ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 08:00:59 pm »



ข้าพระองค์จักยังเข้าถึงให้ได้ถือเอาพระสูตรดังกล่าวนี้ไว้ในหัตถ์..


กราบขอบพระคุณ คุณมดเอ๊กซ์..
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 08:00:35 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:54:56 am »

ปริเฉทที่ ๑๔
ธรรมทายาทวรรค

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ว่า

“ดูก่อนเมตไตรยะ ตถาคตมอบหมายพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมซึ่งสร้างสมมาตลอดอสงไขยกัลป์
อันบ่อาจประมาณได้ให้ไว้แก่เธอ ณ กาลบัดนี้ อันพระสูตรมีนัยเภทดังกล่าวมาแล้วนี้ ในสมัยเมื่อตถาคตดับขันธปริ
นิพพานแล้ว เธอทั้งหลาย (ตรัสรวมผู้เข้าประชุมด้วย) พึงสำแดงอานุภาพ ประกาศแพร่หลายซึ่งธรรมนั้น ทั่วชมพู
ทวีปสืบไป อย่าให้ขาดถึงวิบัติเป็นอันขาด ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าถ้าในกาลอนาคตภายภาคหน้า จักมี
กุลบุตรกุลธิดา กับทั้งทวยเทพ นาคา อสูร ยักษ์ คนธรรพ์ รากษส เป็นอาทิ ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ
ญาณ มีความยินดีในธรรมอันกว้างใหญ่นี้ สัตว์เหล่านั้น ถ้ามิได้สดับพระสูตรเห็นปานนี้ ก็เสื่อมจากประโยชน์อันพึงได้
โดยแท้ ก็แลหารสัตว์เหล่านั้น ได้สดับพระสูตรดังกล่าวนี้แล้ว จักมีศรัทธาปสาทะมาก จักบังเกิดจิตที่หาได้ยาก น้อม
เทิดทูนพระสูตรดังกล่าวด้วยเศียรเกล้าของเขา เพราะเหตุนั้นเธอทั้งหลายพึงประกาศให้แพร่หลาย ให้สมควรแก่
ประโยชน์อันสรรพสัตว์จักพึงได้เกิด.”

“ดูก่อนเมตไตรยะ เธอพึงรู้ไว้ด้วยว่า อันพระโพธิสัตว์นั้น มี ๒ ลักษณะ ก็ ๒ ลักษณะนั้นเป็นไฉน ?

๑. คือ พระโพธิสัตว์ที่ยินดีเพลิดเพลิน ในเรื่องสำนวนอักขรโวหารบัญญัติ.
๒. คือ พระโพธิสัตว์ที่มิได้ครั่นคร้ามหวาดกลัวต่ออรรถธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพ สามารถจักเข้าถึง
ซึมซาบได้.


ก็พระโพธิสัตว์ใด ที่ยินดีเพลิดเพลินในเรื่องสำนวนอักขรโวหารบัญญัติ พึงรู้ได้ว่า เป็นพระโพธิสัตว์
นวกะ พระโพธิสัตว์ใดปราศจากความเพลิดเพลินยินดี ปราศจากความยึดถือ ปราศจากความครั่นคร้ามในพระสูตร
อันล้ำลึก สามารถเข้าถึงแก่นสารในพระสูตรนั้น ครั้นได้สดับซึ่งพระธรรมนั้นแล้ว ก็มีจิตสะอาดผ่องแผ้ว ธำรงรักษา
ไว้ได้ แลสาธยายเล่าบ่นกับทั้งอาจปฏิบัติตามธรรมดั่งกล่าว พึงรู้ได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์รัตตัญญู อบรมปฏิบัติโพธิสติ
ยามานานกาล อนึ่งเมตไตรยะ ! ยังมีธรรมอยู่ ๒ ประการ ซึ่งนวกโพธิสัตว์มิสามารถตัดสินเด็ดขาดในอรรถธรรมอัน
สุขุมคัมภีรภาพได้ ก็ ๒ ประการนั้นเป็นไฉน !


๑. พระสูตรอันมีนัยล้ำลึกใด ซึ่งนวกโพธิสัตว์ได้สดับแล้วบังเกิดความครั่นคร้ามกังขา ไม่สามารถ
อนุโลมตาม แลกล่าวจ้วงจาบโดยไร้ศรัทธาว่า ธรรมเหล่านี้เราบ่เคยได้ฟังมาก่อนเลย ได้มาจากผู้ใดกัน ? ประการ
หนึ่ง.


