จากการที่ทรงพิจารณาแยกแยะออกไปเช่นนี้
ทำให้เห็นสถานะของพระองค์ในขณะนั้นคือ ประเภทที่ ๓
ทำให้ทรงเชื่อมั่นว่าพระองค์จะต้องประสบกับความสำเร็จ
ก่อนที่จะเสด็จประทับ ณ ต้นไม้อัสสัตถพฤกษ์
คือต้นพระศรีมหาโพธิ์ในกาลต่อมา
เราเห็นพลังของ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ประสานสัมพันธ์มีความเข้มข้นใกล้สมบูรณ์
จากการอธิษฐานพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยว
ตามที่รับสั่งเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังในกาลต่อมาว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราตั้งความเพียรว่า
หนัง เอ็น กระดูกจักเหลืออยู่
เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งไปก็ตามที
เมื่อยังไม่บรรลุประโยชน์อันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลังของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักหยุดความเพียรนั้นเสียไม่มีเลย
การตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวในลักษณะนี้
ทางออกเพียงทางเดียวเท่านั้นคือ สิ้นพระชนม์ กับตรัสรู้
ไม่มีทางที่สามให้เลือกแล้ว
จากนั้นทรงประสบปัญหาสารพัด ที่ท่านสรุปเป็นมารผจญ
พระทัยของพระองค์ก็เดินไปบน อริยมรรค ๘ ประการ
ในขณะนั้นยังไม่ได้เรียกชื่ออย่างนั้น
มารที่มายั่วยวนเป็นหลักในคราวนั้น
เป็น มารประเภทเทวปุตตรมาร
คือเทวดาที่ทำตนเป็นศัตรูขัดขวางการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ทรงปฏิบัติมาจนถึงจุดที่พระทัยของพระองค์
มีลักษณะตามที่รับสั่งเล่าแก่พระภิกษุ ในตอนหลังว่า
เรานั้น เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส
จิตเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน
มีความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนั้น
ได้น้อมจิตไปเพราะ อาสวักขยะญาณ
คือพระญาณที่ทำอสาวะที่ทำวิชชาเป็นมูลราก
เรารู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้คือเหตุแห่งทุกข์ให้เกิดทุกข์
นึ้คือความดับทุกข์
นี้คือทางให้ถึงความดับโดยไม่แห่งทุกข์
และนี้เป็นอาสาวะทั้งหลาย
นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
จิตก็พ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ครั้นจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่า
เราพ้นแล้ว เรารู้ชัดว่า ชาติ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ไม่มีอีก
วิชชาที่ ๓ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามสามแห่งราตรี
อวิชชาถูกทำลายลงแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
ความมืดถูกทำลายแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแทนแล้ว
เช่นเดียวกับที่เกิด แก่บุคคลผู่ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วและอยู่โดยควร
..
..
จากที่กล่าวข้างต้นว่า โลกและชีวิต
โดยเฉพาะชีวิตเป็นผลผลิตจากอวิชชากับกรรม
ปัญหาสารพัดที่ชาวโลก สัตว์โลกประสบ
ล้วนเนื่องมาจากอวิชชาเป็นสำคัญ
หลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
หากต้องการชีวิตที่ทีคุณภาพ คุณค่า
จนถึงอุดมชีวิตจะต้องลดอวิชชาลงไปตามลำดับ
จนกว่าจะหมดอวิชชาลงไปในที่สุด
ท่านก็จะหลุดลอยจากโลก
แม้จะอยู่ในโลกก็จะอยู่อย่างรู้แจ้งโลก
แต่ในแง่ของความเป็นจริงแล้ว
อวิชชา ที่ทรงเปรียบเป็นความมืด
ในที่นี้สิ่งที่จะขจัดเขาได้คือแสงสว่าง
คนมีหน้าที่เข้าหา หรือหาแสงสว่างมา
แล้วแสงสว่างเหล่านั้นจะขจัดความมืดให้เอง
ผลดีความดีทั้งหลายที่จะติดตามในภายหลัง
ล้วนสืบเนื่องมาจากแสงสว่างนั้นคือโลก
แต่สำหรับชีวิต การพัฒนาปัญญาหรือวิชชา
อันมีฐานะเช่นเดียวกับแสงสว่าง
คือมีหน้าที่ขจัดความมืด คือ อวิชชา ออกไป
สิ่งดีงามทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นติดตามมา
เพราะการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ทำให้พระองค์เหนือกว่าเทวดา มนุษย์ทั้งหลาย
ใน ๓ เรื่องใหญ่ คือ
..
