ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 10:36:08 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:33:04 pm »




หันเหแปดทาง
หลังจากอธิบายข้อผิดพลาดและทางแห่งความไถลแล้ว ต่อไปจะอธิบาย ทางที่หันเหอีกแปดทาง

๑. เพราะไม่เข้าใจว่าแก่นแท้แห่งจิตเป็นเอกภาพระหว่างรูปลักษณ์และ ความว่าง ทรงไว้ซึ่งความพิเศษในทุกแง่มุม ความสัมพันธ์ที่ไม่มีสิ่งกีด ขวางระหว่างเหตุผล เธอไถลสู่ความสนใจเฉพาะแง่ความว่าง ข้อผิด นี้เรียกว่า " ขอไถลแบบพื้นฐานจากแก่นแห่งความว่าง "
๒. กรณีคล้ายกันคือ ภายหลังเอาจริงกับการปฏิบัติ แม้ว่าจะมีความคิด ที่ถูกเกี่ยวกับแก่นแท้ตามธรรมชาติ แต่กลับไม่เคยประสบกับความจริง เช่นนั้นด้วยตนเอง หรือประสบกับมันแต่กลับไม่เข้าใจมัน แม้ว่าเธอจะ สามารถอธิบายมันต่อผู้อื่น เรียกว่า " ไถลออกจากแก่นแท้แบบชั่วคราว "

๓. แม้ว่าขณะนี้เธอต้องการมรรค แต่เธอกลับปรารถนาผลอื่น ๆ นี่คือ " การไถลอกนอกทางชนิดพื้นฐาน "
๔. ไปคิดว่าการดำรงสติแบบธรรมดาสามัญ ๆ ไม่เพียงพอ และไปค้นหา การภาวนาด้วยการกระทำที่มากมายซับซ้อน และก็ไปค้นหามันจากที่โน่น ที่นี่ เรียกว่า " การไถลออกนอกทางแบบชั่วคราว "

๕. เมื่อบางสิ่ง เช่น อารมณ์รบกวนเกิดขึ้น กลับไม่รู้วิธีใช้มันเป็นมรรค กลับไปหาวิธีภาวนาอื่น ๆ ในสาวกยาน เรียกว่า " การไถลออกนอกวิธี แบบพื้นฐาน "
๖. ไม่รู้จักใช้สิ่งที่เกิด เช่น ความคิด เป็นทางในการปฏิบัติ กลับขัดขวาง หรือทำลายมันก่อนที่จะอยู่ในการภาวนา เรียกว่า " การไถลออกนอกวิธี แบบชั่วคราว "

๗. ไม่รู้ว่าธรรมชาติของจิตว่างอยู่แต่เดิมแล้ว และไม่มีรากเหง้า กลับไป สร้างความคิดขึ้นมา เช่น " มันไม่มีธรรมชาติแห่งตัวตน " หรือ " มันเป็น ความว่าง " หรือ " มันว่างแบบเป็นครั้งคราว " เรียกว่า " การไถลแบบพื้น ฐานสู่ความว่างแบบเหมา ๆ "
๘. คิดว่า " ก่อนนี้ฉันวอกแวกเพราะตามความคิดอยู่ แต่บัดนี้ฉันภาวนา แบบสบาย ๆ " ติดอย่างเหนียวแน่นอยู่กับความคิดนั้น หรือคิดว่ามีสติ อยู่ขณะที่ไม่มี หรืออื่น ๆ เรียกว่า " ไถลสู่ลักษณะทั่วไป "

สรุป
เมื่อไม่รู้กุญแจสำคัญคือภาวะธรรมชาติแห่งจิตและไม่ขจัดความสงสัย เรื่องนี้ ย่อมเสี่ยงต่อการไถลสู่ทางผิดที่ดูคล้าย ๆ การภาวนา หลาย ๆ อย่าง การมุ่งต่อทางผิดที่คล้ายการภาวนาโดยไม่รู้จุดสิ้นสุดเป็นความ สูญเปล่า บางคนได้สร้างสมเหตุปัจจัยสู่อบายภูมิ เช่น เกิดเป็นนาค เพราะทำสมถะภาวนา จึงไม่ต้องภาวนาในทางผิด

นอกจากนี้ บางคนยังถือภาวะทื่อ ๆ มัวซัว หรือภาวะเกียจคร้าน เฉื่อยชา ซึ่งปราศจากความคิดว่าเป็นสมถะ เขาคิดว่าวิปัสสนาคือการวิเคราะห์ ด้วยความคิด เขาคิดว่าภาวะจิตที่มีอารมณ์เดียวและยึดอยู่แน่นว่าเป็นสติ และเห็นว่าอุเบกขา ( จิตวางเฉย ) ว่าคือภาวะแห่งธรรมชาติ เขาคิดว่า จิตสามัญของผู้ไม่เคยเห็นโฉมหน้าเดิมแท้ของจิตเป็นจิตเดิมแท้อันปราศจาก การปรุงแต่ง เขาถือว่าสมาธิ หรือความสงบสุขซึ่งปราศจากทุกข-เวทนารบกวนว่าเป็นความสุขที่แท้ ( เป็นมาแต่เกิด ) เขาเข้าใจผิดเกี่ยว กับการจับฉวยนิมิตโดยไม่เคยรู้ไม่เคยมั่นใจในภาวะว่างที่ปราศจากนิมิต ว่าเป็นการรู้แจ้งตนเองที่เป็นอิสระจากนิมิตและวิตก เขาเข้าใจผิดว่า ความเขลา ( ทึ่ม ) เพราะความตระหนักรู้ถูกขัดขวางว่าเป็นปัญญาชนิด ไร้มโนคติ

