ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 11:21:01 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ
ข้อความโดย: ซุปเปอร์เบื๊อก
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2010, 10:31:52 pm »

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

นี้  คาถามีชื่อว่า  ปุจฉุตคาถา    เพราะเป็นคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูก
เทพบุตรทูลถามแล้วจึงตรัสตอบ.    ก็คาถานี้  บอกคนที่ไม่ควรคบ   ในคนที่
ควรคบและไม่ควรคบ    แล้วจึงบอกคนที่ควรคบ   เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด
รู้จักทาง  รู้จักทั้งที่มิใช่ทาง   ถูกถามถึงทาง   จึงบอกทางที่ควรละเว้นเสียก่อน
แล้ว      ภายหลังจึงบอกทางที่ควรยึดถือไว้ว่า     ในที่ตรงโน้นมีทางสองแพร่ง.
ในทางสองแพร่งนั้น     พวกท่านจงละเว้นทางซ้ายเสียแล้ว     ยึดถือเอาทางขวา
ฉะนั้น.  ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า   เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า

                        ดูก่อนติสสะ   คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อ
            ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.  จริงอยู่ตถาคต
            อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น   ฉลาดรู้โลกนี้  ฉลาดรู้
            โลกอื่น ฉลาดรู้ถิ่นมัจจุ ฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุ ฉลาด
            รู้บ่วงมาร  ฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร.

              เพราะฉะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบ
ก่อน   จึงตรัสว่า   การไม่คบพาล   การคบบัณฑิต   ความจริงคนพาลทั้งหลาย
ไม่ควรคบ  ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น     แต่นั้น   ก็ควรคบ   ควร
เข้าใกล้แต่บัณฑิตเหมือนทางที่ควรยึดถือไว้.  ผู้ทักท้วงกล่าวว่า  ก็เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน
ขอชี้แจงดังนี้     เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่
เห็นแล้วเป็นต้นนี้  ด้วยการคบพาล  ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล  ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบกับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร    ซึ่งหัก
รานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าและทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร
ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง   จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิต
ก่อน  แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

          สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท   ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต
เป็นต้น   ชื่อว่า   พาล   ในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น.   พาลเหล่านั้น     จะรู้
ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม   เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.   พระสูตรว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้.   อนึ่ง   ครูทั้ง   ๖   มี
ปูรณกัสสปเป็นต้น  และสัตว์อื่น ๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัต   โกกาลิกะ
กฏโมทกะ       ติสสขัณฑาเทวีบุตร       สมุทททัตตะ       นางจิญจมาณวิกา
เป็นต้น   และพี่ชายของทีฆวิทะ  ครั้งอดีตพึงทราบว่า  พาล.
     
         พาลเหล่านั้น   ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ
ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี    ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้    เหมือนพี่ชาย
ของทีฆวิทะ  ล้มลงนอนหงาย  ด้วยอัตภาพประมาณ  ๖๐ โยชน์   หมกไหม้อยู่
ในมหานรก   อยู่ถึง   พุทธันดร   และเหมือนตระกูล  ๕๐๐   ตระกูล    ที่ชอบ
ใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น   เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของ
ทีฆวิทะนั่นแหละ  หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น.  สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือ
          เรือนหน้า   ย่อมไหม้แม้เรือนยอด    ซึ่งฉาบไว้ทั้งข้าง
          นอกข้างใน  กันลมได้  ลงกลอนสนิท  ปิดหน้าต่างไว้
          เปรียบฉันใด  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภัยทุกชนิด   ย่อม
          เกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน  ภัยเหล่านั้น  ทั้งหมดเกิด
          จากพาล    ไม่เกิดจากบัณฑิต.    อุปัทวะทุกอย่างย่อม
          เกิด ฯลฯ  อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด  ฯลฯ ไม่เกิดจาก
          บัณฑิต.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ดังนั้นแลพาลเป็นภัย

 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

            บัณฑิตไม่เป็นภัย   พาลอุบาทว์   บัณฑิตไม่อุบาทว์
          พาลเป็นอุปสรรค  บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค  ดังนี้.

            อนึ่ง  พาลเสมือนปลาเน่า  ผู้คบพาลนั้น    ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อ
ปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง  และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                   ปูติมจฺฉํ   กุสคฺเคน      โย  นโร  อุปนยฺติ
          กุสาปิ  ปูตี   วายนฺติ          เอวํ  พาลูปเสวนา.

                นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา     แม้หญ้า
          คาของของนรชนผู้นั้น  ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย  การคบ
          พาลก็เป็นอย่างนั้น.

            อนึ่งเล่า  เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร   แก่กิตติบัณฑิต    ก็
กล่าวอย่างนี้ว่า

                   พาลํ  น  ปสฺเส  น  สุเณ    น  จ  พาเลน   สํวเส
          พาเลนลฺลาปสลฺลาปํ              น  กเร  น จ  โรจเย.

                ไม่ควรพบพาล ไม่ควรพึง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล
          ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ.
            ท้าวสักกะ   ตรัสถามว่า

                    กินฺนุ   เต   อกรํ  พาโล     วท  กสฺสป   การณํ
          เกน   กสฺสป  พาลสฺส             ทสฺสนํ  นาภิกงฺขสิ.

                ท่านกัสสปะ   ทำไมหนอ    พาลจึงไม่เชื่อท่าน
          โปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไร  ท่านจึงไม่อยากเห็น
          พาลนะท่านกัสสปะ.

http://www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=448.0