั้นของพระพุทธเจ้า อย่าใช้จิตซึ่งเป็นภาวะแห่งตนปลุกความเป็นพระพุทธเจ้าให้เกิดขึ้น ตามความต้องการของท่านเลย พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึงพร้อม ย่อมไม่มานั่งสวดมนต์

 พระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความเป็นปกติในจิตอันคือพุทธะนั้น ความเป็นปกตินั้นทำให้ความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาศีล เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นผู้ฝึกตนเองดีแล้ว เป็นธรรมชาติแห่งการดำรงชีวิตอยู่ตามกรอบศีลธรรมอันดี ความมีวินัยแห่งตนเองมานานแล้วนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ต้องรักษาวินัยใดๆให้เคร่งครัด และเมื่อไม่ต้องรักษาจึงไม่มีการละเมิดวินัยแต่อย่างใดอีกด้วย ความเป็นพระพุทธเจ้าคือความเป็นธรรมชาติแห่งตัวเราเองนั้น มันคือธรรมชาติที่มีความเป็นกลางปราศจากภาวะแห่งความชั่ว ไม่เคลื่อนไหวไปตามจิตลักษณะต่างๆ เพราะฉะนั้นความเป็นพระพุทธเจ้าของคุณเอง จึงไม่ต้องมุ่งที่จะกระทำความดีหรือไต่ไปตามเส้นทางแห่งความชั่ว

การค้นหาพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นการค้นหาที่แท้จริงนั้น คือการทำความรู้จักและทำความเข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติของตนเองแต่เพียงเท่านั้น ใครก็ตามที่สามารถเห็นตนเองได้ตามความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นพุทธะที่แท้จริงแล้วเช่นกัน ถ้ายังไม่เห็นตนเอง ถ้ายังไม่เห็นความเป็นธรรมชาติ และมัวแต่หันไปท่องพระสูตร การบำเพ็ญทานและการรักษาศีล ด้วยจุดประสงค์ว่าสิ่งเหล่านี้ คือส่วนประกอบที่สำคัญแห่งความเป็นพุทธะ การคิดได้เพียงเท่านี้จึงเป็นสิ่งที่ไร้สาระ การกระทำในสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการปลุกภาวะจิตของตนให้เกิดขึ้นมา มันเป็นเพียงกุศลกรรมที่อยู่นอกขอบวงแห่งพุทธะที่แท้จริง

 การท่องจำพระสูตรมันมีผลเพียงแค่ทำให้เรามีความจำดีขึ้น การรักษาศีลเป็นเพียงเรื่องศิลปะในการปรุงแต่ง ให้จิตดำเนินไปบนพื้นฐานแห่งความรู้สึกที่เป็นสุขแต่เพียงเท่านั้น และมันก็จะพาให้เราไปเกิดในภพภูมิที่ดีขึ้น การบำเพ็ญทานก็มีผลให้เรามีความสุข ในการที่เราได้กระทำการบริจาคไปแบบนั้น แต่สิ่งทั้งหลายนี้ไม่ส่งผลต่อความเป็นพุทธะเลย แต่สิ่งทั้งหลายนี้ล้วนมิใช่ความเป็นพุทธะเลย ถ้าท่านไม่มีปัญญาที่จะทำความเข้าใจในคำสอนอันเป็นธรรมชาตินี้ ท่านก็ต้องเสาะแสวงหาบัณฑิตซึ่งเขาคนนั้น สามารถชี้ทางให้คุณเดินไปยังหนทางอันคือธรรมชาตินั้นได้

 บัณฑิตเหล่านี้ล้วนรู้จักความหมายแห่งคำว่าชีวิตและความตายที่แท้จริง เพราะเขาเหล่านี้ล้วนมีความเข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้ง มีความรู้แจ้งแทงตลอดในความเป็นธรรมธาตุต่างๆ ผู้ที่ไม่เห็นธรรมชาติแห่งตนย่อมเป็นครูสอนคนอื่นไม่ได้ ถึงแม้ว่าครูคนนั้นอาจเป็นครูบาอาจารย์ที่เก่ง สามารถท่องพระสูตรและจดจำเนื้อหาธรรมในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับไม่เข้าใจความหมาย และไม่รู้จริงเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติเลย พวกเขาก็มีสภาพไม่ต่างไปจากท่าน

 ซึ่งเขาเหล่านี้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในสามภพ และยังไม่สามารถปลดเปลื้องความทุกข์ออกจากตัวเขาเองได้เลย ก็นานมาแล้วมีพระอาจารย์รูปหนึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในจีนตอนใต้นี้ ท่านสามารถท่องจดจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด แต่ท่านก็ท่องจำเพื่อเป็นเหตุให้ได้ไปเวียนว่ายตายเกิดแค่เพียงเท่านั้น เพราะการท่องมิได้ทำให้เราเข้าใจ ในความหมายแห่งธรรมชาติที่แท้จริงของตนได้ เพราะพวกเขาเหล่านั้นมีความหลงงมงายโดยเชื่อกันว่า การท่องจำได้ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้ตนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และการท่องจำนั้นตนเองก็เหมารวมไปว่า เป็นการท่องเพื่อเรียนรู้ธรรมะ ความจริงการท่องพระสูตรมิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการทำความเข้าใจอย่างแท้จริงในธรรมอันคือธรรมชาตินั้นเลย

การค้นพบพระพุทธเจ้า คือ การค้นพบตนเอง เพราะธรรมชาติแห่งตนเองนี่แหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ การค้นหาตัวเองเจอจึงมิได้มีความเกี่ยวพันกับพิธีกรรมใดๆ ธรรมชาติโดยความเป็นจริงโดยเนื้อหามันแล้ว เป็นธรรมชาติแห่งความเป็นอิสระทั้งปวง มันเป็นอิสระนอกเหนือจากเหตุปัจจัยใดๆ รวมทั้งเหตุปัจจัยแห่งพิธีกรรมนั้นด้วย ที่พวกคุณคิดว่ามันเป็นเหตุที่ทำให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้น

ถ้าท่านยังไม่มองตนเองและไม่รู้เลยว่า ตนเองนั่นแหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ และยังตั้งจิตเป็นภาวะสัดส่ายมองหาแต่สิ่งภายนอก ก็ในเมื่อสัจธรรมมีอยู่แล้วในตัวพวกท่านเอง พวกท่านไม่เคยมีความห่างออกไปจากสัจธรรมนี้ แม้แต่เพียงชั่วครู่ขณะหนึ่งได้เลย การมองหาในหนทางอื่นจึงเป็นวิธีที่ผิดและหลงทางไป ก็ในเมื่อท่านคือความเป็นธรรมชาตินั้น การค้นหาจึงไม่จำเป็น แต่การจะเข้าถึงธรรมชาตินั้นให้ได้ ก็เป็นเพียงแต่ท่านต้องใช้ปัญญา อันคือการพิจารณาเพื่อให้เข้าถึง ความหมายที่แท้จริงของความเป็นธรรมชาตินั้น

