ผู้เขียน หัวข้อ: วิตามินในแง่ของปรัชญาตะวันออก  (อ่าน 1138 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ที่ใดมีหยิน ที่นั่นต้องมีหยาง
วิตามินในแง่ของปรัชญาตะวันออก
       
       กว่า 50,000 ปี ที่เริ่มเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ไม่เคยต้องใช้วิตามินเพื่อเสริมในอาหารกว่า 5,000 ปีที่แล้วมาบรรพบุรุษของเราไม่เคยต้องใช้วิตามินเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพ ท่านก็มีสุขภาพสมบูรณ์กันทั่วหน้าชนชาติ ผ่าพันธุ์ทั้งหลายของมนุษย์ในอดีตเจริญพันธุ์ขยายพลเมืองประชากร โดยไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมสกัดสังเคราะห์แต่ประการใด

       - แม้แต่เพื่อนร่วมโลก สิ่งมีชีวิตทั่วไป ลิง ช้าง ม้า หมู แมว สุนัข กระรอก ไก่ ปลา ล้วนไม่รู้จัก วิตามินใด แต่ก็สามารถดำรงชีวิตเป็นสุขเสมอมา
       - เมื่อเพียง 200 ปีที่แล้วมา เมื่อมนุษย์เริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มเพิ่มพูนผลผลิตโดยการบ่ายเบี่ยงวิถีธรรมชาติมุ่งแต่ผลประโยชน์การตลาด การค้ากำไรเป็นหลัก
       
       - การสกัดสังเคราะห์พัฒนาแปรรูปอาหารทุกรูปแบบ ด้วยความช่วยเหลือจากการค้นคิดสิ่งประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ ช่วยทำให้การสกัดแยกส่วนคุณค่าทางโภชนา ออก โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของอาหารการกิน เพราะการสังเคราะห์สิ่งใดเข้าสู่ร่างกายนั้น ต่างจากการพัฒนา แขนงอื่น เพราะเป็นการบุกรุกเข้าสู่ระบบนิเวศน์ภายในของมนุษย์ที่ได้รับการออกแบบและตั้งระดับมาตรฐานไว้นับล้านปี นำความเสื่อมมาสู่สุขภาพของมวลมนุษย์ต่อมาเพราะโรคขาดสารอาหาร โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโรคต่างๆ ที่ปรากฏก็ด้วยผลกรรมจากการสังเคราะห์แปรรูปอาหารเข้าสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมเป็นหลัก ปรัชญาจีนบัญญัติว่า ธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยหน่วยที่สมดุลเรียกหน่วยขั้ว หยิน-หยาง
       
       ทั้งสองประกอบกันเปรียบหัวก้อยของเหรียญสองด้าน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิสามารถดำรงอยู่ได้ ที่ใดมีหยิน ที่นั่นต้องมีหยางเสมอคนเราไม่สามารถแยกส่วนธรรมชาติออกตามอำเภอใจโดยไม่กระทบส่วนรวมได้ เช่น ข้าวมีเมล็ด (หยิน) และจมูกข้าวหรือรังไข่ของข้าวเป็น (หยาง) ทั้งสองต้องทำงานคู่กัน หากเราสกัดจมูกข้าวออกข้าวที่เหลือก็หมดพลังเหมือนถูกถอดสลักออก ไม่มีกระแสพลังหรือประจุวิ่งผ่านได้ หากเปรียบทารกในครรภ์มารดาแล้ว ทารกก็มีขั้วหยางแฝงอยู่ในรูปของรกที่คอยดูดซึมอาหารและขับถ่ายผ่านสายสะดือสู่มารดา ทั้งหมดทำงานสัมพันธ์ กันเป็นระบบ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิได้ การสกัดข้าวเป็นจุดเริ่มต้นของข้อบกพร่องอย่างมิน่าให้อภัยที่มีผลต่อมวล มนุษยชาติดังปรากฏ ทุกวันนี้ก็ด้วยสาเหตุหลักของการ สีข้าวให้เป็นข้าวขาวสวย

