ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 11:54:38 pm »

 :42: สมัยนี้ทวงหนี้แบบหน้ากลัวครับ
ขอให้ลูกหนี้ทุกคนมีเหตุให้หาหนี้ใช้จนครบนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ ทั้งผมเองและทุกๆคน^^ ผ่านพ้นๆๆ

ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 08:30:42 pm »

ดีครับจะได้อยู่เป็นสุข :12:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 08:06:49 pm »


ครม.ผ่านร่างกม.คุมธุรกิจทวงหนี้แบบไร้มารยาท

คมชัดลึก :ครม.ผ่าน กฎหมายคุมธุรกิจทวงหนี้ ชี้บริษัทรับทวงหนี้ต้องจดทะเบียนกิจการ ห้ามพฤติกรรมเกินเลยทั้งข่มขู่ ใช้วาจาเสียดสี ดูหมิ่น เปิดเผยตัวเลขหนี้ โทษหนักสุดจำคุก 3 ปี ปรับ 3 แสน

ผลพวงจากพฤติกรรมการทวงหนี้ที่มีการข่มขู่ทางวาจา สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้ลูกหนี้และบุคคลที่สาม ทำให้คณะรัฐมนตรีผ่านร่างกฎหมายเพื่อควบคุมธุรกิจรับจ้างทวงหนี้แล้ว

 นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อดูแลและแก้ไขปัญหาการติดตามทวงถามหนี้ภาค ประชาชนที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันมีเพียงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ครอบคลุมเฉพาะสถาบันการเงิน และส่วนใหญ่จะใช้บริการจากบริษัทรับจ้างทวงหนี้ภายนอก ถือเป็นบุคคลนอกเหนือกฎหมายของ ธปท. โดยรัฐบาลจะเร่งผลักดันกฎหมายให้ผ่านโดยเร็ว

 นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อรวบรวมผู้ทำหน้าที่ทวงหนี้ทั้งหมดให้อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ โดยจะต้องมีการจดทะเบียนกิจการทวงหนี้ มีข้อกำหนดและข้อห้ามต่างๆ เช่น กำหนดช่วงเวลาในการติดต่อทั้งทางโทรศัพท์ โทรสาร บุคคล ห้ามคุกคามข่มขู่หรือใช้ความรุนแรง ใช้ภาษาที่ดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี และห้ามเปิดเผยตัวเลขหนี้

 นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยังห้ามให้ผู้ติดตามทวงหนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล หรือหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกันนั้น ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้ 3 ระดับ คือ ปรับ 1 แสนบาท, จำคุก 1 ปี หรือปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจำคุก 3 ปี ปรับ 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ขณะเดียวกันมีการตั้งคณะกรรมการติดตามหนี้สิน มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน และปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ

 นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สั่งการให้จัดตั้งสำนักงานจัดการทางการเงิน ภาคประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินภาคประชาชน 4 ด้าน ประกอบด้วย เรื่องหนี้สินนอกระบบ การฉ้อโกง การติดตามทวงถามหนี้อย่าง เป็นธรรมและการเงินระดับฐานรากหรือไมโครไฟแนนซ์ ในขณะนี้อยู่ระหว่างร่างคำสั่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอขอเพิ่มอัตรากำลังไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

    นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีการออกร่าง พ.ร.บ.การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ....ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวน่าจะช่วยแก้ปัญหาการติดตามทวงหนี้ที่ ธปท.ไม่สามารถเข้าไปควบคุมดูแลได้ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจติดตามทวงหนี้ เนื่องจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้อำนาจ ธปท.กำกับดูแลเฉพาะในส่วนของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น

 “ปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ ธปท.กำกับดูแลเฉพาะในส่วนของสถาบันการเงิน ซึ่งในส่วนของบริษัทที่รับติดตามทวงหนี้นั้น อยู่นอกเหนือที่ ธปท.จะเข้าไปดูแลได้ จึงต้องมีกฎหมายกำกับดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้จึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาการติดตามทวงหนี้ที่ ธปท.ไม่สามารถเข้าไปควบคุมดูแลได้”นายชาญชัย กล่าว

 นอกจากนี้ ปัญหาการทวงหนี้ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากในฝั่งของธนาคารพาณิชย์ แต่มาจากกลุ่มผู้รับจ้างทวงหนี้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้เปอร์เซ็นต์ส่วนหนึ่งจากการทวงหนี้ ดังนั้นจึงมีพฤติกรรมที่เกินเลย เช่น การข่มขู่ทางวาจา ส่งเอกสารทวงหนี้ไปที่ทำงานเพื่อให้เกิดความอับอาย ใช้คำพูดไม่สุภาพ หยาบคาย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมต่อลูกหนี้หรือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความรำคาญให้แก่ลูกหนี้และบุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ส่งผลกระทบต่อสังคมและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยรวมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันพบว่ากลุ่มบริษัทที่รับจ้างทวงหนี้เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก แม้กระทั่งบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายก็เข้ามาดำเนินธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน

http://www.komchadluek.net/detail/20100915/73255/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A1.%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97.html
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 15, 2010, 08:05:51 pm »

ครม.ไฟเขียว ห้ามโทรทวงหนี้หลัง 2 ทุ่ม ห้ามข่มขู่ลูกหนี้


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

http://hilight.kapook.com/view/52043


        ครม. มีมติผ่านร่างกฎหมายควบคุมธุรกิจทวงหนี้ ย้ำบริษัททวงหนี้ต้องจดทะเบียน ห้ามข่มขู่ โทษหนักคุก 3 ปี ปรับ 3 แสน

        กรณีการ ติดตามทวงหนี้ที่เจ้าหนี้มักข่มขู่ลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวาจา การใช้กำลัง ทำให้ลูกหนี้เกิดความเสียหายและไม่สะดวกใจ จึงทำให้กระทรวงการคลังได้มีการร่างพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการควบ คุมธุรกิจทวงหนี้ให้เหมาะสม

        ทั้งนี้นายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ตามที่ทางกระทรวงการคลังได้เสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการทวงหนี้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่มักใช้บริการจาก บริษัทรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่อยู่นอกเหนือประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากประกาศดังกล่าวครอบคลุมแค่สถาบันการเงิน

        ด้าน นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงว่า การ ร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้น ก็เพื่อควบคุมให้บริษัททวงหนี้ทั้งหมด อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่และมีการจดทะเบียนถูกต้อง โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อห้ามต่าง ๆ ดังนี้

        1. ต้องขึ้นทะเบียนกิจการทวงหนี้

        2. ให้ติดต่อลูกหนี้ได้ในเวลา 08.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการให้ติดต่อได้ไม่เกิน 18.00 น.

        3. ห้ามติดต่อลูกหนี้ทางไปรษณียบัตร

        4. ห้ามใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์ ที่บ่งบอกให้เห็นว่าเป็นการทวงหนี้บนซองจดหมายหรือหนังสือที่ให้กับลูกหนี้

        5. ห้ามทวงหนี้เกินกว่าเหตุ และก่อความรำคาญ หรือโทรวันละหลายครั้ง

        6. ห้ามใช้วาจาดูหมิ่น เสียดสี ถากถาง กับผู้ที่เป็นลูกหนี้

        7. ห้ามเปิดเผยข้อมูลลูกหนี้ให้กับบุคคลอื่น

        8. ห้ามเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทวงหนี้

หากทำผิดกฎข้อบังคับมีโทษดังนี้

        1. ปรับไม่เกิน 300,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

        2. เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการทวงหนี้

        ขณะเดียวกันมีการตั้งคณะกรรมการติดตามหนี้สิน โดยมีประธานคือ ปลัดกระทรวงการคลัง และมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ , ปลัดกระทรวงยุติธรรม , เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค , เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รวมถึง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นคณะกรรมการ

        โดย นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว น่าจะช่วยแก้ปัญหาการติดตามทวงหนี้ ที่อยู่เหนือความควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ เพราะกฎหมายที่มีอยู่ ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถควบคุมดูแลได้เพียงแค่สถาบันการเงินเท่านั้น จึงต้องมีกฎหมายใหม่มาคุ้มครอง

        ทั้งนี้ การทวงหนี้ที่มากเกินกว่าเหตุ ผู้ทวงหนี้ยังผิดกฎหมายอาญา เช่น มาตรา 323 มาตรา 326 มาตรา 327 มาตรา 328 มาตรา 337 เป็นต้น และอาจถูกดำเนินคดีจำคุก 5 ปีอีกด้วย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก คมชัดลึก


.



.