กล่าวย่อ ๆ ความผิดพลาดทุกชนิด ความผิดที่คล้ายคลึง การไถล และ ความหันเห เกิดจากเบื้องแรกคือไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ถูกเช่น สั่งสม ( เหตุที่จำเป็น ) ไม่ขจัดมลทินต่าง ๆ ดังนั้น ความเศร้าหมอง จากกรรมชั่วจึงไม่หมดไป โดยที่ไม่เคารพบูชาสรรพสิ่ง จิตใจย่อมแข็ง ทื่อน้อมไปได้ยาก ไม่ขจัดข้อสงสัยในจุดสำคัญแห่งการปฏิบัติ เธอติดกับ ทฤษฎีและคำพูด มากขึ้น ท้ายสุด ไม่ได้มีจิตใจมุ่งสู่การปฏิบัติสุด จิตใจ เธอเป็นคนภายนอกต่อธรรมะ ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมหรืออุบาสก อุบาสิกาแต่เป็นคนทำลายคำสอนของสายปฏิบัติ มีสิ่งนี้มากมายในยุค แห่งความมืดนี้ The Seven Wheel of Kshitigabha Sutra กล่าวว่า

" เมื่อไม่ยอมรับกรรมและวิบาก
บุคคลก็กลายเป็นคนนอกพุทธศาสนา สนับสนุนลัทธิขาดสูญ
ย่อมเกิดในอเวจีเมื่อตายไปแล้ว

ย่อมล้างผลาญทั้งตนเองและผู้อื่น "
เธอจึงควรปฏิบัติด้วยความฉลาดและไม่เป็นดังที่กล่าวมา


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:31:07 pm »




ขจัดข้อบกพร่องเฉพาะ
    บูรพาจารย์แห่งทุกสายปฏิบัติได้สอนเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดและ เข้มข้น ผู้เขียนจะกล่าวอย่างง่าย ๆ
ความยึดถือในประสบการณ์ ๓ อย่าง คือ ความสุข แจ่มชัด และไร้ ความคิดขณะภาวนาจะเป็นเหตุให้เกิดในภพทั้งสามคือ กาม รูปภพ อรูปภพ เมื่อสิ้นสุดอายุก็เกิดในอบายภูมิอีก จึงไม่ใช่ทางสู่พุทธภูมิ
 
    เมื่อกล่าวอย่างละเอียดก็มีฌานทั้งหมดอยู่เก้าระดับ เมื่อยู่ในสมถะ จิตจะพ้นจากความรู้สึกหยาบ ๆ แห่งผู้ดูและสิ่งถูกดู แต่จะถูกล่าม โซ่ไว้ด้วยมโนคติแห่งผู้ภาวนาและวัตถุแห่งการภาวนา เรียกว่า " สมาธิระดับปฐมฌาน " ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะนี้เป็นสิ่งที่เกิด ในระดับปฐมฌาน การภาวนาเช่นนี่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดาระดับ ปฐมฌาน
 
    ทำนองเดียวกัน ทุติยฌาน เป็นอิสระจากวิตกและวิจารหากแต่ยังคง สัมผัสกับปีติและสุข
    ฌานที่สาม เป็นอิสระจากความเคลื่อนไหวของจิต คงอยู่ได้กับลม หายใจเข้าออก
    ฌานที่สี่ เป็นอิสระจากความคิดทุกประเภท เป็นความสว่างไสวที่ไม่มี ข้อจำกัด คล้ายอวกาศ

