ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 12:08:45 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 05:09:54 pm »

เพลงของเหอซุ่นเถียนได้แฝงปรัชญาทางพุทธที่ค่อนข้างลึกซึ้ง เนื่องจากผลงานเป็นเป็นลักษณะเพลงบรรเลงล้วนๆ ไม่มีเนื้อร้องให้เราได้อ่าน สิ่งที่สื่อความหมายได้ดีที่สุดคือคือเสียงและจังหวะของดนตรีแล้วผสมผสานกับจิตนาการของเราเป็นหลัก หากใครต้องการเพียงเสพความสุขจากเสียงดนตรีนั้น ก็ถือว่าคุณได้สิ่งนั้นไปเต็มๆ ด้วยความพิถีพิถันในการสร้างสรรค์และการบันทึกเสียงที่แม้คุณฟังแล้วอาจไม่รู้ถึงปรัชญาที่แฝงเร้นก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า คุณได้ความสงบทางจิตใจจากเสียงเพลงไปเต็มๆอย่างแน่นอน สำหรับรายละเอียดของเพลงนั้น ผมขอยกเอาบางแทรคที่น่าสนใจมากล่าว ณ ตรงนี้ เพื่อให้การฟังเพลงได้ความลึกซึ้ง และเต็มคุณค่าของมันอย่างแท้จริง

แทรคที่ 1 The Heaven Outside of Heaven

เริ่มต้นด้วยเสียงกลองทุ้มดังแผ่วมาแต่ไกลท่ามกลางความเงียบสงัด ตามด้วยเสียงระฆัง (เหมือนกับเสียงระฆังและกลองในวัดบ้านเรา) จากนั้นตามด้วยเสียงสวดมนต์ของหมู่นักบวชที่ดังมาแต่ไกลจากหลายทิศทางแล้วค่อนๆใกล้เข้ามา เสมือนหนึ่งชีวิตได้จุติขึ้นในห่วงจักรวาลแล้ว เมื่อเหล่านักบวชสวดประสานเสียงกันทั้งหมดพร้อมกับเสียงกลางเป็นระยะๆ เสมือนหนึ่งการดำเนินก้าวไปของชีวิต การกระเพื่อมของเสียงทุ่มจากกลอง และระฆังให้มิติทางเวทีเสียงที่ดีมาก

แทรคที่ 2 tathagata

เริ่มต้นด้วยเสียงร้องเด็กกับจังหวะดนตรีสไตล์อินเดีย แทรคนี้จะให้อารมณ์แตกต่างจากแทรคแรกอย่างสิ้นเชิง จากแทรคแรกที่เงียบเหงามาสู่ความกระฉับกระเฉงของแทรคที่สอง พร้อมกันนั้น ในแบคกราวด์ยังได้ยินเสียงดนตรีประเภทอื่นๆที่ไม่ใช่ของอินเดีย จึงสร้างสีสันได้พอสมควร เพลงนี้เป็นเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม แต่ดูเหมือนเหอซุ่นเถียนตั้งใจจะนำมาเพื่อเปิดโหมโรงเท่านั้น เพราะในแทรคที่ 8 อันเป็นแทรคสุดท้าย เขาได้นำเพลงในชื่อเดียวกันนี้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพียงแต่ใช้เขียนด้วยภาษาจีนเท่านั้น และแนวเพลงกับบรรยากาศต่างๆต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยในแทรคที่ 8 จะเป็นเสียงร้องของ จูเจ๋อฉิน

แทรคที่ 3 Meditation

เพลงนี้ถ้าแปลกันตรงๆก็คือ การสั่งสมาธิ หรือการนั่งวิปัสสนา เริ่มจากเสียงระฆังขนาดต่างๆที่ให้ความรู้สึกถึงความสงบ แล้วตามด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป้าเคล้าคลอกับเครื่องดนตรีเครื่องสายเป็นแบคกราวด์ เสียงนักบวชสวดมนต์ในเสียงที่ทุ้มต่ำฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงึความเยือกเย็นในจิตใจอย่างบอกไม่ถูก สักพักมีเสียงฟ้าร้อง และสายฝนเทลงมา ในท่อนนี้ให้บรรยากาศของสายฝนที่สมจริงดีมาก จนเหมือนกับว่าตัวเองยืนอยู่กลางลานวัดที่เงียบสงบท่ามกลางสายฝน ในท้ายสุดของเพลง เป็นเสียงนกร้องทำให้มีชีวิตชีวา เหมือนอรุณรุ่งในมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง

