วิถีธรรม > ไหว้พระหน้าคอม
บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong
sithiphong:
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ “…อะไร…”
ท.อมรเวช ผู้เรียบเรียง…..จากคัมภีร์พระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ “ ธรรม ” ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้ประกาศ “ ธรรม ” เหมือนที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาก่อน พระองค์ทรงค้นพบ “ ธรรม ” ขณะที่เป็นนักบวชและทรง ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง…เป็นพระพุทธเจ้า หลังจากที่ได้ทรงไตร่ตรองเหตุและผลตามความเป็นจริงของธรรมชาติ จนแน่พระทัยว่า “ ธรรม ” ที่พระองค์ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติและสัตว์โลก “ ธรรม ” นั้นคือ “ อริยสัจ ๔ ” แปลความหมายได้ว่า “ ความจริงอันประเสร็จ ๔ ประการ ”
ประการที่ ๑ เรื่อง ทุกข์
คือ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ดังใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
ประการที่ ๒ เรื่อง สมุทัย
คือ ต้นเหตุที่ทำให้ใจและกายเกิดความทุกข์ เป็นตัว “ ตัณหา ” ที่ทำให้มีการเกิดในภพใหม่ ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ สุข ริษยา อาฆาต แค้น ความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ “ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ”
ประการที่ ๓ เรื่อง นิโรธ
คือ การดับทุกข์และดับต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ โดย “ สำรอก ” ไม่ให้เหลือแห่ง “ ตัณหา ” นั้น ด้วยการพยายามหักห้ามใจตนเองให้ ลด ละ เลิก ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภสักการะ ยศ สรรเสริญ สุข ริษยา อาฆาต แค้น ให้ลดไป ทีละเล็ก…ทีละน้อย ไปจนที่สุดไม่เหลือ “ ความอยาก ” ใดๆไว้ในใจจึงดับทุกข์ดับตัณหาได้สนิทไม่มีการเกิดในภพใหม่อีกต่อไป ทุกข์มาก…สุขน้อย…ทุกข์น้อย…สุขมาก…ไม่มีทุกข์…ไม่มีสุขทางโลก มีแต่สุขทางธรรม คือ “ นิพพาน ”
ประการที่ ๔ เรื่อง มรรค
คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ที่ใช้สำหรับปฏิบัติตนเพื่อเป็นการ ลด ละ เลิก จากต้นเหตุของการเกิดทุกข์กาย และ ทุกข์ใจ เรียกว่า “ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ” คือ “ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ” แปลความหมายได้ว่า “ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ๘ ประการ ” คือ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ดังกล่าว ย่อลงให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นในทางปฏิบัติตนเพื่อให้ชีวิตได้พบความสุข และถึงความสุขอันแท้จริง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล คือ การละเว้นไม่กระทำความชั่วประพฤติแต่ความดี ด้วยการทำบุญ ทำทาน ไม่เบียดเบียน ให้ความรักและมีใจเมตตาต่อผู้อื่น มีศีล ๕ อยู่ประจำใจเป็นเบื้องต้น คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่เป็นชู้กับสามี-ภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมาต่างๆ “ ศีลเป็นฐาน…บาท ”
