ผู้เขียน หัวข้อ: อาการของจิต หลวงปู่ เทสส์  (อ่าน 2273 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
อาการของจิต หลวงปู่ เทสส์
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2014, 03:48:19 pm »
อาการของจิต หลวงปู่ เทสส์
จิตเป็นของหาตัวตนมิได้ ต่อเมื่อประสมโรงกันเข้ากับกายแล้ว
จึงจะแสดงอาการออกมาให้ปรากฎแก่ สายตาของของคนอื่นได้
จิตเป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง ซึ่งใคร ๆ ชี้ไม่ออกบอกไม่ถูก
แต่ตัวของมันรู้ตัวมันเอง ถ้ามันส่งส่ายออกมาตามประสาทต่าง ๆ เช่น

ส่งออกมาตามจักษุประสาท เป็นต้น เรียกว่าจิต
ถ้ามันไปรับเอาแสงสะท้อนของรูปที่มากระทบจักษุประสาทนั้น
เรียกว่าวิญญาณ
ถ้ามันไปยึดเอา รูปนั้นเข้ามาไว้ เรียกว่าอารมณ์
ถ้าเกิดพอใจ ดีใจ เสียใจ อะไรขึ้นมา เรียกว่าเวทนา

ถ้าเกิดความอยากให้ มันเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป
หรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นอีก เรียกว่าตัณหา

ชื่อของจิตนี้มีมากเรียกตาม อาการลักษณะของมันที่มันแสดงออกมา
ที่สมมุติเรียกชื่อมานี้ เป็นแต่เพียงเล็กน้อยตามความเข้าใจของ ผู้เขียนเท่านั้น

ท่านผู้รู้ทั้งหลายอาจเรียกได้มากและสมมุติได้มากกว่านี้ หรืออาจเรียกชื่อผิดแผกออกไป จากนี้ก็ได้ ที่แสดงมานี้พอให้เข้าใจถึงเรื่องที่ว่า จิต-วิญญาณ-อารมณ์-เวทนา ยังก่อนยังไม่จัดเข้าเป็น กิเลส พอเข้าเขตตัณหาแล้วนั้นแล จิตตอนนั้นจึงจะมืดมนเศร้าหมอง ที่เรียกว่า กิเลส ตัณหา ก็ต้องเกิดตาม สายรูปธรรม มีรูป-เสียง เป็นต้น
 ฉะนั้นเพียงแต่ลำพัง จิต-วิญญาณ-อารมณ์- เวทนา จึงยังไม่เกิดกิเลส พอถึง ขั้นตัณหาจึงเกิดกิเลส ที่ท่านแสดงถึงเรื่องกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดก็จัดตามสายนี้เอง เรื่องทั้งหมดที่ อธิบายมานี้ ถ้าหากจิตยังไม่เข้าถึง ฌานสมาธิ ระงับอารมณ์ภายนอกให้ขาดออกจากจิตเสียก่อนแล้ว ถึงแม้ ชื่อและนามของกิเลสเราจะจำได้แม่นยำสักปานใดก็ตาม จะไม่มีวันรู้หน้าตาตัวจริงของกิเลสเลย เพราะกิเลส เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งเหมือนกัน เมื่อจิตที่อบรมดีแล้วแบ่งภาคออกมาจากรูปธรรมได้ นั่นแลจิตจึงจะ สามารถรู้ตัวกิเลสได้ถูกต้อง กิเลสของจิตเมื่อผู้มาเข้าใจโดยนัยนี้แล้ว สามารถชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ส่วนกายเป็นรูปธาตุ จะชำระอย่างไรๆภายในใจก็ยังสกปรกอยู่เช่นเดิม ดีหน่อยเมื่อชำระใจให้สะอาดดีแล้ว อาการกิริยาของกายมันจะเรียบร้อยขึ้น
*****************************************************

นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (บาลี: nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

กรรมฐานที่เหมาะสมแก่นิวรณ์[แก้]
กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย
พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร4 วรรณกสิน4 เพื่อเพิ่มความเมตตา
ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร
อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน
อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ
วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน(พิจารณาธาตุ4) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย

องค์ฌานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์[แก้]
วิตก แก้ถีนมิทธะ
วิจารณ์ แก้วิจิกิจฉา
ปีติ แก้พยาบาท
สุข แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
เอกัคคตา แก้กามฉันทะ
เมื่อจิตเป็นอัปปนาสมาธิจนเกิดองค์ฌานทั้ง 5 ย่อมทำลายนิวรณ์ลงได้ ชั่วคราว คือในขณะอยู่ในฌาน

พละ 5 ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์[แก้]
ศรัทธา แก้วิจิกิจฉา
วิริยะ แก้ถีนมิทธะ
สติ แก้พยาบาท
สมาธิ แก้อุทธัจจะกุกกุจจะ
ปัญญา แก้กามฉันทะ

อาหารของนิวรณ์[แก้]
ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ทั้งห้า ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาหารของนิวรณ์ในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือ นิวรณ์ (ซึ่งอาหารของนิวรณ์ทั้งหมดนั้น ถ้าสังเกตดูจะพบว่ามี การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย หรือ อโยนิโสมนสิการเป็นองค์ประกอบด้วยเสมอ)

อาหารของกามฉันท์[แก้]
สิ่งที่เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกามฉันท์ที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งสวยๆงามๆ (ศุภนิมิต) หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้ พบสิ่งสวย ๆ งาม ๆ

อาหารของพยาบาท[แก้]
สิ่งที่เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจ ขัดใจ (ปฏิฆนิมิต)

อาหารของถีนมิทธะ[แก้]
สิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งเหล่านี้ คือ
ความไม่ยินดี ในที่อันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล
ความเกียจคร้าน
ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส (บิดร่างกาย เอียงไปมา รู้สึกไม่สบาย ด้วยอำนาจกิเลส)
ความเมาอาหาร
ความที่ใจหดหู่

อาหารของอุทธัจจกุกกุจจะ[แก้]
สิ่งที่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในความไม่สงบใจ
เปรียบเสมือนกองไฟที่คุกร่น แม้ไม่เห็นเปลวไฟแล้ว เหลือแต่ถ่านดำๆ ก็ยังมีความร้อนออกมาอยู่ ให้คนที่นั่งผิงไฟรู้สึกร้อนได้

อาหารของวิจิกิจฉา[แก้]
สิ่งที่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
อ้างอิง[แก้]
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".

ดูเพิ่ม[แก้]
ลักษณะ[แก้]
กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม
พยาบาท เหมือนน้ำที่กำลังเดือด
ถีนมิทธะ เหมือนน้ำในที่มืด
อุทธัจจะกุกกุจจะ เหมือนน้ำกำลังแกว่ง
วิจิกิจฉา เหมือนน้ำที่มีจอกแหนลอยบังอยู่
บุคคลย่อมไม่อาจมองเห็นใต้น้ำได้สะดวกฉันใด เมื่อจิตมีนิวรณ์ บุคคลย่อมไม่อาจเห็นจิตตามจริงได้สะดวกฉันนั้น
ศีล 5 ที่สามารถควบคุมนิวรณ์[แก้]
พยาบาท ให้ควบคุมด้วย การไม่ฆ่าสัตว์
อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ควบคุมด้วย การไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้
กามฉันทะ ให้ควบคุมคุมด้วย การไม่ประพฤติผิดในกาม
วิจิกิจฉา ให้ควบคุมด้วยการไม่พูดเท็จ
ถีนมิทธะ ให้ควบคุมด้วย การไม่เสพสิ่งเสพติดอันเป็นเหตุให้ประมาท
องค์ฌานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์[แก้]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้อยู่เป็นสุข
โดยธรรมสุจริต "ตดเกิดตดดับ"
Thammasatu ธรรมะสาธุ เวบดีดีมีธรรมะ »
ห้องธรรมมะ » ธรรมะกับชีวิต »
พอเพียง มาก 13 กรกฎาคม 2557

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อาการของจิต หลวงปู่ เทสส์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 11:45:13 am »


รู้สิ่งอื่น ไม่สามารถ จะชำระจิตของตนได้
รู้จิตของเรานี่แหละ จึงจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์
โอวามธรรม หลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี