ข้ามสมุทรไปแสวงธรรมที่จีน
เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนนั้น การจะไปเรียนเมืองนอกที่ ' ถัง ' ( ชื่อ ราชวงศ์จีน ในขณะนั้น ) ทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ เป็น ' รุกักคุโช ' กับเป็น ' เก็นกักคุโช ' ' รุกักคุโช ' คือ นักเรียนนอกที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลให้ไปพำนัก ศึกษาวิทยาการที่ประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ถึงจะอนุญาตให้เดิน ทางกลับประเทศได้ ส่วน ' เก็นกักคุโช ' คือ นักวิจัยทุนรัฐบาลที่ไปทัศน ศึกษาหรือดูงานระยะสั้น โดยไม่จำเป็นต้องพำนักอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา นานเป็นสิบ ๆ ปีเหมือนอย่างรุกักคุโช จึงสามารถเดินทางกลับประเทศ ได้ทุกเมื่อ
ในปี ค.ศ. 804 ที่คูไคติดตามราชทูตญี่ปุ่นที่ชื่อฟูจิวาร่า คะโดะโนะมาโร่ ไปจีนในเรือลำที่หนึ่งของคณะเรือที่มีด้วยกันทั้งหมด 4 ลำนั้น คูไคเดินทาง ไปในฐานะ ' รุกักคุโช ' ที่ไร้ชื่อเสียงไม่มีใครรู้จักคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น คูไคมีอายุ 31 ปี เขาเพิ่งบวชเป็นพระสงฆ์อย่างเป็นทางการเมื่ออายุ 30 ปี ไม่ถึง 1 ปีก่อนเดินทางไปจีนเท่านั้น เหตุที่เขาต้องบวชเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ ในการดูแลควบคุมของรัฐบาล ก็เพื่อที่เขาจะได้มีสิจน์ถูกคัดเลือกไปเป็น นักเรียนทุนรัฐบาล ( รุกักคุโช ) เท่านั้น หาได้มีเหตุผลอย่างอื่นไม่ อนึ่ง นอกจากคูไคแล้วในคณะเรือที่เดินทางไปจีนในครั้งนั้น ยังมีพระสงฆ์ชื่อดัง อีกรูปหนึ่งที่เดินทางไปด้วยในฐานะ ' เก็นกักคุโช ' คือ ไซโจ ซึ่งมีอายุ มากกว่าคูไค 7 ปี ขณะนั้น ไซโจมีฐานะเป็นเจ้าสำนักนิกายเทียนไต๋แห่ง วัดที่ภูเขาฮิเออิ ซึ่งมีจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว ไซโจต้องการ ไปทัศนะศึกษานิกายเทียนไต๋ ( หรือเท็นไดในภาษาญี่ปุ่น ) ที่จีนเพื่อเป็น การเปิดหูเปิดตา ท่านจึงเดินทางไปจีนในครั้งนี้ด้วย
ในคณะเรือที่เดินทางไปจีนทั้งหมด 4 ลำนั้น มีเพียง 2 ลำเท่านั้นที่ไปถึง เมืองจีนได้อย่างปลอดภัย คือ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไป กับเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไป ส่วนเรือลำที่ 3 เกิดเหตุขัดข้องกลางทางต้องแล่นกลับ ญี่ปุ่น ขณะที่เรือลำที่ 4 อับปางกลางทะเล มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว ทั้งนี้ก็เพราะคณะเรือที่เดินทางไปจีนเผชิญมรสุมพายุกลางทะเล จนทำให้ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไปหลงทิศทางต้องเคว้งอยู่กลางทะเลเป็นเวลา 1 เดือน กว่าจะมาเทียบท่าได้ที่ชายฝั่งแถวมณฑลฮกเกี๊ยนในปัจจุบัน ส่วนเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไปนั้นสามารถไปถึงท่าหนิงโปได้ตามแผนการเดินเรือที่วางไว้ ทุกอย่าง