..
• ท ร ง ส ม บู ร ณ์ เ ต็ ม ที่ ด้ ว ย พ ร ะ ปั ญ ญ า คุ ณอันเป็นเหตุให้ทรงกอปรด้วยพระบริสุทธิคุณจาก อวิชชา
โลกทรรศน์ของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนจากชาวโลกแบบพลึกหน้ามือเป็นหลังมือ
นั่นคือ ชาวโลกมีความเป็นเราเป็นเขา
แม้แต่เป็นเรากับพวกเราก็ยังเบียดเบียนกัน
แต่พระพุทธเจ้ากลับมองโลกในรูปของสภาพปัญหาที่น่าสงสาร
จึงทรงกอปรด้วยพระกรุณาต่อชาวโลก
ทำให้พระพุทธเจ้าที่ตามปกติแล้วทรงอุบัติขึ้นในโลก
จากที่ย้อนอดีตให้ดูมาแต่ต้นว่า
เป็นเจตนารมย์ของมหาบุรุษผู้มีความกรุณาจนเปี่ยมล้นต่อชาวโลก
ต้องการความช่วยเหลือของโลกให้คงความสมบูรณ์ด้วยความสุขเป็นเป้าหมาย
ท่านจึงแสดงการเกิดของพระพุทธเจ้าไว้ว่า
เอกบุคคล เมื่อบังเกิดขึ้นในโลก
ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เอกบุคคลนั้น คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา
ความเป็นพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นด้วยปัญญาของพระองค์
ในขณะที่ศาสนาประเภทเทวนิยม
ที่ใช้ศรัทธาเป็นหลักนำตนนำคนอื่นไปยึดโยงกับเทพเจ้า
ทำนองเป็นศาสนาของเทพเจ้าหรือโองการจากสวรรค์
ที่นำมาควบคุมความประพฤติของมนุษย์
เพื่อนำมนุษย์ไปขึ้นตรงกับเทพเจ้า ตามความเชื่อถือของตน
พระพุทธศาสนากลับเป็นศาสนาของมนุษย์
ศึกษา ค้นคว้า พบ นำมาแสดงเพื่อมนุษย์
แต่เพราะมีความกรุณาไร้ขอบเขต
ทำให้ทรงแสดงแก่สรรพชีวิตทั้งหาย
จนได้นามว่า ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
แต่จากพระมหากรุณาภายในพระทัยของพระองค์
พระองค์กลับมองโลกอย่างใกล้ชิดยิ่งกว่า
ทรงเป็น “โลกนาถ” ที่พึ่งของชาวโลก
“โลกนายก” ทรงเป็นผู้นำของชาวโลก
เพราะทรงเป็น “โลกเชษฐ” พี่ชายคนโตของชาวโลก
ที่ก่อนหน้านั้นต่างก็ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชามาด้วยกัน
เป็นเหมือนลูกไก่ที่อยู่ในฟองไข่มาด้วยกัน
และฟองไข่นั้นเองที่ทำให้ลูกไก่มองอะไรไม่เห็น
พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นไก่ตัวแรก
ที่ทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชาออกมาได้
จึงทรงเหมือนไก่ตัวพี่
เพราะทำลายกะเปาะฟองออกมาได้ก่อนน้องๆ
จึงต้องเป็นที่พึ่งของน้องๆ ต้องนำน้องๆ
เพื่อช่วยให้น้องๆ ได้สัมผัสอย่างที่ทรงสัมผัสมาก่อน
พระพุทธเจ้าท่านนิยามความหมายเต็มรูปไว้ว่า
คือ ท่านผู้ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้ว
ทางสอนบุคคลอื่นให้ตรัสรู้ตามพระองค์ด้วย
แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงชีวิตที่สมบูรณ์แล้ว
ทรงมีความกรุณาต้องการให้ชาวโลก
อาศัยการศึกษา ปฏิบัติตาม ได้หลักในการดำเนินชีวิต
จนสามารถสัมผัสดีงามโดยเสด็จตามกำลังความสามารถของแต่ละคน
แต่ในหลักความเป็นจริงที่สมบูรณ์
ความเป็นพระพุทธเจ้าหาได้หมายเอา
พระรูปร่างกายของพระองค์เป็นหลักไม่
แต่ท่านหมายเอาพระธรรมะ ที่สำคัญคือพระพุทธคุณ
ข้อนี้ทรงรับสั่งแก่พระวักกลิ ที่บวชมาด้วยความพอใจ
ที่ติดตามดูพระพุทธสรีระของพระองค์
จนไม่นำพาต่อการศึกษาและปฏิบัติตามคำสอน
เพื่อให้ท่านได้ตระหนักถึงภารกิจที่ต้องทำตามหน้าที่
ได้ทรงรับสั่งความว่า
วักกลิภิกขุจงถอยออกไป จะมาดูใย
ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า
ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
..
