ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 05:59:15 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 09:10:48 am »

ขอเพิ่มคำเดียว “ภิกษุณีสงฆ์”

ทำไมต้องเพิ่ม “ภิกษุณีสงฆ์” หลายๆ คนอาจจะมีคำถามว่าจะเป็นได้อย่างไร
เมื่อปลายเดือน ตุลาคมที่ผ่าน ได้มีการจัดโครงการเสวนาเวทีภาคประชาชน เรื่อง “ภิกษุณี” กับการเติมเต็มพุทธบริษัทสี่ จัดโดย คณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับมูลนิธิปริญญาโทบริหารรัฐกิจ ธรรมศาสตร์ ซึ่งอาจจะเป็นโจทย์สำคัญที่คนไทยน่าจะร่วมกันคิดและมีส่วนร่วมในการเติมเต็ม พุทธบริษัทสี่ให้กับสังคม
ท่าน สว. ไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นหนึ่งในวิทยากรในเวทีในครั้งนั้น และถือเป็นครั้งแรกที่ สว. ได้รับทราบอุปสรรคของภิกษุณีในแง่กฎหมาย ท่านรับปากในที่ประชุมว่าจะต้องหาทางทำสิ่งที่ดีงามและถูกต้องให้ปรากฏ มีความคิดเห็นว่าในรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ผู้หญิง ผู้ชาย หรือใครๆ ปฏิบัติความเชื่อในศาสนาของตนได้ๆ ไม่ผิดกฎหมาย แต่เพราะประเทศไทยยังไม่มีภิกษุณี ในเมื่อภิกษุณีไม่ผิดกฏหมายก็ต้องช่วยให้ผู้หญิงที่บวชเป็นภิกษุณีมีสถานภาพ ได้ตามกฏหมายเช่นกัน หากกฏหมายเป็นอุปสรรค ก็ต้องแก้ที่กฏหมาย เพราะ กฏหมายมีไว้เพื่อสนับสนุนให้คนดีทำดี และห้ามคนชั่ว มิให้ทำชั่ว
ท่านพิจารณาในบริบทของพุทธศาสนา ได้รับการยืนยันว่า เจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนั้น คือให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณีได้ ได้บวชมาแล้ว มีประวัติศาสตร์ทั้งยืนยัน และสนับสนุน
โสำหรับบางคนที่ยังไปติดใจประเด็นว่า พระพุทธองค์ทรงลังเล ไม่ได้ให้บวชในตอนแรก ท่านสรุปให้เราเข้าใจชัดเจนว่า ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ตัดสินพระทัยว่า อย่างไร เราจะยึดเอาตามนั้น พระพุทธองค์ตัดสินพระทัยแล้วให้ผู้หญิงบวชได้ เป็นอันยุติข้อถกเถียง
มหาเถรสมาคมเอง ไม่รับภิกษุณีสงฆ์ เพราะมีคำสั่งของสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๑ ห้ามมิให้พระภิกษุบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี นั้น ก็เป็นสิทธิของมหาเถรสมาคมที่เราพึงเคารพ
แต่ก็เป็นสิทธิของผู้หญิงที่จะออกบวชตามพุทธานุญาตเช่นกัน และเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ไว้
เมื่อคิดตามนักกฏหมาย เราจะตัดประเด็นปลีกย่อยออกไปมาก และประเด็นของเราจะชัดคมมากขึ้น
ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่าน ในฐานะนักกฏหมายจึงเสนอช่องทางที่ เรียกว่า บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น เข้าไปเปิดดู พรบ.คณะสงฆ์ บันทัดแรก ที่นิยามว่า “คณะสงฆ์หมายถึงภิกษุสงฆ์ และคณะสงฆ์อื่น”
ในคำว่า “คณะสงฆ์อื่น”นั้น อธิบายขยายความไว้ใน มาตรา ๕ ทวิ ว่าหมายถึง จีนนิกาย และอนัมนิกาย
ท่านเสนอให้มีการเพิ่มเติมในมาตรา ๕ ทวิ นี้ เพียงคำว่า ภิกษุณีสงฆ์
เท่านี้เอง ภิกษุณีสงฆ์ก็จะได้รับความคุ้มครองโดยกฏหมาย
เป็นการเคารพเจตนารมณ์ของกฏหมาย ตามรัฐธรรมนูญที่ว่า ชาย หญิงมีเสรีภาพสามารถปฏิบัติตามความเชื่อในศาสนาของตนได้
เป็นการเคารพพระพุทธานุญาต ที่ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้
ไม่ก้าวล่วงสิทธิและหน้าที่ของมหาเถรสมาคม เพราะภิกษุณีสงฆ์ ที่จะเกิดขึ้นนี้จะอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับคณะสงฆ์จีนนิกาย และอนัมนิกาย ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมหาเถรสมาคม แต่จะอยู่ภายใต้กฏกระทรวง และขึ้นตรงกับสมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียว
ในการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เพียงต้องการลายเซ็นของผู้สนับสนุนความคิดเห็นนี้ ๑๐,๐๐๐ ชื่อ เพื่อเสนอเปลี่ยนแปลง พรบ. ดังกล่าวข้างต้น
เป็นการเคารพพระพุทธานุญาต ที่ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้
ท่านที่ต้องการลงชื่อสนับสนุนการขอแก้ไข พรบ.สงฆ์ ในครั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่ เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วกรุณาส่ง แบบ ฟอร์มพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่เซ็นรับรองแล้วมาที่ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง 12/22 ถ.เทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เราอยากรวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุดภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ มาร่วมสนับสนุนพระพุทธศาสนาให้มีพุทธบริษัทสี่ครบถ้วนด้วยกันนะคะ

http://www.whaf.or.th/content/397


.

http://www.whaf.or.th/sites/default/...orm%282%29.pdf

.