ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 05:21:07 pm »ข.แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อบรรลุโมกษะ
แนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะ นอกจากที่ได้กล่าวในเรื่องโยคะ ๓ ประการ อันได้แก่กรรมโยคะ ญาณโยคะ และภักติโยคะซึ่งถือเป็นหลักการใหญ่แล้ว ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องแนวความคิดเรื่องหลักโยคะ ถึงกระนั้นในรายละเอียด ยังมีข้อปฏิบัติปลีกย่อย ซึ่งถือเป็นปฏิปทาเฉพาะสำหรับผู้ที่มุ่งสู่หนทางนี้
รายละเอียดดังกล่าว สะท้อนให้เห็นแนวทางปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้น คือการเตรียมตัว ซึ่งก็ได้แก่การวางท่าทีของจิตให้ถูกต้อง การปฏิบัติที่ถูกต้อง กระทั่งบรรลุถึงโมกษะ เราจะพิจารณาเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กับตัวอย่างที่คัดมาประกอบ ตั้งแต่อัธยายะต้น ๆ กระทั่งถึงอัธยายะสุดท้าย
แน่ะท่านผู้เลิศบุรุษ ธีรชนผู้ไม่หวั่นไหวต่อผัสสะเหล่านี้
มีความสม่ำเสมอในสุขและทุกข์นั้น
ย่อมเหมาะแก่ความเป็นอมฤต//
เมื่อใด จิตได้ถูกบังคับไว้ดีแล้ว
ตั้งมั่นอยู่ในอาตมันโดยแท้
ปราศจากความอยาก จากความใคร่ทั้งปวง
เมื่อนั้นจึงได้ชื่อว่าโยคี//
อรชุน ! ผู้ใดเห็นสุขหรือทุกข์ในทุก ๆ สิ่ง
เสมอด้วยสุขหรือทุกข์ของตนเอง
ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นบรมโยคี//
ผู้ใดสำรวมทวารทั้งปวงได้แล้ว
และกักขังใจไว้ในดวงฤทัย
ตั้งลมปราณไว้ที่กระหม่อมของตนด้วยดวงจิตเป็นสมาธิไว้ //
เปล่งเสียง “โอม” พยางค์เดียวซึ่งเป็นพรหม
ระลึกถึงอาตมาอยู่
ละร่างไปแล้ว ผู้นั้นย่อมบรรลุบรมคติ //
เสมอด้วยสุขหรือทุกข์ของตนเอง
ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นบรมโยคี//
ผู้ใดสำรวมทวารทั้งปวงได้แล้ว
และกักขังใจไว้ในดวงฤทัย
ตั้งลมปราณไว้ที่กระหม่อมของตนด้วยดวงจิตเป็นสมาธิไว้ //
เปล่งเสียง “โอม” พยางค์เดียวซึ่งเป็นพรหม
ระลึกถึงอาตมาอยู่
ละร่างไปแล้ว ผู้นั้นย่อมบรรลุบรมคติ //
ปารถ ! ผู้ใดมีใจไม่นอกเหนือไปจากอาตมาตลอดนิรันดร
ระลึกถึงอาตมาเนื่องนิตย์
อาตมารับรองอย่างดีซึ่งผู้นั้น
อันเป็นโยคีประกอบสมาธิเป็นนิตย์//
ผู้ใดเห็นปรเมศวรอันดำรงอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย
สม่ำเสมอ ไม่เสื่อมสูญ แต่อยู่ในสิ่งที่เสื่อมสูญ
ผู้นั้นชื่อได้มองเห็นเห็นแล้ว //
เพราะว่าเมื่อเห็นอิศวรดำรงอยู่ในสิ่งทั้งปวงสม่ำเสมอแล้ว
ย่อมไม่ล้างผลาญอาตมาด้วยอาตมา
แต่นั้นย่อมบรรลุบรมคติ//
กาลใดเขาพิจารณาเห็นความแตกต่าง
ระหว่างสิ่งทั้งหลายอยู่ในความเป็นอันเดียวกัน
แต่นั้น เขาย่อมบรรลุพรหมอันแผ่ซ่านในกาลนั้นโดยแท้//
ผู้ประกอบด้วยพุทธิอันหมดจด
และข่มตนเองได้ด้วยธฤติ สละอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น
และละความรักความชัง//
เสพที่สงัด บริโภคน้อย บังคับกาย วาจา ใจ
ยึดสมาธิเป็นหลัก อาศัยวิราคธรรมเป็นนิตย์//
ระหว่างสิ่งทั้งหลายอยู่ในความเป็นอันเดียวกัน
แต่นั้น เขาย่อมบรรลุพรหมอันแผ่ซ่านในกาลนั้นโดยแท้//
ผู้ประกอบด้วยพุทธิอันหมดจด
และข่มตนเองได้ด้วยธฤติ สละอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น
และละความรักความชัง//
เสพที่สงัด บริโภคน้อย บังคับกาย วาจา ใจ
ยึดสมาธิเป็นหลัก อาศัยวิราคธรรมเป็นนิตย์//
พ้นอหังการ ความห้าวหาญ ดื้อ กาม โกรธ บริเคราะห์
ไม่มีมมังการ มีความสงบ
ย่อมเหมาะที่จะตรัสรู้พรหม//