 มันจึงเป็นความเพียรพยายามที่จะทำให้ท่านได้เข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นแต่อย่างเดียว โดยไม่หันเหไปในทางความหมายอื่น ก็ในเมื่อชีวิตและความตายที่รอท่านอยู่เบื้องหน้า เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านดำรงอยู่กับความเป็นชีวิตนั้น และกำลังดำเนินไปบนเส้นทางแห่งกาลเวลา ที่จำกัดให้ท่านได้ใช้ขันธ์ธาตุแต่เพียงเท่าที่ท่านได้ทำกรรมมา ก็ในเมื่อความเป็นจริงมันเป็นเช่นนี้ ท่านก็อย่าได้ทำแต่เรื่องไร้สาระอันคือความทุกข์นั้นอีกเลย การหลอกลวงตนเองไปวันๆ มันไม่ได้ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเลย

 ความก้าวหน้านี้หมายถึง การที่ท่านได้ใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาตินั้น ด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง ความสำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาของท่าน มันจึงเป็นเพียงความฝันหรือภาพลวงตา ที่ท่านเองพยายามสร้างมันขึ้นมา แต่ถ้าท่านไหวตัวทันและได้พบกับความเป็นจริงที่แท้จริงแล้ว ท่านก็จะพบกับหนทางที่สว่างไสว และก็ขอให้ท่านรีบเดินไปตามเส้นทางนั้นอย่ารั้งรอ ถ้าไม่สามารถเรียนรู้ความเป็นตนเองในธรรมชาตินั้น ก็ขอให้ท่านรีบแสวงหาบัณฑิต ซึ่งเขาสามารถเป็นครูสอนท่านในทางธรรมชาติได้อย่างแท้จริง ก็จะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถสอนตนเองได้โดยไม่อาศัยคนอื่น หากบุคคลคนนั้นเข้าใจว่าธรรมชาตินั้น คือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน แบบเสร็จสรรพเด็ดขาดอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเช่นนี้มีบุญบารมีมาตั้งแต่เกิด เมื่อสามารถเรียนรู้สิ่งใดก็สามารถเข้าใจ เหตุและปัจจัยของสิ่งสิ่งนั้นได้อย่างทั่วถึงและลึกซึ้ง บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบุญปฏิบัติง่ายบรรลุง่าย

ส่วนคนที่ไม่เข้าใจธรรมอย่างถ่องแท้ และกลับคิดไปเองแต่ฝ่ายเดียวว่า ตนเองมีความเข้าใจดีแล้ว โดยปราศจากการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง และปราศจากการปฏิบัติตามธรรมชาติที่ถูกต้อง คนหลงทางไปเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถแยกแยะเหตุปัจจัยได้ตามความเป็นจริง พวกเขาเหล่านี้ย่อมไม่สามารถแยกแยะออกได้ระหว่างดำกับขาว เขาย่อมมองเห็น อสัจธรรมเป็นสัจธรรม เขาย่อมเข้าใจความเป็นพุทธะแบบผิดๆและกล่าวออกมาเช่นนั้น จึงเป็นการดูหมิ่นดูแคลนความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง และเป็นการลบล้างความหมายอันเป็นความจริงแห่งธรรมนั้นไป

ความเป็นจริงพวกเขาเหล่านี้เป็นมาร พวกเขามองเห็นว่าพุทธะมิใช่พุทธะ ธรรมชาติมิได้สอนอะไรพวกเขาเลย ครูของเขาคือพญามารที่เข้ามาครอบงำจิตใจให้เขา มองไม่เห็นความเป็นธรรมชาติ และพาพวกเขาไปเส้นทางอื่นซึ่งเป็นวิธีการแบบผิดๆ ที่พวกเขาเข้าใจว่าเป็นวิธีการอันเหมาะสม ที่จะทำให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ พวกเขาเหล่านี้รวมทั้งคนอื่นๆที่หลงงมงายปฏิบัติตามคำสอน ย่อมพากันไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด พวกเขาเหล่านี้จะเรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธได้อย่างไรกัน เมื่อพวกเขายังหลอกตนเองและคนอื่น ให้ก้าวไปสู่ภพภูมิแห่งมารอันคือพุทธะที่ทำให้ต้องไปเกิด

ก็ในเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ก็หมายความถึงผู้ที่สามารถเข้าใจ ในความเป็นธรรมอันคือธรรมชาติได้อย่างแท้จริง หมดแล้วซึ่งความลังเลสงสัยในความหมายแห่งธรรมนั้นๆ และเมื่อสามารถดำรงอยู่กับความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง ได้อย่างมีความสุข ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าได้เห็นความเป็นพระพุทธเจ้าแห่งตนเองแล้ว ถ้าท่านยังมีความเห็นว่ายังมีความแตกต่าง ระหว่างความเป็นพุทธะกับความเป็นปุถุชน การค้นหาพุทธะด้วยเหตุปัจจัยในความเข้าใจแบบนี้ มันจะไม่สามารถทำให้ท่านได้รู้เห็นพุทธะที่แท้จริงได้เลย เพราะความเป็นปุถุชนก็มิได้มีอะไรแตกต่างจากความเป็นพุทธะ ความเป็นปุถุชนของเรานั้น แท้จริงมันก็คือความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เพราะความเป็นจริงทุกสรรพสิ่งย่อมมีเนื้อหาเป็นหนึ่งเดียวกันหมด

เมื่อไม่เคยปรากฏความเป็นปุถุชนภาวะที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินี้ได้เลย ก็เช่นเดียวกัน มันจึงย่อมไม่เคยปรากฏความเป็นพุทธะภาวะในธรรมชาตินี้ได้เช่นกัน ธรรมชาติแห่งพุทธะมันเป็นเพียงธรรมชาติเท่านั้น ธรรมชาติมันย่อมปราศจากภาวะใดๆ แม้กระทั่งภาวะแห่งความเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะที่แท้จริงซึ่งมิใช่พุทธะตามภาวะ มันย่อมอยู่ในความเป็นธรรมชาตินั้นแล้ว ไม่มีพุทธะที่นอกเหนือจากธรรมชาติ และไม่มีธรรมชาติอื่นนอกจากความเป็นพุทธะอยู่อย่างนั้น

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   2 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2014, 12:59:27 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 34 ธรรมชาติแห่งพุทธะ
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: มีนาคม 03, 2014, 09:52:45 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 34 ธรรมชาติแห่งพุทธะ

