ริมระเบียงรับลมโชย > ล้างรูป
ท่ามกลางความศิวิไล
時々होशདང一རພຊຍ๛:
คงไม่ต้องบอกว่าที่ตรงนี้คือแห่งใด
ทุกท่านครับ ท่านเห็นอะไรในภาพถ่ายนี้ ณ.ตรงนี้คือ พระอารามหลวงครับ ด้านหลังมีตึกสูงทันสมัยใช่มั๊ย ? ครับ ท่านคิดอย่างไรกับภาพนี้ครับลองดูดี ๆ น่ะครับ ไม่มีอะไรใช่มั๊ย ? ครับ สำหรับภาพ ๆ นี้ ข้าพเจ้าขอสรุปสั้น ๆ ว่า ลองดูที่ใจเราครับ ตึกด้านหลังอันโอ่อ่าสวยงามตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางกรุงเทพ ฯ เมืองฟ้าอมรเปลี่ยบเสมือนใจของท่าน แล้วท่านลองทำใจของท่านให้เหมือนพระอารามหลวงแห่งนี้ได้มั๊ย ? ท่ามกลางความเจริญของวัตถุท่านเห็นมั๊ย ? ครับว่ายังมีความ(สงบ)มั่นคงอยู่ได้
ธรรมทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา
๑. อาจิกฺขติ - บอก
๒. เทเสติ - แสดง
๓. ปญฺญเปติ - บัญญัติ
๔. ปฏฺฐเปติ - ตั้งขึ้นไว้
๕. วิวรติ - เปิดเผย
๖. วิภชติ - แจกให้คนอื่นรู้
๗. อุตตานี กโรติ - กระทำให้เป็นของเห็นได้ง่าย เหมือนกับหงายของที่คว่ำอยู่
時々होशདང一རພຊຍ๛:
ภาพเปรียบเทียบครับ
ผู้คนเดินขวักไขว่
ข้อธรรมคำสอนของท่านพุทธทาส
ดังกล่าวแล้วว่ามีบุคคลพวกหนึ่งที่แสวงหาปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวง ทั้งในทางวิทยาศาสตร์ ในทางจิตวิทยา และในทางศาสนาแต่ถึงกระนั้น ก็ย่อมมีอีกพวกหนึ่ง ที่อดจะสงสัยไม่ได้ว่า มีความจำเป็นอะไรหรือ ที่จะต้องไปรู้จักสิ่งนี้ทำนองเดียวกับไก่ ที่ไม่รู้จักพลอย พบแล้วทิ้งไปเสีย ด้วยความเข้าใจว่าไม่เห็นมีประโยชน์อะไร สู้ข้าวสารเมล็ดเดียวก็ไม่ได้ นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความแตกต่าง ของการแสวงหา ระหว่างทางโลก กับทางธรรมทางธรรมแสวงหาพลอย แต่ทางโลกแสวงหาข้าวสาร ซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีค่าต่างกัน
時々होशདང一རພຊຍ๛:
อีกภาพหนึ่งครับ
กุปปธรรม - ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้ หมายถึง ผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่เสื่อมได้{อกุปปธรรม}ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลยได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด
時々होशདང一རພຊຍ๛:
ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถรวมความนึก หรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆหลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้
ง่าย ๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง(โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือนนั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้องเอาความจริงเป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด
ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่าย ๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง
ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"
時々होशདང一རພຊຍ๛:
แล้วภาพนี้ละครับ บอกอะไรท่านได้มั๊ย
สรุปสั้น ๆ ครับ
จิตที่ส่งออกนอก
เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิต
ที่ส่งออกนอก
เป็นทุกข์
จิตเห็นจิต
เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต
เป็นนิโรธ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version