ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Sripat
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 04:43:37 pm »

ขออนุญาต แบ่งปัน บน Facebook นะคะ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 01:44:17 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 09:10:06 am »

Dialouge series : ไดอาล็อค ....ดอกอะไร
 
 
หลังจากประชุมกับพี่ๆที่ออฟฟิคของเสี่ยวอีโอตู๋ แล้วเราก็มาตั้งวงทาน
กลางวันที่ร้านส้มตำไฮโซ (ไผ่เรียกว่าร้านส้มตำไฮโซเพราะว่ามันอยู่ที่ตลาด
บ่องมาเช่ ติดแอร์เย็นสบาย และส้มตำแซบหลาย)  ระหว่างขับรถกลับบ้านไผ่
ก็คิดว่าวันนี้จะกลับมาเขียน blog ดีกว่า แต่ว่าจะเขียนเรื่อง
อะไรดีนะ เพราะวันนี้พี่ๆทั้งหลายจุดประกายความคิดของไผ่เหลือเกิน 
ไม่น่าเชื่อว่าการที่พวกเราทำ “ดอกอะไร ... ไดอาล็อค” กันทุกวันเสาร์
ช่วยพัฒนาความรู้ด้าน Hr ของไผ่เป็นอย่างมาก  ซึ่งที่จริงการที่เรามาประชุม ระดมความคิดกันทุกๆวันเสาร์ ไผ่ก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่าจะ
เรียกว่าไดอาล็อคได้มั้ย แต่สำหรับไผ่ คิดว่าเป็นเพราะในวงที่พูดคุยกัน
ไม่มีใครแย้งความคิดใคร  ฟังความคิดเห็นของกันและกัน  สนับสนุนความคิดเห็น  และช่วยกันสรรสร้างความคิดดีๆ
เพื่อให้งานของสมาคมออกมาดี และ ที่สำคัญทุกคนมาด้วยจิตอาสาจริงๆ  ไม่มีเรื่องเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ สโลแกนของเราเน้นว่า “เงินเราไม่เน้น เราเน้นเรื่องของกินของอร่อย”
           
           