"ฉันมีข้อสงสัยอยากจะถามว่า หากฉันยังไม่สามารถเห็นธรรมชาติแห่งพุทธะ
ของฉันได้ มันจะไม่มีวิธีอื่นเลยเหรอที่จะทำให้ฉันได้บรรลุธรรม หากฉัน..
..ตั้งใจที่จะประกอบกุศลผลบุญหมั่นรักษาศีล"
"ถ้าท่านทำเช่นนั้น ถึงท่านตั้งใจทำความดีมันก็บรรลุธรรมไม่ได้"
"ทำไมถึงบรรลุธรรมไม่ได้"

"การที่ท่านตั้งใจเพื่อให้เข้าถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับชีวิตท่าน แต่มันก็เป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาให้ท่านก่อกรรมชนิดกุศลกรรม และกรรมดีนี้ก็ส่งผลให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป แต่การบรรลุธรรมมันเป็นเพียง การที่ท่านได้เข้าใจและได้เป็นธรรมชาติในความเป็นท่าน ซึ่งคือธรรมชาติที่ปราศจากภาวะปรุงแต่งทั้งปวง แม้กระทั่งการปรุงแต่งถึงความดีงามมากมายมหาศาล ที่ท่านได้ตั้งใจและมุ่งหวังกระทำมันขึ้น มันก็เป็นเพียง "จิต" ที่ดีเท่านั้นที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น คือความเป็นธรรมชาติที่มีความอิสระนอกเหนือจากกรรมทั้งปวง นอกเหนือจากการสร้างเหตุและปัจจัยทั้งปวง การที่กล่าวว่าตนได้หมั่นประกอบคุณงามความดี แล้วตนจะได้บรรลุธรรม จึงเป็นการดูหมิ่นพระพุทธเจ้า คนที่เป็นทาสต่อความต้องการของตนเอง ในการที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความทะยานอยาก คนที่ไม่เข้าใจอะไรให้ตรงกับความเป็นจริงเช่นนี้ จะบรรลุธรรมอะไรได้"

ความเป็นพระพุทธเจ้า มิใช่ความมีความเป็นในเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น มีความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน เป็นสัจธรรมอันคือพื้นฐานแห่งความเป็นไปในธรรมชาตินั้น ธรรมชาติแห่งพุทธะจึงคือธรรมชาติที่มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกพัวพันห่อหุ้มไปด้วยอวิชชาแห่งการปฏิบัติและการรู้แจ้ง และเป็นอิสระจากเหตุและปัจจัย

ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นย่อมไม่ต้องสมาทานศีล เพราะธรรมชาตินั้นคือความเป็นปกติอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติที่เป็นจิตแห่งพุทธะไม่มีความแปรเปลี่ยนไป ในด้านใดด้านหนึ่งไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะจึงไม่ต้องทำชั่วอีก เพราะความเป็นพุทธะนั้นคือธรรมชาติ มันจึงเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้ความระมัดระวังอะไรเพื่ออะไร และมันเป็นธรรมชาติซึ่งมิใช่จิต(ภาวะปรุงแต่ง) มันจึงไม่ต้องเข้าไประวังจิต

เพราะฉะนั้นถ้ามีคนมากล่าวว่า เขาปฏิบัติธรรมด้วยการทำจิตให้ว่างอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องผิด เพราะธรรมชาติคือธรรมชาติ ธรรมชาติจึงมิใช่การปฏิบัติ ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่เกิดจากการปฏิบัติ แต่ถ้าการปฏิบัตินั้นเป็นการทำความเข้าใจ และเห็นในธรรมชาติแห่งพุทธะของตนเอง ผู้นั้นก็ขึ้นชื่อได้ว่าได้ปฏิบัติแบบถูกวิธี คือได้ปฏิบัติตามความเป็นไปแห่งความเป็นธรรมชาติแล้ว การบรรลุธรรมแท้จริงโดยไม่เห็นความเป็นธรรมชาติแห่งตน ย่อมเป็นไปไม่ได้ และถ้ายังทำกรรมชั่วอยู่ แล้วอ้างว่ากรรมนั้นไม่สามารถให้ผลได้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นความว่าง มันจึงเป็นความเข้าใจผิดต่อความที่ตนเองได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะความเป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ด้วยคุณงามความดีแห่งใจ จึงเรียกตนเองว่ามนุษย์ หากท่านเป็นผู้มีปัญญาจงตั้งใจประพฤติตนเอง ให้เป็นไปตามความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะเถิด อย่าได้ก้าวล่วงไปสู่การกระทำที่ตกต่ำเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานอีกเลย

"แล้วถ้าทุกสิ่งล้วนมาจากจิต เมื่อจิตดับไปขันธ์ธาตุแตกสลาย
ทำไมเราจึงไม่รู้และต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอีก"
"ก็จิตมันคือธรรมชาติแห่งพุทธะ ทำไมท่านถึงไม่ดูจิตเลย"

"ก็ธรรมชาติแห่งพุทธะคือจิตนี้ มันอยู่กับท่านเป็นกัปเป็นกัลป์แล้ว มันเป็นอย่างนี้ของมันมาตั้งแต่ต้น โดยที่ไม่มีการเริ่มต้นและหาจุดจบแห่งมันไม่ได้ มันไม่เคยอยู่ในสถานะที่ต้อง "อยู่" และไม่เคยตาย มันเป็นธรรมชาติแห่งการไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป มันเป็นความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ โดยที่มันไม่มีความสะอาดหรือความสกปรก มันเป็นกลางตามธรรมชาติมิใช่ภาวะแห่งความดีหรือความชั่ว มันมิใช่ทั้งอดีต อนาคต และไม่ใช่ทั้งปัจจุบัน แต่มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันเป็นแบบนี้มานานมากแล้ว และจะเป็นแบบนี้เรื่อยไปมิได้อยู่กับ "กาลเวลา" มันเป็นธรรมชาติของมันเองโดยมิใช่ความถูกหรือความผิด และมันเป็นธรรมชาติโดยลักษณะมันเอง มิใช่เป็นเพื่อยืนยันความถูกหรือความผิด

 มันเป็นความเพียรเพื่อไปสู่ความเป็นพุทธะอย่างแท้จริง โดยเป็นความเพียรเพื่อมิได้ทำให้ตนเองรู้แจ้ง มันเป็นความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น โดยไม่สามารถมีใครเป็นเจ้าของมันได้ หรือไม่อาจมีใครทำลายล้างมันลงไปได้ และมันไม่สามารถมีใครเข้าไปควบคุม บังคับความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงของพุทธะนี้ไปได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุที่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ถูก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำ จึงถูกดึงเข้าไปในกระแสธรรม แห่งการไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่พวกเขาพยายามออกจากกระแส ด้วยวิธีอันไม่ฉลาดของเขาเอง ก็ยิ่งพาพวกเขาจมดิ่งไปสู่ความลึกแห่งห้วงอวิชชา ทั้งนี้เป็นเพราะพวกคนเหล่านี้ไม่รู้ความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง ถ้าสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ถูกครอบงำ ก็แสดงว่าพวกเขาเข้าใจความเป็นธรรมชาติ ที่อยู่กับพวกเขาเองมาตลอดอยู่แล้ว