    สิ่งพิเศษของสมาธิคือ เป็นบาทฐานสำหรับการภาวนา หากทำด้วยความ ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นการออกนอกแนวมหามุทรา เป็นเหตุให้เกิดในโลก สวรรค์ภพใดภพหนึ่ง
    ข้อต่อไปคือคนอาจคิดว่า " ปรากฏการณ์ทั้งปวง ไม่มีที่สุดคล้ายกับอากาศ หรือวิญญาณไม่มีเศษส่วนและไม่ปรากฏ ไม่มีที่สุด " หรือ " สัญญาไม่ใช่ มีอยู่หรือไม่มีอยู่ ไม่ใช่การกระทำของจิต " หรือ " จิตว่างไม่มีอะไรเลย " สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดในอรูปโลก เรียก อากาสานัญจายตนะ วิญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    สมาธิ ( มีความสงบเป็นอารมณ์ ) ( นิพพานในสาวกยาน ) เป็นภาวะที่ละ ทิ้งภาวะเหล่านี้ และความเกี่ยวข้องกับรูปก็ถูกขจัดไป ( ละรูปสัญญา ปฏิฆะสัญญา ) รวมทั้งหยุดปราณและจิต แม้ว่าจะเป็นสมถะอย่างเยี่ยม หากในที่นี้ย่อมไม่เป็นการภาวนาที่ผิดหากมีวิปัสสนากำกับอยู่ด้วย
    ฌานทั้ง ๙ มีคุณค่าอยู่ เช่น ทำให้มีญาณทัสสนะอันวิเศษและมีอำนาจ พิเศษ แต่การบรรลุการตรัสรู้ไม่ใช่อำนาจวิเศษเหล่านี้ ถ้าท่านได้รับสิ่ง เหล่านี้และเกิดเหลิง อวดดี ควรรู้ไว้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการตรัสรู้


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:30:16 pm »



               

                   ข้อเด่นและข้อด้อย

    ภายหลังจากที่แสดงเรื่องสมถะและวิปัสสนาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายข้อ เด่นและข้อด้อย ตลอดจนวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะแบ่งเป็นสองส่วนอันได้แก่ ๑ กรณีทั่วไป เพราะไม่รู้การดำรงอยู่ใน ความว่าง และ ๒ กรณีเฉพาะ อธิบายถึงวิธีขจัดข้ผิดพลาดและการออก นอกทางนานาชนิด

ข้ออธิบายความผิดพลาด
    การพักจิตโดยไม่ปรุงแต่งเป็นกุญแจดอกเดียวเพื่อการเห็นแจ้งในมุขปาฐะ เพื่อภาวนาทุกสำนักเช่น มหามุทรา ซอกเชน แลมเดร โฌ ชิจิ และอื่น ๆ มุขปาฐะปรากฏอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องจากอินทรีย์และ อัธยาศัยในการ เรียนรู้ของคนแตกต่างกัน

๑. นักภาวนาบางคนระบุการภาวนาเฉพาะปราศจากความคิด ซึ่งการรับรู้ ทางอายตนะทั้งหกจบสิ้น นี่เรียกว่า " การไถลสู่ทางแห่งสมถะแบบทึ่ม ๆ "
๒. บางคนทึกทักว่าการภาวนาคือภาวะทึม ๆ กลาง ๆ โดยไม่มีสติกำกับ
๓. บ้างก็ถือว่าภาวนาคือ ความสดใสอย่างสมบูรณ์ ความสุขที่คงเรียบง่าย หรือความว่างอย่างเต็มที่ และยึดติดกับประสบการณ์นี้
๔. บ้างก็แบ่งการภาวนาเป็นส่วน ๆ เชื่อว่าวัตถุประสงค์ของการภาวนา คือภาวะที่จิต " ว่าง " ระหว่างที่ความคิดหนึ่งสิ้นสุดลงและเริ่มต้นของ ความคิดต่อไป

๕. บางคนก็ตั้งหลักไว้ว่า " ธรรมชาติแห่งจิต คือธรรมกาย มันว่างและ ไม่สามารถจับฉวยได้ " และคิดว่า " ทุกสิ่งว่างจากความดำรงอยู่จริง มันคล้ายมายาภาพลวงตา คล้ายกับอวกาศ " และถือว่านี่เป็นการภาวนา นี่คือการอยู่ในขั้วแห่งการคิดเอา
. บางคนคิดว่าทุกสิ่งที่คิดหรือทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือการภาวนา เขาไถลไป กับความเขลาเพราะพลังความคิดแบบปุถุชน
๗. คนที่เหลือส่วนใหญ่เห็นว่าการคิดเป็นสิ่งบกพร่องและหักห้ามมัน เขาเชื่อว่าการพักจิตอยู่ในการภาวนาภายหลังจากควบคุมความคิดและ ผูกมัดตนเองไว้กับการเจริญสติที่แข็งทื่ออันหนึ่ง หรือตบะทางใจอย่าง หนึ่ง


    พูดสั้น ๆ จิตอาจนิ่ง วุ่นวาย ด้วยความคิดหรืออารมณ์รบกวนหรือสงบ ในรูปแห่งประสบการณ์ที่เป็นสุข แจ่มชัด หรือไร้ความคิด ถ้ารู้ที่จะดำรง จิตในธรรมชาติดั้งเดิม อย่างตรงไปตรงมาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นไม่ต้อง สร้างอะไร ปฏิเสธ หรือเปลี่ยนแปลงอะไร นี้หาได้ยากมาก ๆ ราวกับ ว่าจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติให้ผิด แต่สอดคล้องกับข้อความที่มีเขียนกล่าว ไว้ในตำรา พระสูตร คำสอนของอาจารย์ ฯลฯ