แทรคที่ 4 The Heart of the Void

ในด้านหลักภาษาควรจะเขียนเป็น The Void Heart จึงจะถูกต้อง แต่กันความสับสนจึงนำเอาชื่อเพลงตามที่พิมพ์บนปกซีดี) เพลงนี้คือจิตใจที่ว่างเปล่า ไม่แน่ใจว่าผู้เต่งตั้งใจจะให้เป็นภาคต่อของแทรคที่ 3 หรือเปล่า เพราะการเริ่มต้นด้วยเสียงฟ้าร้องแบบกระหน่ำ เสียงในช่วงนี้ให้บรรยากาศที่สมจริงมาก จากนั้นตามด้วยเสียงซอที่เนิบนาบให้ความรู้สึกถึงความอ้างว้างว่างเปล่า จากนั้นก็จะเป็นเสียงสวดมนต์ที่เราอาจคุ้นเคยระหว่างเสียงผู้ชาย(ผู้ใหญ่) กับเสียงประสานของเด็กในแนวบทสวนของศาสนาพุทธสายจีน แทรคนี้ เหอซุ่นเถียนอาจต้องการสนับสนุนคำพูดของเขาที่ว่า “ใดๆในโลกล้วนมาจากรากเดียวกัน” แทรคนี้ลงท้ายได้ดีมาก ด้วยเสียงประสานของเด็ก ในขณะที่เราได้ยินเสียงระฆังที่ดังอยู่ข้างหลังไกลออกไป ซึ่งจะต้องมีการจัดเตรียมด้านการบันทึกเสียงที่ดีถึงได้ผลออกมาเช่นนี้

แทรคที่ 6 The Wind in the Tree

เหมือนเด็กน้อยเดินอย่างเดี่ยวดายทางกลางความเวิ้งว้าง และท้องฟ้าที่มืดมน แล้วจู่ๆก็มีลำแสงแห่งธรรมสาดส่องลอดกลุ่มเมฆดำทะมึนลงมา การไล่จังหวะจากเสียงต่ำของเครื่องเป่าและเสียงคลอจนถึงเสียงลมพัดจนระฆังใหญ่น้อยที่แขวนอยู่ดังระงมไปหมด

แทรคที่ 7 The Dance of the Four Dharmmadhatus

เป็นแทรคที่ผมถือว่าทำได้ยิ่งใหญ่ที่สุด และสมจริงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมิติของเสียง ที่สามารถรู้สึกถึงความสูง ความกว้าง และความลึกได้ดีมากๆ และผมคิดว่าน่าจะเป็นแทรคที่เขาบอกว่าจะต้องรื้อระบบเสียงใหม่ทั้งหมด คงไม่อาจบรรยายให้เห็นภาพได้มากกว่านี้ครับ นอกจากต้องฟังเอง

ถ้าคุณคิดว่า คุณคือนักฟังเพลงตัวจริง ไม่ว่าคุณจะชอบฟังเพลงจีนหรือไม่ก็ตาม ก็คือว่า ผลงานชุดนี้ก็ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง อยากให้ฟังว่า คนทำดนตรีที่เป็นนักประพันธ์เพลงที่ได้รับการยอมรับระดับสากล และรู้ถึงแก่นทุกจังหวะและทุกตัวโน้ตนั้น เขาทำเพลงกันอย่างไร ยิ่งเป็นคนที่ไม่อิงกระแสตลาด ไม่เน้นปริมาณ นอกจากคุณภาพ นับจากปีที่ออกอัลบั้มชุด Paramita ในปี 2002 ถึงวันนี้ก็ 7 ปีแล้ว ถึงเข็นเอาชุดที่สองออกมา มันคงไม่แตกต่างจอมยุทธในยุทธภพ ที่แทบจะไม่เคยชักกระปี่ออกมานอกจากจะถึงเวลาจริงๆ คงไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่า เหอซุ่นเถียนก็คือ “จอมยุทธแห่งสังคีตภาพ”

ตัวอย่างหนึ่งในผลงานเพลงในชุด tattagata

CHILDS BUDDHI HEART DADAWA NEW SONG

Dadawa Sister Drum London Live


 :25:

http://www.thaichinese.net/thaichineseblog/he-xuntian/

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 05:07:42 pm »