เพราะด้วยความเป็นไปของจิต อันคือธรรมชาติแห่งพุทธะนี้มันไร้ขอบเขต การแสดงตัวมันเองออกมาตามความเป็นธรรมชาติ มันจึงเป็นการปรากฏตัวตามที่มันเป็นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว แบบไม่รู้จักจบจักสิ้น

ในพระสูตรกล่าวว่า รูปกายของตถาคตไม่มีที่สิ้นสุด การแสดงออกในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระพุทธองค์ ความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ที่มีผลอันเนื่องมาจากจิต อันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ ที่สามารถแยกแยะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ดำเนินการเคลื่อนไหวไปแห่งความเป็นพุทธลีลา จึงเป็นการเคลื่อนไหวด้วยธรรมชาติแห่งการรู้สึกตัวทั่วพร้อม อันคือธรรมชาติแห่งการรู้สึกในความมีสัมมาสตินั่นเอง

ในพระสูตรยังกล่าวอีกว่า "บุคคลควรรู้จักความเป็นตัวเองในธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้วและเป็นส่วนหนึ่งแห่งมัน"
 ดังนี้ธรรมชาติแห่งพุทธะของเราก็คือจิต จิตก็คือธรรมชาติแห่งพุทธะของเรา และธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ ก็คือจิตของความเป็นพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ที่พระพุทธองค์ได้ถ่ายทอดจิตชนิดนี้มาสู่เรา นอกจากจิตอันคือความเป็นพุทธะนี้แล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าที่ไหนอีกเลย

แต่ผู้ที่มืดบอดไปด้วยอวิชชา ย่อมไม่รู้ว่าจิตของตนเองนั้นคือความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ จึงทำให้เขาแสวงหาพุทธะจากภายนอกจากที่อื่น และเฝ้าถามกับตนเองอยู่เสมอๆว่า พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน มันจึงเป็นเพียงจิตนาการแห่งพุทธะ ที่ท่านคิดถึงมันแต่เพียงเท่านั้น ก็จิตของท่านนั่นแหละคือพุทธะ แล้วทำไมต้องไปหาจากที่อื่นอีก การที่ท่านเฝ้าแสวงหามัน ก็เป็นพุทธะภาวะที่เกิดขึ้นตามจินตนาการของท่าน มันเป็นจินตนาการที่เป็นการเกิดขึ้นแห่งรูปซึ่งล้วนแต่เป็นมายา บุคคลผู้ยึดถือเอาความเป็นพุทธะตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พวกเขาย่อมทำตัวเองให้พ้นทางไปจากอริยมรรคอันสมบูรณ์

ก็เท่าที่กล่าวมานี้ ฉันเพียงชี้ให้ท่านเห็นความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ ที่มันเป็นตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ฉันเกรงว่าท่านจะไม่รู้สึกตัว เพราะการที่จิตของท่านมีความบริสุทธิ์อยู่แล้ว เป็นความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มันจึงไม่จำเป็นต้องไปหาความบริสุทธิ์จากที่อื่นอีกเลย จงรักษาความบริสุทธิ์ด้วยการเป็นไปตามธรรมชาติของมันอยู่เสมอ มันเป็นธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองเป็นพื้นฐานอยู่เสมอ เมื่อท่านได้อยู่กับความเป็นธรรมชาติแห่งตนแล้ว อย่าได้มีความกลัวใดๆอีกเลย ความกลัวอันมีต่อสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ในการเกิดขึ้นแห่งรูป สิ่งเหล่านั้นย่อมเป็นมายา หาความมีตัวมีตนที่แท้จริงก็หาได้ไม่ มันย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น ขอให้ท่านจงโปรดอยู่กับความสงบตามธรรมชาติของมันเองเถิด มันสงบแล้วอย่าทำอะไรเพิ่มเติมเข้ามาอีก

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   3 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 35 มายา
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: มีนาคม 04, 2014, 06:57:20 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 35 มายา

ในพระสูตรกล่าวไว้ว่า "ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นมายาภาพ ซึ่งเป็นภพที่ไม่แน่นอน มันไม่มีรูปที่ถาวร มันเป็นสภาพที่ไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเอง อย่ายึดมั่นถือมั่นในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นพุทธะนั้น"

ธรรมชาติแห่งพุทธะมันเป็นสิ่งซึ่งมีความเป็นอิสระจากรูปทั้งปวง แท้จริงรูปทั้งปวงก็หามีความเป็นจริงไม่ มันเป็นเพียงการเกิดขึ้นที่สามารถตั้งอยู่ได้ชั่วคราว เมื่อมันหมดเหตุปัจจัยแล้วโดยตัวมันเอง ก็มีสภาพแปรปรวนไม่อาจตั้งอยู่ ในสถานะเดิมแห่งความเป็นตัวเป็นตนได้ แท้ที่จริงมันมิใช่ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนเลย สภาพแปรปรวนแห่งมันนั้นแท้จริงมันเป็นมายา เปรียบเสมือนมันไม่เคยเกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์มาก่อนเลย ตามความเป็นจริงหาใช่ตัวตนไม่ มันคือความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมเราต้องสร้างความเป็นพุทธะความเป็นโพธิสัตว์ ให้เกิดขึ้นมาตามจินตนาการของเราอีกด้วยเล่า ก็ในเมื่อความเป็นพุทธะที่แท้จริงมันก็คือเรานั่นเอง หาใช่สิ่งที่เป็นมายาเหล่านี้ไม่

เมื่อจิตของเราคือพุทธะ พุทธะก็คือมรรค มรรคและพุทธะก็คือเซน แม้ท่านจะสามารถท่องพระสูตรได้เป็นพัน อันจะทำให้ท่านเห็นธรรมชาติตามความเข้าใจของท่านเอง มันจึงเป็นการเห็นธรรมชาติที่มีความเป็นอัตตาอยู่ เป็นธรรมชาติที่มิใช่ธรรมชาติ มันเป็นมายาแห่งธรรมชาติที่พวกคุณแสวงหาและสร้างมันขึ้นมา สิ่งเหล่านี้มิใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นคำสอนอันมีความเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐานอยู่อย่างนั้น