 ดังนั้นแทบทุกอาทิตย์ พี่ CEO ตู๋ จะพาPower girl สาวสวยทั้ง 4 มาหม่ำของอร่อยๆ กันเกือบทุกอาทิตย์  โดยเฉพาะส้มตำ  นี่เมนูหลัก   พอมาถึงตรงนี้ ไผ่ก็เริ่มมีความสงสัยแล้วว่า คำว่า ไดอาล็อค มันคืออะไรกันแน่ ทุกท่านสงสัยเหมือนไผ่หรือไม่ ???  ไอ้คำว่า ไดอาล็อค ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ที่จริงแล้วเรา
เข้าใจกันถูกต้องหรือเปล่า ไอ้ครั้นจะเขียนอธิบายเอง ความรู้ของไผ่ในเรื่องนี้
ก็มีแค่หางอึ่ง ไผ่เลยต้องไปพึ่งพาหนังสือที่ชั้นหนังสือ  ซึ่งจะเป็นเรื่องไหนไป
ไม่ได้  ก็ต้องเป็นเรื่อง “ Dialogue : ความคิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา” 
ของ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ นั่นเอง  ก็เจ้าต้นตำรับหนิค่ะ ...
เอาล่ะค่ะมาเข้าสู่องค์ความรู้กันดีกว่า
          อ.วรภัทร์ ท่านเขียนว่า ถ้าแปลตาม Wikipedia จะหมายถึง 
การพูดคุยกันระหว่างคนสองคน  หรือเป็นกลุ่ม เป็นการเข้าใจถูก
แต่ยังถูกไม่หมด  เพราะ Dialogue เป็นอะไรที่ มากกว่า แค่คำว่า
คุยกัน” แต่รวมไปถึง
           การฟังเชิงลึก  ฟังแบบองค์รวม  ฟังแบบไม่มีอคติ  ไม่มีลำเอียงเป็นการฟังแบบ proactive คือไม่รีบร้อนสวนกลับ ไม่รีบร้อนตัดสินใจ ไม่รีบร้อนพิพากษา (เขายังเล่าไม่จบ...ก็ประณามเขาแล้ว)
          การค้นพบตัวเอง  การเข้าใจตนเอง การสะท้อนให้เห็นตัวตนของเรา
          การเข้าใจซึ่งกันและกัน  เห็นสันดาน เห็นพฤติกรรมเห็นความกลัวของผู้คน 
          การชำระปมต่างๆ ที่โดนปนเปื้อน
          เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่วงจรการเรียนรู้  เมื่อเราคุย เราฟังเป็นแล้ว เราก็จะเปิดใจเปิดพลังความตั้งใจ  กล้าที่จะทดลอง  กล้าที่จะค้นพบ  กล้าที่จะสำรวจ  กล้าที่จะทำดีต่อไป
          การได้เสริมกำลังใจให้กัน  การได้ความรู้สึกร่วม... รู้สึกดีๆ รู้สึกว่าเรามีคนที่เข้าใจเรา  ได้คำพูดที่ช่วย หล่อเลี้ยง พลังในการทำงานต่อไป
          การได้จุดประกายความคิดให้กันและกัน  ต่อยอดความคิด  แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ... “อืม คิดออกแล้ว”  “ ใช่เลย มันต้องอย่างนี้”         คำพูดต่างๆ ที่ได้ยินได้ฟังจากวง Dialogue จะฟังอยู่ในตัว จะตกผลึก บ่มเพาะ และในยามที่จำเป็น จะพบว่า คำพูด คำเตือน คำหล่อเลี้ยงใจของเพื่อนๆ ในวง Dialogue จะผูดขึ้นมา แนะนำ  กระตุ้น มาทำให้เราสามารถ เฉลียวใจ  เอะใจ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
          ท่าน อ.วรภัทร์ ได้กล่าวในหนังสือว่า Dialogue  เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน  จะทำมั่วๆ แบบเชิญวิทยากรมาทำ workshop สองหรือ สามวัน  คงไม่ได้ผลอะไร  บ่อยครั้งกลับเป็นผลร้าย  เพราะผู้บริหารหลายท่าน
ปิดหู ปิดตา และ ปิดใจ มีเกราะป้องกันตัว  Dialogue เป็นเครื่องมือทรงพลัง ที่ต้องฝึกซ้อม ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แค่อ่าน  แค่ฟัง หรือเข้า workshop ครั้ง สองครั้งไม่ได้  หากแต่ต้องหาโอกาสตั้งวงเล่าเร้าพลัง

Dialogue : Modern Management Tool  for  Sustainable  Development

          เป็นยังไงกันบ้างค่ะ สำหรับความหมายของคำว่า ไดอาล็อค หรือ
ดอกอะไร ของดร. วรภัทร์  ภู่เจริญ  คงจะทำให้ทุกท่านเข้าใจบ้าง
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น ไผ่มองยังไงวงสนทนาของไผ่ก็เป็น
วงดอกอะไรแน่ๆ ค่ะ อยู่ว่าในแต่ละเสาร์ ท่านพี่ตู๋ จะนำดอกอะไรมาให้
เราพูดคุยกัน .... ไหนๆก็พูดถึงเรื่อง ไดอาล็อคแล้ว ก็ทำให้นึกถึงการทำ
ไดอาล็อค ของที่ทำงาน ที่กฟน.มีการนำเครื่องมือนี้มาทำเพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ซึ่งทำให้นึกถึงคำพูดของ อ.วรภัทร์  เลยว่า  “Dialogue เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน  จะทำมั่วๆ แบบเชิญวิทยากรมาทำ workshop สองหรือ สามวัน  คงไม่ได้ผลอะไร” หลังจากไผ่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้มา 2 ปี ทำให้ไผ่ทราบว่า Key success ที่สำคัญ คือ ต้องสื่อสารให้คนในวงสนทนา เข้าใจว่า ไดอาล็อค คืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และ  คนที่มีหน้าที่เป็น Facilitator จะต้องมีทักษะด้าน Dialogue  ไม่อย่างนั้น เมื่อเราจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา เราจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากกิจกรรมนี้เลย 