ปัญญา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริงของโลกว่า มวลสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน---อนิจจัง ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมมีทุกข์เป็นส่วนประกอบ---ทุกขัง ทุกสิ่งเมื่อไม่แน่นอนย่อมไม่มีตัวตนถาวรเป็นของตัวเอง---อนัตตา มวลสรรพสิ่งทั้งหลายมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และล้วนดับไปตามกาลเวลา วิปัสสนากรรมฐาน
ใช้ปัญญาพิจารณาจนจิตเริ่มรู้เท่าทันตามความเป็นจริงของธรรมชาติ และไม่ไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่เป็นจริงนั้นๆ อีกต่อไป วิปัสสนาญาณ และขั้นดับกิเลสตัณหาได้สนิท อาสวักขยญาณ
สมาธิ คือ ความสงบหรือความนิ่งของจิตที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการภาวนา หรือ การทำจิตให้ว่างๆ ด้วยการเพ่งดูวัตถุ “ กสิณ ” เมื่อจิตสงบ จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน “ “ สมถกรรมฐาน ” เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านจิตจะเริ่มคลายจากเรื่องต่างๆ ที่จิตเคยไปยึดติดอยู่ เมื่อกระทำให้จิตสงบบ่อยๆครั้ง มีเจตนาในทางที่ดี คือ มีศีล และ เมตตา เป็นฐานอยู่ประจำใจ จิตจะเริ่ม ลด ละ เลิก เริ่มลืมเรื่องที่ไม่ดีเรื่องที่เป็นทุกข์ต่างๆ ที่จิตเริ่มไม่ต้องการแต่ละเรื่องที่จิตเคยยึดติดอยู่ค่อยๆหมดไปในที่สุด
ผลของสมาธิ จำแนกออกได้เป็น ๓ ข้อ
ข้อ ๑ ใช้ระงับจิตไม่ให้คิดมาก ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่ดี คือ สิ่งที่ผิดศีล สิ่งที่ผิดคุณธรรม และ มีสติระลึกรู้เท่าทันเหตุการณ์ว่า ขณะนี้กำลังทำอะไร ตลอดเวลาในขณะที่ตื่นอยู่คือ การมีสติตั้งมั่นในความไม่ประมาท
ข้อ ๒ เมื่อจิตสงบอยู่ที่ระดับหนึ่ง จะเริ่มเกิดปัญญา ทำให้สามารถพิจารณาได้ตามความเป็นจริงต่อมวลสรรพสิ่งของธรรมชาติที่อยู่รอบตัว หรือที่อยู่ไกลตัว และจะช่วยทำให้ การเชื่อเรื่องหรือสิ่งต่างๆเป็นไปตามเหตุและผลมากขึ้น เป็นลำดับ และจะช่วยลดความเชื่อแบบ “ งมงาย ” ไม่มีเหตุผลลง เป็นลำดับ ลำดับ
ข้อ ๓ จิตเป็นรูปของกระแสพลังงาน ปกติจิตจะแผ่ซ่านไปทั่ว เมื่อทำให้จิตสงบ กระแสพลังงานของจิตจะเริ่มรวมตัวกันเล็กลงเข้าหาศูนย์กลางของจิต ยิ่งจิตสงบมากขึ้นกระแสพลังงานของจิตจะยิ่งรวมตัวกันเข้าหาศูนย์กลางของจิตเล็กลง เข้าไปเรื่อยๆ เมื่อกระแสพลังงานจิตรวมตัวกันเล็กลงมากเท่าใด ก็จะเกิดพลังงานของจิตมากขึ้นเป็นทวีคูณ พลังงานของจิตที่เกิดจากการรวมกระแสจิตที่มีความสงบมากๆ จนเข้าใกล้ จวนจะถึง และถึงขั้น ณาน คือ มีอารมภ์เป็นหนึ่ง จะทำให้จิตเกิด “ ญาณ ” คือการหยั่งรู้เรื่องต่างๆ ด้วยจิต และ “ อภิญญา ” คือ การรู้เรื่องต่างๆ ได้ชัดเจนแน่นอนยิ่งกว่าญาณ ซึ่งเป็นผลให้นำมาใช้เป็นเครื่องมือพิเศษทางจิตที่รู้ได้เฉพาะตน สำหรับตรวจสอบความเป็นจริงต่างๆ ของธรรมชาติอัน มหัศจรรย์ เร้นลับ พิสดาร