       - คนที่ป่วยก็เพราะรับประทานข้าวที่พิการจากการถูกสี       
       - ที่ซ้ำร้ายก็คือ สิ่งที่ถูกสกัดออกก็ไม่สามารถมีสรรพคุณเหมือนเดิมที่เคยดำรงอยู่เป็นคู่เป็นขั้ว

       ดังนั้น การสกัดออกเป็นวิตามินก็ไม่สามารถเรียกคืน คุณค่าทางโภชนาการให้เหมือนเดิมได้ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่มนุษย์เราเรียกว่า วิตามินนั้นแต่เดิมมีอยู่แล้วครบบริบูรณ์ในพืช ผัก ตามธรรมชาติโดยทั่วไปทั้งสิ้น ตั้งแต่วันแรกที่โลกถือกำเนิด
       
       หากมนุษย์รับประทานพืชผลตามธรรมชาติแล้ว เราแทบไม่มีทางเลี่ยงที่จะไม่ได้รับวิตามินเข้าสู่ร่างกาย แต่วิตามินในธรรมชาติเป็นสารละเอียดที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสสาร จึงเป็นวิตามินที่สมบูรณ์ใช้งานได้กล่าวคือ ในอาหารพืช ผัก เรามี Pre-Vitamin หรือก่อนเกือบจะเป็นวิตามิน 99% เพียงแต่รอการย่อยและผสมกับน้ำย่อย น้ำลายครบสูตรก่อน
       
       - ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เมื่อใดที่มนุษย์เริ่มแปรรูปดัดแปลงสังเคราะห์อาหาร โดยการเลือกสกัดเป็นส่วนๆ แล้ว เท่ากับมนุษย์ทำลายรหัสที่ธรรมชาติสร้างไว้ระหว่างพืชกับกระเพาะของเรา อาหารสังเคราะห์เข้ากระเพาะให้ข้อมูล รหัสไม่ครบ ร่างกายนำไปใช้งานสานต่อไม่ได้จึงจำเป็นต้องขับทิ้งในรูปของอุจจาระ ทุกวันเรารับประทานอาหารสังเคราะห์เท่ากับเราลงทุนราคาแพง แต่ใช้งาน ไม่ได้ เหมือนฉีกธนบัตรทิ้งเกือบทุกมื้อ เพราะอาหารเหล่านี้มีสภาพชำรุดไม่ได้มาตรฐานตามธรรมชาติ
       
       เด็กเลี้ยงไก่ผู้ค้นพบวิตามินแก้โรคเหน็บชา วิตามินกับโรคเหน็บชาในอดีตราวศตวรรษที่ 17 เมื่อยุคสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติยุโรป กองทัพเรือของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ายึดหมู่เกาะชวาไว้เป็นเมืองขึ้น ต่อมาไม่นานปรากฏว่า ได้เกิดอาการโรคระบาดชนิดนี้เกิดขึ้นทั้งเมืองคือ อาการชาตามร่างกาย โรคเหน็บชา (ภาษาอังกฤษเรียก Beri-Beri) เบอรี่ เป็นภาษาชาวสิงหลแปลว่า อ่อนเพลีย (หากพูดซ้ำ 2 คำแปลว่า เหน็บชา ซึ่งรากศัพท์มาจากชาวเอเชีย สาเหตุมาจากการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมโรงสีข้าว ที่ข้ดสีวิตามิน ไทอามีน วิตามินบีออกไป)
       
       - หากคนที่เป็นอาการหนัก รกรวมถึงสมองและระบบประสาท หัวใจและระบบย่อยอาหาร จนในที่สุดกลาย เป็นโรคอัมพาต
       - หากเกิดกับทารกหรือเด็ก มักจะเสียชีวิตในที่สุด
       
