
"
ความรัก เท่ากับ ความยึดติด (ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก)"
... (ตกหลุมรักให้เป็น : ริวโฮ โอคาวา)
แง่มุมที่พูดถึง
"ความรัก เท่ากับ ความยึดติด"ที่กระทำโดยพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นก็มีการพูดถึงไว้ดังนี้
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
วจนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงทิ้งไว้ให้เรานั้น
รวมถึงคำสอนซึ่งฟังดูแปลก หาก
พิจารณาจากมุมมองสมัยใหม่ คือคำสอนว่า
"เช่นนี้แล้ว ท่านย่อมไม่พึงรักผู้ใด"
"ความรัก" ที่ว่านี้ ไม่ใช่ความรักที่ผมหมายถึง แต่เป็น
"ความยึดติด"
เป็นความรักยึดติดที่ครอบครองและบีบบังคับ
ที่คุณมีต่อคนใกล้ชิด
คนที่คุณอิงแอบแนบชิดราวกับถูกทากาวดักนก

ยกตัวอย่างเช่น ความยึดติดของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
มีพ่อแม่หลายคนซึ่งมีลูกคนเดียว
ไม่สามารถปล่อยวางความผูกพันยึดติดของตน
ที่มีต่อลูก
มันคือความรักที่ติดหนึบเหมือนกาวดักนก
และก่อให้เกิดความทุกข์
ลูกไม่สามารถหลุดรอดจากมัน
ลูกต้องทนทุกข์ แต่พ่อแม่ก็ทุกข์ด้วย
เรื่องทำนองเดียวกันนี้เกิดกับคู่สามีภรรยาเช่นกัน
ความรักแบบนี้ คือ "ความรักที่ผูกมัด"
ไม่ใช่ "ความรักที่มีแต่ให้" อย่างที่ผมสอน
แต่เป็น "ความรักที่ผูกมัด"
ความรักของคนทั่วไปจะเป็นแบบผูกมัดโดย..
..ธรรมชาติและสัญชาตญาณ
เวลาที่คุณรัก ความรักของคุณจึงเป็นพันธนาการ

คนเป็นแม่จะรักลูกมาก ยากที่ลูกจะดิ้นรนหลุดจาก
อ้อมกอดของแม่
ในทางกลับกัน ลูกจะต่อต้านและพยายามเป็นอิสระ
ช่วงเวลาของการขบถจึงเกิดขึ้นอย่างหนีไม่พ้น
หากลูกสามารถปลดตัวเองจาก ความรักผูกมัด ของพ่อแม่ได้
เขาจะเติบโตเป็นสมาชิกผู้ใหญ่เต็มตัวของสังคม
จากนั้นเขาหรือเธอย่อมสามารถแต่งงาน
มีครอบครัวของตัวเอง และมีชีวิตเป็นอิสระจากพ่อแม่
หากลูกไม่สามารถหลุดจากมัน เขาหรือเธออาจยังคงเป็นโสด
และอยู่ร่วมบ้านกับพ่อแม่ไปจนอายุ ๓๐ กว่า
ไม่เฉพาะแต่กรณีของแม่กับลูกชายเท่านั้น
ลูกสาวคนเดียวที่พ่อแม่รักมากก็อาจรู้สึกเหมือน
ถูกพันธนาการ
ด้วยความรักที่ผูกมัดเหนียวแน่นของพ่อแม่
และไม่สามารถหนีพ้นจากชายคาบ้าน

เป็นเรื่องยากที่จะรับมือกับความรักโดยใช้ทางสายกลาง
ความรักโดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่อย่างใดเลย
แต่ความรักที่มากเกินไปสามารถก่อให้เกิดความทุกข์
เพราะความลุ่มหลงเกินขนาด
วันหนึ่งลูกก็ต้องเป็นอิสระจากพ่อแม่
หลายครั้งในชีวิตที่ลูกแยกจากพ่อแม่
บางครั้งลูกก็ตายก่อนพ่อแม่
หลายสิ่งหลายอย่างอาจเกิดขึ้นในชีวิต
จะอย่างไรก็ตาม "นั่นคือชีวิต"
หากคุณให้กำเนิดเด็กทารกคนหนึ่งบนโลกนี้
คุณย่อมหวังจะใช้ชีวิตร่วมกับลูกของคุณตลอดไป
แต่วันหนึ่งลูกจะเป็นอิสระจากคุณ
เมื่อเขาผ่านช่วงเวลาขบถของเขาหรือเธอ
คุณจะต้องยอมรับสิ่งนี้
ลูกต้องขบถเพื่อเป็นอิสระจากพ่อแม่

เป็นเรื่องที่ผิดหากพ่อแม่พยายามจะยับยั้ง
ไม่ให้มันเกิดขึ้น
นี่คือชีวิต
นี่คือสัจธรรม เป็นกฎเกณฑ์ที่ถูกวางไว้แล้ว
หากคิดอย่างนี้ คุณก็จะไม่ต้องทุกข์หรือเศร้าเสียใจ
เวลารับมือกับความสัมพันธ์ของมนุษย์
สิ่งสำคัญคือ เราต้องอย่าขยายความทุกข์หรือความเศร้า
โดยการกดปุ่มที่เขียนว่า "ความรัก"
หากความรักที่่พ่อแม่มีต่อลูกมันมากเกินไป
ตัวลูกเองจะ ไม่สามารถเติบโตในสังคม
ด้วยความแข็งแกร่ง
แต่จะอ่อนแออยู่ตลอดเวลา ขาดภูมิคุ้มกันชีวิต
พ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ตลอดชีวิต
หากเมื่อถึงวันนั้น ลูกจะอยู่ได้อย่างไร
หรือ
พ่อแม่หลายคนชอบบงการชีวิตลูก
เพราะคิดว่าสิ่งที่ให้ลูกคือสิ่งที่ดีที่สุด
แต่กลับไม่เคยถามลูกเลยสักว่า
"ลูกต้องการสิ่งนี้ไหม"
พ่อแม่คิดว่าดี สุข
แต่ลูกกับกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก
อยู่กับความทุกข์ทรมานอยู่ทุกวัน ๆ
หากพูดปฎิเสธไปก็กลัวสังคมจะตราหน้าว่า
เป็นคนอกตัญญูต่อบุพการีไปอีก
หากรักลูกจริง ถามเขาก่อนดีไหมว่า
เขาอยากได้สิ่งนี้ เขามีความสุขกับสิ่งนี้ไหม
อย่าทำบาปกับลูกเลยครับ
"ความรัก" จะกลายเป็น "ตราบาป" ไป
ลองคิด
บุญรักษา ทุกท่านครับ...

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ... ตกหลุมรักให้เป็น.
ริวโฮ โอคาวา (ฉันชนก โอสถานนท์ แปล).
กรุงเทพฯ : แฮปปี้ไซเอนซ์, ๒๕๕๖.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Wasawat Deemarn
:http://www.gotoknow.org/posts/544155