รู้จัก…..ปริยัติ รู้จริง…..ปฏิบัติ รู้แจ้ง…..ปฏิเวธ
ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นสมบัติของโลก
บุญ บาป เป็นสมบัติของ ใจ เราอันแท้จริง
sithiphong:
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
“ ….. ท่านทั้งหลายควรจะได้ข้อคิดสำคัญประการหนึ่งว่า วิถีชีวิตของบุคคลนั้นย่อมมีทั้งภัย ทั้งอุปสรรค ทั้งเคราะห์ร้าย ผ่านเข้ามาเนืองๆ ยากที่จะหลีกเลี่ยง ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปกติสุขอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องเตรียมกายเตรียมใจให้พร้อมทุกเวลาที่จะเผชิญ จะต่อสู้แก้ไขความไม่ปกติเดือดร้อนต่างๆ ด้วยเหตุผล หลักวิชา ความถูกต้อง ความรอบคอบ อดทน และด้วยสามัคคีธรรม ”
“ อย่าท้อถอยหรือน้อยใจ ถ้างานไม่สัมฤทธิ์ผล
จงสุขุมและอดทน พิจารณาคนด้วยปัญญา ”
sithiphong:
ทำบุญใส่บาตร
ชีวิตงามด้วยธรรมะ หนังสือพิมพ์ข่าวสด
พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามิได้ประกอบอาชีพใดๆ นอกจากปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มนุษย์ควรใส่บาตร เพื่อเกื้อหนุนให้ภิกษุมีชีวิตสำหรับการปฏิบัติธรรม การใส่บาตรจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อเกื้อพระศาสนาให้ดำรงต่อไป เพื่อต่อชีวิตของพระสงฆ์เอาไว้สำหรับปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นการสร้างอุปนิสัยในการจาคะอันเป็นทานบารมี นั่นคืออานิสงส์ที่แท้ของการใส่บาตร มิใช่เพื่อชาติหน้า ภพหน้าจะได้มีกิน การทำบุญใส่บาตรเป็นเรื่องของจิต เราต้องมีสติรับรู้ว่าสิ่งใดที่เราทำคืออะไร และเพื่ออะไร เมื่อเรารู้แล้ว…..พึงกระทำด้วยความตั้งใจ ทำด้วยความประณีต ทำโดยไม่โลภ ทำโดยไม่โกรธ ทำโดยไม่หลงงมงาย เราจึงจะได้รับผลบุญนั้นเต็มเม็ดเต็มหน่วย
สัพพะทานัง ธัมมัง ทานัง ชนาติ ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
สังฆทานเป็นอย่างไร
เสฐียรพงษ์ วรรณปก ชื่อใครว่าไม่สำคัญ หนังสือพิมพ์ข่าวสด
๑.ไม่จำเป็นต้องถวายพระหลายรูป ถวายรูปเดียวก็เป็นสังฆทานได้
๒.ต้องทำจิตให้เป็นกลาง อย่าเจาะจง ถือว่าพระหรือเณรที่มารับท่านจากเรา เป็นตัวแทนของ “ พระสงฆ์ในอุดมคติ ”
๓.ของที่ถวายจะเป็นข้าวหรือสิ่งของที่พระควรใช้ มากน้อยไม่สำคัญ ไม่จำเป็นว่า ของถวายสังฆทานต้องมีถัง มีสิ่งของตามที่เขาจัดไว้ให้
๔.ทำจิตให้เป็นกลาง ก่อนให้ กำลังให้ หลังให้ ก็เลื่อมใส ไม่นึกเสียดายภายหลัง หาไม่ทานจะไม่บริสุทธิ์
๕.เสร็จแล้วให้ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย คือกรวดน้ำ จะกรวดแห้งหรือใช้น้ำก็ได้ น้ำเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น มีก็ใช้ ไม่มีก็ไม่เป็นไร เท่านี้ก็เป็นสังฆทานแล้ว ที่ว่าสังฆทานมีผลมากกว่าทานอื่น ก็เพราะการทำใจเป็นกลางมันทำยาก คนส่วนมากให้เพราะความรักความชอบเป็นส่วนตัว ให้ด้วยความลำเอียง ผลย่อมมีไม่เท่าให้ด้วยจิตเลื่อมใสเป็นกลางจริงๆ
