ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าสะท้อนความเป็นมนุษย์ที่รู้จักคำว่า'พอ' : สำราญ สมพงษ์รายงาน  (อ่าน 988 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธเจ้าสะท้อนความเป็นมนุษย์ที่รู้จักคำว่า'พอ' : สำราญ สมพงษ์รายงาน

-http://www.komchadluek.net/detail/20140711/188013.html-


ขออนุโมทนาบุญกับพุทธศาสนิกชนทุกคนได้ปฏิบัติตนตามโอวาทปาติโมกข์ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศในวันมาฆบูชาที่ประกอบด้วยหลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6

หลักการ 3 อันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาโดยย่อ ได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา ส่วนใหญ่เราก็จำกันเพียงเท่านั้น

แต่โอวาทปาติโมกข์ยังประกอบด้วยอุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ได้แก่ ความอดทนอดกลั้น เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน พระภิกษุและบรรพชิตไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ ว่าจะในกรณีใดๆ พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน ( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอ และไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือย)

รวมถึงวิธีการ 6 ที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ เพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้ายความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง) ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ) ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอน แต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

สาเหตุที่พระพุทธเจ้ากล้าที่ประกาศเช่นนี้ได้ก็เพราะพระองค์ตรัสรู้อนัตตลักขณสูตรในวันวิสาขบูชาโลกเพ็ญเดือน 6 หลังจากนั้นพระองค์ได้ตัดสินพระทัยสอนธรรม เริ่มจากแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ เมื่อแสดงจบพระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขอบวชพระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" จึงถือว่ามีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันอาสาฬหบูชา พ.ศ.2557นี้ ตรงกับวันศุกร์ ที่ 11 กรกฎาคมนี้ ด้วยเหตุผลนี้ชาวพุทธจึงถือวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา

ปฐมเทศนาที่พระองค์เทศน์ครั้งแรกในวันอาสาฬหบูชานีคือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม อันมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลาง "มัชฌิมาปฏิปทา" อันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นหลักธรรมที่แนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 เท่านั้นแต่พระสูตรที่องค์เทศน์สอนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หลังจากวันอาสาฬหบูชาคืออนัตตลักขณสูตรที่มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป คือ ร่างกาย เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร คือ ความคิดหรือเจตนา วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น หรือเรียกอีกประการหนึ่งว่า อายตนะทั้ง 6 อันได้แก่สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

พระองค์ตรัสต่อไปว่า เมื่ออริยสาวก คือ ผู้ฟังผู้ประเสริฐซึ่งได้สดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเกิดนิพพิทา คือ ความหน่ายในขันธ์ 5 แล้วก็ย่อมสิ้นราคะ คือ สิ้นความติด ความยินดี ความกำหนัด เมื้อสิ้นราคะ ก็ย่อมวิมุตติ คือ หลุดพ้น เมื่อวิมุตติ ก็ย่อมมีญาณ คือความรู้ว่าวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว และย่อมรู้ว่า ชาติ คือ ความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นเช่นนี้อีกต่อไป

อนัตตลักขณสูตรจึงถือเป็นหลักธรรมที่ครบอริยสัจ 4 นั้นก็คือนิโรธอันเป็นเป้าหมายในพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่พระองค์และอริยสาวกรู้ธรรมสูงสุดก็คือสูตรนี้

นอกจากหลักธรรมที่พระองค์แสดงในวันอาสาฬหบูชาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์และสาวกของพระองค์เป็นมนุษย์ที่รู้จักคำว่า "พอ" เริ่มตั้งแต่ "พอ" จากเพศฆราวาสวิสัยออกบวชแสวงหาความจริงของชีวิต ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเพศฆราวาสนั้นมีทุกข์มีความขัดแย้งในตัว จึงต้องการที่จะออกจากความขัดแย้งทางความคิดนี้

ในที่สุดพระองค์ได้ค้นพบความจริงของชีวิต พบสันติสุขที่แท้จริงเกิดสันติภาพภายใจ พบคำว่า "พอ" หรือ "พอเพียง" ที่สมบูรณ์ เกิดทฤษฎีใหม่คือ"ความไม่เห็นแก่ตัว" แล้วทำให้ชีวิตของพระองค์ตลอด 45 พรรษา มีลมหายใจเพื่อบุคคลอื่น พยายามชักชวนบุคคลอื่นเห็นโทษของความขัดแย้งโดยเฉพาะความขัดแย้งภายใน มีสันติสุขภายในเช่นเดียวกับพระองค์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)