ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 06:22:28 am »

หน้าที่ของมนุษย์ควรปฏิบัติต่อผู้อื่น
คือการมอบน้ำใจให้แก่กันและกัน :19:

คนฉลาดที่สุด คือ ผู้ที่สามารถ
ควบคุมจิตใจตัวเองได้อย่างปกติสุข :19:

มองดูธรรมะ เรียนธรรมะ
ช่วยเราไม่ได้
ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามธรรมะ





เข้าใจธรรม จึงปฏิบัติใจได้



มีคุณป้าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเธอเคยคิดว่า
คนที่ปฏิบัติธรรมแล้วจะต้องกลายเป็นคนดีทุกกระเบียดนิ้ว
โกรธไม่เป็น ไม่ดื้อรัน ไม่พูดคำหยาบ ใบหน้าสงบเรียบเฉย
มีความสุข พอพระอาจารย์บอกว่า “การปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่เพื่อที่จะกลายเป็นต้นไม้หรือก้อนหิน”
ท่านว่าปฏิบัติให้รู้ ให้เข้าใจเพียงแค่ “เกิดอะไรขึ้นกับกาย-ใจ”
ให้คอยตามรู้ไปเฉยๆ รู้แล้ววางลง แค่ว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่
แล้วดับไป ไม่ต้องไปแทรกแซง แต่ทั้งหมดนี้ ถ้าเป็นอกุศล
ไม่ควรให้มันล้นออกมาทางวาจา ถ้าโกรธแล้ว รู้ว่าโกรธ
แต่ไม่ให้ไปด่าเขา ไม่ไปตีเขา วางลงให้ได้



คนปฏิบัติธรรมจึงไม่มีฟอร์ม ภายในรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น
ภายนอกไม่ได้ดูผิดแผกไปจากมนุษย์ธรรมดาใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อเธอปฏิบัติธรรมรู้สึกหงุดหงิดง่าย อ่อนไหวง่ายมากๆ
ทำเอาไม่มีกะจิตกะใจ สนใจจะตามรู้กายใจ ไม่กี่วันก่อน
ใจมันเลยไปคว้าเอาเรื่องเก่าๆ ที่ช้ำใจมาคิด พอพิจารณาอีกทีว่า
“ในโลกนี้ที่เขาฉลาดกว่าเราก็มี โง่กว่าเราก็มี รวยกว่าเราก็มี
จนกว่าเราก็มี สวยหล่อกว่าเรา อย่าเย่อหยิ่งทะนงตนหรือ
โศกเศร้าเสียใจไปเลย เพราะมันเป็นสิ่งเห็นง่ายๆ
แต่ทำให้เป็นธรรมดายาก” แต่ทำได้จึงเป็นสุข



คุณป้าบอกว่า ถ้าใจคิดถึงเป็นเรื่องทุกที คิดเรื่องหนึ่งก็โยงไปอีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งโกรธ ทั้งน้อยใจเสียใจ แล้วก็บ่นๆ ในใจแล้วเขียนเป็นข้อความ
ให้เพื่อนรักคนหนึ่งที่เธอคิดว่า จะให้เขารับรู้ทางอีเมลล์ แต่ใจฉุกคิดว่า
ตอนนี้เรากำลังอารมณ์ไม่ดี สิ่งที่เขียนออกไปอาจจะอ่านดูไม่ดีเลย
อย่าเพิ่งส่งไป เซฟไว้ก่อน แล้วตอนอารมณ์ดีมาอ่านอีกที
อาจจะไม่อยากส่งแล้วก็ได้ เพื่อนจะได้ไม่ลำบากใจด้วย
ใจเริ่มคิดแปลกๆ เพราะการเขียนระบายเรื่องราว มันก็ประหลาดดี
ที่ทำให้ใจคนเราฉุกคิดได้ แล้วปรับใจได้อย่างประหลาด...!
ระงับอารมณ์เสียได้ การเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือมันเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมือนกัน



ตอนเย็น ความรู้สึกรุนแรงอย่างเมื่อตอนเช้าที่เขียนอีเมล์ไปนั้น
มันไม่อยู่แล้ว ลองกลับไปอ่านเมล์ที่เขียนไว้ให้เพื่อนอีกทีแล้วอยากเป็นลม
ความรู้สึกที่ได้จากการอ่านมันแตกต่างจากจุดประสงค์ คนละเรื่องเลย
ประหลาดใจจริงๆ ว่า อารมณ์ตอนนั้น มันเกิดขึ้นได้อย่างไร...?



 เธอรู้สึกเหมือนเขียนอะไรประจานตัวเอง คิดเล็กคิดน้อยสุดๆ
คนอ่านจะรู้สึกยังไงว่า แล้วก็เสียใจ แต่โชคดียังไม่ได้ส่งไป
ทำให้คิดได้ว่า “เวลาอกุศลเกิด” อย่าให้ล้นออกทางกาย ทางวาจา
ตอนนั้นก็แบบว่าสติหลุดลอย ไม่ฟังเสียงแล้ว ขอให้ได้เขียนไป
ระเบิดอารมณ์ไปก่อน ขอให้ได้ตามใจกิเลสที่มันอาละวาดอยู่สักพัก
แล้วก็ได้เรื่องทำให้มองเห็นจิตใจตัวเองมากขึ้น
อย่าลืมวิธีการเขียนออกมาระบายความเครียดดีกว่าเก็บความเครียดไว้
จะทำให้เรารู้อารมณ์ของเราในแต่ละขณะได้



ว. ปัญญาวชิโร
 

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=samuellz&date=07-11-2010&group=9&gblog=4