ทำบุญเพื่ออะไร ขวัญใจ ชนะโชติ ผู้เขียน คอลัมภ์กรรมกำหนด
บุญเสมอ แดงสังวาลย์ หนังสือพิมพ์ข่าวสด
จากธรรมบรรยายของพระธรรมปิฎก ที่ รัฐนิว เจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2537 ในหัวข้อเรื่อง ทำบุญเพื่ออะไร? ดังนี้
“ ในการถวายกำลังแก่พระสงฆ์ ที่เรียกว่า “ทำบุญ” นี้ ใจควรมุ่งไปที่พระศาสนา คือจุดรวมใจ หรือเป้าหมายของเราควรอยู่ที่พระศาสนา หมายความว่า เราถวายทานแก่พระสงฆ์ก็เพื่อให้ท่านมีกำลัง ท่านจะได้ทำงานพระศาสนาต่อไป
งานพระศาสนา หรือศาสนกิจ โดยทั่วไปมี ๓ ประการคือ
๑. การเล่าเรียน ศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๒. การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๓. การนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่ให้ประชาชนรู้และปฏิบัติตาม
การที่พระสงฆ์จะทำกิจทั้ง ๓ ประการนี้ท่านควรที่จะไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องของวัตถุ หรือเรื่องของปัจจัยสี่ เมื่อพระสงฆ์ไม่กังวลในเรื่องดังกล่าว ก็ย่อมตั้งใจทำหน้าทื่คือ ศึกษา ปฏิบัติ และนำไปเผยแพร่ได้เต็มที่ ซึ่งจะทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้
สรุปว่า การทำบุญอุปถัมภ์พระสงฆ์ บำรุงพระศาสนา เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนมั่นคง เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ ได้มีชีวิตที่ดีงาม มีสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป…..”
หากท่านผู้อ่านท่านใดจะทำบุญเพียงเพื่อความสบายใจก็ไม่มีอะไรเสียหายการได้พบได้สนทนาและฟังธรรมจากสมณะ ย่อมบังเกิดปีติ เป็นความสุขกายสุขใจ เพราะความเป็นศัตรูไม่มีในใจของสมณะ ดังพุทธสุภาษิตกล่าวไว้ว่า สมณีธ อรณา โลเก – สมณะไม่เป็นศัตรูแก่ใครในโลก
sithiphong:
ทุกนาทีมีค่ามหาศาล เวลาผ่านล่วงลับมิกลับหลัง
วันเวลาทอนชีวิตอนิจจัง อย่านอนนิ่งนิ่งเฉยเลยผ่านไป
ควรคำนึงถึงเวลาค่าชีวิต อย่าหลงผิดปล่อยเวลาพาไถล
ค่าของคนร่นน้อยถอยตามวัย มีสิ่งใดเป็นประโยชน์โปรดรีบทำ
สำนักกิจการนักศึกษา สถาบันราชฎัชฉะเชิงเทรา
( คัดลอกเมื่อ 11 กรกฎาคม 2541 )
sithiphong:
ใช้ธูปเท่าไร ไหว้พระไหว้เจ้า (ผู้เขียน ซินแสน้อย)
ธูป 1 ดอก นิยมใช้ไหว้ศพ เจ้าที่ เจ้าทาง ภูมิ ผี ต่างๆ กล่าวคือวิญญาณธรรมดาที่ยังไม่ได้ขึ้นเป็นชั้นเทพ
ธูป 2 ดอก ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป 3 ดอก นิยมไหว้พระพุทธ อันมีความหมายถึง พระรัตนตรัย หรือแม้แต่การไหว้เทพก็มีผู้ไหว้ 3 ดอก เช่นกัน อันมีความหมายถึงพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม
ธูป 4 ดอก ไม่ปรากฏนิยมใช้
ธูป 5 ดอก มีผู้นิยมใช้ไหว้ตี่จูเอี้ย โดยปักที่กระถางธูป 3 ดอกและข้างประตู ข้างละ 1 ดอก นอกจากนี้ก็มีผู้นิยมไหว้พระรูปรัชการที่ ๕ คงมีคติมาจากรัชการที่ ๕ ก็ใช้ 5 ดอก การไหว้ท้าวจตุโลกบาลก็นิยมใช้ธูป 5 ดอก เพราะหมายถึงทิศใหญ่ทั้ง 5 อันมี ตะวันตก ตะวันออก เหนือ ใต้ และทิศกลาง ตามความเชื่อของชาวจีน รวมทั้งเทพอื่นๆ ก็เห็นมีปรากฏ