       - เหตุการณ์ของโรคระบาดนี้ แพทย์ชาวดัตช์ ก็ไม่สามารถ จะรักษาได้ จนปัญญาจึงหาวิธีการศึกษาข้อมูลว่ามาจากสาเหตุใด สิ่งแรกที่ค้นพบน่าสนใจก็คือ คนชวาทั่วไป รวม ทั้งคนดัตช์มีอาการเหน็บชาเหมือนกัน ยกเว้นแต่นักโทษในคุกกับสัตว์เลี้ยงทั่วไปเท่านั้นที่ไม่มีอาการเหน็บชาแพทย์ ชาวดัตช์ในชวาได้รับอิทธิพลเหมือนแพทย์ยุโรปที่มีทฤษฎี ว่าโรคเหน็บชา น่าจะเกิดจากเชื้อโรคแบคทีเรียมากกว่า รวมทั้งสภาพอากาศชื้นแถบหมู่เกาะชวา รวมทั้งคิดว่า อาจเกิดจากการบริโภคอาหารทะเลอีกด้วย
       
       ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยวิจัยโรคเหน็บชาโดยมีนายแพทย์หนุ่มชื่อ คริสเตียน ไอคแมน (Christian Eijlman) ผู้ยังคงเชื่อว่า มีเชื้อโรคตัวเล็กๆ เป็นต้นเหตุของโรค และวิธีการรักษาก็คือต้องหาการ เพาะเชื้อและทำวัคซีน ฉีดป้องกัน ดังนั้น คริสเตียนจึงทดลองนำเลือดของคนเป็นโรคเหน็บชาฉีดเข้าทดสอบกับไก่ เพื่อพยายามจะให้ไก่เป็นโรคเหน็บชา แต่หลังจากพยายามเป็นปี ปรากฏว่า ไก่ที่ได้รับเชื้อโรคเหน็บชา มีอาการปกติแถมยังสุขภาพสมบูรณ์อีกด้วย
       
       แม้จะไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง คริสเตียนยังคงทดลองต่อไป แต่ไม่นานต่อมา เช้าวันหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คริสเตียนพบว่าฝูงไก่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยนั้นต่างมีอาการเหมือนคนเมา เดินเป๋ไปเป๋มาเต็มสนามหญ้าปรากฏว่า ไก่ทั้งหลายกลับเป็นโรคเหน็บชา ทั้งที่บางตัวที่มิได้รับการฉีดทดลองเลือดจากคนเป็นโรคเหน็บชา ก็พลอยมีอาการเหน็บชาไปด้วย
       
       ยังความประหลาดใจมาสู่คุณหมอยิ่งนักจึงมีการสืบหาสาเหตุต่อมา ปรากฏว่าเป็นเพราะเด็กเลี้ยงไก่ฝึกงานนำเงินที่ได้รับเป็นค่าอาหารเลี้ยงไก่ไปใช้ส่วนตัวจนหมด ไม่มีเงินซื้ออาหารไก่ได้ จึงปิดบังหมอคริสเตียน โดยนำเอาเศษอาหารที่พวกหมอในสถานวิจัยกินเหลือจากก้นครัวไปเลี้ยงไก่แทน อาหารไก่ปกติ ซึ่งปกติอาหารไก่ จะมีข้าวเปลือกเศษข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวหักที่เหลือเศษถูกคัดทิ้งเป็นเกรดต่ำ
       
       ดังนั้น ไก่ทั้งหลายที่ป่วยเป็นโรคเหน็บชาก็เพราะมิได้รับอาหารข้าวเปลือก แต่กลับไปกินอาหาร ข้าวสวย ข้าวสีข้าวที่เหลือจากจานคุณหมอ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารเลิศ จากเหตุการณ์นี้ ทำให้การค้นพบสาเหตุของโรคเหน็บชาโดยบังเอิญ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเด็กฝึกงานของหมอเป็นผู้ช่วยค้นพบสาเหตุของโรคเหน็บชา
       