๒. บุคคลที่เขาอภิบาลซึ่งพระสูตรอันมีนัยล้ำลึก แลเขาแสดงประกาศซึ่งพระสูตรนั้น นวกโพธิสัตว์ก็
ไม่ยอมเข้าใกล้ สักการบูชาบุคคลผู้นั้น อนึ่ง ยังกล่าวโทษตำหนิติเตียนบุคคลผู้นั้นอีกด้วยอีกประการหนึ่ง.
ก็ทั้ง ๒ ประการนี้ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า เป็นการกระทำซึ่งทำลายตนเองของนวกโพธิสัตว์ ผู้ไม่
สามารถควบคุมจิตของเขาในท่ามกลางธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพได้ อนึ่ง เมตไตรยะ ! ยังมีโทษอยู่อีก ๒ ประการ ซึ่ง
พระโพธิสัตว์ผู้ตัตตัญญูผู้มีศรัทธาเข้าใจในธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพ แต่เป็นการทำลายตนเอง มิสามารถบรรลุอนุต
ปาทธรรมกษานติได้ ๒ ประการนั้นเป็นไฉน ? คือ


๑. รัตตัญญูโพธิสัตว์ใด ดูหมิ่นนวกโพธิสัตว์ ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนตักเตือนนวกโพธิสัตว์นั้น.
๒. แม้ว่าจะมีความเชื่อความเข้าใจในธรรมอรรถอันลึกซึ้ง แต่ยึดถือในวิกัลปลักษณะ นี้แลธรรม

๒ ประการ


พระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ ครั้นได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วจึงกราบทูลว่า


ข้าแต่พระผู้มีพระภาค อัศจรรย์ยิ่งนักแล้ว พระพุทธเจ้าข้า เป็นไปตามพระพุทธบรรหารโดยแท้ ข้า
พระองค์จักเว้นจากโทษดังที่กล่าวมาแล้วจักเป็นผู้ธำรงรักษาพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรม ซึ่งพระสุคตเจ้าสร้างสม
ไว้นับอสงไขยกัลป์ประมาณมิได้ ในอนาคตกาลภายหน้าหากมีกุลบุตรกุลธิดาใด ผุ้ปรารถนาศึกษามหายานธรรม ข้า
พระองค์จักยังเข้าให้ได้ถือเอาพระสูตรดังกล่าวนี้ไว้ในหัตถ์* แลด้วยกำลังแห่งอานุภาพจักยังเขาให้สามารถธำรงไว้
สวดสาธยาย กับทั้งแสดงประกาศแก่ผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลอนาคตผู้ใดซึ่งสามารถธำรงไว้ซึ่งพระสูตร
เป็นต้นดังกล่าวนี้ สามารถสวดสาธยายและประกาศแก่ผู้อื่น เขาพึงสำเหนียกว่า นี้เป็นอานุภาพบันดาลให้เป็นไปของ
ข้าพระองค์ ผู้มีนามว่าเมตไตรยะพระพุทธเจ้าข้า.”


พระบรมศาสดา ตรัสว่า


“สาธุ ! สาธุ ! เมตไตรยะ ! เป็นดั่งที่เธอกล่าว ตถาคตอนุโมทนาสาธุการแก่เธอด้วย.”
ลำดับนั้นแล บรรดาโพธิสัตว์ทั้งปวง ต่างก็อัญชลีกรกราบทูลขึ้นว่า

“แม้พวกข้าพระองค์ก็เหมือนกัน พระเจ้าข้า เมื่อพระสุคตเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จักประกาศ
พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมให้แผ่ไพศาลทั่วสรรพโลกธาตุในทศทิศ อนึ่ง จักเป็นผู้นำแก่ผู้ประกาศธรรมให้พระสูตร
นี้ด้วย.”

สมัยนั้น ท้าวจาตุมมหาราช ก็กราบทูลขึ้นว่า


“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในสถานที่ใด จักเป็นคามนิคมชนบทราชธานี บรรพต วนาสณฑ์ ป่าชัฏใด ๆ
หากจะมีซึ่งพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ก็ดี มีผู้สาธยายประกาศซึ่งพระสูตรนี้ก็ดี ข้าพระองค์จักนำบริวารมาสดับพระ
ธรรมเทศนา ณ สถานที่นั้น ๆ พิทักษ์คุ้มครองบุคคลนั้น ภายในบริเวณภูมิดลโดยรอบร้อยโยชน์ จักป้องกันมิให้ภัย
พาลมาก่อกวนได้ พระพุทธเจ้าข้า.”

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า


“ดูก่อนอานนท์ เธอจงธำรงไว้ซึ่งพระสูตรนี้ แลประกาศแสดงให้แผ่ไพศาลเถิด.”

พระอานนท์กราบทูลว่า “อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ธำรงพระสูตรสำคัญไว้แล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ก็พระสูตรนี้จักมีนามว่าอย่างไร ?”

ตรัสว่า “อานนท์ ! พระสูตรนี้มีนามว่า วิมลเกียรตินิทเทสสูตร หรือ อจินไตยวิมุตติธรรมทวารสูตร
เธอพึงทราบเอาไว้อย่างนี้แล

เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงพระธรรมบรรยายนี้อวสานลง ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี พระมัญชุศรี
โพธิสัตว์ พระสารีบุตรเถรเจ้า พระอานนทเถรเจ้าเป็นอาทิ กับทั้งบรรดาทวยเทพ อสูรประชุมชนทั้งนั้น บรรดาที่ได้
สดับพระพุทธภาษิต ต่างก็มีโสมนัสปรีดาร่าเริงในธรรม มีศรัทธาปสาทะ น้อมรับปฏิบัติตามด้วยประการฉะนี้แล.

ปริเฉทที่ ๑๔ ธรรมทายาทวรรค จบ.

วิมลเกียรตินิทเทสสูตร อวสาน.


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=22-07-2009&group=18&gblog=21