          การทำ Dialogue โดยผู้เข้าร่วมวงไม่เข้าใจว่า Dialogue คืออะไร มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร ทำไปทำไม เขาบอกให้เข้ามาพูดก็มาพูด มีไมค์
อยู่ตรงกลางเวียนให้ครบพูดให้จบ ก็ถือว่ากิจกรรมสำเร็จแล้วเท่านั้นหรือ  อ้าว !!! ถ้าเป็นแบบนี้ แล้วเราได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ล่ะ ไผ่เคยคิด หลังจากไปนั่งในวง Dialogue ของที่ทำงาน แล้วฟังแต่ละท่านพูดถึงหัวข้อที่ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น บางคนก็พูดตรง บางคนก็ไม่ตรง แต่พอมาทบทวนหัวข้อที่รวมกันเป็น Dialogue ตามความหมายของ อ.วรภัทร์แล้ว   ถ้าเราจะไม่ได้ไอเดียในเรื่องนั้น แต่เราก็จะได้เห็นความคิดส่วนลึกในใจ
ของเขา ถ้าเจ้านายของเขาได้ฟังแล้วคิดตามว่าแต่ละคนคิดอย่างไร ก็จะสามารถนำไปพัฒนาในเรื่องการทำงานได้เลยล่ะค่ะ อิอิ คราวนี้ไผ่ก็เข้าใจแล้วว่า บางทีการทำ Dialogue ก็ต้องปล่อยให้ไหลไปบ้าง 



          พอพูดถึงเรื่อง Dialogue ก็ทำให้นึกถึง เรื่อง ทฤษฎีตัวยู ของ อ. C. Otto Scharmer ซึ่ง อ.วรภัทร์ ได้กรุณาอธิบายโดยสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับ Dialogue ดังนี้  การผ่อนอารมณ์  ความรู้สึก  ของเราลงมาสู่คลื่นสมองชิล ๆ สบาย ๆ การผ่อนแบบนี้ คือ ขาลงของตัวอักษร U นั่นเอง (ขาซ้ายของตัว U)  การจะผ่อนลงได้ ต้อง Open mind เปิดสมอง กล้ารับแนวคิดใหม่ ๆ   โดยพวกที่ลงตามขาซ้ายของตัว U ได้ คือ ผู้ที่ดีดความคิดพิพากษา  ความคิดอคติ  แบ่งชั้นวรรณะ ออกไป คือ พวกที่ห้อยแขวน เสียงภายในของตน ซึ่งมี 3 ตัว ใน 3 ระยะ ได้แก่
          (1)  เสียงภายในที่ชอบตำหนิ  ต่อว่า  ตัดสิน  กะเกณฑ์ ให้เกรด ให้คะแนน  เช่น “คนนี้เรียนไม่เก่ง”  “คนนี้ไม่น่าเชื่อถือ”  “แกโง่”  “แกเคยทำผิดมาก่อน” ฯลฯ  เมื่อดีดความคิด หรือ เสียงภายในที่เป็นตัวตัดสินออกไปแล้ว เราจะเปิดความคิด ได้เจออะไรใหม่ ๆ  ค้นพบ ความโชคดีก็เริ่มจะตามมา  หรือจะเรียกว่า เมื่อสติมาปัญญาเกิด
          (2)  เสียงภายในตัวต่อมาที่จะต้องเจอต่อจากตัวแรก  คือ  เสียงแห่งความรังเกียจ  เป็นความคิดที่รังเกียจคนอื่น  รักแบบมีเงื่อนไข  เราจะกลัว  ระแวง  ยังคงคิดแบบ “ตั้งแง่”  “ข้อแม้” เสียงนี้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการทำจิตใจให้สงบ  เป็นตัวการที่ทำให้เราปิดใจ  ไม่เปิดใจ  เป็นผู้บริหารใจแคบ  ใจดำ  เห็นแก่ตัว  ถ้าเราดีดเสียงแห่งความรังเกียจนี้ออกไปได้  เราก็จะลงลึกไปตามขาซ้ายของตัว U ได้มากขึ้น
         (3)  เสียงภายในแห่งความกลัว  เป็นตัวขัดขวางที่จะไม่ให้เรา
จิตสงบ  เกิดปัญญา  เรากลัวลึกๆ  รู้สึกไม่ปลอดภัย  ไม่กล้าเสี่ยง 
ไม่บริหารความเสี่ยง  ที่ออกจากความเคยชิน  ออกจากความเชื่อเดิมๆ ดังนั้น  เราต้องเปิดพลังใจของเราออกมา  กล้าคิด  ก็กล้าทำ
         เพื่อให้ลงไปถึงก้นของตัว U  เราคงต้องปล่อยวาง ห้อยแขวนความคิดต่างๆ ผ่านด่าน อุปสรรคจากเสียงภายในทั้ง 3 นี้ให้ได้ก่อน  จนกระทั่งเราจะมาอยู่ที่ก้นตัว U จิตใจของเราสงบ  โล่ง โปร่งสบาย
มีสติ  ตื่นรู้อยู่เสมอ 