       ประชากรชาวชวาในอดีต รับประทานข้าวกล้องข้าวซ้อมมือ เป็นอาหารหลัก ต่อมาเมื่อชาวดัตช์เข้ามายึดครอง จึงนำเมนูอาหารยุโรปเข้ามามีอิทธิพล ส่งผลให้ชาวบ้านเปลี่ยนมาบริโภคข้าวสี ข้าวขาวกันทั่วไป แต่น่าเสียดายต่อไปก็คือ เมื่อทราบสาเหตุของโรคเหน็บชา เพราะข้าว สีขาวขาดสารอาหารและถูกสกัดเอาคุณค่าโภชนาการทิ้ง แทนที่คนเรารู้สาเหตุแล้วจะหันกลับไปรับประทานข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ หลีกเลี่ยงข้าวสวย แต่เปล่าเลยนักวิชาการกลับพยายามค้นหาสิ่งที่ถูกสกัดทิ้งไปนำมาทดแทนใหม่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมบำรุงภายหลังเรียก วิตามินต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
       
       วิตามิน ประดิษฐกรรมของวิทยาการตะวันตกคำว่า วิตามินถูกบัญญัติขึ้นใช้ครั้งแรกโดยนักเคมีชาวโปแลนด์ชื่อ คัสซิมีร์ ฟังค์ (Casimia Funk) ในปีค.ศ. 1911 ซึ่งขณะนั้นฟังค์ได้ทำงานอยู่ในประเทศอังกฤษ และได้อ่านหนังสือพิมพ์ พบข่าวการวิจัยโรคเหน็บชาของทหารชาวเนเธอร์แลนด์ที่ไปอยู่ในหมู่เกาะชวา และผลการค้นพบที่นายแพทย์คริสเตียน ไอคแมน ทดสอบกับไก่ฟังค์จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากเราสามารถสกัดสารจำเป็นที่มีคุณค่าจากข้าวกล้อง ขณะที่ยังเป็นข้าวดิบและนำมาสังเคราะห์ผสมใหม่นำมาอัดแปรรูปเป็นเม็ด สะดวก ง่ายต่อการบริโภคเพื่อบำรุงทดแทนส่วนที่ถูกสกัดไปโดยโรงสีเพื่ออายุการเก็บข้าวให้ได้นานกว่า และสามารถวางบนหิ้งโชว์ตามแผงร้านค้าทั่วไปก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์จำเป็นที่คนเราขาด มิได้
       
       ดังนั้น เขาจึงหาวิธีการสกัดวิตามินจากข้าวจากจมูกข้าว จากเปลือกนอกของข้าว จากการทดสอบปรากฏว่า ฟังค์ต้องใช้ข้าวกล้องที่ไม่ได้สี น้ำหนัก 1 ตันสกัดหัววิตามินบีออกมาได้เพียงเกือบ 1 กิโลกรัมเท่านั้น และเป็นในรูปของผงเคมีด้วย
     
       - เมื่อทดสอบสกัดได้สำเร็จ จึงเริ่มออกวางขายโดยใช้ชื่อเรียกว่า Vita Mine ไวตามายน์ต่อมาตัดอักษร E คำท้ายออกเป็น Vitaminวิตามินมาจากคำว่า Vita พลังชีวิต Aimine คือ คำศัพท์จำกัดความเฉพาะสารทางเคมีที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนและไฮโดรเจน
       
       - ต่อมาฟังค์ได้อพยพไปอยู่สหรัฐฯ และเริ่มธุรกิจวิตามินเป็นคนแรก และร่ำรวยมหาศาลเขาเป็นคนตั้งสูตรธุรกิจวิตามินว่า ตั้งราคาขายสูงที่สุดเปรียบเสมือนโอสถทิพย์ที่หายากล้ำค่า
       แต่ตามความจริงแล้ว สารไทอามิน Thiamine นั้น มีอยู่ทั่วไปในอาหารแทบทุกชนิด ในธัญพืชในข้าวโอ๊ต
       ในพืชผักต่างๆ โดยปกติแล้ว คนเราไม่มีทางที่จะขจัดไทอามินในอาหารได้ หากมิใช่ในกรรมวิธีแบบอุตสาหกรรมและเครื่องจักร
       