ธูป 6 ดอก ไม่นิยมใช้
ธูป 7 ดอก นิยมไหว้พระภูมิไชยศรี นอกจากนี้ก็มีผู้ที่เคารพบูชาพระอาทิตย์ก็นิยมไหว้ ซึ่งความหมายของธูป 7 ดอก ก็หมายถึงความคุ้มครองวันทั้ง 7 ในหนึ่งสัปดาห์
ธูป 8 ดอก ชาวฮินดูนิยมใช้ธูป 8 ดอก ในการไหว้เทพแทบจะทุกองค์ ที่เป็นเทพชั้นสูง อันได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม พระแม่อุมา พระลักษมี พระสุรัสวดี พระพิฆเนศ พระขันธกุมาร ร่วมไปถึง พระราม พระกฤษณะ ด้วยจะพบว่า กล่องธูปที่ใช้บรรจุธูปหอมของอินเดียกล่องหนึ่งจะมีธูป 8 ดอก ให้บูชาครั้งละ 1 กล่องเล็ก นอกจากนี้ก็มีความเชื่อว่า การไหว้พระราหู ก็นิยมใช้ธูป 8 ดอกเช่นกัน
ธูป 9 ดอก นับเป็นจำนวนธูปที่นิยม ใช้ในการไหว้ทั้งพระทั้งเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ด้วยคนไทยถือว่าเลข 9 เป็นเลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า หากแต่ในประเทศอื่นเขาไม่ได้นิยมเช่นคนไทย
ธูป 10 ดอก สำหรับชาวจีนดั้งเดิมแล้วนิยมใช้เลขนี้ในการจุดธูปเช่นเดียวกันคนไทยนิยมเลข 9 เลขสิบนับเป็นเลขเต็ม และความหมายของสิบ (ภาษาจีนคือจั๊บ)นั้นหากจะประดุจนิ้วมือก็หมายถึงการจับได้เต็มไม้เต็มมือ ได้อะไรที่เต็มมือ ได้อะไรที่เต็มสิบก็คือความสมบูรณ์เต็มที่
ธูป 11 ดอก ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป 12 ดอก ชาวจีนนิยมไหว้เจ้าแม่กวนอิม บางคนใช้ 13 ดอก แต่จะไหว้เฉพาะในช่วงเดือน 12 เท่านั้น
ธูป 14, 15 ดอก ไม่ปรากฏความนิยม
ธูป 16 ดอก นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงบูชาเทพ บูชาครู หรือพิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดาที่สำคัญต่างๆ 16 ดอก หมายถึง สวรรค์ 16 ชั้น
นอกจากนี้ที่ได้สืบเสาะมาก็มี 31 ดอก และ 32 ดอก
ที่นิยมใช้ในการบวงสรวง เช่นเดียวกันกับ 16 ดอก
โดย ธูป 31 ดอก หมายถึงการเชิญเทพทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ต้องเป็นการบวงสรวงเครื่องบัดพลีใหญ่
หรือ ธูป 32 ดอก หมายถึง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน และบนโลกมนุษย์ อีก 1 จะนิยมใช้ในการบวงสรวงใหญ่เท่านั้น เพราะเครื่องบวงสรวงต้องมากเพียงพอกับการอัญเชิญด้วย
เจ้าคุณอมร วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ ท่านให้ข้อคิดที่น่าสนใจมากคือ จำนวนเท่าไร มันอยู่ที่ใจ มนุษย์ตั้งกันขึ้นมาเอง ตามความพอใจ ซึ่งที่จริงแล้วหากใจเป็นสมาธิศรัทธาจริง มือเปล่า ใจเปล่า ก็ศักดิ์สิทธิ์ ได้
ผู้เขียนเองก็มีความเห็นตรงกันเพราะเวลาเราฟังเทศน์ ฟังธรรม หรือจบมือขึ้น สาธุ อนุโมทนากุศลนั้น ท่านเชื่อไหมว่า อานิสงส์แรงนักแล แค่เอามือเปล่าจบขึ้นเหนือหัวตั้งจิตให้มั่น กล่าวคำว่า สาธุ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version