คนที่เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของตนได้แล้ว ย่อมพบหนทางแห่งอริยมรรค คนที่เห็นธรรมในตนเองซึ่งมีมันมาตั้งแต่ต้นก็คือพุทธะ และมันก็เป็นพุทธะที่มีความบริสุทธิ์โดยตัวมันเองอยู่แล้วอย่างแท้จริง เมื่อพุทธะมันเป็นธรรมชาติของมันเองแบบนี้มาตั้งแต่ต้น มันจึงไม่มีอะไรให้พวกคุณค้นหามันอีก ก็เพียงแค่พบมันแล้วก็กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งมัน ก็เพียงแต่เท่านี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความเป็นธรรมชาตินี้มันก็คือมรรคหรือหนทางที่บริบูรณ์แล้ว ที่ไม่ต้องการอะไรมาเพิ่มเติมให้แก่มันอีก มรรคจึงเป็นหนทางที่พวกคุณจะต้องเดินไป ด้วยความเข้าใจในความเป็นธรรมชาติ ที่มันบริบูรณ์พร้อมของมันอยู่อย่างนั้น การนึกคิดและการปรุงแต่งวิธีขึ้นมา ตามความเข้าใจผิดของพวกท่านเอง มันจึงเป็นเพียงมายาแห่งมรรค

ในความเป็นธรรมชาติและอริยมรรค มันจึงเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรู้แจ้ง ส่วนปุถุชนมิอาจรู้และเข้าใจมันได้ เพราะยังขาดธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ ก็ตราบใดที่พวกเขายังยึดมั่นถือมั่นต่อปรากฏการณ์ เขาก็มิอาจรู้ได้เลยว่า จิตของพวกเขาเองนั่นแหละคือธรรมชาติแห่งพุทธะ ถ้าท่านเพียงแต่รู้ว่าทุกสิ่งมันล้วนไหลเทออกมาจากจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ท่านก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เพราะสิ่งเหล่านั้นมันย่อมมิใช่ตัวใช่ตนอยู่แล้ว มันก็ล้วนคือความว่างเปล่าตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น พระสูตรต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงอักษร ที่พยายามอธิบายให้เราเข้าใจในความหมาย ของความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแต่เพียงเท่านั้น

                      

 เมื่อเกิดความเข้าใจแล้วจงอย่ายึดติดกับตัวเรา ให้ทำความเข้าใจและมุ่งไปสู่ความเป็นธรรมชาตินั้น หากเรายึดคัมภีร์หรือตัวเรามากเกินไปโดยไม่ยอมปล่อยวาง พระสูตรเหล่านี้มันจึงเป็นเพียงมายาแห่งพระสูตรแต่เพียงเท่านั้น ความเป็นจริงตามธรรมชาติมันย่อมอยู่เหนือคำพูด และมันก็ไม่ใช่ภาวะที่คุณสามารถจินตนาการถึงมันได้อีกต่อไป คำสอนมันจึงเป็นเพียงคำพูด คำพูดที่มันเป็นเพียงมายาแห่งภาพ มันจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งความเป็นตัวตน ในความเป็นรูปร่างหน้าตาแห่งพุทธะของผู้ไม่รู้จริงแต่เพียงเท่านั้น ท่านอย่าหลงติดไปกับมายาแห่งความฝันของท่าน เพราะจะทำให้ท่านหลงติดไปสู่ความเป็นภพใหม่ๆ


จงทำตามธรรมชาติซึ่งมันคือความเป็นตัวคุณอยู่แล้ว และก็อย่าทำตามความคิด ซึ่งความคิดนั้นอาจจะเป็นความคิดที่ปรากฏ "ภาพแห่งความเป็นธรรมชาติ" ได้อย่างใกล้เคียง ตามความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น แต่มันก็เป็นเพียง "ความคิดที่ได้คิดถึงความเป็นธรรมชาติ" มันหาใช่ธรรมชาติที่แท้จริงตามสภาพของมันเองอยู่แล้วไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วท่านก็จะตกไปสู่ห้วงเหวลึก ในความเป็นมายาแห่งธรรมชาติไป

พระพุทธเจ้าคือบุคคลผู้ค้นพบความเป็นอิสระที่แท้จริง เป็นความอิสระที่อยู่นอกเหนือโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย ท่านเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมธาตุอย่างลึกซึ้ง แต่ความเป็นปุถุชนผู้มืดบอดไม่อาจหยั่งรู้เข้าไป ถึงความเป็นจริงในความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นได้ หากท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งไม่รู้จักความเป็นตนเอง ก็อย่าพึ่งทำอะไรเพื่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในวิธีปฏิบัติ เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติคือการไม่กระทำ การเข้าใจความเป็นพุทธะนั้น เป็นการเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็น "ธรรมชาติ" ที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มิใช่ธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของใคร การกระทำโดยมุ่งหวังให้ธรรมชาติเกิดขึ้น มันเป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งเกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้น มันมิใช่ธรรมชาติที่แท้จริง

เมื่อท่านรู้จักและเข้าใจธรรมชาติ มันก็กลายเป็นการปฏิบัติตามอริยมรรคที่แท้จริงแล้ว แต่บางทีท่านอาจยังไม่เข้าใจว่า ธรรมชาตินั้นมันมีเพียงแต่ความเป็นธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติโดยปราศจากการเคลื่อนไหวแห่งภาวะใดๆ มันจึงเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแบบเสร็จสรรพเด็ดขาด ในความหมายของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าท่านยังไม่เข้าใจดีพอ และท่านได้ก้าวเข้ามาในมรรคแล้ว แต่ยังไม่เป็นมรรคที่มีความบริบูรณ์ถึงพร้อม ก็ขอให้ท่านพยายามทำความเข้าใจในความหมายของธรรมชาติ ให้ถึงความเป็นจริงแห่งมันอยู่แต่เพียงเท่านั้น แล้ว ตัณหา อุปาทาน ทุกอย่างที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตท่าน ก็จะคลายออกไป

 เมื่อมิได้หันเหไปในทางอื่นเลย ด้วยการเข้าใจในความเป็นไปในธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เมื่อเกิดการรู้แจ้งแทงตลอดในความหมายแห่งธรรมชาติ โดยที่ไม่มีส่วนอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ด้วยการตระหนักชัดในความเป็นธรรมชาตินั้น ความเป็นสัจธรรมแห่งความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น ก็จะปรากฏแสดงตัวมันเองขึ้นมาตามที่มันอยู่อย่างนั้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม มันปรากฏตัวขึ้นเพราะการที่เรามองเห็นมัน ด้วยความเข้าใจในความเป็นมัน ที่มันอยู่กับเราแบบนี้มานานแสนนานแล้ว และเป็นการปรากฏตัวของมันเพียงครั้งเดียว และมันก็จะไม่มีวันหนีหายไปจากเราได้อีกเลย