          เป็นยังไงบ้างค่ะเรื่องของดอกอะไร  อ่านแล้วเริ่มจะสนุกใช่มั้ยค่ะ
คราวต่อไป เราลองมาดูกันว่า ขั้นตอนการทำ ไดอาล็อคนั้นเป็นอย่างไร
เผื่อผู้ที่เข้ามาอ่านสนใจ จะได้ลองไปปฏิบัติกัน  เพราะว่า เจ้าดอกอะไร
มาอ่าน โดยไม่ฝึกฝน มันก็จะไม่เกิดเจ้าค่ะ ต้องลงมือปฏิบัติ....

ที่มา : Dialogue : ความคิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา  ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ


http://www.oknation.net/blog/nongpai/2009/10/07/entry-1
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 09:05:54 am »

ผมเคยเขียนเรื่องนี้ ในคอลัมภ์แนะนำหนังสือ วารสารฉบับหนึ่งครับ เอามาเพิ่มเติมบันทึกนี้ครับผม
---------------------------------------------------------
Dialogue หรือ ดอกอะไร?


ไม่กี่วันก่อนมีอันต้องเข้าร่วมอบรม Spiritual tools & Skills เรียกชื่อไทยขลังๆว่า “เครื่องมือทางจิตวิญญาณ” เพื่อเสริมศักยภาพคุณฟา (Facilitator) หรือ “ผู้นำกระบวนการ” นั่นเอง การอบรมครั้งนี้เองทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องบางเรื่องที่ไม่เคยรู้ โดยเฉพาะการใช้พลังจิต การใช้พลังความดีงามจากข้างในตัวเองเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ให้กับกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสรุปผมได้เรียนรู้เครื่องมือทางจิตวิญญาณหลายชิ้นด้วยกัน วัตถุประสงค์หลักก็ได้เรียนรู้ “ใจ” ตนเอง พัฒนาด้านในจิตใจของมนุษย์ (Soft side management)มากกว่าก่อนที่จะไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ สองวันเต็มๆที่ได้เรียนรู้ทักษะและเครื่องมือทางจิตวิญญาณทำให้ผม ทบทวนตัวเองถึง การเป็นผู้นำกระบวนการในอดีต มีหลายเรื่องที่เราเพิกเฉยไป มีหลายเรื่องที่เรายังเข้าไปไม่ถึงใจของผู้เข้าร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เราพลาดในการดึงความรู้ฝังลึกของผู้ร่วมกระบวนการอย่างน่าเสียดาย และผมได้เรียนรู้ว่า กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงนั้นปัจจุบัน เราเรียกเวที Dialogue หรือ ดอกอะไร? (คำเรียกของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ)


          ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคุ้นบ้างไหมครับ กับคำว่า Dialogue” น่าจะเคยได้ยินบ่อยๆตามหนังสือ ตามเอกสารในช่วงหลังๆ และสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปรากฏการณ์เหลืองแดง ก็มีนักวิชาการหลายท่านออกมาฟันธงว่า ต้อง “สานเสวนา” คำว่าสานเสวนา ก็คือ Dialogue นั่นเอง และการสานเสวนาเป็นไปเพื่อความสมานฉันท์ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่การสานเสวนาจะทำให้ปรากฏการณ์ความขัดแย้งรุนแรงเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ คลี่คลายลงหรือไม่นั้น? ไม่รับรองครับ เพราะว่าปัจจัยเงื่อนไขความแตกแยกทางด้านความคิดซับซ้อนด้วยผลประโยชน์ที่ยากเกินกว่าจะเปิดใจ


          เกริ่นมาพอสมควรแล้วสำหรับ Dialogue พอจะเข้าใจศัพท์นี้กันบ้างแล้ว ผมชอบใจที่ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผวนคำว่า Dialogue” เป็นคำว่า “ดอกอะไร”   หลายคนงง “เอ๊ะ มาใช้คำว่า ดอกอะไร มันคืออะไร กิจกรรมอะไร?” ดร.วรภัทร์เฉลยว่า Dialogue ก็คือ ดอกอะไร มันให้ความหมายไปถึงพูดจาประสาดอกไม้


Dialogue เป็นมากกว่าการนั่งคุยกันแต่รวมไปถึง การฟังเชิงลึก  (Deep Listening ) ฟังแบบองค์รวม ฟังแบบไม่มีอคติ ไม่รีบร้อนสวนกลับ (ที่เรามักเป็นกันบ่อย)  นอกจากนี้ Dialogueครอบคลุมถึงการค้นพบตัวเอง การเข้าใจซึ่งกันละกัน เห็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในกฏเดียวกัน คือไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) การชำระปมต่างๆ (Mental model) เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle) เมื่อเราคุย เราฟังเป็นแล้วเราก็จะเปิดใจ การได้เสริมกำลังใจซึ่งกันและกัน การได้ความรู้สึกร่วม การได้จุดประกาย(Spark) ความคิดซึ่งกันและกัน ต่อยอดความคิด การได้ทุนทางนามธรรม (Intangible capital)  ที่สูงและหายาก และการทำDialogueขั้นสูง หมายถึงการนำความคิดลงสู่ใจ ไหลลื่นออกมาเป็นปัญญา ดร.วรภัทร์เขียนถึง Dialogueอย่างน่าสนใจว่า “มองได้ว่าDialogue ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่แค่เครื่องมือ ที่เป็นแค่แฟชั่น ทำตามสมัยนิยม ทำให้ดูดีมีชาติตระกูลเท่านั้น แต่Dialogueสูงส่ง ล้ำค่าถึงขั้นเป็น การปฏิบัติธรรมขณะสนทนา ไปด้วย”
ผมคิดว่าเครื่องมือนี้เหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใช้ในวิถีชีวิตประจำวันที่ต้องเจอะเจอผู้ป่วย ที่ป่วยทั้งกาย ป่วยทั้งใจ สามารถประยุกต์ใช้ Dialogueในการสนทนา หากทำให้ดีเป็นการเยียวยาผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา เป็น “จิตบำบัด” ใช้แบบผู้ป่วยแบบเนียนๆ หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนพฤติกรรมก็ได้ ใช้สร้าง “ภูมิต้านทาน” ต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตก็ได้ และยังได้ผลึกความรู้ระหว่างสนทนามาพัฒนาศักยภาพและมุมมองตนเองอีกทางหนึ่งด้วย