..
พระพุทธคุณที่ควรตระหนักในที่นี้
คือ พระพุทธคุณ ๙ ประการ ที่สาธุชนทั่วไปนำมาสวดสาธยาย
สืบต่อจากสมัยพระพุทธกาล
จนถึงสมัยปัจจุบันและคงต้องเป็นอย่างนั้นตลอดไป
พระพุทธคุณ ๙ บทนั้น แปลเป็นใจความว่า
แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์
ทรงตรัสรู้ของด้วยพระองค์เอง
ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
ไม่มีสารถีอื่นจะเป็นยิ่งไปกว่า
ทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ทรงจำแนกแจกจ่ายธรรม ทรงมีโชคและกอปรด้วยภคธรรม
พระพุทธคุณเหล่านี้สามารถสรุปรวมเป็น
พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
ที่บางครั้งท่านสรุปด้วยบท นโม ตสฺส
หรือแม้บทสวดอื่นๆ
ก็ล้วนแต่เป็นการสะท้อนพระคุณ ๓ ประการ
ในบทสรรเสริญพระพุทธคุณดังกล่าวนั้น พระพุทธคุณบทว่า
สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพะองค์เอง
คือทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ
ตามลำดับพระญาณ ๓ ประการ ที่กล่าวไว้ในตอนต้น
เป็นพระปัญญาคุณ
วิชชาจรณสัมปันโน
แปลว่า ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาความรู้
และจรณะความประพฤติ วิชชาเป็นพระปัญญาคุณ
ในขณะที่จรณะความประพฤติ เน้นที่พระบริสุทธิคุณ
อรหํ แปลว่า ทรงหักกรรมเป็นสารจักร คือทำลาย กิเลส
กรรมที่เรียกว่าเต็มที่ว่า อวิชชา ความไม่รู้ ตัณหา
ความดิ้นรนทะเยอทะยานอยาก
อุปาทานมีความยึดมั่นถือมั่น
กรรม คือการทำดีทำชั่ว
ทำให้ทรงไม่ทำบาปแม้ว่าจะเป็นที่ลับ
เพราะทรงไกลจากความชั่ว
เหตุนี้ทำให้พระพุทธเจ้า
เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชาของคนทั้งหายผู้ต้องการบุญ
อรหํ จึงเป็นพระบริสุทธิคุณ สุโต เสด็จไปดีแล้ว
เป็นพระมหากรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ
โลกวิทู เป็นพระปัญญาคุณ
อนุตฺตโรปุริสทมฺมารถิ เป็นพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
สตฺถาเทว มนุสฺสานํ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ
พุทฺโธ ที่แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน
จึงครบทั้ง ๓ พระคุณ
ภควา มีคุณลักษณะของพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการ
ตามคำแปลที่มีกรอบกว้างขวางมาก
จากการที่ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณทั้ง ๓ ประการดังกล่าว
และการอุบัติของพระพุทธเจ้า
เป็นการอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ตลอดกาลยาวนาน ๔๕ พรรษา
พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระพุทธจริยา
คือการดำเนินงานในฐานะทรงอนุเคราะห์ต่อชาวโลก
ทรงสัมผัสชาวโลกด้วยพระมหากรุณา
ทรงทำหน้าที่ตรงนี้ได้สมบูรณ์
ก่อนเสด็จดับขันธปรนิพพาน ได้รับสั่งว่า
กิจใดที่ศาสดาพึงเห็น ดู
จะพึงทำต่อเธอทั้งหลายผู้สาวก
ตถาคตได้ทำสมบูรณ์แล้ว