เราควรเข้าใจกันก่อนว่า เกาะญี่ปุ่นหรือเกาะบูรพาเมื่อ 1,000 กว่าปี ก่อนนั้น เป็นเกาะที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากความเป็นสากลของโลก มากโดยที่ตัวแทน ' ความเป็นสากล ' หรือ ' อารยธรรม ' สำหรับคนญี่ปุ่น ในยุคนั้นก็คือจีนนั่นเอง นับตั้งแต่ที่ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศ นี้ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ศาสนาพุทธก็ได้กลายเป็น ' สิ่งสากล ' สำหรับชนชาตินี้ไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นวรรณะใด ๆ
ด้วยความหลงใหลใน ' อารยธรรม ' หรือ ' ความเป็นสากล ' ของจีน ทางจีนจึงได้ส่งเรือไปจีนเพื่อนำเอาวิทยาการและความก้าวหน้าต่าง ๆ ของจีนมายังประเทศตนตั้งแต่ปี ค.ศ. 600 เป็นต้นมา นับจากครั้งนั้น จนถึงครั้งที่คูไคร่วมเดินทางไปด้วยในครั้งนี้นั้นรวมได้เป็น 16 ครั้งแล้ว กล่าวคือในช่วง 200 กว่าปีมานี้นั้น ทางการญี่ปุ่นสามารถส่งเรือไปจีน ได้เพียง 15 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเดินทางข้ามสมุทรกว่า 3,000 ลี้ เพื่อไปจีนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากเมื่อคำนึงถึงคุณภาพของเรือ สำเภาของยี่ปุ่นและทักษะการเดินเรือทะเลของญี่ปุ่นในยุคนั้น
" อาจารย์ครับ ทำไมคูไคถึงเพิ่งมาบวชเป็นสงฆ์เอาเมื่อตอนก่อนเดินทางไป จีนเพียง 1 ปีเท่านั้นล่ะครับ "
" ถูกแล้ว สันติชาติ เธอคิดว่าคนหนุ่มที่รักในชีวิตแห่งการแสวงหาสัจจะ อย่างคูไค ขนาดยอมทิ้งหนทางก้าวหน้าในชีวิตของการเป็นขุนนางออกมา ร่อนเร่พเนจรตามป่าเขาเป็นเวลาหลายปีอย่างเขาจะทนกับชีวิตของพระสงฆ์ ในการควบคุมดูแลของทางการได้หรือ ? เพราะชีวิตพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของทางการนั้น ถ้ากล่าวในความหมายนี้แล้ว พระสงฆ์ จำพวกนี้ก็คือหุ่นเชิดทางวัฒนธรรมของรัฐเท่านั้นเอง นี่หรือคือชีวิตที่น่าพึง ปรารถนาขนาดยอมสละ ยอมอดกลั้นความต้องการทางเพศอันเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งของมนุษย์ได้กระนั้นหรือ ? คูไคเป็นชายหนุ่มที่มีพลังสร้างสรรค์ อยู่ในตัวมาก แน่นอนว่าเขาน่าจะเป็นชายที่มีความต้องกรทางเพศสูงด้วย ถ้าหากเขาไม่พบเป้าหมายที่สูงส่งพอที่จะแปรพลังทางเพศเหล่านี้ให้เป็น พลังทางจิตวิญญาณที่สูงส่งและสร้างสรรค์แล้ว เขาคงไม่ยินยอมบวช เป็นพระอย่างเป็นทางการแน่นอน "
" นั่นคือ การเป็นผู้ก่อตั้งนิกายมิกเคียวขนานแท้ขึ้นใในประเทศญี่ปุ่นนี้ ใช่มั้ยครับ "
" ใช่แล้ว "
เนื่องจาก เรือของคูไคนั่งมาพลัดหลงทางมาไกลจากปลายทางค่อนข้างมาก คือ หลงมาจนถึงชายฝั่งแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งขณะนั้นยังไม่ใช่เขต แดนที่ชนชาวฮั่นพำนักอาศัยอยู่ ตอนแรกทางการท้องถิ่นที่นั่นยังไม่ทราบ เรื่องของคณะฑูตจากญี่ปุ่นจึงระแวงว่าอาจเป็นเรือของพวกโจรสลัด คณะ ของคูไคจึงถูกกักตัวให้อยู่บนเรือไม่ยอมให้ขึ้นฝั่งตั้งเกือบ 2 เดือน กว่าทาง ฝ่ายจีนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการเมืองหลวงที่ฉางอาน จึงยอมให้ คณะฑูตจากญี่ปุ่นคณะนี้ขึ้นฝั่งและได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการได้ กล่าวกันว่าในตอนแรกที่ทางการจีนท้องถิ่นไม่เชื่อว่าคณะนี้เป็นฑูตจากญี่ปุ่น จริงนั้น นอกจากสารรุปของท่านฟูจิวาร่าที่ขาดความสง่าผ่าเผยอันเนื่อง มาจากต้องรอนแรมกลางทะเลเป็นเวลาหลายสิบวันแล้ว ที่สำคัญคือ ลายมือ และสำนวนของท่านฑูตฟูจิวาร่ายังไม่ถึงขั้นพอที่จะน่าเชื่อถือได้ เราต้อง เข้าใจก่อนว่าคนจีนในยุคนั้นเขาวัดระดับสติปัญญาของผู้คนจากลายมือ ( พู่กัน )และสำนวนภาษาที่ใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ไม่อาจปิดบังกันได้
ภายใต้บรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ท่านฟูจิวาร่าก็ได้ทราบข่าวจากคนใน คณะว่า คูไคซึ่งเป็นพระหนุ่มนอกสายตาในทัศนะของท่าน ความจริงเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาษาจีนมาก ท่านฟูจิวาร่าจึงต้องไปกราบ กรานอ้อนวอนขอให้คูไคเขียนจดหมายแทนท่านไปยังทางการท้องถิ่นของ จีนตั้งแต่บัดนั้นแหละที่เป็นเวลาที่คูไคปรากฏตัวบนเวทีแห่งประวัติศาสตร์ อย่างแท้จริง และเริ่มทอแสงส่องประกายแห่งความเป็นอัจฉริยะในตัวเขา ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งทางการญี่ปุ่นและทางการจีนจดหมายฉบับที่ คูไคเขียนแทนท่านฟูจิวาร่านั้น กล่าวกันว่า สวยงามากทั้งสำนวนภาษาและ ลายมือ จนทำให้ทางการท้องถิ่นจีนทึ่งและเชื่อว่า คณะนี้เป็นคณะฑูตจาก ญี่ปุ่นจริง
หลังจากนั้น คณะคูไคได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 39 วันเพื่อรอคำตอบ จากเมืองหลวงที่เจ้าเมืองฮกเกี้ยนส่งคนไปรายงาน จึงได้คำตอบกลับมา ว่า ให้มณพลฮกเอี้ยงต้อนรับคณะฑูตนี้อย่างสมเกียรติ และคัดเลือกตัว แทนจากคณะฑูตญี่ปุ่นจำนวน 23 คน จากจำนวนทั้งหมด 100 กว่าคน พาไปยังเมืองหลวงฉางอาน โดยทางฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและความเป็นอยู่ในระหว่างนั้นทั้งหมด ระยะทาง จากฮกเอี้ยงไปฉางอานยาว 7,500 ลี้ คณะของคูไคได้ออกจากมณฑล ฮกเอี้ยงในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 804 หรือ 4 เดือนให้หลังจากที่ได้ ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม กล่าวกันว่าก่อนออกเดินทาง เจ้าเมืองฮกเกี้ยนชื่นชมในความสามารถของคูไคมากอยากจะรั้งตัวเขาให้ อยู่ช่วยงานที่นี่ จึงไม่ได้ใส่ชื่อของคูไคอยู่ในคณะที่จะเดินทางไปเมือง หลวงฉางอานด้วย ร้อนถึงคูไคทำให้เขาต้องเขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่ง ชี้แจงจุดประสงค์การมาแสวงหาธรรมที่ประเทศจีนของเขาจึงได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปฉางอานด้วยได้ในที่สุด