ริมระเบียงรับลมโชย > ล้างรูป

ท่ามกลางความศิวิไล

<< < (2/2)

時々होशདང一རພຊຍ๛:


สติมาปัญญาเกิด
พระไตรลักษณ์เดิมทีนั้น แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าธรรมนิยาม(ธมฺมนิยามตา)ที่แปลว่า นิยามของธรรม(หรือธรรมชาติ) ที่มีความหมายว่า ข้อกำหนดหรือความกำหนดที่แน่นอนแห่งธรรมหรือก็คือธรรมชาตินั่นเองส่วนคำว่าพระไตรลักษณ์ และคำว่าสามัญลักษณะหรือสามัญญลักษณะ ที่มีความหมายเดียวกันกับธรรมนิยามนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังในยุคอรรถกถาพระไตรลักษณ์หรือธรรม

นิยามเป็นข้อธรรมที่แสดงถึงลักษณะ หรือกฏ หรือข้อกำหนดของธรรม หรือก็คือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่และลี้ลับแต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมของพระองค์ท่านได้หงายของที่ควํ่าอยู่เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยพระประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจะได้แลเห็นกล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างถูกต้อง อย่างแจ่มแจ้ง

อย่างแท้จริงมาก่อนนับเนื่องมาแต่โบราณกาลโดยเฉพาะพระองค์ท่าน ทรงสอนแต่ในเรื่องธรรมชาติของความทุกข์ ที่หมายถึงเน้นสอนในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งก็เพื่อยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่โดยการนำเอาความรู้ความเข้าใจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความทุกข์นั้นไปใช้ในการเพื่อการดับทุกข์อันเป็นสุขยิ่ง เป็นที่สุดนั่นเองอันเกิดขึ้นและเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า............
ในกาลก่อนนี้ก็ตามในบัดนี้ก็ตามเรา(ตถาคต)บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์เท่านั้น

時々होशདང一རພຊຍ๛:


ในทางพระพุทธศาสนาเราสามารถแยกกระบวนการทำงานของจิตหรือกระบวนธรรมของจิตได้เป็น ๒ แบบใหญ่อันต่างก็ล้วนเป็นกระบวนการธรรมชาติของจิตแต่ฝ่ายหนึ่งเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติและอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อดำเนินเกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทั้งต่อกายและใจ อันเป็นไปตามกระบวนธรรม{ปฏิจจสมุปบาท}นั่นเอง

ขันธ์๕เป็นกระบวนธรรมของ{จิต}แบบไม่เป็นทุกข์อุปาทานเป็นกระบวนธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติมีเหมือนกันทั้งในปุถุชนและพระอริยเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นกระบวนธรรมของจิต ชนิดที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นเป็นสภาวะธรรมชาติเหมือนกัน  แต่เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ดำเนินอยู่มีอยู่แต่ในปุถุชนกล่าวคือเป็นกระบวนธรรมของจิตที่ดำเนินเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดทุกข์อุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนขึ้นเป็นที่สุดเป็นกระบวนธรรมของ

จิตฝ่ายก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ {จึงไม่มีเกิดในเหล่าพระอริยเจ้า}
อุปาทานความยึดมั่นความถือมั่นอันเป็นไปตามกำลังอำนาจกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวของตนหรือ
อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน เป็นสําคัญในสิ่งใด ๆ ทุก ๆ สิ่งอันท่านตรัสว่า อุปาทาน

時々होशདང一རພຊຍ๛:

อุปธิ - สิ่งนุงนัง

สภาวะกลั้วกิเลส

สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส

๑.ร่างกาย

๒.สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร

時々होशདང一རພຊຍ๛:


คิดนึกปรุงแต่ง - คิดปรุงแต่ง - จิตปรุงแต่ง - จิตฟุ้งซ่าน - จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก -  หรือคิดนึกฟุ้งซ่าน - คิดนึกเรื่อยเปื่อย  - คิดวนเวียนปรุงแต่ง - จิตส่งออกไปภายนอก = ล้วนมีความหมายเป็นนัยเดียวกัน เป็นการกล่าวถึงจิตที่ไปทำหน้าที่อันไม่ควร จึงเป็นทุกข์  จึงเน้นหมายถึงไปคิดนึกอันเป็นเหตุปัจจัยทําให้เกิดกิเลสตัณหา - เพราะคิดนึกปรุงแต่งแต่ละครั้งแต่ละทีย่อมเกิดการผัสสะ อันย่อมต้องเกิดเวทนาต่างๆขึ้นด้วย

ทั้งหมด - ทั้งปวงนี้สรุปโดยรวมก็คือ.............
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา แปลว่า สติ จำเป็นในที่ทั้งปวง

กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ
[spoiler]http://www.youtube.com/watch?v=PhLWGkGzMec[/spoiler]

時々होशདང一རພຊຍ๛:

การเรียบเรียงภาพที่แฝงด้วยสาระทางธรรมช่างยากยิ่งนัก
ความเจริญทางด้านวัตุถุ
งมงาย ไม่รู้เท่า ไม่เข้าใจ เซ่อเซอะ หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังผู้อื่น

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version