แม้ว่าผลงานชุด Sister Drum จะประสบความสำเร็จอย่างงดงานในตลาดโลก และเหอซุ่นเถียนกับจูเจ๋อฉินจะยังคงประสานความร่วมมืออยู่ด้วยดีก็ตาม แต่ทั้งสองก็ต่างแยกสายกันเดินเพื่อแสวงหาความฝันของตนเอง โดยจูเจ๋อฉินได้เข้าร่วมทำงานกับสถานีโทรทัศน์ฟีนิกซ์ของฮ่องกง ในรายการ (Enter Africa) ส่วนเหอซุ่นเทียนก็เดินสู่สายวิชาการดนตรีที่สถานบันดนตรีเซี่ยงไฮ้ และหลังจากนั้นก็ได้ออกผลงานชุด Paramita โดยเซ็นสัญญากับ Wind Record ของไต้หวัน ซึ่งเป็นค่ายเพลงที่ไม่ใหญ่นัก โดยไม่ตามกระแสตลาด ผลงานเพลงของค่ายนี้จะออกในแนวของนิวเอจ เวิลด์มิวสิก การ์เด้นมิวสิก แม้แต่เพลงบรรเลงโปงลางของบ้านเราค่ายนี้ก็ทำมาแล้ว

ต้องยอมรับว่า ข้อมูลเกี่ยวกับเหอซุ่นเถียนตามสื่อสาธารณะมีน้อยมาก แม้ว่าเขาจะเป็นถึงบุคคลสาธารณะทางด้านดนตรีระดับสากลแล้วก็ตาม แต่เขาทำตัวโลว์โปรไฟล์มาก หลังจากผลงานชุด Paramita ผมก็ไม่ได้ข้อมูลข่าวสารใดๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเขาอีก จนเมื่อปลายปีที่แล้ว ตอนเดินทางไปประเทศจีน ในขณะที่กำลังรับประทานอาหารกับเติ้งเหว่ยเปียว (ศิลปินนิวเอจชั้นแนวหน้าของจีนอีกคนที่เคยแนะนะใน The Wave Magazine) เหอซุ่นเถียนได้โทรศัพท์หาเติ้งเหว่ยเปียวเล่าถึงอุปสรรคการบันทึกเสียงผลงานเพลงชุดใหม่ ที่ตอนนี้ต้องรื้อระบบทั้งหมด แล้วจัดสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อความสมจริง ซึ่งต้องลงทุนอีกหลายล้าน นั่นคือครั้งสุดท้ายที่รับทราบข่าวคราวเกี่ยวกับตัวเขา

เดือนกุมภาพันธ์ ปีนี้ ผมเริ่มเห็นผลงานของเหอซุ่นเถียนปรากฎในตลาดแล้ว แต่ผมก็เกือบพลาดที่จะหยิบฉวยผลงานของเขามาครอบครอง เนื่องด้วยการออกแบบปกที่เรียบง่ายเสียจนมองข้ามไปได้ง่ายๆ ซึ่งแตกต่างจากชุด Paramita อย่างสิ้นเชิง ผลงานชุดใหม่คือ “tathagata” ซึ่งยังคงใช้ภาษาบาลี สันสกฤตเหมือนเดิม โดยชุดนี้มีความหมายว่า “one who thus gone” หรือ “one who has thus come” ซึ่งเป็นปรัชญาที่เราต้องนั่งตีความว่า คนเรามาอย่างไรก็ต้องไปอย่างนั้น ปกซีดีพื้นสีขาว พิมพ์คำ “tathagata” บนบนโพธิ์สีทองบนพื้นขาว เหนือคำ “tathagata” จะเป็นภาษาจีนสี่ตัว “หยูหลายหยูชวี่” ที่ให้พลิกอ่านสี่ด้านอันเป็นการสื่อตามชื่ออัลบั้ม คือคนเรามาอย่างไร ซึ่งเหอซุ่นเถียนเชื่อว่าสิ่งใดๆล้วนมาจากรากเหง้าเหมือนกัน แต่จุดหมายหลายทางที่ไปก็เหมือนกัน โดยปรกติ เรามักจะเห็นการพิมพ์ทองบนพื้นสีดำเพื่อความโดดเด่น แต่นี่พิมพ์บนพื้นสีขาว ซึ่งแน่นอนว่า เขาต้องการสื่อถึงความสะอาดบริสุทธิ์ทางธรรมของพุทธศาสนา

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 05:04:12 pm »




ในปี 1983 เขาได้คิดค้นวิธีการประพันธ์เพลงที่เรียกกว่า “The RD Method of Musical Composition” คือเป็นการผสมผสานระหว่างการประพันธ์แบบตามใจตัวเองกับตอบสนองซึ่งกันและกัน การประพันธ์แบบตามใจตัวเองทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยไม่ถูกจำกัดกรอบ ส่วนการประพันธ์ตามแบบตอนสนองนั้น คือการนำเอาความคิดใหม่ทั้งหมดมาสร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี ถือเป็นนักประพันธ์เพลงรายแรกของประเทศจีนที่ได้คิดค้นทฤษฏีและนำเอานำเอาหลักการนี้มาใช้ในวงการเพลง

ในปี 1995 ผลงานชุด Sister Drum ถึงกำเนิดขึ้นในวงการเพลงของโลก และเป็นผลงานจากศิลปินจีนนิวเอจชุดแรกที่จัดวางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลกใน 60 กว่าประเทศ ผลงานชุดนี้เป็นการทำงานร่วมกับ ดาดาวา จูเจ๋อฉิน (Dadawa Zhu Zheqin) ซึ่งเป็นชาวหูหนาน เชื้อสายธิเบต หลังจากที่วางจำหน่ายผลงานชุดนี้ ได้รับการตอบรับและเสียงสะท้อนในทางบวกจากสื่อชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็น นิวยอร์คไทม์ วอชิงตันโพสต์ นิตยสารไทม์ หนังสือพิมพ์ไทม์ส แห่งอังกฤษ บีบีซี เอบีซี ซีเอ็นเอ็น และเอ็นเอชเค เป็นต้น และได้รับการยกย่อยด้วยถ้อยคำต่างๆ อาทิ เช่น “เป็นผลงานที่มีความหมายไม่ผูดติดยุคสมัย” “เป็นพิมพ์เขียวที่ไม่อาจหาได้ในวรรณกรรมตะวันตก” “เป็นนักประพันธ์จีนที่มีบุคลิคเฉพาะตัว” “เป็นผู้ช่วยให้ความฝันของชาวจีนที่จะผลักดันดนตรีสู่ระดับสากลได้สำเร็จ”

จากความสำเร็จของผลงานชุด Sister Drum ทำให้เขาได้รับเชิญออกแสดงในประเทศต่างเช่น เช่นเยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น อเมริกา และในช่วงปี 1995 – 1996 จึงได้จัด “Sister Drum World Tour Concert” โดยได้ตระเวนแสดงตามที่ต่างๆทั่วโลก โดยทัวร์คอนเสิร์ตนี้ได้สิ้นสุดการแสดงในจุดหมายสุดท้ายที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 05:03:01 pm »




เหอ ซุ่นเถียน

ศิลปินคุณภาพที่ทำงานอยู่เบื้องหลังมานานปี ที่ผมเคยตั้งใจจะเขียนถึงเขามาหลายครั้งตั้งแต่หลายปีก่อนแล้ว แต่มันก็มักจะมีอะไรทำให้ผมต้องหยิบเอาอย่างอื่นมาเขียนก่อนเสมอ จนถึงวันนี้ หลังจากที่ได้ฟังผลงานชุดล่าสุดของเขาในชื่อชุด “tathagata” เลยคิดว่า คงไม่เขียนถึงไม่ได้แล้ว

ผมเคยเขียนแตะๆเหอซุ่นเถียนเมื่อหลายปีก่อน ในขณะที่เขียนถึงเรื่อง “คง…ความว่างเปล่า” ในขณะที่ช่วงนั้น ผลงานชุด Paramita (เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าความสมบูรณ์ หรือ Perfection) และ Sister Drum ได้วางตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว และผมเองก็ค่อนข้างประทับใจกับผลงานชุด Paramita นี้มาก แนวเพลงอาจออกในแนว Religious NewAge คือเป็นเพลงนิวเอจในแนวศานาพุทธ ด้วยความแปลกใหม่ของมัน และคุณภาพการบันทึกเสียงที่ดีเยี่ยม ในช่วงที่บรรยากาศวังเวงก็วังเวงจับใจ (จนเพื่อนผมไม่กล้าฟังในช่วงกลางคืน) ในช่วงที่เร้าใจก็กระตุ้นเลือดลมสูบฉีดได้อย่างเหลือเชื่อ ผลงานชุดดังกล่าวเคยเห็นวางขายในบ้านเราระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากอาจไม่ใช่เพลงในแนวตลาด จึงไม่ค่อยได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงบ้านเราเท่าที่ควร

เหอซุ่นเถียนอาจแตกต่างจากศิลปินในตลาดทั่วไป สิ่งที่เขามุ่งมั่นที่จะทำคือ การสร้างสรรค์ผลงานเพื่อระดมทุนสร้างวัดวาอารามในพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้เขาคือนักประพันธ์เพลง และเป็นอาจารย์ในสถาบันดนตรีเซี่ยงไฮ้สอนในระดับปริญญาเอก ผลงานของลูกศิษย์จำนวนมากที่ส่งประกวดกวาดรางวัลกลับมาไม่น้อย ทั้งในประเทศจีนเองและระดับสากล จนเขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนสำคัญในวงการดนตรีโลก และได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ The New Grove Dictionary of Music and Musicians และได้รับการบันทึกในทำเนียบ “World’s Who’s who” ของแคมบริดจ์แห่งประเทศอังกฤษ