หากท่านกำลังค้นหาความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ท่านอาจเจอสิ่งหลายๆสิ่งที่เข้ามาเป็นรูป เป็นภาวะที่เกิดขึ้น เป็นแสงสว่างในนิมิตแห่งสมาธิจากการนั่ง ท่านก็อย่าได้หลงจับฉวยเอามาเป็นส่วนหนึ่ง แห่งความหมายของการเกิดขึ้นของธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอุปาทานที่ยังคงหลงเหลือตกค้าง มันมิได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาตินั้น มันเป็นเพียงอุปาทานที่ยังเข้าใจอยู่ว่า ธรรมชาติมันอาจเกิดขึ้นได้จากการลงมือปฏิบัติของท่านแต่เพียงเท่านั้น ธรรมชาติอันแท้จริงมันอยู่นอกเหนือภาวะแห่งจิตใจของท่าน ที่ท่านอยากเห็นอยากพบมัน ถ้าท่านเห็นอะไรซึ่งเป็นนิมิตขึ้นมา การเห็นนิมิตนั้นก็มิได้มีความแตกต่าง กับการที่ท่านเปิดประตูออกมาในยามเช้า และเห็นแสงอาทิตย์ได้สาดส่อง เห็นนกกำลังบินผ่านไป มันก็เป็นการเห็นตามปกติ เป็นการเห็นตามธรรมชาติที่มันไม่ได้เป็นการก่อรูปก่อภาวะ ให้เกิดปรากฏการณ์จากการเห็นนั้น ธรรมชาติเป็นธรรมอันปราศจากภาวะการปรุงแต่งทั้งปวง เพราะฉะนั้นธรรมชาติที่แท้จริง จึงเป็นธรรมชาติที่ปราศจากการคิดปรุงแต่ง ว่าคุณกำลังเห็นอะไร

การเห็นซึ่งเป็นภาวะหรือปรากฏการณ์ อาจเป็นการเห็นด้วยการที่คุณยังไม่เข้าใจ ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง มันอาจเป็นการมองเห็นที่เกิดจากการวิตกกังวล ในการพยายามที่จะทำให้ถึงความเป็นธรรมชาตินั้น จิตจึงเกิดอุปาทานด้วยการไขว่คว้าเอาธรรมชาติตามความหมายอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นการเข้าใจผิดมาแสดงเป็นจิต ให้คุณได้มองเห็นได้มองดูมันในมโนภาพแห่งความเข้าใจของคุณ มันจึงเป็นเพียงภาพเบลอๆที่มิได้มีความหมายอันใดอย่างแท้จริง มันเป็นสิ่งที่เป็นเพียงมายาแห่งภาพ ที่มันมาหลอกหลอนคุณแต่เพียงเท่านั้น ท่านต้องมีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ว่า สิ่งเหล่านี้หาใช่ความเป็นตัวเป็นตนที่แท้จริงไม่ มันมิใช่ตัวตนเลย มันมีแต่ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น

 ด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติก็ถือได้ว่า มันไม่เคยปรากฏเกิดขึ้นในความเป็นภาพที่เห็นมาก่อนเลย ก็ถ้าหากท่านเป็นผู้ที่เห็นและเข้าใจ ความเป็นตัวท่านเองได้อย่างดีแล้ว ความเป็นธรรมชาติแห่งท่านจึงไม่จำเป็นต้องอ่านจดจำพระสูตรอะไรเลย ความเป็นผู้คงแก่เรียนในลักษณะผู้ที่สามารถจดจำพระสูตรได้ มันทำให้ถูกบดบังความเป็นจริงแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นไป ธรรมทั้งหลายที่เป็นคำอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติที่แท้จริงนั้น มันเป็นเพียงปรากฏการณ์หรือภาวะ เพื่อยืนยันถึงเนื้อหาตามความเป็นจริงแต่เพียงเท่านี้ แต่ธรรมอันคือคำอธิบายความจริงเหล่านี้ โดยตัวมันเองมันเป็นเพียงการปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยลักษณะมันเองหาใช่ความเป็นจริงตามธรรมชาติไม่ ธรรมชาติมันก็เป็นธรรมชาติ ที่แสดงเนื้อหาแบบสมบูรณ์เพียบพร้อมอยู่อย่างนั้น เป็นความไม่ขาดตกบกพร่อง และมันก็ไม่ต้องการให้ใครมาอธิบายหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับมันได้อีก ธรรมชาติมันอยู่นอกเหนือคำอธิบาย เพื่อเข้าถึงความเป็นจริงแห่งมัน เมื่อท่านเข้าใจความเป็นธรรมชาติแห่งตนเองดีแล้ว แล้วทำไมต้องเข้าไปสนใจในคำสอนในพระสูตรนั้นอีกเล่า


การก้าวออกจากจุดที่ทำให้ท่านมืดบอด มาสู่ความสว่างตามธรรมชาติแห่งตน ทำให้ท่านได้พ้นจากพงหนามแห่งกรรมที่จะต้องไปเวียนว่ายตายเกิด จงอยู่กับความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงของท่าน ด้วยความสุขตราบชั่วนิจนิรันดรเถิด และหัดเรียนรู้ยอมรับกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิต ด้วยการที่ท่านเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง การหลอกลวงตัวเองด้วยความเข้าใจธรรมชาติไปในทางอื่นแบบผิดๆ มันจะกลายเป็นอุปสรรคเข้ามาขัดขวางมิให้ท่าน ได้เดินไปในหนทางมรรคที่แท้จริง เมื่อท่านตั้งใจเดินบนหนทางแห่งมรรคนี้ ด้วยการก้าวย่างไปด้วยความเป็นธรรมชาติ ก็จะทำให้ท่านพ้นจากการหลงก้าวเดินไป ในขวากหนามแห่งหนทางอันเป็นมายานั้น เมื่อท่านตั้งใจเดินด้วยความเข้าใจในความเป็นธรรมชาตินั้นแล้ว อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ยังเหลืออยู่ ก็จะหมดไปเองจะคลายออกไปเองด้วยความเข้าใจในธรรมชาตินั้น มันเป็นความเข้าใจที่เป็นธรรมชาติแห่งตัวท่าน มันจึงเป็นธรรมชาติแห่งความเข้าใจที่ปราศจากความพยายามใดๆ

พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ก็ล้วนแต่ตรัสถึงธรรมอันคือธรรมชาตินี้เท่านั้น ท่านมิได้ตรัสธรรมอื่นใดเลย คนที่เห็นธรรมโดยอ้างว่าตนเองได้ปฏิบัติธรรม ด้วยความเข้าใจอันดีแล้วแห่งตน จึงเป็นเพียงคนโกหกมุสา และเป็นคนที่ไม่รู้ความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง คนเหล่านี้ได้หลับหูหลับตาเดินหลงไปในทางที่มืดมน แล้วได้เอาแต่หลอกตัวเองด้วยการปลอบใจตนว่า นี่คือพุทธะที่แท้จริง แต่การก้าวเดินไปในหนทางปฏิบัติอันคือมายานั้น ทำให้ท่านอยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงแห่งธรรมชาติไปทุกๆขณะ มันจึงเป็นทิฐิหรือความคิดเห็นที่ผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ มิจฉาทิฐิแห่งการปฏิบัตินี้เป็นการกล่าวตู่ในความเป็นพุทธะ มันก็ทำให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะทิฐิเห็นผิดต่อธรรมชาติของท่านนั่นเอง

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   4 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 36 พุทธะคือหน้าที่
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 12:20:53 pm »



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 36 พุทธะคือหน้าที่

คนที่ไม่มีศรัทธาที่จะมาในทางธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นคนที่ยึดอยู่ในมิจฉาทิฐิ เปรียบเหมือนคนตาบอดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นแสงสว่างที่แท้จริงเลย ถึงท่านจะอธิบายเรื่องความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะให้เขาฟัง แต่เมื่อเขาเหล่านี้ขาดศรัทธาแล้ว เขาจึงเปรียบเสมือนคนตาบอด ที่จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถเห็นแสงนั้นได้ ถึงจะอธิบายก็ไม่มีใจที่จะยอมรับฟังเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงนี้ พวกเขาเหมือนคนมีกรรมที่มีเหตุและปัจจัย มาทำให้พวกเขาหันหลังให้กับธรรมชาติอันคือความจริงได้อย่างถาวร พวกเขาเหล่านี้จะต้องทนก้มหน้ารับกรรมที่พวกเขาได้กระทำไป อันเกิดจากทิฐิที่ผิดๆของพวกเขาทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ย่อมใช้ชีวิตไปด้วยความเป็นทาสแก่การกระทำของตนเอง หาความมีอิสระที่แท้จริงไม่ ความมีอิสระที่แท้จริงย่อมปรากฏแก่ ความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั่นเอง แต่เขาเหล่านี้ได้ทำเหตุและปัจจัยอันทำให้พวกเขา ไม่มีวันได้พบหนทางที่จะนำพาพวกเขาไปสู่สถานที่ที่มีแสงสว่างได้เลย เมื่อขาดศรัทธาเขาเหล่านี้จึงเป็นเพียงคนตาบอด ที่บอดอย่างถาวรแล้วเท่านั้น

 แต่บุคคลที่เห็นธรรมชาติของตนเองด้วยความมีศรัทธาเชื่อมั่น ต่อความจริงในความเป็นพุทธะ บุคคลพวกนี้ไม่จำเป็นต้องไปโกนหัวห่มผ้าเหลือง พวกเขาไม่ว่าจะอยู่ฐานะไหนประกอบอาชีพอะไร ก็ในเมื่อใจของพวกเขาเป็นพุทธะที่แท้จริงแล้ว เมื่อเขาคือพุทธะ พุทธะก็คือพวกเขา เขาอยู่ที่ไหนพุทธะก็อยู่ที่นั่น แต่คนที่ยังไม่เห็นความจริงของธรรมชาติ แล้วไปโกนหัวนุ่งห่มผ้าเหลือง พวกนี้เป็นเพียงพวกที่คลั่งไคล้หลงใหลความเป็นพุทธะ ในรูปแบบความเป็นอยู่ซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอก ความเป็นพุทธะที่แท้จริงมิได้ต้องอาศัยอะไรกับอะไรเลย แต่ความเข้าใจอย่างแท้จริงซึ่งตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติ นั่นก็คือพุทธะแล้ว

                     

เป็นเพียงเพราะเราเข้าไปยึดการปรากฏขึ้นแห่งภาวะ เป็นการเข้าไปยึดติดในรูปกาย จึงเกิดภาวะเคลื่อนไหวไปในทางทวิภาวะแห่งความเป็นคู่ เช่น ร้อนเย็น หิวกระหายและอิ่ม จึงเกิดเป็นมลทินแห่งตัณหา อุปาทาน อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งพุทธะ ธรรมชาตินั้นมันบริสุทธิ์โดยตัวมันเอง มันเป็นความบริสุทธิ์โดยพื้นฐานแห่งความเป็นไปตามธรรมธาตุ มันเป็นธรรมชาติที่ไม่อาจมีใครเข้ามาทำให้มันเศร้าหมองลงไปได้เลย มันเป็นความบริสุทธิ์มาแต่เดิมของมัน มันเป็นธรรมชาติแห่งความบริสุทธิ์ที่ปราศจากการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางใดแห่งความมีตัวมีตนทั้งสิ้น ธรรมชาติมันจึงไม่หิวไม่อิ่ม ไม่อุ่นไม่เย็น ไม่เจ็บไม่ป่วย ไม่รักไม่ชัง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่สุขไม่ทุกข์ จริงๆแล้วธรรมชาติมันไม่มีอะไรเลย มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

 เพราะมันมีแต่ความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนตามธรรมชาติ เราจึงเรียกความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยของมันว่า "ความบริสุทธิ์" คือความที่มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ปราศจากสิ่งอื่นเข้ามาเจือปนปะปนกับมันได้ นี่คือความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติแห่งพุทธะ เมื่อท่านเข้าใจความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ท่านปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามหน้าที่ของมัน ซึ่งมันก็ทำหน้าที่ของมันตามความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น ท่านก็จะพ้นจากการเกิดและการตาย ท่านก็จะเป็นอิสระเป็นนายเหนือความต้องการของตนเอง ซึ่งธรรมชาติแห่งพุทธะที่ท่านได้พบนี้ มันคือธรรมชาติแห่งความสงบสุขในทุกหนทุกแห่ง เป็นชีวิตที่มีความสุขอิสระอย่างแท้จริง จงปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้น นั่นแหละท่านคือพุทธะแล้ว

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   5 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน

                     

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

ครูสอนเซน อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร

บทที่ 37 จิตสู่จิต

ตราบใดที่ท่านยังไม่เข้าใจพุทธะที่แท้จริง หนทางที่ท่านเดินมันก็ยังคงเป็นหนทางที่ ได้สร้างกรรมให้กับตนเองอยู่ร่ำไป หนทางนี้จะพาให้ท่านต้องไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เต็มใจก็ตามที แต่เมื่อท่านได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว ธรรมชาตินี้ก็จะพาท่านหยุดสร้างกรรม และก็ไม่ต้องไปตายไปเกิด