เท่าที่คัดมาเป็นตัวอย่าง พอทำให้เราสรุปได้ว่า ผู้ที่จะบรรลุโมกษะนั้นต้องวางตนไว้อย่างไร และปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง ผู้เขียนไม่ขอสรุป เพราะเห็นว่า กระจ่างชัดพอสมควรแล้ว ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น รายละเอียดที่อธิบายหนทางที่จะนำไปสู่โมกษะมีมาก โดยเฉพาะอัธยายะที่ ๑๘ โศลกเกือบทุกโศลกได้อุทิศเนื้อหาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ผู้ได้ศึกษาในรายละเอียดก็จะมองเห็นแนวทางได้ด้วยตนเอง เพราะเนื้อหาเหล่านั้น แม้จะหลากหลาย แต่ก็มีความชัดเจนอยู่ในตัว
๕. บทสรุป
ปรัชญาภควัทคีตา ถือเป็นปรัชญาที่มีความโดดเด่นทั้งในแง่ของแนวคิด (ญาณโยค) ในแง่ของการปฏิบัติ (กรรมโยคะ) และในแง่ของความอุทิศทุ่มเทต่ออุดมการณ์ (ภักติโยคะ) โดยที่ทั้ง ๓ หลักนี้ ต่างสนับสนุน ส่งเสริมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในฐานะเป็นเครื่องมือนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือโมกษะ
ปรัชญาภควัทคีตา สะท้อนให้เห็นบทบาทหน้าที่ว่ามีความสำคัญเหนือสิ่งใด เพราะสรรพชีวิตเกิดมาล้วนผูกพันด้วยภาระหน้าที่ ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ของปัจเจก สังคม กระทั่งถึงกลไกแห่งจักรวาลทั้งปวง
ที่น่าสนใจและถือเป็นพัฒนาการทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบทบาทหน้าที่นี้ก็คือ การอธิบายระบบวรรณะใหม่ ในรูปแบบของการกระทำ แทนกล่าวถึงโองการพระเป็นเจ้าเหมือนที่ปรากฏในคัมภีร์พระเวท
ภควัทคีตาแม้เบื้องต้นจะบอกว่าเป็นเรื่องที่บอกว่า “ได้จำแนกไว้แล้ว” แต่การจำแนกดังกล่าวก็อาศัยพื้นฐานทางพฤติกรรมที่สั่งสมมาแต่อดีต เช่น เมื่อพรรณนาถึงพราหมณ์ ท่านก็กล่าวโดยเน้นถึงหน้าที่เป็นสำคัญ เช่น เมื่อกล่าวถึงหน้าที่หน้าที่ของพราหมณ์ ท่านก็บอกว่า เกิดจากนิสัยเดิม คือการบังคับอินทรีย์ภายในใจ การบังคับอินทรีย์ภายนอก การบำเพ็ญพรต ความบริสุทธิ์ ความอดทน ความซื่อตรง ปัญญา และญาณ และความเลื่อมใสในพระเวท เมื่อ กล่าวถึงหน้าที่ของกษัตริย์ นิสัยเดิมของกษัตริย์ คือความกล้าหาญ ทรงเดช ความมั่นคง ความเข้มแข็ง ความไม่ครั่นคร้านในสงคราม บริจาคทาน และความสามารถในการปกครอง นิสัยเดิมของไวศยะคือกสิกรรม โครักขกรรม พาณิชยกรรม ส่วนหน้าที่ของศูทรอันเกิดจากนิสัยเดิมคือการรับใช้
เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ภควัทคีตาบอกเราว่า หน้าที่แต่ละอย่างนั้น
แม้จะมีโทษอยู่บ้าง เราก็ไม่ควรละทิ้ง ดังนั้น ทัศนะของอรชุน
ที่ว่าเป็นบาปเมื่อต้องฆ่ากันในสงคราม ถือเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะการสู้รบ
เพื่อปกป้องประเทศชาติ ปราบอธรรม ปกป้องธรรมนั้น เป็นหน้าที่ของกษัตริย์
http://www.oknation.net/blog/chaiyassu/2011/02/27/entry-1
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3315.0
Pics by : Google
นำมาแบ่งปันโดย... baby@home
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
แม้จะมีโทษอยู่บ้าง เราก็ไม่ควรละทิ้ง ดังนั้น ทัศนะของอรชุน
ที่ว่าเป็นบาปเมื่อต้องฆ่ากันในสงคราม ถือเป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะการสู้รบ
เพื่อปกป้องประเทศชาติ ปราบอธรรม ปกป้องธรรมนั้น เป็นหน้าที่ของกษัตริย์
http://www.oknation.net/blog/chaiyassu/2011/02/27/entry-1
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3315.0
Pics by : Google
นำมาแบ่งปันโดย... baby@home
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