       หลังจากฟังค์แล้วต่อใน ปีค.ศ. 1936 นักเคมีชื่อ Robert R. William (โรเบิร์ต อาร์ วิลเลียม) ชาวสหรัฐฯ ได้ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์ วิตามินบี 1 แทนการสกัดวัตถุดิบจากข้าวกล้อง แต่หากใช้กรรมวิธีทางเคมีภัณฑ์เข้ามาเสริมช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณค่าอาหาร หรือวิตามินตัวอื่นรวมเข้าไปด้วยเป็นการยิงนกกระสุนเดียวได้สองตัว และพัฒนาการแนวความคิดเป็นวิตามินแบบครอบจักรวาล พร้อมทั้งบัญญัติศัพท์น่าเชื่อถือว่า Enriched ซึ่งแปลว่า เพิ่มคุณค่าทางโภชนาที่จำเป็นต่อสุขภาพ
       
       ต่อมาในปีค.ศ. 1959 นักฟิสิกส์ชื่อ ดายเตอร์ มิวติงค์ (Dieter Mliting) ชาวเยอรมันได้ค้นพบตัวยาสูตรพิเศษสำหรับแก้การแพ้ยุงโดยใช้สารสังเคราะห์คล้ายวิตามินบี 1 มาปรุงเป็นยาเม็ดรับประทานเพื่อบำรุงเลือด ทำให้เลือดลดความเป็นกรดลง ยุงจึงไม่มากัด และเพิ่มคุณภาพเลือดด้วยธุรกิจวิตามินเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล วิตามินบี 1 1 เม็ดขนาด 2 มิลลิกรัมของสารไทอามิน ไฮโดรคลอไรด์ (Thi-Amine Hydro Chloride) สมมติราคาขายกันเม็ดละ 2 บาท ถ้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีราคาเป็นหมื่นบาท แต่ถ้าเรารับประทานอาหาร ที่มีสารไทอามินตามธรรมชาติ เราจะจ่ายเงินเพียง กิโลกรัมละไม่เกิน 200 บาท แถมยังได้ประโยชน์คุณค่าทางอาหารเต็มที่ ในขณะที่หากรับประทานเป็นเม็ดจากการ แปรรูปนั้น คุณค่าไม่สามารถเทียบเท่าอาหารตามธรรมชาติ และที่สำคัญร่างกายไม่สามารถนำไปสังเคราะห์ได้เต็มที่ที่เหลือร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระหมด
       
      สิ่งที่เราได้รับที่แท้ก็คือ ความเชื่อทางจิตวิทยาว่าตนได้บำรุงร่างกายตนเองด้วยวิตามินตามสมัยนิยม เพราะ สิ่งที่ร่างกายจะใช้ประโยชน์ จะต้องเป็นหน่วยวัตถุดิบที่เรียกกันว่า ก่อนวิตามินหรือ Pre-Vitamin ซึ่งเป็น Trace หรือสารเกือบสำเร็จรูปที่ร่างกายนำไปสังเคราะห์ตามระบบ ของร่างกายให้เป็นไทอามินได้ นั่นคือเราต้องได้ Pre-Thiamine จากอาหารสดและผสมกับน้ำลายน้ำย่อย ในกระเพาะลำไส้พร้อมกัน หากวิตามินสำเร็จรูปเข้าร่างกาย ร่างกายไม่สามารถประกอบต่อได้

วิตามินในแง่ของปรัชญาตะวันออก/สายัณห์ เล็กอุทัย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์