การสนทนาในชีวิตประจำวันที่เราต้องเจอะเจอเสมอๆ ในสังคมที่ต้องพบปะผู้คน เปลี่ยนมาเป็น การ Dialogue ฝึกตนเองฟังให้มากขึ้น ทบทวนตนเองให้มากขึ้น เราจะได้กำไรมากกว่าการโต้ตอบทันทีโดยที่ยังไม่ทันได้ฟัง อย่างน้อยความขัดแย้งที่เกิดจากการปะทะอารมณ์จากที่เราอดทนฟังกันน้อยลง ก็จะลดน้อยลงไปด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือคำพูดของเพื่อนในวง Dialogue อุปมาเหมือนเป็นลูกธนู ปักใจ เมื่อเวลาผ่านไปจะ “ตกผลึก” เป็นปัญญา


หนังสือที่ผมหยิบมานำเสนอในครั้งนี้ก็เป็นการเล่าเรื่อง Dialogue อย่างง่ายๆผ่านประสบการณ์การใช้เครื่องมือทรงพลังที่ ดร.วรภัทร์ (ผู้เขียน) บอกว่าเป็น “เครื่องมือบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผมค่อยๆอ่านตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลานานพอสมควร เพราะอ่านแล้วทบทวนไปเรื่อยๆ เกิดอาการปิ้งแว้บ คิดย้อนไปถึงความล้มเหลวของตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ในอดีต ทำไมมันฝืด ทำไมความรู้ไม่ไหลลื่น (Flow) เอาเสียเลย เพียงเพราะว่า เราตั้งหน้าตั้งตาค้นหาผลลัพธ์มากเกินไป ลืมความรู้สึกของคนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา เกิดอาการที่ว่า “งานได้ผล แต่คนเสียหาย” ไปก็เยอะ ลองหามาอ่านดูนะครับ นอกจากจะได้เรียนรู้กระบวนการผ่านประสบการณ์การทำ Dialogue ที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานแล้ว ศัพท์แสงที่ใช้ก็ถึงอกถึงใจผู้อ่าน สไตล์คนไร้กรอบ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ
 
เครื่องมือบริหารสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา
ผู้เขียน : ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552 ,บริษัทอริยชน จำกัด
 
http://gotoknow.org/blog/takasila2/314453
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 09:04:43 am »

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้หนังสือเรื่อง "Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา" จากนิสิตศูนย์บุรีรัมย์ เป็นหนังสือที่เขียนโดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เท่าที่อ่านคร่าว ๆ พบว่า เป็นหนังสือที่ดีมาก ทั้งนี้ผมเองก็สอนผู้เรียนให้ฝึก Dialogue อยู่เมื่อได้หนังสือท่าน ดร.วรภัทร์ รู้สึกดีใจมาก เพราะท่านเป็นคนสอน Dialogue ให้ผมในช่วงเริ่มต้น อ่านแล้วโดนใจหลาย ๆ ประการ เช่น
 
  • Dialogue ก็เหมือนภาวนา ต้องหมั่นฝึกฝน กลับไปถามครูบาอาจารย์เป็นระยะ ๆ เพื่อดูความก้าวหน้า
  • ในเล่มนี้อาจารย์เขาได้สรุปความสัมพันธ์ทางสังคม (Social field) ของผู้คนตามทฤษฎีตัวยู (Theory U) ไว้เป็นตารางไว้น่าสนใจยิ่ง ทำให้เราเข้าใจ Theory U ชัดยิ่งขึ้น