ท่านอาจารย์ของฉัน คือ ท่านมหาปรัชญาตาระ ซึ่งเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 27 ท่านได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดรอยประทับจิตซึ่งเป็นการถ่ายทอดจิตสู่จิต เป็นการถ่ายความเข้าใจคือความเป็นจริงในธรรมชาติ มาสู่ความเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นจิตของฉันเอง ดังนั้นการที่ฉันมาสู่ประเทศจีน ก็ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวก็คือ การถ่ายทอดธรรมอันคือธรรมชาตินี้ ให้แก่ชนชาวจีนได้สืบทอดธรรมเหล่านี้ต่อไป

ก็ "จิต" ที่พูดถึงนี่เองคือพุทธะ มันมิใช่จิตที่เป็นภาวะแห่งการเคลื่อนไหวไปในปรากฏการณ์ต่างๆ แต่มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง จิตสู่จิต ก็คือความชี้ตรงถึงความเป็นธรรมชาติ สู่ความเป็นธรรมชาติของพวกท่านเอง เมื่อจิตนี้คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ มันจึงเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มิได้เกี่ยวกับการถือศีล การให้ทาน หรือการเคร่งครัดในข้อวัตรแบบฤาษี เป็นการทานข้าววันละมื้อ การเข้าฌาน การบำเพ็ญเหล่านี้เป็นความคลั่งไคล้ ซึ่งคุณเอาจิตของคุณเองเข้าไปยึดติดโดยความชอบ และคิดว่ามันคือสิ่งที่จะทำให้ความเป็นพุทธะเกิดขึ้นได้ ความคลั่งไคล้เหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งความเป็นภาพพจน์แห่งพุทธะ ให้เกิดขึ้นตามจินตนาการของเขา ที่ออกนอกเส้นทางความเป็นธรรมชาติไป เมื่อท่านได้หยุดพฤติกรรมการจินตนาการถึงพุทธะเหล่านี้ทิ้งไปเสีย แล้วหันหน้าเผชิญกับความเป็นจริง ตามที่ธรรมชาติมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว จิตอันคือการรู้แจ้งแห่งธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายถอดเรื่องจิต พระพุทธองค์ไม่สอนธรรมชนิดอื่นเลย ท่านสอนแต่ความเป็นจริงตามธรรมชาติเท่านั้น และถ้าหากผู้ใดเข้าใจและเข้าถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติเหล่านี้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่มีความรู้อะไรเลย และไม่สามารถอ่านหนังสือออกได้ แต่ความเป็นจริงที่พวกเขาได้ตระหนักชัด ที่ทำให้เขาเป็นพุทธะที่แท้จริงได้คนหนึ่ง แต่ถ้าท่านไม่พบความเห็นแจ้งอันคือธรรมชาติแห่งตน ไม่เห็นธรรมชาติแห่งการตื่นออกมาจากการหลับใหลมืดมิด ท่านก็จะไม่พบพระพุทธเจ้าเลย และไม่มีวันที่จะได้รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริงได้เลย ต่อให้ท่านต้องปฏิบัติอย่างหนักหน่วง จนทำลายตัวเองให้เป็นผุยผงย่อยยับไปเลยก็ตาม

                       

ความเป็นพระพุทธเจ้าคือธรรมชาติอันเป็นจิตดั้งเดิมของท่านนี้ มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่ใช่จิต มันเป็นธรรมชาติแห่งจิตที่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่ประกอบไปด้วยเหตุและผล มันเป็นความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน โดยที่ไม่อาจจับต้องมันได้ หรือไม่อาจเอาความรู้สึกของเรา ไปจินตนาการถึงความเป็นรูปร่างลักษณะแห่งมัน มันเป็นธรรมชาติที่เป็นความว่างเปล่าของจิต ที่รู้แจ้งในความเป็นธรรมชาตินี้ มันจึงมิใช่เป็นจิตชนิดที่ปรุงแต่งขึ้นในเนื้อหาแห่งความเป็นพุทธะ มันเป็นจิตที่เป็นพุทธะของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้าและบัณฑิตทั้งหลาย ที่รู้แจ้งในธรรมชาติแห่งพุทธะนี้แล้ว ปุถุชนผู้มืดบอดไปด้วย ตัณหา อุปาทาน ความต้องการแห่งตน ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นสิ่งนั้นตามที่ใจตนเองปรารถนา ก็จะไม่สามารถหยั่งรู้ถึงความจริงตรงนี้ได้เลย เพราะอำนาจแห่งอวิชชาพาหลงไปในทิศทางอื่น

แต่สิ่งนี้ก็เป็นธรรมชาติที่อยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีแห่งมันแห่งเรา รูปกายและธาตุทั้งสี่มันเป็นเพียง การได้อยู่อาศัยกับสิ่งเหล่านี้เพียงชั่วคราว และมันก็มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับความเป็นธรรมชาติเลย แต่ถ้าเราปราศจากมันก็มิอาจเคลื่อนไหวไปไหนได้เลย ถ้ารูปกายนี้ไม่มีจิตมันจะเคลื่อนไหวได้อย่างไร จิตอันคือธรรมชาตินี้ชื่อว่าทำให้กายนี้เคลื่อนไหวไปได้ การเคลื่อนไหวทั้งปวงล้วนเป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต การเคลื่อนไหวไปจึงเป็นหน้าที่ของจิต ปราศจากการเคลื่อนไหวก็ไม่มีจิต แต่การเคลื่อนไหวไปในทางความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวแห่งจิต และธรรมชาติแห่งจิตก็มิใช่การเคลื่อนไหวไป ในทางความหมายแห่งความมีอัตตาตัวตนดังกล่าว

เพราะฉะนั้นแล้วการเคลื่อนไหวไป ก็คือการเคลื่อนไหวไปแบบนั้นตามธรรมชาติ จิตจึงมิใช่การเคลื่อนไหวที่เป็นตัวเป็นตน เพราะแท้จริงแล้วธรรมชาติแห่งจิตอันคือพุทธะนี้ คือความว่างเปล่าแบบเสร็จสรรพเด็ดขาดในความมีอิสรภาพเหนืออื่นใด มันมิใช่เป็นการเคลื่อนไหวไปในความเป็นทาสแห่งความอยาก ที่ปรุงแต่งเป็นจิตที่เป็นภาวะอัตตาตัวตนปรากฏขึ้น จิตนี้มันจึงเป็นจิตตามธรรมชาติแห่งตนที่แท้จริง มันเป็นจิตที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะ มันจึงเป็นจิตและเป็นการเคลื่อนไหวไปแห่งรูปกายขันธ์ธาตุ ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น

   

   หนังสือ "คำสอนเซน
   ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"

   ครูสอนเซน: อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
   6 มีนาคม 2557
   >>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน