การผสานปัญญากับความรื่นรมย์ จุดประสงค์ของ
การสร้างตนเองเป็นเทวดาผ่านการปฏิบัติแห่งกายทั้ง สามของพระพุทธเจ้า คือกระแทกไปที่ความคิดสงสารตนเอง ความ คิดไร้การพัฒนาแห่งอัตตา ความคิดจำกัดเหล่านี้ขัดขวางเราจากประ สบการณ์ระเบิดของตะเกียงพลังแห่งการตรัสรู้อย่างเต็มที่
ปัญญาแห่งความว่างเปล่าคือความสุขอันเต็มเปี่ยม สิ่งสำคัญคือธาตุ ทั้งสองอันได้แก่ ปัญญาเห็นกระจ่างเข้าไปในคุณสมบัติแท้จริงแห่ง สรรพสิ่ง และความรู้สึกแห่งความสุขอันรื่นรมย์ จะรวมเป็นหนึ่งใน ประสบการณ์เดียว ทางตะวันตก เราสามารถเห็นว่าในขณะที่มีเด็ก ที่เฉลียวฉลาดหลายคน แต่ยังมีประสบการร์ความรื่นรมย์ในชีวิตน้อย นิดหรือไม่มีเอาเลย การมีความเฉลียวฉลาดไม่ได้ทำให้พวกเขามีความ สุข กลับเป็นว่า หลายคนยิ่งยุ่งเหยิงมาก พวกเขาสามารถทำประโยชน์ ได้มากมาย เช่น ออกแบบเกมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน แต่เพราะเขาขาด วิธีการที่เหมาะสมในการรวมเชาว์ปัญญาและอารมณ์ พวกเขายังคงแห้ง แล้ง มีสติปัญญาไม่สร้างสรรค์ และไม่พอใจอย่างยิ่ง
ในทางตรงข้าม มีคนอื่นที่มีความสามารถที่ใช้การได้มากกว่าการทำให้ ตัวเองรื่นรมย์ แต่พวกเขาหลายคนไม่มี
สติปัญญาที่กระจ่าง ขาดความ
สำนึกที่เฉียบแหลม ถึงแม้พวกเขาจะมีความพอใจในชีวิตระดับหนึ่ง ใจ ของเขาก็ยังคงซึมเศร้าและเหนื่อยหน่าย
ตันตระพยายามที่จะ
บ่มเพาะปัญญามหาศาล นำเชาว์ปัญญาสู่ประสบ การณ์ที่นำไปใช้ได้ โดยผสานเป็นหนึ่งกับการตระหนักรู้อย่างเป็นสุข ด้วยวิธีนี้จึงเป็นไปได้ที่จะผสานชีวิตและบรรลุศักยภาพเพื่อความสุข ได้ ในขณะที่ตัดปัญหาทั้งปวงที่โดยปกติเกี่ยวกับการไล่ตามความสุข สำหรับโลกนี้ ความสุขคือปัญหาสำหรับผู้มั่งคั่งทั้งหลาย ความเศร้า แห่งกายหยาบ เช่น ความหิวและโรคภัย ไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญแท้จริง เลย แต่วิธีที่จะจัดการกับความสุขโดยไม่กลับกลายเป็นบ้าหรือเลวทราม คือปัญหาใหญ่ที่ไร้คำตอบสำหรับพวกเขา
ประสบการณ์การผสานเป็น หนึ่งแห่งตันตระเสนอคำตอบได้ตามหลักตันตระที่ได้กล่าวไปแล้วหลายครั้งว่า ปัญหาพื้นฐานของมนุษย์ คือ เมื่อเรามีความสุข โดยปกติเราจะโง่เขลาและมืดบอดภายในยิ่งขึ้น นี่ ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรมีความสุข
เราควรมีความสุข แต่เราต้อง ควบคุมให้ได้ ในขณะที่ประสบความสุข เราต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล แห่งความโง่เขลาและความลวงหลอก ดังนั้นเวลานี้เรากำลังเรียนรู้ที่จะ มีประสบการณ์แห่งความสุขอย่างเหลือเชื่อได้อย่างไร จึงยัง
คงสภาวะ แห่งความกระจ่างและการควบคุมไว้ได้ เรากำลังเรียนรู้ที่จะมีประสบ การณ์แห่งความสุข สามารถทำให้เกิด
ปัญญาแหลมคมอันสะอาดสว่าง ได้อย่างไร
เป็นธรรมดาสำหรับเราที่จะทำตัวเป็นเจ้าของสิ่งที่เกิดกับเรา แม้เมื่อเรา ประสบความสำเร็จ ในการทำสมาธิ และรู้สึกว่าพลังความสุขกุณฑาลินี บังเกิด มีแนวโน้มอย่างยิ่งที่เราจะยึดติดอย่างแน่หนากับมัน นี่คือประสบ การณ์ของฉัน นี่คือของฉัน นิสัยนี้เราต้องเลิกให้ได้
เราต้องเรียนรู้ที่จะ ให้ประสบการณ์ความสุขเกิดขึ้นโดยปราศจากการยึดติดว่าเป็นของฉัน เราสามารถทำสำเร็จได้โดยรวมจิตใจเป็นหนึ่งกับความว่างเปล่า กับความ ไม่เป็นสอง เมื่อนั้นความสุขบังเกิด ก็ประหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ในบรรยากาศที่ว่างภายนอก เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายเป็นคำพูด ดังนั้น ข้าพเจ้าหวังว่าท่าคงไม่มีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่ ข้าพเจ้าพยายาม จะพูด ด้วยเหตุผลบางประการ เรา
ต้องไปให้ไกลกว่านิสัยปกติแห่งการ เป็นเจ้าของ แห่งการสัมพันธ์กับทุกสิ่ง กับความรู้สึกอันจำกัดของตนเอง
บางทีข้าพเจ้าสามารถทำให้กระจ่างขึ้นเพียงเล็กน้อย จินตนาการว่าเบื้อง หน้าของเรามีคนอยู่คนหนึ่ง ผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ คนที่ท่านรู้สึกว่าต้องตา ต้องใจมาก เพียงมองไปที่คนผู้นี้ก็กระตุ้นพลังงานในตัวท่าน บางทีท่าน ต้องการที่จะเอื้อมไปคว้าเขาหรือเธอเดี๋ยวนี้
จินตนาการว่าคนผู้นั้นละลาย หายไปในแสงสีรุ้ง สว่างโปร่งใสในทันที ความรู้สึกหนักทั้งมวลแห่งความ ปรารถนาและการเป็นเจ้าของก็จะละลายลงโดยอัตโนมัติ และแทนที่ชาย หรือหญิงผู้นั้น มีบางสิ่งเบาและลอยตัวได้มากกว่าเกิดขึ้น ท่านยังมีความ สัมพันธ์บางอย่างกับสิ่งสวยงามนี้ แต่มันเปลี่ยนไปแล้ว ท่านได้ปล่อยทัศนะ การยึดติด และประสบกับบางสิ่งที่ว่างเปล่า กว้างขวาง เป็นสากลยิ่งกว่า แทน สิ่งนี้คือประสบการณ์ที่ช่างสว่าง เป็นสุข แต่ตระหนักรู้อย่างยิ่งที่ ข้าพเจ้าพูดถึง นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะบ่มเพาะ
- จาก บทเริ่มต้นสู่ตันตระ ทรรศนะแห่งความบริบูรณ์ -
- บทที่ ๑๑ โดย ท่านลามะ เยเช่ -